เวลาออมแสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม้จะไม่ได้ใช้โดยประชากรส่วนใหญ่ของโลก แต่เวลาออมแสงก็เป็นเรื่องที่พบได้ปกติในบริเวณซีกโลกเหนือ      บริเวณที่มีการใช้เวลาออมแสง      บริเวณที่เคยใช้เวลาออมแสง      บริเวณที่ไม่เคยมีการใช้เวลาออมแสง

เวลาออมแสง (daylight saving time - DST) หรือ เวลาฤดูร้อน (summer time) เป็นข้อตกลงในการปรับนาฬิกาไปข้างหน้า เพื่อให้มีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาบ่ายมากขึ้นและมีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเช้ามีน้อยลง โดยปกติแล้วจะปรับไปข้างหน้าหนึ่งชั่วโมง ก่อนจะเข้าฤดูใบไม้ผลิ และปรับกลับหลังในฤดูใบไม้ร่วง เวลาออมแสงในยุคสมัยใหม่ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดย William Willett นักก่อสร้างชาวอังกฤษ[1] หลายประเทศได้ใช้มันนับตั้งแต่นั้น โดยมีรายละเอียดแตกต่างไปตามสถานที่และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งคราว

การเลื่อนนาฬิกาของเวลาออมแสงนี้ก่อให้เกิดความท้าทายต่าง ๆ มันทำให้การรักษาเวลายุ่งยากขึ้น ก่อความวุ่นวายให้การนัดหมาย การเดินทาง การบัญชี การลงบันทึก อุปกรณ์การแพทย์ และเครื่องจักรอุตสาหกรรม[2] ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากสามารถปรับนาฬิกาของตัวได้อัตโนมัติ แต่การปรับนี้ก็อาจทำได้จำกัดและมีความผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อกฎของเวลาออมแสงเปลี่ยน[3]

ระบบเวลาออมแสงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีช่วงแสงสว่างที่ "เหมาะสม" ตามความต้องการของท้องถิ่น โดยปรับนาฬิกาให้เข้ากับการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ ซึ่งเปลี่ยนไปตามฤดู ตามความเอียงของแกนโลก

ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เริ่มทำการปรับเวลาออมแสงแตกต่างจากประเทศอื่นโดยการ เริ่มต้น 3 อาทิตย์ก่อนเวลาออมแสงปกติ และสิ้นสุด 1 อาทิตย์หลังเวลาออมแสงปกติ ซึ่งลงชื่อรับรองโดยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2548

ในประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยมี DST ได้แก่มาเลเซียและฟิลิปปินส์

[แก้] ศัพทวิทยา

ในภาษาอังกฤษ daylight saving time บางครั้งอาจเขียนเชื่อมกันด้วย - เป็น daylight-saving time 'saving' ในที่นี้เป็น adjective เหมือนกับในคำว่า labor saving device (เครื่องทุ่นแรง, เครื่องประหยัดแรง) ส่วนการใช้คำอื่น ๆ เช่น daylight savings time, daylight savings, และ daylight time ก็พบเห็นได้ทั่วไป โดย 'savings' ในที่นี้เป็นการเปรียบเหมือนใน savings account (บัญชีออมทรัพย์)[4] ในข้อเสนอต้นฉบับของ Willett นั้น ใช้ศัพท์ว่า daylight saving แต่ใน ค.ศ. 1911 คำว่า summer time ก็ได้มาแทนที่คำว่า daylight saving time ในร่างกฎหมายในสหราชอาณาจักร[5]

ชื่อเขตเวลานั้นมักจะเปลี่ยนไปเมื่อใช้เวลาออมแสง ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันแทนที่คำว่า standard (มาตรฐาน) ด้วย daylight (ออมแสง): เช่น Pacific Standard Time (PST) กลายเป็น Pacific Daylight Time (PDT) ภาษาอังกฤษแบบบริเตนใช้ summer (ฤดูร้อน): เช่น Greenwich Mean Time (GMT) กลายเป็น British Summer Time (BST) ตัวย่อนั้นไม่ได้เปลี่ยนตามเสมอ เช่น ชาวออสเตรเลียจำนวนมาก (แม้ไม่ทั้งหมด) เรียก Eastern Standard Time (EST) กลายเป็น Eastern Summer Time (ซึ่งย่อว่า EST เช่นกัน)

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Prerau. Seize the Daylight. p. 3. 
  2. ^ Peter G. Neumann (1994). "Computer date and time problems". Computer-Related Risks. Addison-Wesley. ISBN 0-201-55805-X. 
  3. ^ Stephen Tong; Joseph Williams (2007). "Are you prepared for daylight saving time in 2007?". IT Professional 9 (1): 36–41. IEEE Computer Society. doi:10.1109/MITP.2007.2. เรียกข้อมูลวันที่ 2007-05-16 
  4. ^ Daylight saving time and its variants:
    • Richard A. Meade (1978). "Language change in this century". English Journal 67 (9): 27–30. doi:10.2307/815124 
    • Joseph P. Pickett et al., ed. "daylight-saving time". The American Heritage Dictionary of the English Language (4th (2000) ed.). Boston: Houghton Mifflin. ISBN 0-395-82517-2. "variant forms: or daylight-savings time" 
    • daylight saving time. Merriam-Webster's Online Dictionary. สืบค้นวันที่ 2009-02-13 “called also daylight saving, daylight savings, daylight savings time, daylight time
    • 15 U.S.C. § 260a notes. สืบค้นวันที่ 2007-05-09 “Congressional Findings; Expansion of Daylight Saving Time”
  5. ^ Prerau. Seize the Daylight. p. 22. 
  • Ian R. Bartky (2007). One Time Fits All: The Campaigns for Global Uniformity. Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-5642-6. 
  • Michael Downing (2005). Spring Forward: The Annual Madness of Daylight Saving Time. Shoemaker & Hoard. ISBN 1-59376-053-1. 
  • David Prerau (2005). Seize the Daylight: The Curious and Contentious Story of Daylight Saving Time. Thunder’s Mouth Press. ISBN 1-56025-655-9.  The British version, focusing on the UK, is Saving the Daylight: Why We Put the Clocks Forward. Granta Books. ISBN 1-86207-796-7. 

[แก้] ดูเพิ่ม