สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แมนเชสเตอร์ซิตี
Manchester City emblem
ชื่อเต็ม Manchester City Football Club
ฉายา เรือใบสีฟ้า
ก่อตั้ง พ.ศ. 2423
(ในชื่อ เซนต์มาร์กส์, เวสต์กอร์ตัน)
สนามกีฬา ซิตีออฟแมนเชสเตอร์
แมนเชสเตอร์
(ความจุ: 47,726 คน[1])
เจ้าของ Flag of the United Arab Emirates ชีค มานซูร์ บิน ซาเยด อัล นาห์ยาน
ประธาน Flag of the United Arab Emirates คัลดูน อัล มูบารัค
ผู้จัดการ Flag of Italy.svg โรแบร์โต้ มันชินี่
ลีก เอฟเอ พรีเมียร์ลีก
2007-08 พรีเมียร์ลีก, อันดับ 9
สีชุดทีมเหย้า
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี (อังกฤษ: Manchester City Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่ของฟุตบอลอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2423 ในชื่อ เซนต์มาร์กส์, เวสต์กอร์ตัน มีฉายา “เรือใบสีฟ้า”

เนื้อหา

ประวัติสโมสร

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) ในชื่อทีม “เซนต์มาร์กส์ (เวสต์กอร์ตัน) ” โดยมี แอนนา คอนเนลล์ และ ผู้ดูแลโบสถ์ เซนต์ มาร์กส์ อีก 2 คน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง

แต่เดิม ทีมนี้ตั้งอยู่ที่ ตำบลกอร์ตัน ทางตะวันออก ของเมืองแมนเชสเตอร์ ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่สนามใหม่ ในย่านไฮด์ โรด ของเมืองอาร์ดวิก ใกล้กับแมนเชสเตอร์ และได้เปลี่ยนชื่อทีมไปเป็น “อาร์ดวิกเอเอฟซี” ตามสถานที่ตั้ง จากนั้น อาร์ดวิก ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลลีกอังกฤษ ในฐานะสมาชิกก่อตั้ง ในระดับดิวิชั่น 2 เมื่อปี พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892)

กระทั่งถึง ฤดูกาล 2436 - 2437 (ค.ศ. 1893 - 1894) ทีมมีปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก จนต้องมีการรื้อระบบการบริหารทีมครั้งใหญ่ และเปลี่ยนชื่อเป็น “แมนเชสเตอร์ซิตีฟุตบอลคลับ” จนถึงปัจจุบัน

ทีมได้เริ่มต้นความยิ่งใหญ่ ด้วยการเป็นแชมป์ ฟุตบอลลีกดิวิชั่น 2 ของอังกฤษ เป็นแชมป์แรก เมื่อปี พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899) ทำให้พวกเขาเลื่อนชั้นขึ้นไปอยู่ใน ดิวิชั่น 1 ลีกสูงสุดของอังกฤษ (ในเวลานั้น) ก่อนจะมาได้แชมป์เอฟเอคัพ หลังเฉือนชนะ โบลตัน 1-0 ในรอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904)

ขณะที่ผลงานกำลังไปได้ดี แต่กลับเกิดเพลิงไหม้ สนาม "ไฮด์โรด" ในปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) อัฒจันทร์หลักเสียหายอย่างมาก จนทำให้ต้องย้ายไปใช้ สนาม "เมนโรด" เป็นสนามเหย้าแห่งใหม่ ในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923)

กระทั่งในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ได้ย้ายสนามเหย้าอีกครั้ง ไปที่ สนาม "ซิตีออฟแมนเชสเตอร์" ซึ่งเป็นสนามปัจจุบัน ที่มีความโอ่อ่า ทันสมัย มีความจุถึง 48,000 ที่นั่ง โดยเช่าจากสภาเมืองแมนเชสเตอร์เป็นเวลาถึง 250 ปี และใช้เงินอีกราว 35 ล้านปอนด์ ในการปรับปรุงสนาม หลังจากใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ ในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002)

การย้ายมาใช้สนามเหย้าแห่งใหม่ ทำให้สามารถรองรับแฟนบอลได้มากขึ้น เนื่องจากเป็นทีมที่มีแฟนบอลมากเป็นพิเศษ และติดตามเชียร์อย่างเหนียวแน่นมาตลอด แม้ทีมจะตกลงไปสู่ดิวิชั่นต่ำๆ ในหลายครั้งก็ตาม ปัจจุบัน ทีมมียอดผู้ชมในนัดเหย้า เฉลี่ยกว่า 39,000 คน ต่อนัด และคาดว่าจะมีชาวอังกฤษไม่ต่ำกว่า 400,000 คน และคนทั่วโลก อีกกว่า 2 ล้านคน ที่เป็นแฟนบอลของทีม

