ประเทศกำลังพัฒนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ลงสีแสดงดัชนีการพัฒนามนุษย์ (เมื่อปี ค.ศ.2007 เผยแพร่ในปี 2009). ประเทศสีเหลือง/ส้ม มีการพัฒนามนุษย์ในระดับกลาง และประเทศสีแดง มีการพัฒนามนุษย์ในระดับต่ำ

ประเทศกำลังพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) อยู่ในระดับปานกลาง-ต่ำ คำนี้มีแนวโน้มที่จะถูกแทนใช้ที่คำอื่น ๆ ที่เคยใช้ก่อนหน้า ซึ่งรวมถึงคำว่า "โลกที่สาม" ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใดๆมากำหนด คำว่าประเทศพัฒนานาแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า ระดับของคำว่า พัฒนาแล้ว จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า คำว่า กำลังพัฒนาด้วย สำหรับบางประเทศที่ถูกเรียกว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ประเทศพัฒนาแล้ว จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่า ประเทศอุตสาหกรรมใหม่

เนื้อหา

[แก้] คำจำกัดความ

โคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ให้คำจำกัดความกับ ประเทศพัฒนาแล้วว่า "ประเทศพัฒนาแล้ว คือ ประเทศที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนทุกคนให้มีอิสระเสรีและมีสุขอนามัยดี อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย"[ต้องการอ้างอิง] และยังมีองค์กรอื่นๆ พยายามให้คำจัดความสำหรับความหมายของ ประเทศกำลังพัฒนา และ พัฒนาแล้ว ดังต่อไปนี้

การจัดกลุ่มหรือกำหนดกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนานั้น เพื่อประโยชน์ในทางสถิติและไม่จำเป็นที่จะมาใช้ในการตัดสินใจสถานะของประเทศ หรือขอบเขตในกระบวนการพัฒนา[1]

สหประชาชาติ ให้ความเห็นดังนี้

จากตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไป คือ ประเทศญี่ปุ่นใน เอเชีย, แคนาดาและสหรัฐอเมริกาในอเมริกาเหนือ, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในโอเชียเนีย, และประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป กลุ่มประเทศเหล่านี้ถูกพิจารณาให้เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ในเชิงสถิติทางการค้า สหภาพศุลกากรแอฟริกาใต้ยังถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศอิสราเอลก็อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนในยุโรปกลุ่มประเทศที่กำเนิดขึ้นจากประเทศยูโกสลาเวียเก่าถือว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา; ประเทศในกลุ่มของยุโรปตะวันออก และกลุ่มที่เป็นประเทศเครือรัฐเอกราช (code 172)ในยุโรป จึงไม่ถูกเรียกรวมอยู่ในกลุ่มใด ๆ ของพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา[2]

ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มประเทศในเอเชียที่ถูกขนานนามว่า สี่เสือเอเชีย[3] ประเทศ(ฮ่องกง,[3][4] สิงค์โปร,[3][4] เกาหลีใต้,[3][4][5][6]และ ใต้หวัน[3][4]), รวมทั้ง ไซปรัส,[4], มัลตา,[4], สาธารณรัฐเช็ค,[4], เอสโตเนีย,[4], อิสราเอล,[4], โปแลนด์,[4], สโลวาเกีย,[4]และ สโลวาเนีย,[4] เหล่านี้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว.

อีกนัยหนึ่ง จากการจัดกลุ่มของ IMF ก่อนเดือนเมษายน 2004 กลุ่มประเทศทั้งหมดในยุโรปตะวันออก (รวมทั้ง ยุโรปกลางที่เป็นของ "กลุ่มยุโรปตะวันออก" ในสหประชาชาติ) และรวมถึงสหภาพโซเวียตในอีต กลุ่มประเทศที่อยู่ในเอเชียตอนกลาง (คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกีสสถาน และเติร์กเมนิสถาน) และมองโกเลีย, ไม่รวมให้อยู่ในทั้งสองประเภท คือ พัฒนาและกำลังพัฒนา แต่จะถูกจัดให้อยู่ประเภทของ "ประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่าน" อย่างไรก็ตาม ในรายงานระหว่างประเทศ กลุ่มประเทศเหล่านี้ คือ ประเทศ "กำลังพัฒนา" นั่นเอง

ส่วน ธนาคารโลก จัดกลุ่มประเทศออกเป็น สี่กลุ่ม ที่ถูกจัดใหม่ในเดือน กรกฏาคมของทุกปี 1. เศรษฐกิจถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม ตามกลุ่มช่วง ของรายได้ตาม GNI ต่อประชากร ดังต่อไปนี้ [7]

[แก้] รายชื่อของประเทศกำลังพัฒนา

รายชื่อดังต่อไปนี้ เป็นกลุ่มประเทศที่ถูกเรียกว่า emerging and developing economies จาก International Monetary Fund's World Economic Outlook Report เดือนเมษายน ปี 2010[8]

[แก้] Developing countries not listed by IMF

[แก้] รายชื่อของ graduated developing economies

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ United Nations Statistics Division- Standard Country and Area Codes Classifications (M49)
  2. ^ อ้างอิงผิดพลาด: Invalid <ref> tag; no text was provided for refs named UN
  3. ^ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 เสือเอเชีย ตะวันออก
  4. ^ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 [http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2009/01/weodata/groups.htm#ae IMF Advanced Economies List. World Economic Outlook, Database—WEO Groups and Aggregates Information, April 2009.]
  5. ^ Korea, Republic of
  6. ^ FT.com / Asia-Pacific - S Korea wins developed-country status
  7. ^ อ้างอิงผิดพลาด: Invalid <ref> tag; no text was provided for refs named WB
  8. ^ IMF Emerging and Developing Economies List. World Economic Outlook Database, April 2010.
  9. ^ 9.0 9.1 9.2 World Economic Outlook, International Monetary Fund, April 2009, second paragraph, lines 9–11.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

เครื่องมือส่วนตัว
สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น