เอ็ดเวิร์ด สมิธ-สแตนลีย์ เอิร์ลแห่งดาร์บีย์ ที่ 14

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เอ็ดเวิร์ด สมิธ-สแตนลีย์ เอิร์ลแห่งดาร์บีย์ ที่ 14
เอ็ดเวิร์ด สมิธ-สแตนลีย์ เอิร์ลแห่งดาร์บีย์ ที่ 14

ดำรงตำแหน่ง
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2395 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2395
สมัยก่อนหน้า ลอร์ด จอห์น รัสเซล
สมัยถัดไป เอิร์ลแห่งอเบอร์ดีน

ดำรงตำแหน่ง
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2401 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2402
สมัยก่อนหน้า ไวเคานท์พาลเมอร์สตัน
สมัยถัดไป ไวเคานท์พาลเมอร์สตัน

ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2409 – 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411
สมัยก่อนหน้า เอิร์ล รัสเซล
สมัยถัดไป เบนจามิน ดิสราเอลี

เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2342
แลนคาเชียร์ อังกฤษ
ถึงแก่อสัญกรรม 23 ตุลาคม พ.ศ. 2412 (70 ปี)
แลนคาเชียร์ อังกฤษ
สังกัดพรรค พรรคอนุรักษ์นิยม
สมรสกับ เอมมา สมิธ-สแตนลีย์
ศาสนา คริสต์

เอ็ดเวิร์ด สมิธ-สแตนลีย์ เอิร์ลแห่งดาร์บีย์ ที่ 14 (Edward Smith-Stanley, 14th Earl of Derby) เป็นนักการเมืองแห่งสหราชอาณาจักรและดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสามสมัยในกลางคริสต์ศตวรรษที่สิบเก้า เขาถือเป็นผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยมที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด และเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันการแก้ไขระบบการเลือกตั้งในอังกฤษครั้งที่ 2 ในปี 2410 ซึ่งเป็นการให้สิทธิชนชั้นกรรมกรในการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

เนื้อหา

[แก้] ก่อนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

  • เกิด: 29 มีนาคม 2492 ที่มณฑลแลนคาเชียร์ ในอังกฤษ
  • การศึกษา: โรงเรียนอีตัน และ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
  • เข้าสู่รัฐสภา: 30 กรกฎาคม 2365 ในฐานะสมาชิกกลุ่มวิก กล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกเกี่ยวกันเรื่อง Manchester Gas Light Bill
  • ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในปี 2376 รับผิดชอบนโยบายเลิกทาสในอาณานิคมของอังกฤษ ภายใต้รัฐบาลของเอิร์ลเกรย์ เขาไม่พอใจนโยบายของรัฐบาลด้านศาสนาในไอร์แลนด์จึงลาออกในปีถัดมา และย้ายไปสังกัดพรรคอนุรักษ์นิยมของพีลในปี 2380 เนื่องจากมีความคิดว่าพีลมีนโยบายใกล้เคียงกับกลุ่ม ดาร์บีดิลลี ของเขามากกว่า
  • สแตนลีย์ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกครั้งในปี 2384 ในรัฐบาลของพีล ดูแลนโยบายเกี่ยวกับสงครามฝิ่น
  • พรรคอนุรักษ์นิยมแตกในปี 2389 ในเรื่องของการยกเลิกอากรข้าวโพด ดาร์บีนำกลุ่มที่ต้านระบบการค้าเสรีลงคะแนนคัดค้านร่างกฎหมายรัฐบาล พีลลาออกและแยกตัวออกจากพรรค ส่วนดาร์บีได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่
  • สแตนลีย์รับตำแหน่งเอิร์ลแห่งดาร์บีต่อของบิดาของเขาในปี 2394

