มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Mathematical Bridge เหนือแม่น้ำแคม ที่มหา วิทยาลัยเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (อังกฤษ: University of Cambridge) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1209 เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ในเมืองเคมบริดจ์ อังกฤษ ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก เป็นมหาวิทยาลัยลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด ในบรรดามหาวิทยาลัยทั้งหลายในโลก กล่าวคือ 81 รางวัล

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ในปี ค.ศ. 1209 ผู้ก่อตั้งเป็นกลุ่มคณาจารย์และนักศึกษาที่ย้ายมาจาก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ตำนานกล่าวว่าเดิมทีนักศึกษาและครูอาจารย์ในอ๊อกซฟอร์ดทะเลาะเบาะแว้งกับชาวบ้านชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดอย่างรุนแรง จนมีชาวบ้านคนหนึ่งถูกจับแขวนคอตาย คณาจารย์และนักศึกษากลุ่มหนึ่งกลัวความผิดเลยพากันหนีไปที่เมืองเล็ก ๆ ริมฝั่ง แม่น้ำแคม แล้วรวมตัวกันสอนจนเกิดเป็นมหาวิทยาลัยขึ้นมา สถานที่แรกที่มีการเรียนการสอนเกิดขึ้นคือ Peterhouse ซึ่งเป็นวิทยาลัย (college) แรกของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ระบบการเรียนการสอนของเคมบริดจ์จึงคล้ายกับของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด นักศึกษาและครูอาจารย์ของสองมหาวิทยาลัยนี้เรียกรวมๆ ว่า พวก อ๊อกซบริดจ์

ต่อมา เคมบริดจ์ได้ขยายตัวและรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นจึงมีการจัดตั้งวิทยาลัยเพิ่มขึ้น จนปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ประกอบด้วย 31 วิทยาลัย ระบบวิทยาลัยนี้มีลักษณะคล้ายบ้านของนักเรียนในหนังสือ แฮรี่ พอตเตอร์ คือ พอเข้าอาศัยที่ไหนแล้วก็ไม่เปลี่ยน (ยกเว้นตอนเปลี่ยนระดับการศึกษา อาจขอเปลี่ยนได้) แม้นักเรียนจากแต่ละวิทยาลัยจะเรียนร่วมกันใน คณะ/สาขาต่างๆ, แต่จะมีระบบติว (supervision) แยกจากกัน นักเรียนแต่ละวิทยาลัยจะแข่งขันกัน ทั้งด้านการเรียน และกิจกรรม, ทุกวิทยาลัยจะมีประเพณีของตัวเอง มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ของตัวเอง มีสีและสัญลักษณ์ของตัวเอง และ มีทรัพย์สินอาคารบ้านเรือนของตัวเอง (เช่น สระว่ายน้ำ สนามสควอช ที่ให้เช่าริมฝั่งแม่น้ำ Thame หอศิลป์ โบสถ์ อาคารธุรกิจ หุ้นในประเทศต่าง ๆ ฯลฯ) ดังนั้น วิทยาลัยของเคมบริดจ์หลาย ๆ แห่ง จึงมีฐานะร่ำรวย และชอบที่จะแข่งขันกันว่าใครจะให้ความสะดวกแก่เด็กตัวเองได้มากกว่ากัน หรือจ้างอาจารย์หรือ Fellow ที่มีชื่อเสียงมาเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการให้วิทยาลัยของตน อาจารย์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ส่วนใหญ่ก็จะมีวิทยาลัยสังกัด แต่เวลาสอน ก็สอนเด็กทุกวิทยาลัย ฐานะทางการเงินของวิทยาลัยนี้จะตรงข้ามกับตัวมหาวิทยาลัย ที่ยังต้องพึ่งพิงรายได้จากรัฐ และค่าเล่าเรียนจากนักเรียน

