บริติชราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จักรวรรดิอินเดีย
บริติชราช
แผนที่แสดงที่ตั้ง ของอินเดีย
แผนที่จักรวรรดิอินเดียของอังกฤษ พ.ศ. 2452

บริติชราช (ภาษาอังกฤษ: British Raj, คำว่า "ราช" (rāj), ภาษาฮินดี: ब्रिटिश राज, ภาษาฮินดี แปลว่า "ปกครอง" หมายถึง การปกครองโดยอังกฤษ) หรือ อินเดียของอังกฤษ (British India) ในทางการหมายถึง จักรวรรดิอินเดียของอังกฤษ (British Indian Empire) และระดับนานาชาติและสมัยเดียวกันหมายถึง อินเดีย ซึ่งเป็นคำที่ใช้เหมือนกันสำหรับภูมิภาค การปกครอง และช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2401 ถึง พ.ศ. 2490 ของจักรวรรดิอังกฤษในอนุทวีปแห่งอินเดีย

ในภูมิภาคนี้ยังรวมถึงพื้นที่ที่บริหารโดยตรงจากสหราชอาณาจักร[1] (สมัยเดียวกันเรียกว่า "อินเดียของอังกฤษ") และรัฐเจ้าครองนครต่างๆ ที่มีประมุขปกครองภายใต้อำนาจปกครองสูงสุดของรัฐบาลอังกฤษ รัฐเจ้าครองนคร ซึ่งทำสนธิสัญญากับรัฐบาลอังกฤษได้รับอนุญาตให้มีระดับการปกครองตนเอง โดยแลกเปลี่ยนกับการอารักขาและการเป็นตัวแทนด้านการต่างประเทศโดยอังกฤษ

จักรวรรดิอินเดียของอังกฤษประกอบไปด้วยดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียและบังกลาเทศในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีเอเดน (พ.ศ. 2382 - 2480) พม่าตอนบน (พ.ศ. 2401 - พ.ศ. 2480) และพม่าตอนล่าง (พ.ศ. 2429 - 2480) (พม่าแยกจากอินเดียของอังกฤษในปี พ.ศ. 2480) โซมาลิแลนด์ของอังกฤษ (ช่วงสั้นๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2427 ถึง พ.ศ. 2441) และสิงคโปร์ (ในช่วงสั้นๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2401 ถึง พ.ศ. 2410) อินเดียของอังกฤษเกี่ยวโยงกับดินแดนในปกครองอังกฤษในตะวันออกกลาง เงินตรารูปีอินเดียใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายพื้นที่ของภูมิภาค ประเทศอิรักในปัจจุบันเคยปกครองโดยกระทรวงอินเดียของรัฐบาลอังกฤษ ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1

จักรวรรดิอินเดียซึ่งออกหนังสือเดินทางของตนเองได้ใช้ชื่อแทนว่า อินเดีย ทั้งในภูมิภาคและระดับนานาชาติ ในฐานะที่เป็นประเทศอินเดีย จึงเป็นสมาชิกก่อตั้งสภาสันนิบาติชาติและชาติสมาชิกในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 2443 2463 2471 2475 และ 2479

บรรดาประเทศของดินแดนนี้ ลังกา (ปัจจุบันคือ ศรีลังกา) ซึ่งตกเป็นของสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2335 ภายใต้สนธิสัญญาอาเมียงส์ มีฐานะเป็นมกุฎราชอาณานิคม (Crown Colony) หรืออาณานิคมที่ปกครองโดยตรงจากรัฐบาลอังกฤษ แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในอินเดียของอังกฤษ ราชอาณาจักรเนปาลและภูฏาน แม้จะมีความขัดแย้งกับอังกฤษ แต่ก็ได้ลงนามทำสนธิสัญญากัน และได้รับการยอมรับในฐานะรัฐอิสระและไม่ใช่ส่วนหนึ่งในบริติชราช[2][3] ราชอาณาจักรสิกขิมได้รับการตั้งให้เป็นรัฐเจ้าครองนครหลังการลงนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-สิกขิมในปี พ.ศ. 2405 อย่างไรก็ตาม ประเด็นของความเป็นอธิปไตยยังคงไม่ได้กำหนดอะไรทั้งสิ้น.[4] หมู่เกาะมัลดีฟส์เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2410 ถึงปี พ.ศ. 2508 แต่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งในอินเดียของอังกฤษ

ระบบการจัดการสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2401 เมื่อการปกครองโดยบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษได้โอนย้ายไปสู่รัฐบาลอังกฤษ ในพระปรมาภิไธยของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (ซึ่งทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอินเดีย ในปี พ.ศ. 2420) จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2490 เมื่อจักรวรรดิอินเดียของอังกฤษแบ่งออกเป็นรัฐอธิปไตยสองรัฐคือ สหภาพอินเดีย (Dominion of India) (ซึ่งในภายหลังคือ สาธารณรัฐอินเดีย) และดินแดนปกครองแห่งปากีสถาน (ต่อมาคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน และ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ) ส่วนพม่าแยกตัวออกจากการปกครองของจักรวรรดิอินเดียของอังกฤษในปี พ.ศ. 2480 และถูกปกครองโดยตรงหลังจากนั้นมา ต่อมาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2491 เป็นประเทศสหภาพพม่า (Union of Burma)

[แก้] อ้างอิง