จตุพร รัตนวราหะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

MKogo-headerSilpakorn.gif
ศิลปินสำนักการสังคีตกรมศิลปากร
กระทรวงวัฒนธรรม
สถานที่จัดการแสดงในสังกัด
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ศิลปินสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
กระทรวงวัฒนธรรม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายจตุพร รัตนวราหะ Mr.Jatuporn Ratanavaraha (ต้อย) เกิดวันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2479 (อายุ 73 ปี) เป็นศิลปินกรมศิลปากร ผู้ได้รับพระราชทานครอบและรับมอบกระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ,ได้กราบทูลสอนโขนถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และ มีผลงานการแสดงเป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ บทยักษ์ใหญ่ทศกัณฐ์เป็นบทที่อยู่ในความทรงจำของคนรักโขนกรมศิลปากรมานานกว่า ๔๐ ปี เป็นผู้ร่วมงานเคียงข้าง ศ.มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมชในการก่อตั้งและสร้างสรรค์โขนธรรมศาสตร์ เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านศิลปะการแสดงของรัฐ นอกจากนี้มีผลงานโดดเด่นอื่นๆทางด้านโขนและละครทั้งด้านการเป็นศิลปินผู้แสดง เป็นผู้สอน ผู้เผยแพร่ทั้งทางด้านปฏิบัติและทฤษฎี ปัจจุบันแม้จะเกษียณอายุราชการแล้ว ก็ยังทำงานด้านการเผยแพร่ศิลปการแสดงอยู่อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) พุทธศักราช ๒๕๕๒

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

นาย จตุพร รัตนวราหะ เป็นบุตรของนายเจิมและนางนางประวงษ์ รัตนวราหะ สมรสกับนางชุมศรี รัตนันท์ รัตนวราหะ มีบุตรด้วยกัน 4 คน คือ นาย เรืองฤทธิ์ รัตนวราหะ , น.ส. อติวรรณ รัตนวราหะ , นาย พีรพล รัตนวราหะ , นาย ณวพร รัตนวราหะ บุตรสาวคนเดียวได้สืบทอดศิลปการแสดงทางนาฏศิลป์เหมือนบิดา และปัจจุบันรับราชการอยู่ที่ วิทยาลัยนาฏศิลป กรุงเทพฯ

นาย จตุพร รัตนวราหะ จบจากโรงเรียนนาฏศิลป วิทยาลัยนาฏศิลปกรุงเทพฯ ปัจจุบันและครุศาสตร์บัณฑิต และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร พุทธศักราช 2507

[แก้] เกียรติยศที่ภาคภูมิใจ

271025K-01DSC.jpg

[แก้] การต่อกระบวนรำหน้าพาทย์องค์ พระพิราพ หน้าพระที่นั่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมศิลปากร ทำการคัดเลือกศิลปินที่มีความสามารถฝ่ายพระ 5 คนคือ นาย ธีรยุทธ ยวงศรี [1] นายธงไชย โพธยารมย์[2] [3] นายทองสุข ทองหลิม นายอุดม อังศุธร และนาย สมบัติ แก้วสุจริต และศิลปินโขนฝ่ายยักษ์ 7 คนคือนายราฆพ โพธิเวส[5][6] นายไชยยศ คุ้มมณี นายจตุพร รัตนวราหะ นาย จุมพล โชติทัตต์ นายสุดจิตต์ พันธ์สังข์ นาย สมศักดิ์ ทัดติ[7] และ นาย ศิริพันธ์ อัฏฏะวัชระ [8] รวมทั้งสิ้น 12 คน เข้ารับพระราชทานครอบประธานพิธีใหว้ครูโขนละคร และการต่อกระบวนรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ณ.ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน ในวันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2527

รูปนี้เป็นรูปของนายจตุพรรัตนวราหะและได้ให้ ศ.ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ นำไปพิมพ์ลงไว้ในหนังสือนาฎยศิลป์รัชกาลที่ 9, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2549.

[แก้] การกราบทูลสอนโขนถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ

  • นาย ธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เคยเขียนเล่าไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เมื่อทรงพระเยาว์ทรงศึกษาความรู้รอบตัวในทางศิลปะ และโปรดให้ขอครูโขนผู้ชำนาญในบทพระยาวานรจากกรมศิลปากรไปกราบทูลสอนถวายแด่สมเด็จพระบรมฯ
  • ซึ่งทางกรมศิลปากรได้จัดให้ จ่าเร่งงานรัดรุด ( เฉลิม รุทระวณิช ) ครูผู้ชำนาญในบทพระยาวานร ไปกราบทูลสอนถวายให้ทรงฝึกหัดบทพระยาวานรตามพระราชประสงค์
  • ต่อมาได้มีเจ้านายบางพระองค์กราบบังคมทูลพระดำริถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า น่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทรงฝึกบทพระยายักษ์ เพราะมีลีลาท่าทางเป็นสง่ามีทีท้าวทีพระยา ไม่หลุกหลิกแบบพระยาวานร
  • ทางกรมศิลปากร จึงจัดให้ นาย จตุพร รัตนวราหะ ครูโขนยักษ์ไปกราบทูลสอนโขนถวาย โดยได้ฝึกการแสดงเป็นวิรุญจำบัง

[แก้] ศิลปินแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ดำเนินการสรรหาศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะให้เป็นมรดกอันล้ำค่าของแผ่นดิน มายกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นต้นมา และในปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ นี้ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ นาย จตุพร รัตนวราหะ ศิลปินผู้มีความสามารถและอุทิศตนสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะจนโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชน เป็นศิลปินแห่งชาติ ปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลป์-โขน )

[แก้] ประวัติการรับราชการ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับคือ ปถมาภรณ์มงกุฏไทยและปถมาภรณ์ช้างเผือก

[แก้] ประสบการณ์ด้านการแสดง

[แก้] การฝึกหัดและการออกแสดง

  • เริ่มฝึกหัดเป็นตัวยักษ์ กับนายยอแสง ภักดีเทวา[9] และนายอร่าม อินทรนัฎ[10]
  • เป็นผู้แสดงโขน – ละคร ให้ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศชม ณ โรงละครศิลปากร โรงละครแห่งชาติ ทำเนียบรัฐบาล และไปเผยแพร่ผลงานทางด้านการแสดงในต่างประเทศหลายครั้ง

[แก้] ผลงานด้านการแสดงโขน

[แก้] การแสดงและการสอนในราชการกรมศิลปากร
  • แสดงเป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ เช่น ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก ไมยราพ เสนายักษ์ ม้าอุปการ เป็นต้น
  • เป็นผู้สอน นาฏศิลปินโขนยักษ์ ใหญ่
[แก้] การแสดงและการสอนร่วมกับ ศ.มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

[แก้] ผลงานด้านการแสดงละคร

[แก้] สรุปผลงาน

นาย สมรัตน์ ทองแท้ นาฏศิลปินโขนพระ นักวิชาการละครและดนตรี 7 สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้สรุปผลงานของ อาจารย์ จตุพร รัตนวราหะ ไว้ในบทรำอวยพรการแสดงชุด “ 72 ปี จตุพร นามขจรทศกัณฐ์ ” ในวันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2550 ณ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จ.กาญจนบุรี

      • - ปี่พาทย์ทำเพลงต้นเข้าม่าน- -ร้องเพลงสามไม้กลาง-
  • ทศกัณฐ์ อสุรา พญายักษ์ ทั้งสิบพักตร์ ยี่สิบกร สุนทรศรี
  • สมศักดิ์ สมร้าย ชายชาตรี สมเสน่ห์ อสุรี มีพึงยล
  • เป็นจอมราพณ์ เมืองมาร ผ่านลงกา เป็นศรัทธา เกรงกลัว ทั่วแห่งหน
  • เป็นที่รัก ที่บูชา อสุรชน เป็นจอมพล ลือนาม ในรามเกียรติ์
      • - ร้องเพลงทองย่อนรวบ-
  • ครูจตุพร รัตน วราหะ สืบศิลปะ นาฏกรรม เลิศล้ำเขียน
  • สวมบทบาท มารร้าย ได้แนบเนียน มิผิดเพี้ยน ยักษ์ใหญ่ ให้ลือชา
  • คราออกรบ เกรี้ยวกราด มาดนักเลง ยามครื้นเครง ออกสำรวล ชวนหรรษา
  • เมื่อเกี้ยวเก้อ วางเจ้าชู้ ดูงามตา คราวโศกา เจียนองค์ ลงวางวาย
      • -ร้องเพลงตระนิมิต -
  • เจ็ดสิบสอง ฉลองวัย ในครานี้ มวลน้องพี่ อสุรา มาเหลือหลาย
  • ต่างร่วมจิต ร่วมสุนทร อวยพรชัย สัมฤทธิ์ใน จตุพร บวรเอย
      • - ปี่พาทย์ทำเพลงตระนิมิต - รัว - - เพลงกราวใน- ( มอญแปลง ) 4 คำ ( แขกต่อยหม้อ ) 4 คำ - รัวท้ายรำดาบ-
      • นาฏศิลปิน โขนพระ ผู้รำอวยพร - คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด , มนตรี แหล่งสนาม , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ

