ประวัติศาสตร์อักษร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์ของอักษรชนิดแทนหน่วยเสียงมีจุดเริ่มต้น อยู่ในอียิปต์โบราณ อักษรแทนหน่วยเสียงชนิดแรกเป็นอักษรไร้สระ ปรากฏเมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นผลงานของแรงงานชาวเซมิติกในอียิปต์ เพื่อใช้เขียนภาษาของตนเอง โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะซึ่งใช้คู่กับอักษรแทนคำในอักษรเฮียโรกลิฟฟิก อักษรอื่นๆที่ใช้ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่พัฒนามาจากอักษรนี้รวมทั้งอักษรฟินิเชียน อักษรกรีก และอักษรละติน[1]

เนื้อหา

[แก้] จุดกำเนิดในอียิปต์

เมื่อประมาณ 2,157 ปีก่อนพุทธศักราช ชาวอียิปต์โบราณพัฒนาอักษร 22 ตัว ใช้แสดงเสียงพยัญชนะ และสัญลักษณ์ตัวที่ 23 ใช้แสดงคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ ซึ่งใช้แสดงการออกเสียงของอักษรเฮียโรกลิฟฟิกที่ใช้แทนคำ แสดงการผันทางไวยากรณ์ และใช้ถ่ายเสียงคำยืมจากภาษาอื่น แต่ตัวอักษรเหล่านี้ไม่ได้ใช้ในระบบอักษรแทนหน่วยเสียง ระบบอักษรแทนหน่วยเสียงปรากฏครั้งแรกเมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช โดยคนงานชาวเซมิติกในอียิปต์ตอนกลาง[2] อีก 500 ปีต่อมา อักษรนี้ได้แพร่กระจายขึ้นไปทางเหนือ และเป็นต้นกำเนิดของอักษรต่างๆทั่วโลก ยกเว้นอักษรเมรอยติกที่พัฒนาจากเฮียโรกลิฟฟิกเมื่อ พ.ศ. 243 ในนูเบีย อียิปต์ใต้

[แก้] อักษรตระกูลเซมิติก

บทความหลัก: อักษรตระกูลเซมิติก

อักษรเหล่านี้ไม่ได้มาจากสัญลักษณ์แทนพยัญชนะของชาวอียิปต์ แต่เป็นการรวมอักษรเฮียโรกลิฟฟิกอื่นๆเข้ามาด้วย ทั้งหมดมี 30 ตัว กำหนดชื่อเป็นภาษาเซมิติกเช่น เฮียโรกลิฟ per (บ้าน ในภาษาอียิปต์) กลายเป็น bayt (บ้าน ในภาษาเซมิติก)[3] เมื่อนำมาเขียนภาษาเซมิติกจะเป็นระบบพยัญชนะล้วน โดยอักษรแต่ละตัวแทนเสียงพยัญชนะตัวแรกของชื่อ เช่น รูปบ้าน beyt ใช้แทนเสียง b หรือใช้แทนทั้งเสียง b และลำดับพยัญชนะ byt ดังที่ใช้แทนเสียง p และลำดับพยัญชนะ pr ในภาษาอียิปต์ ในยุคที่ชาวคานาอันนำอักษรนี้ไปใช้ จะใช้แทนเสียง b เท่านั้น [4]

[แก้] ลูกหลานของอักษรเซมิติก

อักษรคานาอันไนต์ระยะแรกใช้แทนเสียงพยัญชนะเท่านั้น ซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่าอักษรไร้สระ และพัฒนาต่อไปเป็นอักษรฟินิเชียน อักษรอราเมอิกที่พัฒนาไปจากอักษรฟินิเชียนซึ่งใช้เขียนภาษาราชการของจักรวรรดิเปอร์เซียเป็นบรรพบุรุษของอักษรอื่นๆในเอเชีย ได้แก่

อีกทางหนึ่ง อักษรฟินิเชียนพัฒนาไปเป็นอักษรกรีกและอักษรเบอร์เบอร์โบราณ[7] และเริ่มมีการกำหนดอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ ตัวอย่างเช่น ภาษากรีก ไม่มีเสียง อ หรือ ฮ (h) ดังนั้น อักษรฟินิเชียน ’alep และ he กลายเป็นอักษรกรีก อัลฟา และ e (ต่อมาคือเอฟซิลอน) และใช้แทนเสียงสระอะ (/a/) และเอ (/e/) แทนเสียง /อ/ และ /ฮ/ เนื่องจากภาษากรีกมีเสียงสระ 6 -12 เสียง ชาวกรีกจึงพัฒนาอักษรเพิ่ม เช่น ei, ou, and o (ต่อมาคือ โอเมกา)[8]

อักษรกรีกเป็นต้นแบบของอักษรสมัยใหม่ในยุโรป เช่นอักษรละตินและอักษรอิตาลีโบราณ โดยอักษรเหล่านั้นมีสัญลักษณ์แทนเสียงสระด้วย เช่น อักษรกลาโกลิติก อักษรซีริลลิก อักษรอาร์เมเนีย อักษรโกธิก และอาจรวมอักษรจอร์เจียด้วย [9] [10]

