ชิน คอร์ปอเรชั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ประเภท บริษัทมหาชน (SET:SHIN)
ก่อตั้งเมื่อ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2526
สำนักงานใหญ่ อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 1 ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
บุคลากรหลัก สมประสงค์ บุญยะชัย กรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร
อุตสาหกรรม บริษัทที่มีการลงทุนในกิจการ หรือมีบริษัทลูกที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน (Conglomerate Holding Company)
ผลิตภัณฑ์ การสื่อสารทุกรูปแบบยกเว้นโทรศัพท์บ้าน การเงิน การบิน สื่อมวลชนและโฆษณา
รายได้ 16,568.49 ล้านบาท (ข้อมูลปี พ.ศ. 2552 [1])
จำนวนพนักงาน 100-200 (ข้อมูลปี 2004)
คำขวัญ Services to meet all of your needs.
เว็บไซต์ www.shincorp.co.th

บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SET:SHIN ; หุ้นแนสแด็ก: SHNZY, SHNVF, SHNUF) เป็นบริษัทที่เรียกว่า "Conglomerate Holding Company" (มีการลงทุนในกิจการหรือมีบริษัทลูกที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน) มีชื่อเดิมว่า บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ก่อตั้งโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในปี พ.ศ. 2533 ปัจจุบันมีบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ถือหุ้นใหญ่ (โดยบริษัทนี้มี เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ จาก สิงคโปร์ถือหุ้นอยู่อีกทีหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันได้ลงทุนในหลากหลายกิจการต่างกลุ่มอุตสาหกรรมมากมาย)

เนื้อหา

[แก้] ธุรกิจในเครือ

ธุรกิจในเครือสามารถแบ่งออกได้เป็นใหญ่ ๆ คือธุรกิจสื่อสารและธุรกิจใหม่ โดยแบ่งดังนี้

[แก้] ธุรกิจทางด้านสื่อสารโทรคมนาคม

ธุรกิจในกลุ่มนี้ สามารถแบ่งออกได้หลากหลาย ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้หลักอย่างมหาศาลให้แก่กลุ่มชิน มีดังนี้

โทรศัพท์เคลื่อนที่

มี บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เป็นหัวเรือใหญ่ ให้บริการโทรศัพท์มือถือ GSM Advanced, GSM 1800 โดยได้รับสัมปทานจาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ในขณะนั้น)

อินเทอร์เน็ต

มีบริษัท ซี เอส ล็อกซ์อินโฟ จำกัด (มหาชน) เป็นหัวเรือใหญ่ พร้อมการสนับสนุนเพิ่มเติมจาก บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ตเวิรค์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (สังกัดภายใต้ AIS) โดยมีผลิตภัณฑ์ทั้งอินเทอร์เน็ตแบบรายเดือนและเติมเงิน รวมทั้งบริการ Buddy Broadband ที่ให้บริการจาก ADC ด้วย นอกจากนี้ยังมีบริษัท ชิน บอรด์แบรนด์ จำกัด เพื่อผลิตเนื้อหาให้กับผู้ใช้บรอดแบนด์ด้วย และยังมีเว็บไซต์ในเครือ เช่น Shinee.com, hunsa.com, sodamag.com, i-tas และ songjai.com ด้วย

สมุดหน้าเหลือง

มีบริษัทเทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด (มหาชน)เป็นผู้ดำเนินการ โดยบริษัท ซี เอส ล็อกซ์อินโฟ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ดำเนินการจัดพิมพ์สมุดหน้าเหลือง

ดาวเทียมและธุรกิจในต่างประเทศ

มีบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) โดยได้รับสัมปทานจาก กระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) เป็นหัวเรือใหญ่ และมีธุรกิจในต่างประเทศอีกด้วย สำหรับธุรกิจอินเทอร์เน็ตที่กล่าวไปข้างต้นและธุรกิจในต่างประเทศ ชินคอร์ปถือหุ้นโดยอ้อม โดยให้ชินแซลเทิลไลท์ถือหุ้นแทนบริษัทแม่ และให้ดำเนินการทั้งหมด

