สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คฤหาสน์คลิฟเดินโดยสถาปนิกชาร์ลส์ แบร์รี[1]ที่เป็นคฤหาสน์ฟื้นฟูเรอเนซองส์ลักษณะแบบอิตาลีที่แสดงลักษณะที่ “บ่งเป็นนัยยะอย่างชัดแจ้ง[ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างของ]คหบดีพ่อค้าผู้มั่งคั่งชาวอิตาลี”“[2]

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี (อังกฤษ: Italianate architecture หรือ Italianate style of architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของยุคสถาปัตยกรรมที่เรียกว่ายุคฟื้นฟูสถาปัตยกรรมคลาสสิค การสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นแบบสถาปัตยกรรมอิตาลีเป็นการใช้ลักษณะทรงและศัพท์สถาปัตยกรรมของสถาปัตยกรรมอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นพื้นฐานในการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ทั้งลัทธิพาลเลเดียน และลัทธิฟื้นฟูคลาสสิคในการผสานกับความงามอันต้องตา (picturesque aesthetics) ฉะนั้นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม “ฟื้นฟูเรอเนซองส์” ด้วยจึงเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของยุค นักประวัติศาสตร์ชาวสวิสเชื้อสายเยอรมันซิกฟรีด กีเดียนบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของปรัชญาของการเปลี่ยนแปลงลักษณะสถาปัตยกรรมว่า “การมองอดีตแปรสภาพของสิ่งของ ผู้ชมทุกคนทุกสมัย—ทุกช่วงเวลา—ในที่สุดก็จะเปลี่ยนแปรลักษณะที่เห็นในอดีตในบริบทของความเข้าใจของตนเอง”[3] สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเริ่มขึ้นในบริเตนราว ค.ศ. 1802 โดยจอห์น แนช โดยการสร้างคฤหาสน์ ครองค์ฮิลล์ในชร็อพเชอร์ คฤหาสน์ชนบทขนาดเล็กหลังนี้โดยทั่วไปแล้วก็เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นคฤหาสน์แบบอิตาลีหลังแรกในอังกฤษ ที่กลายมาเป็นต้นฉบับของ “สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี” ในตอนปลายของสมัยสถาปัตยกรรมรีเจ็นซี และในตอนต้นของสถาปัตยกรรมวิคตอเรียต่อมา[4]

ต่อมาสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีก็พัฒนาขึ้นและทำให้แพร่หลายมากขึ้นโดยสถาปนิกชาร์ลส์ แบร์รีในคริสต์ทศวรรษ 1830[5] งานแบบอิตาลีของแบร์รีส่วนใหญ่แล้วจะใช้ลักษณะรูปทรงและการตกแต่งของสิ่งก่อสร้างของอิตาลีของสมัยเรอเนซองส์ ซึ่งบางครั้งก็จะขัดกับงานคฤหาสน์แบบอิตาลีกี่งชนบทขอจอห์น แนช ที่ผลที่ออกมาเป็นลักษณะที่เรียกว่า “ลักษณะแบบอิตาลี” การใช้ลักษณะดังว่านี้ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในอังกฤษแต่ยังรวมทั้งยุโรปเหนือ และจักรวรรดิอังกฤษด้วย และมีลักษณะที่ย่อยออกมาอีกหลายสักษณะ ที่ยังคงเป็นที่นิยมกันเป็นเวลานานหลังจากที่หมดความนิยมกันไปแล้วในอังกฤษเอง ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1840 จนถีง 1890 สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีไปมีความนิยมกันสหรัฐอเมริกา[6] ที่ได้รับการเผยแพร่โดยสถาปนิกอเล็กซานเดอร์ แจ็คสัน เดวิส

เนื้อหา

[แก้] สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในอังกฤษและเวลส์

คฤหาสน์ฟื้นฟูเรอเนซองส์: คฤหาสน์ออสบอร์นที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1851 คฤหาสน์แบบพาลเลเดียนที่ได้รับการตกแต่งเพิ่มเติม “แบบอิตาลี” โดยการเพิ่มหอทัศนา
Villa Emo by Palladio,1559. The great Italian villas were often a starting point for the buildings of the 19th century Italianate style.