[แก้] เกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

ภาพ King's College Chapel ใจกลางเมืองเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นหนึ่งในหลายๆ สถาบันการศึกษาในโลกที่ได้รับการจับตามอง ระหว่างที่ประเทศโลกเสรีพยายามพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อป้องกันประเทศ เมื่อเกิดภัยคุกคามจากเยอรมนี ซึ่งมี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นผู้นำ ระหว่างนี้ มหาวิทยาลัยหลายแห่ง มีการเคลื่อนไหวทางวิชาการอย่างคึกคัก เพราะรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณการวิจัยเป็นจำนวนมหาศาล อาทิเช่น มหาวิทยาลัยปารีส มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยมอสโกสเตท มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยเยล สถาบันเอ็มไอที ฯลฯ มหาวิทยาลัยเหล่านี้จึงแข่งขันกันอยู่ในที บางทีก็มีการดึงเอาคณาจารย์จากกันไปโดยเพิ่มเงินเดือนให้สูงกว่าก็มี

เมื่อเทียบกับหลายมหาวิทยาลัยในโลก เคมบริดจ์ได้เปรียบทางวิทยาศาสตร์อยู่มาก เพราะรากฐานทางวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนี้เข้มแข็งมาช้านาน ดังนั้น ตั้งแต่อดีตจวบจนยุคปัจจุบัน นอกจากจะได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นเยี่ยมในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอังกฤษแล้ว ยังเป็นมหาวิทยาลัยลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุดในโลก กล่าวคือมีถึง 80 รางวัล เพราะความมีชื่อเสียงในด้านการวิจัยนี้เอง ในระยะหลัง เคมบริดจ์ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนด้านเงินทุนจากหลายหน่วยงาน เช่น EPSRC และ Gates Foundation ทำให้เคมบริดจ์มีสถานะการเงินที่ดีกว่ามหาวิทยาลัยในอังกฤษอื่นๆ หลายแห่ง

ที่จริงแล้ว มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่จัดตั้งสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย แต่บังเอิญว่างานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งสมัยก่อนนั้น ยังไม่มีการนำไปใช้เชิงพาณิชย์เท่าใดนัก จึงขยายตัวสู้สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดซึ่งเกิดทีหลัง แต่มีปริมาณงานวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มากกว่าไม่ได้ แต่ระยะหลัง สำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็เริ่มพัฒนาขึ้นอย่างมาก เห็นได้จากปริมาณงานทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ซึ่งมีเพิ่มขึ้น

ในปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) วารสาร The Times Higher Education Supplement ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มีคะแนนรวมเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยแบ่งเป็น: อันดับ 1 ของยุโรปในคะแนนรวม, เป็นอันดับ 1 ของโลกด้านวิทยาศาสตร์, เป็นอันดับ 6 ของโลกทางด้านเทคโนโลยี, อันดับ 2 ของโลกทางด้านชีวเวช, อันดับ 8 ของโลกด้านสังคมศาสตร์ และ อันดับ 3 ของโลกด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) และปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) วารสาร The Times Higher Education Supplement ได้อันดับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ให้มีคะแนนรวมเป็นอันดับ 2 ของโลกสองปีซ้อนรองจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

[แก้] วิทยาลัยในสังกัดมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

(ตัวเลขข้างท้าย คือปี ค.ศ. ที่ก่อตั้ง)

ในจำนวนวิทยาลัยทั้งหมดนี้ มี 3 วิทยาลัยที่รับเฉพาะนักศึกษาหญิงเท่านั้น (นิวแน่ม คอลเลจ, ลูซี่ คาเวนดิช คอลเลจ, และ นิว ฮอลล์) และ 4 วิทยาลัยที่รับเฉพาะนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (แคลร์ ฮอลล์, ดาร์วิน คอลเลจ, วูลฟ์สัน คอลเลจ, และ เซนท์ เอดมันด์ส คอลเลจ)

[แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ผลิตนักวิจัย ได้รางวัลโนเบล 81 รางวัล มากกว่ามหาวิทยาลัยทุกแห่งในโลก ส่วนมากเป็นนักวิทยาศาสตร์เพราะมหาวิทยาลัยเน้นทางนี้มากกว่าสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ศิษย์เก่าชาวต่างประเทศที่มีชื่อเสียงก็มีจำนวนมาก

[แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงชาวไทย

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น