อักษรเชอโรกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อักษรเชอโรกี ประดิษฐ์โดยซีโควยาแห่งเผ่าเชอโรกี เมื่อ พ.ศ. 2362 เขาอ้างว่าเขาเป็นผู้รอดชีวิตคนสุดท้ายของตระกูลและอักษรนี้ประดิษฐ์โดยคนในตระกูลมานานแล้ว พ.ศ. 2363 ชาวเชอโรกีเริ่มเรียนอักษรนี้ และ พ.ศ. 2373 90% นำไปเขียนภาษาของตนได้ หนังสือ คัมภีร์ทางศาสนาและหนังสือพิมพ์ได้ตีพิมพ์ขึ้นด้วยอักษรนี้ในภาษาของตนอย่างแพร่หลายมาไม่ต่ำกว่า 100 ปี ปัจจุบันอักษรนี้ยังคงใช้อยู่

เนื้อหา

[แก้] อักษรแทนพยางค์

อักษรเชอโรกีตามลำดับดั้งเดิมของซีโควยา

อักษรเชอโรกีเป็นอักษรแทนพยางค์ แต่ละตัวแทนหนึ่งพยางค์คล้ายคะนะในภาษาญี่ปุ่น แต่เดิมมี 86 ตัวยกเลิกไป 1 ตัวเหลือ 85 ตัว มีสระหลักหกเสียงได้แก่ a, e, i, o, u, v เมื่อต้องการสร้างคำก็นำหลายพยางค์มารวมกัน เช่นคำว่า "วิกิพีเดีย" เขียนได้ว่า ᏫᎩᏇᏗᏯ ประกอบด้วย (wi) + (gi) + (que) + (di) + (ya) เป็นต้น อักษรบางตัวคล้ายอักษรละตินแต่ออกเสียงต่างกันโดยสิ้นเชิง

a [ɐ] e [e] i [i] o [o] u [u] v [ə̃]
Ꭰ (a) Ꭱ (e) Ꭲ (i) Ꭳ (o) Ꭴ (u) Ꭵ (v)
Ꭶ (ga) Ꭷ (ka) Ꭸ (ge) Ꭹ (gi) Ꭺ (go) Ꭻ (gu) Ꭼ (gv)
Ꭽ (ha) Ꭾ (he) Ꭿ (hi) Ꮀ (ho) Ꮁ (hu) Ꮂ (hv)
Ꮃ (la) Ꮄ (le) Ꮅ (li) Ꮆ (lo) Ꮇ (lu) Ꮈ (lv)
Ꮉ (ma) Ꮊ (me) Ꮋ (mi) Ꮌ (mo) Ꮍ (mu) **
Ꮎ (na) Ꮏ (hna) Ꮐ (nah) Ꮑ (ne) Ꮒ (ni) Ꮓ (no) Ꮔ (nu) Ꮕ (nv)
Ꮖ (qua) Ꮗ (que) Ꮘ (qui) Ꮙ (quo) Ꮚ (quu) Ꮛ (quv)
Ꮝ (s) Ꮜ (sa) Ꮞ (se) Ꮟ (si) Ꮠ (so) Ꮡ (su) Ꮢ (sv)
Ꮣ (da) Ꮤ (ta) Ꮥ (de) Ꮦ (te) Ꮧ (di) Ꮨ (ti) Ꮩ (do) Ꮪ (du) Ꮫ (dv)
Ꮬ (dla) Ꮭ (tla) Ꮮ (tle) Ꮯ (tli) Ꮰ (tlo) Ꮱ (tlu) Ꮲ (tlv)
Ꮳ (tsa) Ꮴ (tse) Ꮵ (tsi) Ꮶ (tso) Ꮷ (tsu) Ꮸ (tsv)
Ꮹ (wa) Ꮺ (we) Ꮻ (wi) Ꮼ (wo) Ꮽ (wu) Ꮾ (wv)
Ꮿ (ya) Ᏸ (ye) Ᏹ (yi) Ᏺ (yo) Ᏻ (yu) Ᏼ (yv)
** mv เป็นพยางค์ที่เลิกใช้ [1]

[แก้] ใช้เขียน

  • ภาษาเชอโรกี มีผู้พูด 22,500 คนในรัฐนอร์ทคาโรไลนา และรัฐโอกลาโฮมา

[แก้] ยูนิโคด

อักษรเชอโรกี
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+13Ax
U+13Bx
U+13Cx
U+13Dx
U+13Ex
U+13Fx                      

[แก้] อ้างอิง