ไปยาลน้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
-ั -ํ -ิ ' "
-ุ -ู -็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
-่ -้ -๊ -๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
-์ -๎ -ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

ไปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย (ฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่งในการเขียนภาษาไทย ใช้ย่อคำเพื่อให้เขียนสั้นลง โดยเขียนแต่ส่วนหน้า ละส่วนหลังเอาไว้ แล้วใส่ไปยาลน้อยไว้แทน ยังไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน

คำว่า ไปยาล มาจากคำว่า เปยฺยาล ในภาษาบาลี แปลว่า ย่อ

[แก้] การใช้ไปยาลน้อย

เครื่องหมายไปยาลน้อย นิยมใช้ใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ

  1. ใช้กับคำพิเศษบางคำที่นิยมใช้ย่อโดยทั่วไป เช่น
    • ข้าฯ คำเต็มคือ ข้าพเจ้า
    • ฯพณฯ (อ่านว่า พะนะท่าน) ย่อมาจากคำ พณหัว พณหัวเจ้า หรือ พณหัวเจ้าท่าน ใช้กับข้าราชการผู้ใหญ่ชั้นรัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น[1] เคยมีหนังสือเวียนของกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้เลิกใช้ เว้นแต่ในกรณีพิเศษอันเกี่ยวกับต่างประเทศเท่านั้น แต่คนยังนิยมใช้กันอยู่[2]
  2. ใช้ย่อคำที่ยาวให้สั้นลง

นอกจากนี้อาจใช้ในกรณีอื่น ๆ เพื่อย่อคำให้สั้น แต่เมื่ออ่านหรือเขียนคำอ่าน ต้องอ่านคำเต็ม ห้ามเขียนหรืออ่านคำหน้าแล้วต่อด้วยฯ เช่นกรุง-เทพ-ละ กรุงเทพละเด็ดขาด

หมายเหตุ: ไปยาลน้อยไม่ใช่อักษร แต่มักจะจัดรวมไว้ในหมวดหมู่อักษรไทย เพื่อความสะดวกในการดูภาพรวมของอักษรและเครื่องหมายที่ใช้ในการเขียนหนังสือไทย

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า 754
  2. ^ ฯพณฯ - ราชบัณฑิตยสถาน

[แก้] ดูเพิ่ม