ธนาคารกรุงไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Bank krungthai th.jpg

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Krung Thai Bank Public Company Limited) เป็นธนาคารของรัฐ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 โดยการควบกิจการของธนาคารมณฑลและธนาคารเกษตร ซึ่งเป็นธนาคารที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่ทั้งคู่ และใช้ชื่อธนาคารใหม่ที่เกิดจากการควบรวมว่า "ธนาคารกรุงไทย จำกัด" มีตราสัญลักษณ์เป็นรูป นกวายุภักษ์ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของกระทรวงการคลังเป็นสัญลักษณ์ของธนาคาร

ในระยะแรกของการก่อตั้ง มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนเยาวราช วัตถุประสงค์ของการรวมธนาคารทั้งสองให้เป็นของรัฐ เพื่อให้มีฐานะการเงินมั่นคง บริการกว้างขวาง ผลการดำเนินงาน ดีขึ้นตามลำดับ จนสำนักงานใหญ่เดิมที่ถนนเยาวราช คับแคบ จึงย้ายสำนักงานมาที่ 35 ถนนสุขุมวิท เขตวัฒนา กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2525 ซึ่งใช้สำนักงานนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ธนาคารกรุงไทยได้เริ่มดำเนินกิจการมา มีการเจริญเติบโตที่มั่นคง รวดเร็ว มีการปรับปรุง และขยายองค์กรงานใหม่ ซึ่งตอบสนองลูกค้าได้มากขึ้น จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2531 ธนาคารกรุงไทย เป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวในสมัยนั้น ที่มีสาขาครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ

ธนาคารกรุงไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ แห่งแรกในประเทศไทยที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่คือกระทรวงการคลัง โดยถือหุ้นผ่านกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 6.184 พันล้านหุ้น คิดเป็น 55.31% ของหุ้นทั้งหมด [1]

นอกจากพาณิชยกรรมเช่นธนาคารพาณิชย์ทั่วไปแล้ว ธนาคารกรุงไทยยังเป็นช่องทางของรัฐบาลในการให้บริการทางการเงินสนองตามนโยบายของรัฐ โดยปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจบางประเภท เช่น สินเชื่อเพื่อโอท็อป (OTOP : หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์) สินเชื่อคอมพิวเตอร์ไอซีที สินเชื่อเพื่อการศึกษา ฯลฯ ธนาคารกรุงไทยยังเป็นธนาคารที่หน่วยงานราชการส่วนใหญ่เลือกใช้ อาทิเช่น กรมสรรพากร จ่ายเช็คคือภาษีเป็นเช็คของธนาคารกรุงไทย และการเบิกจ่ายงบประมาณราชการ รวมถึงบำเน็จบำนาญต่างๆ ของรัฐก็มีความเกี่ยวข้องกับธนาคารกรุงไทย

เวลาทำการของธนาคารกรุงไทยนั้นแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไปที่ปรับตามสภาวะเศรษฐกิจและความเหมาะสมในการดำเนินพาณิชยกรรม แต่เวลาทำการของธนาคารกรุงไทยสอดคล้องกับเวลาทำการของรัฐวิสาหกิจและราชการมากกว่า เช่นในปัจจุบันที่เปิดทำการถึงเวลา 16.30 น. ขณะที่ธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ปิดทำการก่อนหน้านั้น[ต้องการอ้างอิง]

เนื้อหา

[แก้] บริษัทในเครือของธนาคารฯ

ธุรกิจบัตรเครดิต

  • บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (เคทีซี)

ธุรกิจหลักทรัพย์และการลงทุน

  • บริษัท หลักทรัพย์ เคที ซิมิโก้ จำกัด
  • บริษัท หลักทรัพย์ ตรินีตี้ จำกัด
  • บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ธุรกิจการประกันชีวิตและประกันวินาศภัย

  • บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด
  • บริษัท กรุงไทยพาณิชประกันภัย จำกัด
  • บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

ธุรกิจสินเชื่อเช่ายืมและเช่าซื้อ

  • บริษัท กรุงไทย ไอบีเจ ลีสซิ่ง จำกัด
  • บริษัท เคทีบี ลีสซิ่ง จำกัด

ธุรกิจกฎหมาย

  • บริษัท กฎหมายกรุงไทย จำกัด

ธุรกิจคอมพิวเตอร์

  • บริษัท กรุงไทย คอมพิวเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องของสาขาธนาคาร

  • บริษัท กรุงไทยธุรกิจบริการ จำกัด

การที่ธนาคารกรุงไทย เป็นผู้ก่อตั้งหรือถือหุ้นบริษัทบางแห่ง ของเครือ นั้น จะถือได้ว่า เป็นธุรกิจที่เสมือนเป็นรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไป เพืยงแต่ว่าเป็นบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เท่านั้น

[แก้] ธนาคารที่โอนกิจการและการส่งให้ผู้อื่น

หลังจากที่รัฐบาลไทยเข้าถือหุ้นใหญ่ ธนาคารฯ ทั้งสองแห่ง ทั้งนี้จะมีชื่อเดิมต่อไปนี้

  • ธนาคารเกษตร จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2493
  • ธนาคารมณฑล จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2485 โดยเปลี่ยนชื่อจากธนาคารไทย จำกัด

ทั้งสองแห่งถูกเปลี่ยนเป็น ธนาคารกรุงไทย ตามนโยบายของรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509

ธนาคารฯอื่น ที่ธนาคารกรุงไทย เป้นผู้รับโอนกิจการ

  • ธนาคารสยาม จำกัด เดิมชื่อว่า ธนาคารเอเชียทรัสต์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 แล้วเปลี่ยนชื่อ เมื่อปี พ.ศ. 2527 โอนกิจการวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2530 บางส่วน ก็กลายเป็น บริษัท ทิพยสิน จำกัด เพื่อกำกับดูแลลูกหนี้เดิมของธนาคารสยาม จำกัด
  • ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ จำกัด (มหาชน) ยุติการดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยในปีเดียวกัน ธนาคารฯ เป็นผู้รับโอนเฉพาะทรัพย์สิน หนี้สิน งบประมาณที่มีคุณภาพดีสูง จากแห่งนี้ด้วย
  • ธนาคารมหานคร จำกัด(มหาชน) โอนกิจการวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541

ธนาคารฯเป็นผู้โอนให้กับผู้อื่น

  • บริการทางการเงินตามหลักซาริฮะห์ ของธนาคารกรุงไทย หรือมีอีกชื่อหนึ่งคือ ธนาคารกรุงไทยซาริฮะห์ เป็นบริการทางการเงินที่ปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม บริหารงานโดย ธนาคารฯเอง โอนกิจการเมื่อวันที่9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ให้กับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น