ภาษาเคิร์ดตอนกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก ภาษาโซรานี)
ภาษาโซรานี
سۆرانی
พูดใน: Flag of อิหร่าน Iran
Flag of อิรัก Iraq 
ภูมิภาค: ตะวันออกกลาง
จำนวนผู้พูด: 7-15 ล้านคน
ตระกูลภาษา: อินโด-ยูโรเปียน
 ภาษากลุ่มอินโด-อิหร่าน
  ภาษากลุ่มอิหร่าน
   ภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตก
    ภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ
     ภาษาเคิร์ด
      ภาษาโซรานี
รหัสภาษา
ISO 639-1: ไม่มี
ISO 639-2:
ISO 639-3: ckb
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาเคิร์ดตอนกลางหรือภาษาโซรานี (Sorani language ภาษาเคิร์ด: سۆرانی) เป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเคิร์ดที่ใช้พูดในอิหร่านและอิรัก อยู่ในภาษากลุ่มอิหร่าน

เนื้อหา

[แก้] ชื่อ

การเรียกภาษากุรมันชีสำเนียงใต้ว่าโซรานีมาจากชื่อเมืองโซรานในอดีต

[แก้] ประวัติ

ในยุคออตโตมาน มีการตั้งโรงเรียนมัธยมเพื่อไปเรียนที่อิสตันบูลทำให้ภาษาโซรานีเป็นภาษาสำหรับการเขียน ภาษาเคิร์ดเป็นภาษาต้องห้ามในอิรักในสมัยลัทธิบาธรุ่งเรือง เมื่อลัทธิบาธเสื่อมลง การตีพิมพ์ภาษาเคิร์ดแพร่หลายอีกครั้ง ทำให้ภาษาโซรานีเป็นรูปแบบที่ใช้เขียนในอิรัก

[แก้] อักษร

ภาษาโซรานีเขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลง ในอิรักซึ่งต่างจากภาษากุรมันชีที่เขียนด้วยอักษรละตินในตุรกี แต่เริ่มมีการนำอักษรละตินมาใช้กับภาษาโซรานีที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์

[แก้] การแพร่กระจาย

จำนวนผู้พูดที่แน่นอนของภาษาโซรานีหาได้ยาก แต่น่าจะมี 7-15 ล้านคนในอิรักและอิหร่าน

[แก้] การเป็นภาษาราชการ

มีการเสนอให้ภาษาโซรานีเป็นภาษาราชการของรัฐบาลเคอร์ดิสถานในอิรัก แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวเคิร์ดที่พูดภาษากุรมันชี[1]


[แก้] ลักษณะทางไวยากรณ์

การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม ไม่มีคำสรรพนามที่แยกระหว่างเพศชายและเพศหญิง และไม่มีการผันคำกริยาตามเพศ .[2]

[แก้] การเปรียบเทียบระหว่างภาษาโซรานีกับภาษากุรมันชี

โซรานี ภาษากุรมันชี แปล
min ez ฉัน
dest dest มือ
to tu คุณ
ew ew เขา (กรรม)

[แก้] อ้างอิง

  • Hassanpour, Dr. A. (1992). Nationalism and Language in Kurdistan 1918 - 1985. USA: Mellen Research University Press. 
  • Nebez, Jemal (1976). Toward a Unified Kurdish Language. NUKSE. 
  • Izady, Prof. M. (1992). The Kurds. A Concise Handbook. USA: Dep. of Near Easter Languages and Civilization Harvard University. 

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น