งานเลียนแบบสถาปัตยกรรมอิตาลีตอนปลายของการพัฒนาการของแนชทำในปี ค.ศ. 1805 ในการออกแบบคฤหาสน์แซนดริดจ์พาร์คที่Stoke Gabrielสโตคกาเบรียลในเดวอน โดยมีเลดี้แอชเบอร์ตันเป็นผู้จ้างเพื่อให้เป็นคฤหาสน์ชยบท คฤหาสน์ขนาดเล็กหลังนี้แสดงให้เห็นชัดถึงลักษณะคาบเกี่ยวระหว่างความงามที่ต้องตาของงารของวิลเลียม กิลพิน งานของแนชเองที่อยู่ในระหว่างการพัฒนไปเป็นแบบอิตาลีอย่างเต็มที่ ขณะที่ยังเรียกได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมรีเจ็นซี แต่การมีลักษณะที่ไม่เป็นทางการ และไม่สมมาตร พร้อมทั้งการมีระเบียงลอจเจียและระเบียงยื่นทั้งที่ทำด้วยหินและเหล็กดัด, หอ และหลังคาลักษณะป้านเป็นงานที่มีลักษณะเป็นแบบอิตาลีของคฤหาสน์ ครองค์ฮิลล์อย่างเต็มที่[7] และถือกันว่าเป็นตัวอย่างแรกของลักษณะแบบอิตาลีแรกในบริเตน

ตัวอย่างต่อมาของแบบอิตาลีแรกในอังกฤษมักจะเป็นรูปแบบของลักษณะของสิ่งก่อสร้างแบบพาลเลเดียนที่มักจะเพิ่มหอทัศนาพร้อมด้วยลูกกรงระเบียงแบบเรอเนซองส์บนระดับหลังคา ลักษณะดังว่ามักจะเป็นลักษณะที่เกิดจากการตีความหมายของรูปทรงเกินไปกว่าที่สถาปนิกและผู้สร้างบ้านคาดคิดว่าควารจะเป็นงานแบบอิตาลี และเป็นการใช้ทรงการตกแต่งของรายละเอียดของเรอเนซองส์แบบอิตาลีมากกว่าตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีของแนชก่อนหน้านั้น

เซอร์ชาร์ลส์ แบร์รีผู้เป็นที่รู้จักกันมากกว่าในงานสถาปัตยกรรมทิวดอร์ และ กอธิคของตึกรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรในลอนดอนเป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันในการเผยแพร่ลักษณะสถาปัตยกรรมดังกล่าว แต่ไม่เหมือนแนช, แบร์รีได้รับแรงบันดาลใจจากอิตาลีเอง แบร์รีได้รับอิทธิพลเป็นอันมากจากการออกแบบคฤหาสน์เรอเนซองส์ในโรม, ลาซิโอ และเวเนโตหรือตามที่แบร์รีเองกล่าวว่าจาก “...ลักษณะอันไม่สมมาตรอันมีเสน่ห์ของคฤหาสน์อิตาลี”[8] งานแบบอิตาลีชิ้นที่เด่นที่สุดของแบร์รีคือคฤหาสน์คลิฟเดินซึ่งเป็นคฤหาสน์เรอเนซองส์ขนาดใหญ่ แม้จะกล่าวอ้างกันว่าหนึ่งในสามของคฤหาสน์ชนบทของสมัยวิคตอเรียในอังกฤษเป็นลักษณะแบบคลาสสิคที่ส่วนใหญ่เป็นแบบอิตาลี[9] เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1855 ลักษณะแบบอิตาลีก็หมดความนิยมลงและคฤหาสน์คลิฟเดินกลายมาเป็นตัวแทนของ “...ลักษณะของความเสื่อมของความนิยมที่สิ้นสุดลง”[10]

ทอมัส คิวบิทท์ผู้รับสัญญาก่อสร้างชาวลอนดอนผสานเส้นสายแบบคลาสสิคของแบบอิตาลีของแบร์รีในการก่อสร้างบ้านเรือนแถวในลอนดอน[11] ทอมัส คิวบิทท์ออกแบบคฤหาสน์ออสบอร์นภายใต้การควบคุมของเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต และเป็นผู้ที่ทำเปลี่ยนโฉมสถาปัตยกรรมสองมิติหลังนี้ให้เป็นคฤหาสน์ที่ตั้งเด่น[12] ที่กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คฤหาสน์แบบอิตาลีไปทั่วจักรวรรดิอังกฤษต่อมา