นอกจากความสัมพันธ์ในแนวเส้นตรงดังกล่าวแล้ว ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างอักษรในด้านอื่นๆอีก เช่น อักษรแมนจู มาจากอักษรไร้สระในเอเชียตะวันตก แต่ได้รับอิทธิพลจากอักษรฮันกึลด้วย อักษรจอร์เจียมาจากอักษรอราเมอิกแต่ได้รับอิทธิพลจากอักษรกรีก อักษรกรีกที่ปรับปรุงแล้วนำไปใช้คู่กับเฮียโรกลิฟ 6 ตัว ใช้เขียนภาษาคอปติก อักษรครีมีลักษณะผสมระหว่างอักษรเทวนาครีและชวเลขของพิตแมน และมีลักษณะคล้ายตัวเขียนของอักษรละติน

[แก้] อักษรอิสระ

อักษรที่ใช้ในปัจจุบันและไม่อาจย้อนกลับไปหาอักษรคานาอันไนต์ได้ คือ อักษรทานา แม้ว่าจะดูเหมือนอักษรอาหรับ แต่ที่จริงแล้วมาจากตัวเลข อักษรโซมาลีที่ใช้ในโซมาลีเมื่อ พ.ศ. 2463 และเป็นอักษรราชการคู่กับอักษรละตินจนถึง พ.ศ. 2515 มีรูปร่างพยัญชนะที่ถูกปรับปรุงขึ้นใหม่ อักษรสันตาลีที่ใช้ในเอเชียใต้ มีพื้นฐานจากสัญลักษณ์ทั่วไป อักษรโอคัมในสมัยโบราณ ประกอบด้วยเครื่องหมายที่เป็นขีด และจารึกในสมัยจักรวรรดิเปอร์เซีย เคยเขียนในรูปแบบอักษรรูปลิ่ม และมีการใช้ในระบบอักษรเป็นครั้งคราว

[แก้] อักษรในสื่ออื่นๆ

เมื่อสื่อที่ใช้เขียนอักษรเปลี่ยนไปทำให้รูปร่างของอักษรเปลี่ยนไปได้ เช่นอักษรยูการิติกที่เป็นอักษรรูปลิ่ม อาจจะมาจากตระกูลเซมิติก การประดิษฐ์หรือปรับปรุงอักษรใหม่ๆยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ รวมทั้งอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น อักษรเบรล รหัสมอร์ส ชวเลข

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Himelfarb, Elizabeth J. "First Alphabet Found in Egypt", Archaeology 53, Issue 1 (Jan./Feb. 2000): 21
  2. ^ Hooker, J. T., C. B. F. Walker, W. V. Davies, John Chadwick, John F. Healey, B. F. Cook, and Larissa Bonfante, (1990). Reading the Past: Ancient Writing from Cuneiform to the Alphabet. Berkeley: University of California Press. pages 211-213.
  3. ^ McCarter, P. Kyle. “The Early Diffusion of the Alphabet.” The Biblical Archaeologist 37, No. 3 (Sep., 1974): 54-68. page 57.
  4. ^ Hooker, J. T., C. B. F. Walker, W. V. Davies, John Chadwick, John F. Healey, B. F. Cook, and Larissa Bonfante, (1990). Reading the Past: Ancient Writing from Cuneiform to the Alphabet, Berkeley: University of California Press. page 212.
  5. ^ Hooker, J. T., C. B. F. Walker, W. V. Davies, John Chadwick, John F. Healey, B. F. Cook, and Larissa Bonfante, (1990). Reading the Past: Ancient Writing from Cuneiform to the Alphabet, Berkeley: University of California Press. page 222
  6. ^ Robinson, Andrew, (1995). The Story of Writing: Alphabets, Hieroglyphs & Pictograms, New York: Thames & Hudson Ltd. page 172.
  7. ^ McCarter, P. Kyle. "The Early Diffusion of the Alphabet", The Biblical Archaeologist 37, No. 3 (Sep., 1974): 54-68. page 62.
  8. ^ Robinson, Andrew, (1995). The Story of Writing: Alphabets, Hieroglyphs & Pictograms, New York: Thames & Hudson Ltd. page 170.
  9. ^ Robinson, Andrew. The Story of Writing: Alphabets, Hieroglyphs & Pictograms. New York: Thames & Hudson Ltd., 1995
  10. ^ BBC. "The Development of the Western Alphabet." [updated 8 April 2004; cited 1 May 2007]. Available from http://www.bbc.co.uk/dna/h2g2/A2451890.

[แก้] ดูเพิ่ม

  • David Diringer, History of the Alphabet, 1977, ISBN 0-905418-12-3.
  • Peter T. Daniels, William Bright (eds.), 1996. The World's Writing Systems, ISBN 0-19-507993-0.
  • Joel M. Hoffman, In the Beginning: A Short History of the Hebrew Language, 2004, ISBN 0-8147-3654-8.
  • Robert K. Logan, The Alphabet Effect: The Impact of the Phonetic Alphabet on the Development of Western Civilization, New York: William Morrow and Company, Inc., 1986.
  • B.L. Ullman, "The Origin and Development of the Alphabet," American Journal of Archaeology 31, No. 3 (Jul., 1927): 311-328.
  • Stephen R. Fischer, A History of Writing 2005 Reaktion Books CN 136481 Retrieved from "http://en.wikipedia.org/wiki/History_of_the_alphabet"