เดินอากาศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เดินอากาศไทย
IATA
TH
ICAO
TAC
Callsign
Thai Air
ก่อตั้ง พ.ศ. 2490 - 2531
ท่าอากาศยานหลัก ท่าอากาศยานกรุงเทพ(ดอนเมือง)
ท่าอากาศยานรอง ท่าอากาศยานเชียงใหม่
ท่าอากาศยานหาดใหญ่
ขนาดฝูงบิน 2
(รวมตัวกับ การบินไทย เมื่อ พ.ศ. 2531)
จุดหมายปลายทาง 9
สำนักงานใหญ่ ถนนหลานหลวง กรุงเทพ ประเทศไทย
บุคคลหลัก
เว็บไซต์: www.thaiairways.com

บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด หรือเดินอากาศไทย (อังกฤษ: Thai Airways Company; ชื่อย่อ: บดท.) เคยเป็นสายการบินแห่งชาติภายในประเทศของประเทศไทย โดยทำการบินหลัก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพ (ดอนเมือง) ปัจจุบันสายการบินได้โอนกิจการอยู่ภายใต้การดำเนินการของการบินไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2531


เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด (อังกฤษ: Thai Airways Company; ชื่อย่อ: บดท.) เป็นสายการบินในประเทศ และมีสภาพเป็นกิจการการบินแห่งชาติของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2490 โดยเริ่มแรกเมื่อรัฐบาลอนุมัติแผนงานการบินพาณิชย์ของกระทรวงคมนาคมให้จัดตั้ง บริษัท เดินอากาศ จำกัด ชื่อย่อ บดอ. (Siamese Airways Co. Ltd.)

สายการบินเดินอากาศไทยมีเครื่องบินหลายแบบ ได้แก่ DC3 (DAKOTA) จำนวน 3 เครื่อง, C45 (BEECHCRAFT) จำนวน 2 เครื่อง, L-5 จำนวน 6 เครื่อง, FAIRCHILD จำนวน 3 เครื่อง และแบบ REARWIN จำนวน 2 เครื่อง [1] โดยได้เปิดเส้นทางสายแรก กรุงเทพ-พิษณุโลก-ลำปาง-เชียงใหม่ และ เชียงใหม่-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน ในอีกสองวันต่อมา จากนั้นในปลายปีเดียวกัน เดือนธันวาคม เปิดเส้นทางบินต่างประเทศครั้งแรกในเส้นทาง กรุงเทพ-สงขลา-ปีนัง

ต่อมา ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 รัฐบาลมีมติให้รวมบริษัทการบินของต่างประเทศ ชื่อ Pacific Overseas Airline (Siam) Limited (POAS) เข้ากับบริษัทเดินอากาศ จำกัด เพื่อยุติการแข่งขันกันเอง ใช้ชื่อใหม่ว่า บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด (บดท.) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Thai Airways Co., Ltd. (TAC)

ในปี พ.ศ. 2506 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ซื้อเครื่องบินกังหันใบพัดแบบ Avro 748 จากอังกฤษ จำนวน 3 เครื่อง และเริ่มบินในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2507 ซึ่ง Avro บดท.ใช้งานต่อมายาวนานเกือบ 20 ปี

เดือนกันยายน พ.ศ. 2520 บดท.รับมอบเครื่องบิน โบอิ้ง 737-200 (B737-2P5Adv) ความจุ 115 ที่นั่ง เริ่มให้บริการในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ในเส้นทางสายหลักคือ เชียงใหม่ หาดใหญ่ และปีนัง

วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 รับมอบเครื่องบิน ชอร์ท 330 จำนวน 4 เครื่อง เพื่อนำมาบินแทน แอฟโร 748 โดยเครื่องแรกมาถึงไทยเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2525 และเริ่มทำการบินในวันที่ 10 เดือนเดียวกัน

ในในปลายปี พ.ศ. 2528 ได้สั่ง ชอร์ท 360 มาให้บริการเพิ่มเติมจำนวน 2 ลำในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 บดท. ได้ลงนามในสัญญาสั่งซื้อ Airbus A310-200 จำนวน 2 ลำ

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้โอนถ่ายกิจการ ไปอยู่ในการดำเนินการกับ บริษัท การบินไทย จำกัด[2] ซึ่งเป็นบริษัทลูก ดำเนินการสายระหว่างประเทศ เป็นสายการบินแห่งชาติ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และจดทะเบียนเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สายการบินเดินอากาศไทย มีรหัสลูกค้าของบริษัทผลิตเครื่องบิน โบอิ้ง, (สหรัฐอเมริกา) คือ P5

ล่าสุดรหัสเที่ยวบินเดิมของสายการบินเดินอากาศไทย คือ TH ตกเป็นของสายการบินบีเอคอนเนค (BA Connect) สายการบินในเครือบริติชแอร์เวย์, สหราชอาณาจักร แต่เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2550 สายการบินบริติชแอร์เวย์ ซึ่งเป็นสายการบินแม่ได้ขายกิจการส่วนที่เป็นสายการบินบีเอคอนเนค ให้กับสายการบินฟลายบี (Flybe) รหัสสายการบิน TH จึงถือว่าว่างหรือไร้ผู้ครอบครองอย่างเป็นทางการในปัจจุบัน


[แก้] จุดบิน

เส้นทางภายในประเทศ

  • จากท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง-BKK ปัจจุบันใช้รหัส DMK)
    • เชียงใหม่
    • พิษณุโลก
    • ขอนแก่น
    • อุดรธานี
    • สกลนคร
    • สุราษฎร์ธานี
    • สงขลา (ปัจจุบันใช้เฉพาะกิจการของกองทัพเรือเท่านั้น)
    • สงขลา-หาดใหญ่ (ภายหลังเมื่อท่าอากาศยานสงขลาไม่สามารถขยายพื้นที่ได้และสร้างที่หาดใหญ่แล้วเสร็จ จึงย้ายมาทำการบินที่ท่าอากาศยานหาดใหญ่เป็นท่าอากาศยานหลักของจังหวัดสงขลา)




เส้นทางระหว่างประเทศ

  • กรุงเทพฯ-สงขลา-ปีนัง (ภายหลังคือ กรุงเทพ-หาดใหญ่-ปีนัง)
  • กรุงเทพฯ-ภูเก็ต-ปีนัง
  • กรุงเทพฯ-หาดใหญ่-กัวลาลัมเปอร์
  • กรุงเทพฯ-ฮานอย


[แก้] ฝูงบิน

  • Douglas DC-3
  • C45(BEECHCRAFT)
  • Fairchild
  • Avro 748
  • Short 330
  • Short 360
  • Boeing 737-200 (B737-2P5Adv)
  • Airbus A310-200


[แก้] อุบัติเหตุ


[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ประวัติโลกการบินของประเทศไทย - Thai Airways Fleets รูปแบบภาษาอังกฤษ http://www.thai-aviation.net/airlines-ThaiAW.htm
  2. ^ Thai Airways International - Company History รูปแบบภาษาอังกฤษ http://www.thaiairways.com/about-thai/company-profile/en/history.htm


[แก้] ดูเพิ่ม


[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น