สนามฟุตบอลซิตีออฟแมนเชสเตอร์ สนามเหย้าของสโมสร

นับตั้งแต่ก่อตั้งทีม กว่า 1 ศตวรรษ มีเกียรติยศที่บันทึกไว้ คือ เป็นแชมป์ลีกสูงสุด 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) และ พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) แชมป์เอฟเอคัพ 4 สมัย แชมป์ลีกคัพ 2 สมัย และ เป็นแชมป์ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ อีก 1 สมัย

ในยุคที่นับว่ารุ่งเรืองที่สุด คือ ช่วงปลายปี พ.ศ. 2500เรื่อยมา เนื่องจากทีมชุดนี้ สามารถขึ้นไปถึงตำแหน่งแชมป์ได้หลายรายการ โดยมี โจ เมอร์เซอร์ เป็นผู้จัดการทีม และ มัลคอล์ม อัลลิสสัน เป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีม รวมถึง มียอดนักเตะชื่อดังมากมาย อาทิ โคลิน เบลล์

แต่หลังจากเป็นแชมป์ลีกคัพ ในปี พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) พวกเขาก็ไม่ได้ขึ้นถึงตำแหน่งแชมป์ ในรายการสำคัญอีกเลย และยังมีผลงานไม่ค่อยดีนักมาตลอด โดยเฉพาะ ในช่วงปี พ.ศ. 2530 พวกเขาต้องตกชั้น 2 ครั้ง ในรอบ 3 ปี จนลงไปอยู่ใน ดิวิชั่น 3 เดิม อยู่ถึง 1 ปี

อย่างไรก็ตาม ทีมก็สามารถกลับขึ้นมาสู่ลีกสูงสุด และยังคงรักษาตัวไว้ได้อย่างมั่นคง แม้ผลงานของทีม มักอยู่ในช่วงกลางตาราง ค่อนไปทางท้ายก็ตาม โดยจบ ฤดูกาล 2006-2007 ในอันดับที่ 14 ของพรีเมียร์ลีก

ทีมร่วมเมือง

มีทีมคู่แข่งร่วมเมือง คือ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แต่มีที่มาในการเป็นคู่แข่ง แตกต่างกับ สโมสรฟุตบอลร่วมเมืองทีมอื่นๆ เช่น เมืองกลาสโกว์ (เรนเจอร์ส กับ เซลติก) ที่มีความแตกต่างในด้านการเมืองและศาสนา

ส่วนในกรณีของ ซิตี และ ยูไนเต็ด นั้น มีต้นเหตุมาจาก ในสมัยก่อน เกิดความยากลำบากในการเดินทางไปมาหาสู่กัน แม้ทุกวันนี้ จะเดินทางได้ด้วยความสะดวกสบายแล้ว แต่ก็สายเกินไป ที่จะกลับมาญาติดีต่อกันได้

อีกประการหนึ่ง คือ แฟนบอลชาวอังกฤษของ ซิตี ส่วนมากอยู่ที่เมืองแมนเชสเตอร์ ส่วนแฟนของ ยูไนเต็ด มีไม่น้อยที่อยู่เมืองอื่นด้วย

ผลงานปัจจุบัน

โรแบร์โต้ มันชินี่ ผู้จัดการทีมคนปัจจุบัน

ฤดูกาล 2007-2008 ที่ผ่านมา หลังจากเพียร์ซถูกปลดจากตำแหน่งผู้จัดการทีม สเวน โกรัน อีริคส์สันก็เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมแทน ภายหลังลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมชาติอังกฤษครบ 1 ปี ซิตี้ชนะใน 3 นัดแรกของฤดูกาล ซึ่งรวมถึงดาร์บี้แมตช์กับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และไม่เสียประตูเลยสักประตูเดียว แต่สุดท้ายแล้วแพ้ในนัดที่สี่ที่พบกับอาร์เซนอล อย่างไรก็ตาม ผลงานของทีมที่บ้านดีมากโดยไม่แพ้ใครติดต่อกัน 10 นัดโดยเริ่มจากนัดที่ชนะดาร์บี เคานตี้ ในวันที่ 15 สิงหาคม ก่อนที่จะมาแพ้ทอตแน่ม ฮอตสเปอร์ 0-2 ในฟุตบอลคาร์ลิงคัพในวันที่ 18 ธันวาคม หรือ 4 เดือนต่อมานั่นเอง หลังจากนั้นก็สามารถย้ำแค้นแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดได้อีกครั้ง แต่หลังจากนั้นผลงานของทีมดูต่ำกว่าครึ่งแรกของฤดูกาลมาก และเมื่อจบฤดูกาล พตท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้ปลด สเวน โกรัน อีริคส์สันออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม นำมาซึ่งการคัดค้านอย่างรวดเร็วจากแฟนๆของซิตี้ แต่ถึงแม้ว่านัดสุดท้ายจะบุกไปแพ้มิดเดิลสโบรย่อยยับถึง 8-1 ก็ยังได้สิทธิ์ผ่านการคัดเลือกเข้าไปเล่นยูฟ่า คัพในฤดูกาล 2008/2009 จากการที่ได้อันดับดีที่สุดในตารางแฟร์เพลย์ของพรีเมียร์ลีก ก่อนโดนปลด อีริคส์สันได้พาทีมไปทัวร์ที่ประเทศไทยและเกาะฮ่องกง ประเทศจีนเมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคม และโดนปลดในวันที่ 2 มิถุนายน 2551 และมาร์ค ฮิวจ์ส ผู้จัดการทีมสโมสรแบล็คเบิร์น โรเวอร์ส เข้ามารับตำแหน่งแทนในสองวันถัดมา

