อักษรฮีบรู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พจนานุกรมภาษายิดดิช-ฮีบรู-ละติน-เยอรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เขียนโดย Elijah Levita

อักษรฮีบรูเป็นอักษรไร้สระชนิดหนึ่ง รุ่นแรกๆเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรฟินิเชียน อักษรฮีบรูรุ่นใหม่พัมนามาจากอักษรอราเมอิกรุ่นแรกๆ จารึกภาษาฮีบรูพบครั้งแรกเมื่อ 557 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้เขียนจากขวาไปซ้ายในแนวนอน ตัวอักษรบางตัว เช่น กาฟ เมม นุน ฟี และซาดี มีรูปท้ายคำ ซึ่งจะพบในตำแหน่งสุดท้ายของคำเท่านั้น ไม่มีตัวเลข ใช้เลขอารบิกแทน สระเสียงยาวกำหนดโดยอะเลฟ วาว และยอด ไม่แสดงสระเสียงสั้นยกเว้นในไบเบิล กวีนิพนธ์และหนังสือสำหรับเด็กและชาวต่างชาติ

เนื้อหา

[แก้] ใช้เขียน

  • ภาษาฮีบรูที่อยู่ในกลุ่มคานาอันไนต์ของภาษากลุ่มเซมิติก เป็นภาษาของชาวยิวแต่ถูกแทนที่ด้วยภาษาอราเมอิกเมื่อ 43 ปีก่อนพุทธศักราช ช่วง ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ขบวนการไซออนิสม์ได้กระตุ้นให้ฟื้นฟูภาษาฮีบรูเป็นภาษาพูด และเป็นภาษาราชการของอิสราเอลตั้งแต่ พ.ศ. 2491 ปัจจุบันมีชาวยิวราว 5 ล้านคนในอิสราเอลพูดภาษาฮีบรูใหม่
  • ภาษายิดดิช

[แก้] อักษรฮีบรูแบบราซี (Rashi)

เป็นอักษรแบบที่ใช้เขียนแสดงความเห็นในหนังสือ ชื่อนี้ได้มาจาก รับบี ชโลโม ยิตซ์วากี หรือราซี นักวิชาการที่ยิ่งใหญ่ในยิวยุคกลางและเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล การตั้งชื่อนี้เป็นการให้เกียรติแก่เขา

[แก้] ยูนิโคด

อักษรฮีบรูมีช่วงหลักอยู่ที่ U+0590-U+05FF และมีรูปแบบอักษรอีกจำนวนหนึ่งที่ U+FB1D-U+FB4F

อักษรฮีบรู
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+059x   ֑ ֒ ֓ ֔ ֕ ֖ ֗ ֘ ֙ ֚ ֛ ֜ ֝ ֞ ֟
U+05Ax ֠ ֡ ֢ ֣ ֤ ֥ ֦ ֧ ֨ ֩ ֪ ֫ ֬ ֭ ֮ ֯
U+05Bx ְ ֱ ֲ ֳ ִ ֵ ֶ ַ ָ ֹ ֺ ֻ ּ ֽ ־ ֿ
U+05Cx ׀ ׁ ׂ ׃ ׄ ׅ ׆ ׇ                
U+05Dx א ב ג ד ה ו ז ח ט י ך כ ל ם מ ן
U+05Ex נ ס ע ף פ ץ צ ק ר ש ת          
U+05Fx װ ױ ײ ׳ ״                      
รูปแบบนำเสนอเชิงอักษร
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+FB0x                  
U+FB1x                
U+FB2x
U+FB3x      
U+FB4x    

[แก้] อ้างอิง