โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

Logo3.jpg
“ ลูกสามเสน มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีน้ำใจ ”

โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่บนถนนพระราม 6 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร มีนักเรียนประมาณ 3,500 คน ปรัชญาโรงเรียน คือ สทฺธา สาธํ ปติฏฐิตา แปลว่า "ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ" ต้นไม้ประจำโรงเรียน คือ ต้นนนทรี ปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) โรงเรียนมีอายุครบ 54 ปี

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ลานพระ.jpg

ปีการศึกษา 2494 กระทรวงศึกษาธิการมีโครงการสร้างโรงเรียนฝึกหัดครูอีกแห่งหนึ่ง ที่ตำบลพญาไท อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ต่อมาเนื่องจากสถาพความจำเป็นเกี่ยวกับสถานที่เรียนของนักเรียนมัธยมมีไม่เพียงพอ กระทรวงศึกษาธิการจึงโอนโรงเรียนที่กำลังก่อสร้างนี้ให้เป็นโรงเรียนของกรมวิสามัญศึกษา เรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า โรงเรียนรางน้ำ และย้ายนักเรียนจำนวน 57 คนที่คุรุสภาส่งไปฝากเรียนที่โรงเรียนวัดราชาธิวาสเข้ามาเรียนที่โรงเรียนรางน้ำ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ต่อมา ปีการศึกษา 2495 หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น ได้ตั้งชื่อโรงเรียนอย่างเป็นทางการว่าโรงเรียนศรีอยุธยา มีนายพงษ์ แสงทอง เป็นครูใหญ่คนแรก และในปีเดียวกันนั้นเองได้มีนักเรียนหญิงจำนวนหนึ่งเข้าไปเรียน แต่ไม่ได้รวมเป็นโรงเรียนเดียวกัน ฝ่ายโรงเรียนหญิงได้มอบหมายให้ น.ส.เศวต จึงเจริญ เป็นครูใหญ่

ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 กรมวิสามัญศึกษาได้ส่งนักเรียนชายซึ่งไม่มีที่เรียนและคุรุสภารับไว้ ตั้งแต่ชั้น ม.1-ม.6 เข้าไปเรียนเพิ่มเติมจนสถานที่คับแคบ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดหาซื้อที่ดินของเอกชนมรดกของพระยาเพชรปรานี จำนวน 3 แปลง รวมเนื้อที่ 22 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา เพื่อแยกโรงเรียนและเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2497 และได้ย้ายนักเรียนชายจากโรงเรียนศรีอยุธยามาเข้าเรียนเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2498 ให้ชื่อโรงเรียนอย่างเป็นทางการว่า "โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย"

ต่อมาในปีการศึกษา 2510 กระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย เป็นโรงเรียนแรกและโรงเรียนเดียว ซึ่งใช้หลักสูตรโครงการมัธยมศึกษาแบบประสม (คมส.) และได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนสหศึกษานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในปีการศึกษา 2548 โรงเรียนได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอน "โครงการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เป็นภาษาอังกฤษ" หรือ English Program เป็นปีการศึกษาแรก

[แก้] ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

  1. พ.ศ. 2494 - 2495 นายดัด จันทนะโพธิ
  2. พ.ศ. 2495 - 2497 นายพงษ์ แสงทอง
  3. พ.ศ. 2497 - 2503 นายทิม ผลภาค
  4. พ.ศ. 2503 - 2507 นายจำเนียร บุญกูล
  5. พ.ศ. 2507 - 2509 นายมนตรี ชุติเนตร
  6. พ.ศ. 2509 - 2519 คุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์
  7. พ.ศ. 2519 - 2521 ว่าที่ ร.ต.จรัญ โสตถิพันธุ์
  8. พ.ศ. 2521 - 2523 นางลออศรี ชุมวรชาต
  9. พ.ศ. 2523 - 2532 นายเจือ หมายเจริญ
  10. พ.ศ. 2532 - 2539 นายเสรี ลาชโรจน์
  11. พ.ศ. 2539 - 2542 นางอุไรวรรณ สุพรรณ
  12. พ.ศ. 2542 - 2544 นายอำนาจ ศรีชัย
  13. พ.ศ. 2544 - 2546 น.ส.จงกล ทรัพย์สมบูรณ์
  14. พ.ศ. 2546 - 2551 นายวิศรุต สนธิชัย
  15. พ.ศ. 2551 - 2552 นางรัตนา เชาว์ปรีชา
  16. พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน นางฎาทกาญจน์ อุสตัส

