เทวดาตามคติความเชื่อของศาสนาคริสต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตามความเชื่อของผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก นั้นเชื่อว่า เทวดามีหน้าที่ต่างๆกัน โดยท่านเดนิสแห่งอาโรปาไกท์ (Dionysius the Areopagite d.ca. 500) ได้แบ่งลำดับชั้นของเหล่าเทวดาเหล่านี้ไว้ 3 ชั้น(เอก,โท,ตรี)แต่ละชั้นก็มีอีก 3 คณะที่ทำหน้าที่ต่างๆกัน ดังน้น จึงถือว่าเทวดามียศต่างๆกันถึง 9 ลำดับ ซึ่งจาก issara.com [1] เรียกรวมๆว่าเทวัญ เพราะเทวดาก็ถือเป็นชื่อชั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ในบทความนี้จึงเรียกเทวดาว่าเทวัญด้วย

เนื้อหา

[แก้] ชั้นตรี วงศ์ที่ 3

ประกอบไปด้วย

[แก้] คณะเซราฟิม(Seraphim)

เทวัญ หรือ สิ่งมีชีวิตของพระเจ้าจากคัมภีร์เก่า เกี่ยวพันกับ เครูบ(Cherubim) รากศัพท์มาจากคำว่า seraph อันแปลว่าลุกไหม้ ที่ได้ชื่อนี้เพราะมีแสงสว่างอันเจิดจ้า ราวกับกำลังจะลุกไหม้ มีร่างกายสูงใหญ่ มี 6 ปีก 1 คู่สำหรับบิน 1คู่สำหรับปกป้องดวงตาจากการมองพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง และอีก1 คู่สำหรับปกคลุมเท้า เซราฟิมมักจะอยู่รายรอบบัลลังค์แห่งพระเจ้า ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าที่เรียกว่า "the Thrice Holy" เป็นบทเพลงสรรเสริญพระเจ้า

คณะเทพ เครูบีม ขณะเฝ้าสวนเอเดน

[แก้] คณะเครูบหรือ เชรูบ (Cherubim)

เทวัญนี้มีหน้าที่ดูแลและสนับสนุนบัลลังก์แห่งพระเจ้า หรือทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มครองดูแล ปรากฏใน พระคัมภีร์ไบเบิ้ล เอเสเคียล(the book of Ezekiel)ผู้ค้ำจุนบัลลังก์แห่งพระเจ้า และ กองทหารรถศึกของพระเจ้า ปรากฏในพระคัมภีร์ปฐมกาล ในฐานะผู้ดูแลสวนเอเดน และป้องกันไม่ให้มนุษย์กลับมายังสวนอีเดนอีกครั้ง บางครั้งเทวทูตในระดับนี้ก็ปรากฏตัวในรูปแบบของความเมตตากรุณาด้วย ในคติความเชื่อของยิวและคริสต์ เครูบ เป็นเทพระดับถัดมาจากเซราฟิมมี 4 ปีก 4 ใบหน้า ได้แก่ มนุษย์ วัว สิงโต อินทรี โดยปกติจะสวมชุดยาวสีน้ำเงิน ในขณะที่เซราฟิม สวมสีแดง

[แก้] คณะบัลลังก์ หรือ อาสนเทพ/โอฟานิม(Thrones)

ตามนิทานของชาวยิวเทวัญคณะนี้มี 70 ตำแหน่ง คอยปกป้องพระบัลลังก์ของพระเจ้าเทวัญเหล่านี้บางองค์ได้มีส่วนสมคบกันก่อกบฏต่อพระเจ้าและได้กลายเป็นปีศาจหรือเทวัญตกสวรรค์ไปก็มี จะเห็นได้ว่าแม้สมาชิกสวรรค์เองก็เห็นผิดเป็นชอบได้เหมือนกัน

[แก้] ชั้นโท วงศ์ที่ 2

ประกอบไปด้วย

[แก้] คณะหัวหน้า (ขัตติยเทพ:Dominations)

เทวัญคณะนี้มีหน้าที่คอยจัดสรรและมอบหมายหน้าที่การทำงานให้แก่บรรดาเทวดาต่าง ๆ ให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า สัญลักษณ์แห่งอำนาจของพวกเขาคือ คฑาและลูกโลก