[แก้] ผลงานสร้างสรรค์ด้านการแสดง

เมื่อสมัยที่ นาย จตุพร รัตนวราหะ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ได้สร้างสรรค์การแสดงชุดใหม่ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวสุโขทัยให้กับชาววิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัยได้นำออกแสดงและเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่ได้รับชมมาจนกระทั่งทุกวันนี้คือ

  • ฟ้อนตะคัน พ.ศ. 2533
  • ระบำเบญจรงค์ พ.ศ. 2534
  • ฟ้อนลื้อล่องน่าน พ.ศ. 2536
  • ระบำเทวีศรีสัชนาลัย พ.ศ. 2537
  • ระบำประทีปทอง พ.ศ. 2538

[แก้] ผลงานทางด้านวิชาการ

  • คู่มือการฝึกหัดโขนเบื้องต้น
  • รามายณะของอินโดนีเซีย แปล
  • หนังสือเพลงหน้าพาทย์ ซึ่งอธิบายเพลงหน้าพาทย์ในมุมมองของผู้แสดงโขนไว้อย่างชัดเจน และเป็นก้าวแรกที่เชื่อมโยงความรู้ดนตรีไทยและนาฏศิลป์โขน ปัจจุบันใช้เป็นตำราอ้างอิงในวงการศึกษา
  • รามเกียรติ์ ร้อยแก้ว เขียนลงในวารสารวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัยทุกเดือน
  • ละครพูดเรื่อง"เล็กโพธิ์ดำ
  • วีซีดี บันทึกการแสดงเรื่องจุดเด่นของทศกัณฐ์ รำลงสรงชมตลาด ฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน, ฉุยฉายหนุมานแปลง , เกี้ยวนาง นางลอย, ชูกล่องดวงใจ แจกในงานครบ 6 รอบ วันที่ 9 ธันวาคม 2551

[แก้] รูปภาพ

[แก้] อ้างอิง

  • อัตชีวประวัติ จตุพร รัตนวราหะ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปการแสดงกรมศิลปากร เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2541
  • ศ.ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์, นาฎยศิลป์รัชกาลที่ 9, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2549.
  • คำไว้อาลัยของนายธนิตอยู่โพธิ์ในหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพจ่าเร่งงานรุด ( เฉลิม รุทระวณิช ) ณ ฌาปนสถานกรมตำรวจ วัดตรีทศเทพ วันที่ 28 มีนาคม 2525
  • จดหมายเหตุพระราชพิธีพระราชทานครอบประธานประกอบพิธีไหว้ครูโขน-ละครและพิธีต่อท่ารำเพลงหน้าพาทย์ องค์พระพิราพ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2527 โดยกรมศิลปากรในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พ่อครู หยัด ช้างทอง ศิลปินแห่งชาติ ปี พุทธศักราช 2532 สาขาศิลปการแสดง ( นาฏศิลป์-โขน ) ณ.ฌาปนสถานวัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2539 .กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สุรวัฒน์ , 2539
  • ความเป็นมาของท่ารำองค์พระพิราพ โดย นาย ประเมษฐ์ บุณยะชัย ตีพิมพ์ในนิตยสารศิลปากร ปีที่ 53 ฉบับที่ 4 ( กรกฎาคม-สิงหาคม 2543 )

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] ประวัติและผลงาน

[แก้] หน้าพาทย์องค์พระพิราพ

[แก้] กรมศิลปากร

[แก้] โขนธรรมศาสตร์