[แก้] ผู้บริหารโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

[แก้] เกียรติประวัติ

  • พ.ศ. 2515 นักเรียนชั้นม.ศ.5 หลักสูตรโครงการมัธยมศึกษาแบบประสม (คมส.) รุ่นแรก แผนกวิทยาศาสตร์ สอบได้เป็นที่ 1 ของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2522 โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • พ.ศ. 2527 นักเรียน ม.6 หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 รุ่นแรก สายศิลปะ สอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาได้เป็นที่ 1 ของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2535 นายกิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา ได้รับเหรียญทองแดง ในการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2537 น.ส.ปรียานุช แสงไตรรัตนนุกูล ได้รีบเหรียญเงิน ในการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ และนายปกรณ์ แสงสุเรนทร์ ได้รับเหรียญทองแดง ในการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2538 น.ส.สิรินญา มัจฉาชีพ ได้รับเหรียญทองแดง ในการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ และนายพลพิบูล สตางค์พุฒ ได้รับเหรียญทองแดง ในการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2539 นายแทนไท ประเสริฐกุล ได้รับเหรียญทองแดง ในการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ

นายวินัย วงศ์สุรวัฒน์ ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

  • พ.ศ. 2541 น.ส.วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศิลปศาสตร์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2542 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา และโรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ISO 14001 จาก UKAS สหราชอาณาจักร
  • พ.ศ. 2543 หม่อมเจ้าหญิงสิริวัณณวรี มหิดล (พระยศในขณะนั้น) เสด็จเป็นองค์ประธานในงานเดินวิ่ง "สามเสนฯเพื่อการศึกษา" ที่ กระทรวงสาธารณสุข และนายพงศกร ฐิตโชติ ได้รับเหรียญเงิน ในการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2544 น.ส.เอมอร ทองเป็นใหญ่ ได้รับทุนทำโครงการวิจัย ระดับปริญญาตรี-โท-เอก จากสำนักงานสนับสนุนกองทุนวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2545 นายกิตติคุณ วังกานนท์ ได้รับเหรียญทอง ในการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ และนายอภิชาติ อภัยวงศ์ ได้รับเหรียญทอง ในการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2546 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในนขณะนั้น ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดงานการประชุมทางไกล โครงการอบรมครูหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน และจัดบรรยายเรื่อง "สอนอย่างไรให้ถึงฝัน" ณ หอประชุมอาคารอเนกประสงค์ และได้ถ่ายทอดสดการสอนคณิตศาสตร์ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา และในปีเดียวกันนี้ นายอัมพล ลิขิตชัชวาลกุล ได้รับเหรียญทอง ในการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2549 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนพรรณวดี เสด็จทรงเปิดโครงการทูบีนัมเบอร์วันของโรงเรียน