สื่อและทีวีโฆษณา

สำหรับสื่อ มี บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เป็นหัวเรือใหญ่ และ บริษัท เอสซี แมตช์บ็อกซ์ (SC Match Box) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตสื่อและเอเยนซี่โฆษณา

[แก้] ธุรกิจใหม่

ในที่นี้ หมายถึงธุรกิจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจสื่อสารซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมของกลุ่ม

[แก้] ธุรกิจการบิน

มีบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด เป็นหัวเรือ โดยเป็นการลงทุนระหว่างชินคอร์ป 50% และแอร์เอเชีย (Air Asia) ของมาเลเซียอีก 50% เป็นการให้บริการการบินราคาประหยัดในชื่อ ไทยแอร์เอเชีย (Thai Air Asia)

[แก้] ธุรกิจการเงิน

มีบริษัท แคปิตอล โอเค จำกัด ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต และมีบริษัทลูกคือ บริษัท เพยเม้นท์ โซลูชั่น จำกัด ให้บริการบัตรเงินสด โอเค แคชการ์ด โดยเป็นการร่วมลงทุนระหว่างชินคอร์ป ธนาคารทหารไทย และกลุ่มดีบีเอส (DBS) จากสิงคโปร์


[แก้] รายชื่อกรรมการผู้จัดการ

[แก้] รายชื่อกรรมการผู้จัดการของบริษัทและบริษัทลูกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

[แก้] รายชื่อกรรมการผู้จัดการ หรือ ประธานกรรมการ บริษัทลูกที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

[แก้] การขายกลุ่มชินวัตร ของกลุ่มผู้ถือใหญ่ ให้แก่เทมาเส็ก ของสิงคโปร์

การแถลงข่าวการขายหุ้นของกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมีนายบุญคลี ปลั่งศิริ เข้าร่วมแถลงด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป

เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่ประกอบด้วย นางสาวพิณทองทา ชินวัตร ถือหุ้นร้อยละ 20.15 นายบรรพจน์ ดามาพงศ์ ถือหุ้นร้อยละ 13.48 นายพานทองแท้ ชินวัตร ถือหุ้นร้อยละ 15.29 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถือหุ้นละ 0.67 และ นางบุษบา ดามาพงศ์ ถือหุ้นร้อยละ 0.005 รวมทั้งหมดร้อยละ 49.595 ได้ขายหุ้นให้แก่ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของรัฐบาลสิงคโปร์ โดยผ่านบริษัทในไทยชื่อ บริษัทซีดาร์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด (ซีดาร์) และ บริษัทแอสเปน โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด (แอส เปน) โดยซีดาร์เป็นบริษัทที่เทมาเส็กถือหุ้นอยู่ 49 % และธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทกุหลาบแก้วถือหุ้นในส่วนที่เหลือ 51 % ขณะที่แอสเปนเป็นบริษัทที่เทมาเส็กถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียวทางอ้อม

[แก้] กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ชิน คอร์ปอเรชั่น ในปัจจุบัน

ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด 1,742,407,239 54.43%
2 บริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด 1,334,354,825 41.68%
3 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 17,630,961 0.55%
4 CITIBANK NOMINEES SINGAPORE PTE LTD-UBS AG LONDON BRANCH-NRBS IPB CLIENT SEG 11,771,600 0.37%
5 CITIBANK NOMINEES SINGAPORE PTE LTD-ARANDA INVESTMENTS PTE LTD 8,071,100 0.25%
6 MERRILL LYNCH INTERNATIONAL-GEF (NON AUTO-FX) 6,843,900 0.21%
7 CHASE NOMINEES LIMITED 42 6,307,400 0.20%
8 HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 5,527,100 0.17%
9 CLEARSTREAM NOMINEES LTD 5,312,882 0.17%
10 ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 5,099,300 0.16%

[แก้] ข้อมูลน่ารู้อื่นๆ

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น