อักษรบาตัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อักษรบาตัก (อังกฤษ: Karo Batak syllabic alphabet) หรือ สุรัต บาตัก พัฒนามาจากอักษรพราหมี ผ่านทางอักษรปัลลวะและอักษรกวิรุ่นเก่า เขียนจากล่างขึ้นบนในแนวตั้ง เริ่มจากซ้ายไปขวา มีที่มาจาการเขียนบนไม้ไผ่ เฉพาะนักบวชเท่านั้นที่อ่านเขียนอักษรนี้ได้ มีความแตกต่างกันเล็กน้อยสำหรับอักษรที่ใช้เขียนภาษาต่างกัน

[แก้] การใช้

อักษรบาตักถูกนำมาใช้ในภาษาต่าง ๆ ดังนี้

  • ภาษากาโร บาตัก เป็นภาษาตระกูลออสตีนีเซียน มีผู้พูด 600,000 คน ในภาคกลางและภาคเหนือของเกาะสุมาตรา
  • ภาษาโตบา บาตัก (Toba Batak syllabic alphabet) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูด 2 ล้านคนทางเหนือของเกาะสุมาตรา
  • ภาษาไดรี บาตัก (Dairi Batak syllabic alphabet) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูด 1.2 ล้านคน ทางเหนือของเกาะสุมาตรา
  • ภาษาซิมาลูงัน/ติมูร์ (Simalungun/Timur syllabic alphabet) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซีย มีผู้พูด 800,000 คน ทางเหนือของสุมาตรา
  • ภาษามันดาลิง บาตัก (Mandaling Batak syllabic alphabet) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผุ้พูด 400,000 คน ทางเหนือของเกาะสุมาตรา
  • บางโอกาสใช้เขียนภาษามาเลย์ด้วย

[แก้] อ้างอิง