[แก้] สิ่งปลูกสร้าง

อาคาร 1
อาคาร 2 และสนามหญ้า
สระบัว
  • อาคาร 1 (ตึกหนึ่ง) สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2497 เป็นอาคารแรกและอาคารเดียวที่สร้างพร้อมกับการก่อตั้งโรงเรียน ปัจจุบันได้รับการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี อาคารนี้ประกอบด้วย ห้องเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตรกรรม) ห้องรับรอง ห้องประชุม ห้องศูนย์วัฒนธรรม ที่ทำการของสมาคมนักเรียนเก่าสามเสนวิทยาลัย ห้องพยาบาล ห้องแนะแนว สำนักงานงานฝ่ายบริหารการเงินและสินทรัพย์ และสำนักงานฝ่ายกิจการนักเรียน
  • อาคาร 2 (ตึกวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์) เดิมเป็นอาคารไม้ทั้งหลัง ต่อมาได้งบประมาณรื้อทิ้ง และสร้างใหม่เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2512 ปัจจุบันอาคารนี้เป็นอาคารวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย ห้องเรียนของนักเรียนมัธยมต้นและปลายในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และสำนักงานของฝ่ายบริหารวิชาการ และฝ่ายงานทะเบียน-วัดผล หน้าอาคารนี้มีเสาธงอยู่ด้วย
  • อาคาร 3 (ตึกสาม) เดิมเป็นเรือนไม้แถวยาว สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2497 ต่อมาได้ถูกรื้อและสร้างใหม่ด้วยเงินสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นอาคารสูง 5 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2517 ปัจจุบันประกอบด้วยห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย ห้องโสตทัศนศึกษา (ห้องทวีวิชา,ขจีรัตน์,สามเสนรวมใจและอักษราวลี) ห้องปฏิบัติการทางภาษาต่างประเทศ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การพัฒนาผู้เรียน ชั้นล่างมีสหกรณ์โรงเรียน ห้องสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และห้องของคณะกรรมการนักเรียน และเมื่อปีพ.ศ. 2544 ในสมัยที่นายอำนาจ ศรีชัย เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ได้สร้างส่วนต่อเติมเป็นสำนักงานผู้อำนวยการ ห้องเรียนรวม ห้องรับรอง และห้องประชุม ให้เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น
  • อาคาร 4 (ตึกศิลปะ) เดิมเป็นอาคารศิลปศึกษา สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2506 ต่อมาได้ถูกรื้อและสร้างใหม่เป็นอาคารสูง 5 ชั้นเมื่อปีพ.ศ. 2532 ปัจจุบันเป็นห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ห้องเรียนของนักเรียนมัธยมต้นและปลาย (วิชาศิลปศึกษาทั้งหมดเรียนที่ตึกนี้) สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา ห้องเรียนศิลปะ ห้องเรียนนาฎศิลป์ ห้องเรียนดนตรีสากล และห้องเรียนดนตรีไทย มีทางเดิมเชื่อมติดกับอาคาร 3 และอาคาร 9
  • อาคาร 5 (ตึกคหกรรม) เป็นอาคาร 2 ชั้น ปัจจุบันเป็นอาคารเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คหกรรมศาสตร์) และยังใช้ห้องด้านล่างเป็นห้องรับรองแขก และใช้ในการทานอาหารกลางวันของแขกที่มาเยี่ยมชมหรือดูงานที่โรงเรียนอีกด้วย
  • อาคาร 6 (โรงยิมส์) เป็นโรงพลศึกษา ไว้สำหรับเรียนวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และในปีพ.ศ. 2545 ได้ก่อสร้างสนามเทนนิสขนาดมาตรฐานขึ้นแทนสนามเดิม เพื่อรองรับการเรียนการสอนในวิชาพลศึกษา รวมถึงยังเป็นห้องพักครูหมวดวิชาพละศึกษาและสุขศึกษาอีกด้วย
  • อาคาร 7 (ตึกอุต) เป็นอาคาร 2 ชั้น สำหรับการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (อุตสาหกรรมศึกษา และ ธุรกิจศึกษา) ชั้นแรก เป็นห้องเรียนวิชา งานช่าง งานเหล็ก ส่วนชั้นที่ 2 เป็นห้องงานปั้น งานเขียนแบบ และห้องปฏิบัติการของวิชาธุรกิจศึกษา
  • อาคาร 8 (ตึก ศน./ตึกEP) สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2507 เดิมเป็นอาคารของหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาโรงเรียนได้รับคืนจากกระทรวงศึกษาธิการเมื่อปีพ.ศ. 2545 และโรงเรียนปรับปรุงภายนอกและภายในอาคารใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันเป็นห้องเรียนของโครงการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เป็นภาษาอังกฤษ (English Program) มีห้องเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) และห้องประชุมใหญ่โครงการ English Program รวมทั้งสำนักงานฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักงานฝ่ายวิชาการ และฝ่ายธุรการ ของโครงการ English Program ห้องลีลาศ และห้องออกกำลังกาย
  • อาคาร 9 (ตึกเก้า) เป็นส่วนต่อเติมของอาคาร 4 เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนสายศิลปะ-ภาษาต่างประเทศ (ฝรั่งเศส,เยอรมัน และ จีน) ที่เพิ่มมากขึ้น เป็นอาคารสูง 4 ชั้น ชั้นที่ 1 และ 2 เป็นส่วนขยายของห้องสมุด ส่วนชั้นที่ 3 และ 4 เป็นห้องเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายศิลปะ-ภาษาต่างประเทศ รวมทั้งห้องปฏิบัติการทางภาษา กลุ่มภาษาต่างประเทศที่สาม
  • อาคารอเนกประสงค์ (อาคารอเนก) สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2520 ด้วยเงินงบประมาณ เพื่อเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ (ชั้นบน) และโรงอาหาร (ชั้นล่าง) สำหรับรับประทานอาหาร
  • ศาลาสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี (ห้องประชาสัมพันธ์/ศาลาประชาสัมพันธ์) สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2525 สำหรับเป็นห้องประชาสัมพันธ์
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา (ตึกเฉลิม,ตึกใหม่) สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2539 เป็นส่วนต่อเติมของอาคาร 2 เป็นศูนย์วิทยบริหาร ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ และห้องเรียนคณิตศาสตร์ ห้องเรียนโครงการพิเศษ เช่น ห้องปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ (Math Center หรือ MC) อันทันสมัย
  • อาคาร3 ส่วนต่อเติม (อาคารมัลติมีเดีย,ตึกปีโป้,อาคารใหม่) เดิมเป็นช่องทางเชื่อมระหว่างอาคาร1และอาคาร3เป็นห้องน้ำชาย ต่อมาได้มีการปรับปรุงให้เป็นสวนหย่อม สำหรับอ่านหนังสือในสมัย นางอุไรวรรณ สุพรรณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ และต่อมาได้สร้างเป็นอาคาร5ชั้นเชื่อมต่อกับอาคาร3 และชั้นสองสามารถเชื่อมกับอาคาร1 เป็นที่ตั้งห้องผู้อำนวยการ และในชั้น3 4 5 เป็นห้องโสตทัศนศึกษา (ชั้น4 คือ ห้อง ขจีรัตน์ และชั้น5 คือห้อง สามเสนรวมใจ) และห้องประชุมของโรงเรียน