รายชื่อนักเตะเข้า

รายชื่อนักเตะออก

ในส่วนของการแข่งขันนัดแรกของฤดูกาล 2008-09 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม นั้น สโมสรแพ้สโมสรฟุตบอลแอสตั้น วิลล่า 4:2 ในเกมเยือน ที่สนามวิลลา พาร์ค โดยประตูแรกมาจากฝั่งของเจ้าถิ่น ในนาทีที่ 47 จากจอห์น คาริว หลังจากนั้นเอลาโน่ บลูแมร์ตีเสมอให้แมนเชสเตอร์ ซิตี้ จากลูกโทษที่จุดโทษนาที่ที่ 64 จากนั้นกาเบรียล อักบอนลาฮอร์มาซัดแฮตทริกในนาที่ที่ 67,74 และ 75 และเวดราน ชอร์ลูก้า มายิงตีตื้นให้แมนเชลเตอร์ ซิตี้เป็น 4:2 ในนาที 89

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ ได้ประสบความสำเร็จในการเล่นรอบคัดเลือกยูฟ่า คัพ รอบแรกโดยการชนะ สโมสรฟุตบอลอีบี/สเตรย์เมอร์จากหมู่เกาะแฟโรห์ 2-0 (หลังจากชนะในนัดแรก 0-2) และชนะ สโมสรฟุตบอลมิดทิลแลนด์จากเดนมาร์ก 0-1 (หลังจากแพ้ในนัดแรก 0-1) แต่ชนะในการดวลจุดโทษ 4-2 ในรอบแรกนั้นสามารถชนะโอโมเนีย นิโคเซียจากไซปรัส 2-1 (หลังจากชนะในนัดแรก 2-1) ในรอบแบ่งกลุ่มได้อยู่ในกลุ่มเอร่วมกับ สโมสรฟุตบอล ชาลเก้ 04จากเยอรมัน สโมสรฟุตบอลปารีส แซงต์ แชร์กแมงจากฝรั่งเศส สโมสรฟุตบอลราซิ่ง ซานตานเดร์จากสเปน และ สโมสรฟุตบอลเอฟซี ทเวนเต้จากเนเธอร์แลนด์ส และสามารถเอาชนะ สโมสรฟุตบอลเอฟซี ทเวนเต้3-2 ชนะ สโมสรฟุตบอล ชาลเก้ 04ชนะ 2-0 เสมอ สโมสรฟุตบอลปารีส แซงต์ แชร์กแมง 0-0 และแพ้ สโมสรฟุตบอลราซิ่ง ซานตานเดร์ 3-1 และในรอบ 32 ทีมสุดท้าย ได้พบกับ สโมสรเอฟซี โคเปนเฮเกนจากเดนมาร์ก นัดแรกที่เดนมาร์ก ผลออกมาเสมอ 2-2 และนัดที่ 2 ที่อีสต์แลนด์ สามารถเอาชนะไปได้ 2-1 เข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายเจอกับ สโมสรอัลบอร์ก บีเค จากเดนมาร์กซึ่งเป็นการเจอกับทีมที่มาจากเดนมาร์กเป็นครั้งที่ 3 ของฤดูกาลนี้ ซึ่งก็สามารถเอาชนะได้ในนัดแรก 2-0 และบุกไปแพ้ 2-0 ทำให้ต้องตัดสินด้วยการต่อเวลาและการยิงจุดโทษ ซึ่ง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ก็สามารถเอาชนะไปได้ 4-2 เข้ารอบก่องรองชนะเลิศพบกับ สโมสรฟุตบอลฮัมบวร์ก จากเยอรมัน ซึ่งบุกไปแพ่ก่อน 3-1 แต่ก็ทำได้แค่เฉือนชนะ 2-1 ที่อีสต์แลนด์ ทำให้ต้องออกจากการแข่งขันยูฟ่า คัพ ฤดูกาล 2008/09 โดยจบฤดูกาลทีมจบด้วยอันดับ 10ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานทั้งที่มีนักเตะชั้นนำอย่าง โรบิญโญ่,ฌอณ ไรท์ ฟิลลิปส์,เคร็ก เบลลามี่,โชและเชย์ กิฟเว่น โดยก่อนฤดูกาล2009/2010จะเริ่มต้นทีมสามรถเซ็นสัญญานักเตะอย่างเอ็มมานูเอล อเดบายอร์และโคโล ตูเร่ จากอาร์เซนอล ,คาร์ลอส เตเวซ ,ซิลวิญโญ่,โรเก้ ซาตตาครูซ,แกเร็ธ แบร์รี่และโจลีออน เลสค็อต ทำให้ทีมเริ่มต้นอย่างยอดเยี่ยมก่อนที่ฟอร์มจะเริ่มตกสโมสรจึงมีมติปลดมาร์ค ฮิวส์ ออกจากตำแหน่งเนื่องจากทีมไม่มีแววได้ติดท็อปโฟว์ทั้งที่ใช้เงินไปร่วม200 ล้านปอนด์ตลอดการคุมทีม และเป็นโรแบร์โต้ มันชินี่ อดีตผู้จัดการทีมอินเตอร์ มิลาน เข้ามารับตำแหน่งแทนแต่ทีมก็พลาดเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลคาร์ลิ่ง คัพ โดยแพ้คู่ปรับอย่างแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดพร้อมกับถูกสโต๊คเขี่ยตกรอบฟุตบอลเอฟเอ คัพ ทั้งที่ในช่วงตลาดนักเตะได้ทำการซื้อนักเตะอย่างปาทริค วิเอร่า อดีตกองกลางอาร์เซนอลและอดัม จอห์นสัน ปีกดาวรุ่ง