หลังจากสร้างคฤหาสน์ออสบอร์นเสร็จในปี ค.ศ. 1851 ลักษณะสถาปัตยกรรมของคฤหาสน์ก็กลายเป็นลักษณะที่นิยมกันในการก่อสร้างคฤหาสน์ขนาดย่อมที่สร้างโดยนักอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยขึ้นมาใหม่ในยุคนั้น คฤหาสน์เหล่านี้มักจะสร้างในตัวเมืองล้อมรอบไปด้วยสวนใหญ่แต่ไม่ใหญ่และกว้างขวางมากเท่าใดนัก และมักจะวางตัวบ้านบนเนินลดหลั่นและทัสคันเช่นกัน คฤหาสน์บางหลังที่เหมือนกันหรือเกือบจะเหมือนกันที่เป็นแบบคฤหาสน์แบบอิตาลีจะมีหลังคาทรงหลังคามันซาร์ด (Mansard roof) แบบฝรั่งเศสที่ทำให้สิ่งก่อสร้างได้รับชื่อว่าคฤหาสน์ “สถาปัตยกรรมแบบชาโต” (Châteauesque) แต่หลังจากนั้นความนิยมการก่อสร้างคฤหาสน์อิตาลีและแบบชาโตฝรั่งเศสแล้ว[13] เมื่อมาถึง ค.ศ. 1855 ลักษณะสถาปัตยากรรมที่นิยมกันที่สุดต่อมาของเป็นแบบคฤหาสน์ชนบทก็เปลี่ยนไปเป็นสถาปัตยากรรมแบบกอธิค, ทิวดอร์ และ เอลิซาเบธ

ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีคือหมู่บ้านตากอากาศพอร์ทไมเรียนที่กวินเนดด์ทางตอนเหนือของเวลส์

[แก้] สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในเลบานอน

อิทพลทางสถาปัตยกรรมของอิตาลีที่มีต่อเลบานอนโดยเฉพาะสถาปัตยกรรมทัสคันเริ่มขึ้นตั้งแต่ยุคเรอเนซองส์เมื่อฟาคห์ร-อัล-ดินที่ 2 (Fakhr-al-Din II) ผู้เป็นประมุขของสหเลบานอนองค์แรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 พระองค์ทรงรวมเมานท์เลบานอนเข้ากับบริเวณฝั่งทะเลเลบานอนและทรงมีแผนการณ์ใหญ่ในการพัฒนาประเทศ

เมื่อออตโตมันส่งฟาคห์ร-อัล-ดินที่ 2 ไปลี้ภัยยังทัสคานีในปี ค.ศ. 1613 ฟาคห์ร-อัล-ดินก็ไปทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับตระกูลเมดิชิ เมื่อเสด็จกลับเลบานอนในปี ค.ศ. 1618 พระองค์ก็ทรงเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาเลบานอนให้ทันสมัยขึ้น โดยการก่อตั้งอุตสาหกรรมไหม, ปรับปรุงอุตสาหกรรมการทำน้ำมันมะกอก และทรงนำวิศวกรอิตาลีติดตามมาด้วยเป็นจำนวนมาก ผู้มาเริ่มการก่อสร้างคฤหาสน์ และ ตึกราชการต่างๆ ทั่วไปในเลบานอน[14] โดยเฉพาะเบรุต และ ไซดอนที่สร้างเป็นเมืองแบบอิตาลีอย่างแท้จริง[15] อิทธิพลของสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ เช่นตึกใน Deir el Qamar มีอิทธิพลต่อการก่อสร้างสถาปัตยกรรมในเลบานอนต่อมาเป็นเวลาอีกหลายร้อยปี และ ยังคงดำเนินต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ตัวอย่างเช่นบ้านเรือนบนถนนกูโรด์ที่ยังมีบ้านเรือนอยู่หลายหลังที่ยังคงเป็นแบบอิตาลี[16]

[แก้] สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในสหรัฐอเมริกา

คฤหาสน์เบรกเคอร์ออกแบบโดยริชาร์ด มอรริส ฮันท์สำหรับตระกูลแวนเดอบิลท์ที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1895