[แก้] ทำเนียบประธานนักเรียนโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

  • ปีการศึกษา 2535 นางสาววริสา เทียนสุวรรณ
  • ปีการศึกษา 2536 นางสาวกาญจนา พงษ์เฉลิม
  • ปีการศึกษา 2537 นางสาวปัญญสิริ รมยานนท์
  • ปีการศึกษา 2538 นายวินัย วงศ์สุรวัฒน์
  • ปีการศึกษา 2539 นายสิทธิเดช ฤทธิขจร
  • ปีการศึกษา 2540 นายทศพล ปรียาวงศากุล
  • ปีการศึกษา 2542 นางสาวนนตรา คุ้มวงศ์
  • ปีการศึกษา 2546 นายกัญจน์ โฆษิตชัยวัฒน์
  • ปีการศึกษา 2547 นายกอบพันธุ์ อธิพันธ์จินดา
  • ปีการศึกษา 2548 นายวทัญญู อวิหิงสานนท์
  • ปีการศึกษา 2549 นายณัฐดนัย ศิรินภานนท์
  • ปีการศึกษา 2550 นายภูมิพัฒน์ แจ่มเวหา
  • ปีการศึกษา 2551 นางสาวอัทธนีย์ ชาญชัยศรีสกุล
  • ปีการศึกษา 2552 นางสาวอรภัทร์ งามนิธิพร

[แก้] ศิษย์เก่าผู้มีชื่อเสียง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°47′02″N 100°32′04″E / 13.783955°N 100.534403°E / 13.783955; 100.534403