สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์ ราชวงศ์ปราสาททอง
ครองราชย์ พ.ศ. 2172
ระยะครองราชย์ 27 ปี
รัชกาลก่อนหน้า พระอาทิตยวงศ์
รัชกาลถัดไป สมเด็จเจ้าฟ้าไชย

สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ 5 พระมหากษัตริย์อาณาจักรอยุธยาพระองค์ที่ 24 (ครองราชย์ พ.ศ. 2172 - พ.ศ. 2199) และทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ปราสาททอง ราชวงศ์ลำดับที่ 4 ของอาณาจักรอยุธยา

เนื้อหา

[แก้] พระนาม

  1. เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ (บรรดาศักดิ์)
  2. พระเจ้าปราสาททอง (เมื่อครองราชย์)
  3. พระสรรเพชรญ์ที่ 5 (พระราชพงศาวดาร)
  4. พระรามาธิเบศร (คำให้การของชาวกรุงเก่า)

[แก้] พระราชประวัติ

สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เดิมมีนามว่าอะไรไม่ปรากฏ ประสูตเมื่อปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) ตามตำนานเล่าว่าเป็นบุตรของนางอินที่เป็นพระสนมลับในสมเด็จพระเอกาทศรถ[ต้องการอ้างอิง] กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ต่อมา เมื่อเจริญวัยได้เข้าไปในวังหลวง ที่กรุงศรีอยุธยา ได้เป็นมหาดเล็ก ต่อมาทำความดีความชอบได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเรื่อย ๆ จนได้ขึ้นถึงตำแหน่งเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ที่สมุหกลาโหม ในที่สุดได้ปลดและสำเร็จโทษกษัตริย์ 2 องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์สุโขทัยและปราบดาภิเษกตนขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์ปราสาททอง ในปี พ.ศ. 2173 (ค.ศ. 1630) เมื่อพระชนมายุได้ 30 พรรษา ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงคุณประโยชน์[ต้องการอ้างอิง] ทรงครองราชย์ได้ 25 ปี สวรรคตลงในปี พ.ศ. 2198 (ค.ศ. 1655) พระชนมายุได้ 55 พรรษา

พระเจ้าประสาททองนี้ บางแห่งกล่าวว่า เป็นบุตรมหาดเล็กคนหนึ่ง ซึ่งพระเอกาทศรถได้น้องสาวมาเป็นนางห้ามจากบางปะอิน จึงเอาพี่ชายมาเป็นมหาดเล็ก บุตรมหาดเล็กซึ่งทรงเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม คือ พระเจ้าปราสาททอง[ต้องการอ้างอิง]

เหตุที่ทรงใช้พระนามว่าปราสาททอง อันเป็นชื่อเดียวกับชื่อราชวงศ์ด้วย ในพงศาวดารคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่า เมื่อครั้งรับราชการเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ พระองค์ได้ขุดค้นพบปราสาททองหลังหนึ่งฝังอยู่ใต้ดิน ถือว่าเป็นผู้มีบุญญาธิการ[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] พระโอรส-ธิดา

พระเจ้าปราสาททองมีโอรสธิดารวมกัน 8 พระองค์ เป็นพระโอรส 7 พระองค์ เป็นพระธิดา 1 พระองค์

[แก้] พระมเหสีองค์แรก

มีพระโอรส 1 พระองค์ คือ

[แก้] พระราชเทวี องค์ที่ 1

มีพระโอรส 1 พระองค์ และพระธิดา 1 พระองค์ คือ

[แก้] พระราชเทวี องค์ที่ 2

มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ

[แก้] พระสนม

มีพระโอรส 3 พระองค์ คือ

[แก้] พระราชกรณียกิจ

1.การพระราชทานรางวัล เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ โปรดให้เลื่อนยศและตำแหน่งแก่ผู้ร่วมก่อการมากับพระองค์ เช่นจมื่นสรรเพชญ์ภักดี ผู้เขียนหนังสือเป็นรหัสบอกพระองค์ โปรดแต่งตั้งเป็นพระยาราชภักดี เจ้ากรมพระคลังมหาสมบัติ

พระองค์ได้เสด็จยกทัพไปตีเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา แต่ได้แข็งเมืองมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทำให้เขมรกลับมาเป็นหัวเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาดังเดิม

ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ หัวเมืองประเทศราชทางใต้ คิดกบฏยกทัพไปตีเมืองสงขลาและเมืองพัทลุง พระองค์ได้ส่งกองทัพไปปราบปรามได้ราบคาบ แต่ในขณะเดียวกันก็เสียเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองล้านนาแก่พม่า

ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการตรากฎหมายที่สำคัญ เช่น พระไอยการลักษณะอุทธรณ์ พระไอยการลักษณะมรดก พระไอยการลักษณะกู้หนี้ และพระธรรมนูญ

ในปีจุลศักราช 1000 ตรงกับปีขาล (พ.ศ. 2181) ซึ่งมีความเชื่อกันว่าจะเกิดเหตุร้ายแรงถึงขั้นกลียุค พระองค์จึงทรงให้จัดพิธีลบศักราช เปลี่ยนจากปีขาลเป็นปีกุน แล้วแจ้งให้หัวเมืองน้อยใหญ่รวมทั้งเมืองประเทศราช ให้ใช้ปีศักราชตามที่ทางกรุงศรีอยุธยากำหนดขึ้นมาใหม่ [1]

ในปี พ.ศ. 2175 พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พร้อมทั้งหมู่พระราชนิเวศ และวัดชุมพลนิกายาราม ขึ้นที่บางปะอิน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระองค์ สำหรับไว้เป็นที่แปรพระราชฐาน พระองค์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ทรงสถาปนาวัดสำคัญ ๆ หลายวัด เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดพระศรีสรรเพชญ์ และวัดชุมพลนิกายาราม ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดมหาธาตุ และโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปทรงนมัสการรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี มีการสร้างพระปรางค์ตามแบบขอม (สถาปัตยกรรมสมัยที่3 ของกรุงศรีฯ ยุคของพระเจ้าปราสาททอง ถึง พระเจ้าท้ายสระ)

สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2198 ครองราชย์ได้ 25 ปีพระชนมายุ 55 พรรษา

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม

สมัยก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมัยถัดไป
พระอาทิตยวงศ์
(ราชวงศ์สุโขทัย)

(พ.ศ. 2172 )
2leftarrow.png Seal of Ayutthaya (King Narai).png
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา
(ราชวงศ์ปราสาททอง)

(พ.ศ. 2172 - พ.ศ. 2199)
2rightarrow.png สมเด็จเจ้าฟ้าไชย
(ราชวงศ์ปราสาททอง)

(พ.ศ. 2199)


Crystal Clear app Login Manager.png สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์
ภาษาอื่น