จังหวัดกาฬสินธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดกาฬสินธุ์
ตราประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดกาฬสินธุ์
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ด้านหน้า เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ด้านหลัง
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด
Cquote1.png เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา
ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว
ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย กาฬสินธุ์
ชื่ออักษรโรมัน Kalasin
ชื่อไทยอื่นๆ เมืองน้ำดำ
ผู้ว่าราชการ นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2 TH-46
ต้นไม้ประจำจังหวัด มะหาด
ดอกไม้ประจำจังหวัด พะยอม
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 6,946.746 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 29)
ประชากร 980,158 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 22)
ความหนาแน่น 141.10 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 28)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ ถนนกาฬสินธุ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
โทรศัพท์ (+66) 0 4381 3215
โทรสาร (+66) 0 4381 1620
เว็บไซต์ จังหวัดกาฬสินธุ์
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดกาฬสินธุ์

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นับเป็นเมืองโบราณอีกแห่งหนึ่ง โดยมีหลักฐานแสดงอารยธรรมเก่าแก่กว่า 1,600 ปี และยังมีแหล่งซากไดโนเสาร์หลายแห่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงด้านโปงลาง

เนื้อหา

[แก้] อาณาเขตติดต่อ

กาฬสินธุ์ มีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

[แก้] ประวัติ

ตามบันทึกประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ในปี พ.ศ. 2336 บ้านแก่งสำโรงได้รับการสถาปนาเป็น เมืองกาฬสินธุ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากเจ้าโสมพะมิตรเข้าเฝ้าฯ ถวายสวามิภักดิ์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งขึ้นเป็น "พระยาไชยสุนทร" เจ้าเมืองท่านแรกโดยให้รั้งเมืองสืบไป

เมื่อ พ.ศ.2437 เมื่อพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) เป็นเจ้าเมือง มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแบบให้เจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร มาเป็นรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล มีมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ให้ยุบเป็นอำเภอ คือ เมืองกาฬสินธุ์ เป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นเป็นมณฑล ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด และมีอำนาจปกครองอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด โดยให้พระภิรมย์บุรีรักษ์เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัดกาฬสินธุ์

ต่อมาเกิดข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ การเงินฝืดเคือง จำเป็นต้องยุบจังหวัดต่าง ๆ ลงเพื่อให้สมดุลกับรายได้ของประเทศ จังหวัดกาฬสินธุ์จึงถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2474 และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอรรถเปศลสรวดี เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม (แทนพระยามหาสารคามคณาภิบาลซึ่งออกรับบำนาญ) ครั้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476 จึงได้ยกเลิกมณฑล

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2490 ได้ยกฐานะเป็น "จังหวัดกาฬสินธุ์" จนถึงปัจจุบัน

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 134 ตำบล 1509 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
  2. อำเภอนามน
  3. อำเภอกมลาไสย
  4. อำเภอร่องคำ
  5. อำเภอกุฉินารายณ์
  6. อำเภอเขาวง
  7. อำเภอยางตลาด
  8. อำเภอห้วยเม็ก
  9. อำเภอสหัสขันธ์
  10. อำเภอคำม่วง
  11. อำเภอท่าคันโท
  12. อำเภอหนองกุงศรี
  13. อำเภอสมเด็จ
  14. อำเภอห้วยผึ้ง
  15. อำเภอสามชัย
  16. อำเภอนาคู
  17. อำเภอดอนจาน
  18. อำเภอฆ้องชัย
แผนที่

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพะยอม (Shorea roxburghii)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะหาด (Artoccarpus lacucha)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี

[แก้] การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

สถาบันอาชีวศึกษา

โรงเรียน

[แก้] ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร

[แก้] อาหารพื้นเมือง

[แก้] ห้างสรรพสินค้า

ฯลฯ

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน

[แก้] อุทยาน

[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้] นามสกุลพระราชทานที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดกาฬสินธุ์

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 16°26′N 103°30′E / 16.43°N 103.5°E / 16.43; 103.5