[แก้] คณะคุณธรรม (ธรรมเทพ/ความดี:Virtues)

ตามนิทานของชาวยิว หน้าที่หลักของเทวัญคณะนี้คือการทำอัศจรรย์ต่าง ๆ ในโลก บทบาทนี้พบได้ในหนังสือกิจการอัครธรรมทูต 1.10

[แก้] คณะอำนาจ (อิทธิเทพ:Powers)

เทวัญหมวดนี้มีหน้าที่ดังทหารกล้าคอยต่อสู้กับปีศาจ และคอยปกป้องโลกไม่ให้ตกอยู่ใต้อำนาจของปีศาจ แต่บางครั้งก็พลาดท่าตกเป็นตัวร้ายเสียเองก็มี เช่นที่บันทึกไว้ในจดหมายถึงชาวโรม 8.38-39

[แก้] ชั้นเอก วงศ์ที่ 1

อัครเทวดากาเบรียลแจ้งข่าว แก่พระนางมารีย์

[แก้] คณะปกครอง (ศักดิเทพ:Principalities)

ชื่อของเทวัญหมวดนี้มาจากภาษากรีกเก่าซึ่งแปลได้ว่า ผู้ปกครอง (Rulers) หน้าที่ของพวกเขาคือคอยปกป้องศาสนา คอยดลใจบรรดาผู้นำประชาชนให้ตัดสินใจนำผู้อื่นไปในทางที่ถูกต้องในพระคัมภีร์กล่าวถึงเทวัญ กลุ่มนี้ว่าเกี่ยวข้องกับอำนาจทั้งทางดีและร้าย (อฟ 6.12: 2.22) มีประมุขได้แก่ อนาเอล ฮามิเอล และ Nisroch (ต่อมาได้กลายเป็นเทพตกสวรรค์) ว่ากันว่า ฮามิเอลเป็นผู้มารับประกาศก/ผู้เผยพระวจนะเอโนค (Enoch) พามาสู่สรวงสวรรค์หลังจากที่เอโนคถึงแก่กรรม ทูตสวรรค์องค์อื่น ๆ ในวงศ์นี้ ได้แก่ Cervill (เซอร์วิลล์) มีชื่อว่าเป็นเจ้าชายแห่งความแข็งแรง ผู้ช่วยเหลือกษัตริย์ดาวิดในสงครามที่ปะทะกับ โกลิอัท

[แก้] คณะอัครเทวดา (หัวหน้าเทพ:Archangels)

ไฟล์:Rpl.jpg
อัครเทพราฟาเอล

เทวัญเหล่านี้ถ้าแปลตามตำแหน่งแปลได้ว่าหัวหน้าเทวดา แต่หน้าที่จริง ๆ นั้นไม่มีใครทราบ มีบันทึกถึงบทบาทและ ชื่อ ของอัครเทวดาเหล่านี้ว่ามี เทวดามีคาเอล (ปราบเทวดากบฏอื่น ๆ) เทวดาราฟาเอล (ในหนังสือโทบิต) เทวดากาเบรียล (ช่วยดาเนียลเข้าใจนิมิตที่เห็น และเป็นผู้นำสาส์นมาแจ้งแก่พระนางมารีย์ถึงการรับเอากายของพระบุตร) หนังสือเอโนคบทที่ 1 กล่าวว่าเทวัญคณะนี้มี 7 องค์คือ มิคาเอล กาเบรียล ราฟาเอล อูรีเอล ซารีเอล เรมีเอล ราเกล

[แก้] คณะเทวดา (เทวทูต:Angels)

Ang2-x.jpg

คำว่าเทวดาที่เราหมายถึงและพบทั่วไปในพระคัมภีร์ก็อยู่หมู่เทวัญคณะนี้ เทวัญคณะนี้มีมากมายและมีหน้าที่หลายอย่างเช่น คอยปกป้องดูแลมนุษย์

Commons


[แก้] อ้างอิง

  1. ^ หน้าที่อ้างอิงเรื่องเทวดา

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น