[แก้] ดาร์บีกับรัฐบาลไร้เสถียรภาพ

  • ดาร์บีรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากรัสเซลในเดือนกุมภาพันธ์ 2395 เนื่องจากพรรคอนุรักษ์นิยมแตกเป็นสองส่วนกลุ่มพีไลท์ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งใดๆในรัฐบาล รัฐมนตรีส่วนใหญ่ของดาร์บีจึงเป็นรัฐมนตรีหน้าใหม่ แม้แต่เบนจามิน ดิสราเอลีที่รับตำแหน่งรมว.คลังก็ยังไร้ประสบการณ์ รัฐมนตรีชุดนี้ได้รับฉายาว่า Who? Who? Cabinet ซึ่งมาจากคำกล่าวของดยุคแห่งเวลลิงตันขณะรับฟังรายชื่อรัฐมนตรี ซึ่งเวลลิงตันผู้สูงวัยพยายามถามผู้อ่านรายชื่อให้เขาฟังทวนอีกรอบเนื่องจากคิดว่าฟังผิดเพราะไม่เคยได้ยินชื่อดังกล่าวมาก่อนซ้ำๆกันว่า 'Who?.. Who?..' (ใครนะ?)
  • ร่างงบประมาณฯของดิสราเอลีในปี 2395 ได้รับการโจมตีอย่างหนักจากกลุ่มพีไลท์นำโดยวิลเลียม ยวร์ท แกลดสตัน เนื่องจากขาดเสียงสนับสนุนที่เพียงพอ รัฐบาลของดาร์บีก็ไม่สามารถทำงานต่อได้ ดาร์บีลาออกในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน
  • ดาร์บีรับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งต่อจากไวเคานท์พาลเมอร์สตันซึ่งมีปัญหาขาดเสียงสนับสนุนในนโยบายอินเดีย ในปี 2401 ในฐานะผู้นำรัฐบาลเสียงข้างน้อยเช่นกัน
  • ร่างพระราชบัญญัติอินเดียของดาร์บีประสบความสำเร็จในสภา ทำให้บริษัทอินเดียตะวันออกอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลอังกฤษ
  • ดาร์บีพยายามที่จะปรับปรุงระบบการเลือกตั้งในปี 2402 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เขาจึงลาออกจากตำแหน่งทำให้รัฐบาลที่สองของเขามีอยู่ในหน้าที่ไม่ถึงหนึ่งปีอีกครั้ง

[แก้] นายกรัฐมนตรีสมัยที่สาม

  • หลังจากที่ดาร์บีพยายามแก้ไขระบบการเลือกตั้งในปี 2402 รัสเซลพยายามอีกครั้งในปี 2409 แต่ก็ประสบกับชะตาเดียวกัน ทำให้เขาต้องลาออก ดาร์บีจึงรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเป็นครั้งที่สาม
  • ด้วยความสามารถในการปราศรัยของดิสราเอลีซึ่งขณะนั้นเป็นมือขวาของดาร์บีในสภาสามัญ รัฐบาลของเขาสามารถผ่านร่างพระราชบัญญัติแก้ไขระบบการเลือกตั้งได้เป็นผลสำเร็จในปี 2410 นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญอย่างยิ่งในระบอบการปกครองของอังกฤษซึ่งเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้ชนชั้นกรรมกรมีสิทธิในการเลือกตั้งได้
  • ด้วยความสูงวัย ดาร์บีที่อ่อนเพลียอย่างหนักจากงานรัฐบาลลาออกในปีถัดมาโดยให้ดิสราเอลีรับตำแหน่งแทน อย่างไรก็ดีผลงานในการปรับปรุงระบบการเลือกตั้งของเขานั้นทำให้พรรคอนุรักษ์นิยมที่ไม่มีฐานเสียงในกลุ่มชนชั้นกรรมกรต้องแพ้เลือกตั้งในปีนั้น
  • ดาร์บีถึงแก่อสัญกรรมในปีถัดมาด้วยโรคชรา ขณะมีอายุ 70 ปี

[แก้] อ้างอิง