ลักษณะแบบอิตาลีเริ่มมามีความนิยมกันในสหรัฐอเมริกาโดยสถาปนิกอเล็กซานเดอร์ แจ็คสัน เดวิสในคริสต์ทศวรรษ 1840 ในการเป็นสถาปัตยกรรมอีกรูปแบบหนึ่งนอกไปจากสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค หรือ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก คฤหาสน์ลิชฟิลด์ (Litchfield Villa) ที่สร้างโดยเดวิสในปี ค.ศ. 1854 ที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของพรอสเพ็คพาร์ค, บรุคลินเป็นตัวอย่างที่ดีของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลี ที่เดิมเรียกกันว่าลักษณะ “คฤหาสน์อิตาลี” หรือ “คฤหาสน์ทัสคัน” กล่าวกันว่า คฤหาสน์แบลนด์วูดที่เดิมเป็นที่พำนักของข้าหลวงประจำรัฐนอร์ทแคโรไลนาจอห์น โมทลีย์ มอร์เฮดเป็นสิ่งก่อสร้างแบบอิตาลีที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา[17] ตัวอย่างแรกๆ ของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีมีลักษณะคล้ายงานแบบอิตาลีโดยแนชมากกว่าที่จะเป็นงานที่มีอิทธิพลของสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ที่ออกแบบโดยแบร์รี สถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษริชาร์ด อัพจอห์นใช้สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในการก่อสร้างเป็นจำนวนมากที่เริ่มในปี ค.ศ. 1845 ด้วยคฤหาสน์เอ็ดเวิร์ด คิง สถาปนิกผู้อื่นที่ใช้การก่อสร้างลักษณะนี้ก็ได้แก่จอห์น น็อทมันที่หลายท่านกล่าวว่าเป็นผู้นำลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเข้ามายังสหรัฐอเมริกา และ เฮนรี ออสติน (สถาปนิก)[18] น็อทมันออกแบบคฤหาสน์ริเวอร์ไซด์ซึ่งเป็น “คฤหาสน์อิตาลี” คฤหาสน์แรกในเบอร์ลิงทัน, นิวเจอร์ซีย์ในปี ค.ศ. 1837

แบบอิตาลีที่ได้รับตีความหมายใหม่และกลายเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ที่ใช้นำลักษณะเรอเนซองส์อิตาลีบางอย่างมาขยายให้เด่นขึ้น (exaggeration) โดยการเน้นชายคาที่รองรับโดยคันทวย และ หลังคาป้านไปจนราบที่เป็นชายคายื่นกว้างออกไปจากตัวอาคาร นอกจากนั้นก็มีการต่อเติมหอที่เป็นนัยยะของหอทัศนา หรือบางครั้งก็อาจจะถึงกับเป็นหอระฆัง

ลวดลายตกแต่งแบบอิตาลีก็ใช้ผสานเข้าไปในการตกแต่งสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการธุรกิจ ที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมวิคตอเรียมาตั้งแต่กลางหรือปลายคริสต์ทศวรรษ 1800

ลักษณะสถาปัตยกรรมกลายมาเป็นที่นิยมกันมากกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกภายในคริสต์ทศวรรษ 1860 ความนิยมอันแพร่หลายมีสาเหตุมาจากความเหมาะสมของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและงบประมาณ และการวิวัฒนาการของการผลิตเหล็กหล่อ (cast-iron) และ press-metal ที่ทำให้การผลิตสิ่งตกแต่งเช่นบัวทำได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อมาถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1870 ความนิยมของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีก็มาแทนด้วยสถาปัตยกรรมควีนแอนน์ และ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูอาณานิคม

คฤหาสน์เบรกเคอร์ (นิวพอร์ท, โรดไอแลนด์) ออกแบบโดยริชาร์ด มอรริส ฮันท์สำหรับคอร์นีเลียส แวนเดอบิลท์ที่ 2 เป็นคฤหาสน์ 70 ห้องที่ทำการสร้างระหว่าง ค.ศ. 1893 ถึง ค.ศ. 1895 ที่มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีอย่างแท้จริงในสหรัฐอเมริกา ขณะที่ภายนอกมีลักษณะเป็นพาลัซโซแบบเรอเนซองส์ แต่การก่อสร้างใช้เทคนิคที่ก้าวหน้าที่สุดของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยการใช้โครงเหล็กกล้าและไม่มีการใช้ไม้ การใช้ปล่องไฟสูง, การใช้ปีกสิ่งก่อสร้างหลายปีกเรียงกัน, การใช้คันทวยที่ใหญ่กว่าปกติ, หลังคาจั่วแหลมที่มองเห็นได้ ต่างก็เป็นลักษณะของการตีความหมายของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีแบบอเมริกัน

คฤหาสน์เบรกเคอร์และลักษณะสถาปัตยกรรมของการก่อสร้างได้รับการวิจารณ์โดยผู้ออกความเห็นเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมว่าเป็น “ความหลงลักษณะสถาปัตยกรรมโบราณของยุโรปในการแปลงสถาปัตยกรรมพาลัซโซแบบเรอเนซองส์มาใช้กับที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล”[19] แต่เมื่อสร้างเสร็จคฤหาสน์เบรกเคอร์ก็กลายเป็นการแสดงออกของรสนิยมส่วนตัว และ ความมั่งคั่งของเจ้าของแทนที่จะแต่เพียงการแสดงออกของลักษณะสถาปัตยกรรม

ความนิยมสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในช่วงหลังจากปี ค.ศ. 1845 จะเห็นได้จากสถาปัตยกรรมในเมืองซินซินแนติซี่งเป็นเมืองที่รุ่งเรืองขึ้นมาอย่างรวดเร็ว (boomtown) เมืองแรกทางตะวันตกของเทือกเขาแอพเพเลเชียน ซินซินแนติเจริญขึ้นมาจากการขึ้นล่องตามแม่น้ำโอไฮโอ และเป็นเมืองที่มีกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีกลุ่มใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ที่ส่วนใหญ่สร้างโดยผู้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานจากเยอรมนีที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีประชากรอยู่กันอย่างแออัด เมื่อไม่นานมานี้ก็เริ่มมีการเห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมลักษณะนี้ที่เป็นสาเหตุให้มีการรณรงค์ในการเริ่มโครงการขนาดใหญ่เพื่อทำการอนุรักษ์กลุ่มสิ่งก่อสร้างอันน่าประทับใจดังกล่าว เมืองเพื่อนบ้านเช่นนิวพอร์ท, เคนทักกี และ โคฟวิงตัน, เคนทักกีต่างก็มีกลุ่มสิ่งก่อสร้างแบบอิตาลีอันน่าประทับใจเช่นกัน

การ์เดนดิสตริคท์, นิวออร์ลินส์ก็มีตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีที่งดงามอยู่บ้าง เช่นคฤหาสน์ 1331 เฟิร์สท์สตรีทที่ออกแบบโดยซามูเอล เจมิสัน หรือ คฤหาสน์ แวนเบนฮุยเซน-เอล์มส์

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มขึ้นเป็นเวลานานหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นสาเหตุที่ทำให้การตกแต่งรายระเอียดของสิ่งก่อสร้างทำจากวัสดุที่ผลิตในระดับอุตสาหกรรม การกระจายสินค้าไปยังตลาดต่างๆ ก็เป็นไปอย่างง่ายดายด้วยระบบการคมนาคมทางรถไฟ ฉะนั้นเราจึงอาจจะพบสิ่งตกแต่งสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในเดนเวอร์สำหรับผู้มีฐานะดีอาจจะเป็นสิ่งเดียวกับที่ใช้ในการตกแต่งเรือนแถวของผู้ทำงานในโรงงานในพิตส์เบิร์ก[20]

[แก้] สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในออสเตรเลีย

จวนข้าหลวง, เมลเบิร์นสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1876

ลักษณะแบบอิตาลีเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในออสเตรเลียในการสร้างที่อยู่อาศัย จวนข้าหลวง, เมลเบิร์นที่ออกแบบโดยสถาปนิกวิลเลียม วอร์เดลล์ — ที่ในปัจจุบันใช้เป็นที่พำนักของข้าหลวงของรัฐวิคตอเรีย — เป็นตัวอย่างหนึ่งของ “การพบความรักในสถาปัตยกรรมแบบอิตาลี, พาลเลเดียน และ เวนิส” ของวอร์เดลล์[21] สิ่งก่อสร้างสีครีม พร้อมด้วยสิ่งตกแต่งพาลเลเดียนยกเว้นหอเชิงเทินและหอทัศนาคงจะไม่ดูแปลกแต่อย่างใดถ้าได้ไปตั้งเคียงข้างกับสถาปัตยกรรมที่สร้างโดยทอมัส คิบิทท์ในลอนดอน

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลียังคงใช้ในการก่อสร้างในสถานที่อันห่างไกลในจักรวรรดิอังกฤษเป็นเวลานานหลังจากที่หมดความนิยมในบริเตนกันไปแล้วต่อมาอีกเป็นเวลานาน เช่นในการก่อสร้างสถานีรถไฟในนิวเซาท์เวลส์ที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1881 เป็นต้น

[แก้] การตกแต่งภายใน

จวนข้าหลวง, เมลเบิร์น โถงภายในอาคารตกแต่งแบบอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 19

การตกแต่งภายในอาคารมีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับสถาปัตยกรรมแบบอิตาลี ที่เป็นการผสมผสานระหว่างสิ่งตกแต่งที่มีพื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมและสิ่งตกแต่งของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มาประยุกต์สำหรับรูปทรงของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตู้เสื้อผ้าหรือโต๊ะเครื่องสำอางค์ก็สามารถนำเอาตกแต่งเป็นแบบอิตาลีได้