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ

หมายเลข ตำแหน่ง ผู้เล่น
1 Flag of Ireland GK เชย์ กิฟเวน
2 Flag of อังกฤษ DF ไมคาห์ ริชาร์ดส์
3 Flag of อังกฤษ DF เวย์น บริดจ์
4 Flag of อังกฤษ DF เนดุม โอนูโอฮา
5 Flag of อาร์เจนตินา DF พาโบล ซาบาเลตา
6 Flag of อังกฤษ MF ไมเคิ่ล จอห์นสัน
7 Flag of Ireland MF สตีเฟน ไอร์แลนด์
8 Flag of อังกฤษ MF ฌอน ไรท์-ฟิลลิปส์
11 Flag of อังกฤษ MF อดัม จอห์นสัน
12 Flag of อังกฤษ GK สจวร์ต เทย์เลอร์
14 Flag of ปารากวัย FW โรเก ซานตา ครูซ
15 Flag of สเปน DF ฮาเวียร์ การ์ริโด
16 Flag of บราซิล DF ซิลวินโญ
17 Flag of บัลแกเรีย MF มาร์ติน เปตรอฟ
18 Flag of อังกฤษ MF แกเร็ธ แบร์รี่
19 Flag of อังกฤษ DF โจลีออน เลสคอตต์
24 Flag of ฝรั่งเศส MF ปาทริค วิเอร่า
25 Flag of โตโก FW เอ็มมานูเอล อเดบายอร์
28 Flag of โกตดิวัวร์ DF โคโล ตูเร่ (กัปตันทีม)
32 Flag of อาร์เจนตินา FW คาร์ลอส เตเบซ
33 Flag of เบลเยียม MF แวงซองต์ กอมปานี
34 Flag of the Netherlands MF ไนเจล เดอ ยอง
37 Flag of the Faroe Islands GK กุนนาร์ นีลเซ่น
39 Flag of เวลส์ FW เคร็ก เบลลามี
44 Flag of เบลเยียม DF เดดริก โบยาต้า
45 Flag of Ireland DF เกร็ก คันนิ่งแฮม
48 Flag of นอร์เวย์ MF อับดีซาลัม อิบราฮิม

เกียรติประวัติ

(ระบุเป็นปีพุทธศักราช)

  • เอฟเอ คัพ
    • ชนะเลิศ 2447, 2477, 2499, 2512
    • รองชนะเลิศ 2469, 2476, 2498, 2524

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น