เขตปทุมวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตปทุมวัน
Cquote1.png บูชาท้าวมหาพรหม ชื่นชมวังสมเด็จย่า ศูนย์การค้ามากมี ลุมพินีสวนสาธารณะ ศิลปะมวยไทย สถานีรถไฟหัวลำโพง เชื่อมโยงรถไฟฟ้า สถานศึกษาเลื่องชื่อ นามระบือจุฬาลงกรณ์ Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย เขตปทุมวัน
อักษรโรมัน Khet Pathum Wan
รหัสทางภูมิศาสตร์ 1007
รหัสไปรษณีย์ 10330
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 8.37 ตร.กม.
ประชากร 58,858 คน (พ.ศ. 2552)
ความหนาแน่น 7,032.01 คน/ตร.กม.
สำนักงานเขต
ที่ตั้ง เลขที่ 216/1 ซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ถนนพระรามที่ 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
พิกัด 13°44′12″N, 100°31′24″E
หมายเลขโทรศัพท์ 0 2215 3820
หมายเลขโทรสาร 0 2215 0475
เว็บไซต์ เว็บไซต์สำนักงานเขตปทุมวัน
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตปทุมวัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตลุมพินี ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต

เนื้อหา

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

[แก้] ที่มาของชื่อเขต

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณคลองแสนแสบ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นท้องนาชานเมือง มีบัวพันธุ์ไทยขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงโปรด ฯ ให้สร้างสระบัว 2 สระ และพระตำหนักสำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อน และต่อมาได้โปรด ฯ ให้สร้างวัดปทุมวนาราม (แปลว่า วัดป่าบัว) ขึ้นเป็นพระอารามหลวง บริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า ปทุมวัน

[แก้] ประวัติศาสตร์

อำเภอปทุมวัน ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงนครบาลเมื่อปี พ.ศ. 2457 โดยใช้ที่ว่าการอำเภอสามแยก (ต่อมายุบรวมกับอำเภอสัมพันธวงศ์) เป็นที่ทำการในขั้นแรก จากนั้นจึงย้ายมาตั้งอยู่ที่สี่แยกปทุมวัน และได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบันในซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ถนนพระรามที่ 4 ในปี พ.ศ. 2506

ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอปทุมวันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่เขตปทุมวัน

เขตปทุมวันแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1. รองเมือง (Rong Mueang)
2. วังใหม่ (Wang Mai)
3. ปทุมวัน (Pathum Wan)
4. ลุมพินี (Lumphini)

[แก้] การคมนาคม

ภายในสถานีรถไฟหัวลำโพง

ถนนสายหลักในพื้นที่เขตได้แก่ ถนนพระรามที่ 1 (ต่อเนื่องเป็นถนนเพลินจิตและถนนสุขุมวิท) ตัดผ่านพื้นที่เขตในแนวนอนทางทิศเหนือ ถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองทางทิศใต้ โดยถนนที่เชื่อมระหว่างถนนทั้ง 2 สายนี้ ได้แก่ ถนนรองเมือง ถนนจารุเมือง (ต่อเนื่องเป็นถนนพระรามที่ 6) ถนนบรรทัดทอง ถนนพญาไท ถนนอังรีดูนังต์ และถนนราชดำริ นอกจากนี้ก็ยังมีถนนหลังสวน ถนนวิทยุ ถนนสารสิน ถนนจรัสเมือง ถนนเจริญเมือง และทางพิเศษเฉลิมมหานคร

หัวลำโพง ตั้งอยู่ในแขวงรองเมือง เป็นสถานีรถไฟกลางของกรุงเทพมหานคร รถไฟจะออกจากสถานีนี้ไปสู่จุดหมายปลายทางทั่วประเทศ

ในระบบขนส่งมวลชน เขตปทุมวันมีรถไฟใต้ดิน พร้อมด้วยสถานีหัวลำโพง สถานีสามย่าน สถานีสีลม และสถานีลุมพินี ตั้งอยู่ริมแนวเขตทางทิศใต้ ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอสก็มีสถานีสยามซึ่งเป็นสถานีหลักอยู่ในเขตนี้ เป็นจุดเชื่อมต่อสายสีลมกับสายสุขุมวิท สถานีรถไฟฟ้าอื่น ๆ ในพื้นที่เขต ได้แก่ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ สถานีราชดำริ (สายสีลม) สถานีชิดลม และสถานีเพลินจิต (สายสุขุมวิท)

การสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่ คือ เรือด่วนที่บริการในคลองแสนแสบ ซึ่งเป็นคลองแบ่งเขตปกครองแคบ ๆ ทางทิศเหนือ


[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เซ็นทรัลเวิลด์
  • ท่าเรือเชิงสะพานเฉลิมโลก
  • ที เค ปาร์ค
  • นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก
  • นารายณ์ภัณฑ์
  • บริการสารนิเทศเฉพาะสาขา ชนเผ่าไท-กะได
  • พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6
  • พิพิธภัณฑ์กุมารศัลยศาสตร์
  • พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ
  • พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พิพิธภัณฑ์บ้านไทยจิม ทอมป์สัน
  • พิพิธภัณฑ์โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
  • พิพิธภัณฑ์วาจวิทยาวัฑฒน์
  • พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย
  • พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
  • พิพิธภัณฑ์สมุนไพร
  • พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ
  • มาบุญครอง
  • ย่านราชประสงค์
  • เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โรงภาพยนตร์สามมิติกรุงศรีไอแมกซ์
  • วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร
  • วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
  • ศาลเทพตรีมูรติ
  • ศาลท้าวมหาพรหม เอราวัณ
  • ศาลพระนารายณ์ทรงสุบรรณ
  • ศาลพระพิฆเณศ
  • ศาลพระลักษมี
  • ศาลพระอิทร์ (ท้าวอมรินทร์เทวาธิราช)
  • สถานีรถไฟฟ้าสยามสแควร์
  • สถานีรถไฟหัวลำโพง
  • สนามกีฬาแห่งชาติ ศุภชลาศัย
  • สนามแข่งม้าราชกรีฑาสโมสร
  • สนามมวยลุมพินี
  • สยามเซ็นเตอร์
  • สยามดิสคัฟเวอรี่
  • สยามพารากอน
  • สยามสแควร์
  • สยามโอเชียนเวิลด์
  • สวนงูสภากาชาดไทย
  • สวนลุมพินี
  • สวนลุมไนท์บาร์ซาร์
  • หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
  • หอศิลป์จามจุรี
  • อาคารสินธร


[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′13″N 100°31′26″E / 13.737°N 100.524°E / 13.737; 100.524