ในปัจจุบันการตกแต่งแบบอิตาลีมักจะเรียกว่า “Eastlake” โดยนักสะสมและผู้ค้าขายในทวีปอเมริกาเหนือ แต่คำร่วมสมัยที่ใช้ในการจัดกลุ่มมีด้วยกันหลายคำที่รวมทั้ง “Neo-Grec”

[แก้] องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลี

องค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีก็ได้แก่[22]:

  • หลังคาป้านหรือราบและมักจะใช้hipped
  • ชายคายื่นกว้างออกไปรองรับด้วยคันทวย
  • บัวตกแต่งใหญ่เด่น
  • หน้าต่างและประตูประดับด้วยจั่ว
  • หน้าต่างชั้นแรกสูงเป็นนัยยะว่าเป็น piano nobile
  • หน้าต่างโค้งหักมุมยื่นออกมาจากตัวอาคาร (Angled bay windows)
  • ห้องใต้หลังคาที่มีหน้าต่างรายที่มีที่คลุม
  • ประตูกระจก
  • หอทัศนา หรือ เชิงเทิน และหอ
  • โดม
  • Quoins
  • ระเบียงลอจเจีย
  • ระเบียงเหล็กดัดหรือลูกกรงระเบียงแบบเรอเนซองส์
  • ลูกกรงระเบียงซ่อนหลังคา
  • ราว 15% ของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในสหรัฐอเมริกาจะรวมหอ[23]

[แก้] ระเบียงภาพ

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Historic Houses In Buckinghamshire
  2. ^ Direct quote from: Walton, John. Late Georgian and Victorian Britain Page 50. George Philip Ltd. 1989. ISBN 0-540-01185-1
  3. ^ Siegfried Giedion, Space, Time and Architecture 1941 etc.
  4. ^ John Nash Biography
  5. ^ Turner, Michael. Osbourne House Page 28. English Heritage. Osbourne House. ISBN 1-85074-249-9
  6. ^ http://www.oldhouseweb.com/blog/the-italianate-style/
  7. ^ Photograph of Cronkhill The house is still more a picturesque cottage than great Italian Villa or Palazzo
  8. ^ Girouard, Mark. Life in the English Country House Page 272. Yale University
  9. ^ Walton, John. Late Georgian and Victorian Britain Page 58. George Philip Ltd. 1989. ISBN 0-540-01185-1
  10. ^ Direct quote from: Walton, John. Late Georgian and Victorian Britain Page 58. George Philip Ltd. 1989. ISBN 0-540-01185-1
  11. ^ Turner, Michael. Osbourne House Page 28. English Heritage. Osbourne House. ISBN 1-85074-249-9
  12. ^ Turner, Michael. Osbourne House Page 28. English Heritage. Osbourne House. ISBN 1-85074-249-9
  13. ^ Girouard, Mark. Life in the English Country House Page 272. Yale University
  14. ^ http://books.google.com/books?id=Gh8ZrZRKaRwC&pg=PA294&lpg=PA294&dq=Italianate+architecture+Fakhreddine&source=web&ots=temm_7oQ1f&sig=ExfjKPcaEqyyX4uX5kpthBuA7ys&hl=en&sa=X&oi=book_result&resnum=1&ct=result
  15. ^ http://books.google.com/books?id=AylB2M5DjaoC&pg=PA26&lpg=PA26&dq=Italianate+architecture+Fakhreddine&source=web&ots=GJ21G8u8tL&sig=50FRdyX8jEZyQi20RQpm7OjbbQA&hl=en&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result
  16. ^ http://www.economist.com/displaystory.cfm?story_id=12079102&CFID=22575473&CFTOKEN=49147749
  17. ^ Blandwood Mansion, America's Earliest Tuscan Villa
  18. ^ Whiffen, Marcus (1984). 'American Architecture 1607-1860'. Cambridge, Massachusetts : MIT Press. ISBN 0262730693. 
  19. ^ Cropplestone, Trewin (1963). World Architecture Page 323. Hamlyn.
  20. ^ http://www.oldhouseweb.com/blog/the-italianate-style/ http://www.oldhouseweb.com/blog/the-italianate-style/
  21. ^ Historic Buildings in Berry
  22. ^ Italianate Architectural Elements
  23. ^ McAlester, Virginia & Lee, A Field Guide to American Houses, Alfred H. Knopf, New York 1984 p. 211

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น