ภาษาเปอร์เซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเปอร์เซีย
فارسی ฟาร์ซี
พูดใน: ประเทศอิหร่าน (เปอร์เซีย) ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน และประเทศเพื่อนบ้าน
จำนวนผู้พูด: 61 ล้านคน (ภาษาแม่)
110 ล้านคน (ทั้งหมด) 
อันดับ: 19 (ภาษาแม่)
ตระกูลภาษา: อินโด-ยูโรเปียน
 อินโด-อิเรเนียน
  อิเรเนียน
   อิเรเนียนตะวันตก
    อิเรเนียนตะวันตกเฉียงใต้
     ภาษาเปอร์เซีย 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน: ประเทศอิหร่าน, ประเทศอัฟกานิสถาน, ประเทศทาจิกิสถาน
ผู้วางระเบียบ: สมาคมภาษาและวรรณกรรมเปอร์เซีย (Academy of Persian Language and Literature)
สถาบันศาสตร์อัฟกานิสถาน (
รหัสภาษา
ISO 639-1: fa
ISO 639-2: per (B)  fas (T)
ISO 639-3: มีหลากหลาย:
prs — ภาษาเปอร์เซียตะวันออก
pes — ภาษาเปอร์เซียตะวันตก
tgk — ทาจิก
aiq — ไอมัก
bhh — บูคาริก
deh — เดห์วารี
drw — ดาร์วาซี
haz — ฮาซารากี
jpr — จีดิ
phv — ปาห์ลาวานี
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาเปอร์เซีย (เปอร์เซีย: فارسی) หรือ ฟาร์ซี (อังกฤษ: Farsi ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน) , ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน [1] เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กริยา

เนื้อหา

[แก้] สัทวิทยา

หน่วยเสียงสระของภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่สำเนียงเตหะราน

ภาษาเปอร์เซียมีพยัญชนะ 23 เสียง สระ 6 เสียง ในอดีต ภาษาเปอร์เซียมีเสียงสระ 8 เสียงคือมีเสียงยาว 5 เสียง (/iː/, /uː/, /ɒː/, /oː/ และ /eː/) และเสียงสั้น 3 เสียง (/æ/, /i/ และ /u/)จนเมื่อราวก่อนพุทธศตวรรษที่ 21 มีการรวมกันของเสียงสระบางเสียง จึงเหลือเพียง 6 เสียงในปัจจุบัน

[แก้] ไวยากรณ์

ดูบทความหลักที่ ไวยากรณ์ภาษาเปอร์เซีย

[แก้] โครงสร้าง

ภาษาเปอร์เซียมีการเติมปัจจัยท้ายคำมาก คำอุปสรรคมีใช้น้อย คำกริยาจะแสดงกาลและจุดประสงค์ ผันตามบุคคล บุรุษ และจำนวน คำนามไม่มีการกำหนดเพศ คำสรรพนามจัดให้เป็นเพศกลาง

[แก้] การเรียงประโยค

โครงสร้างประโยคโดยทั่วไปเป็น ประธาน- (วลีบุพบท) -กรรม-กริยา ถ้ากรรมมีการชี้เฉพาะ กรรมจะตามด้วยคำ ra และมาก่อนวลีบุพบท

[แก้] ประวัติ

ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษากลุ่มอิหร่าน อยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน ในตระกูลภาษาอินดด-ยุโรเปียน ภาษานี้แบ่งออกเป็นสามยุคอย่างชัดเจนคือยุคโบราณ ยุคกลางและยุคใหม่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์อิหร่านสามช่วง ยุคโบราณเริ่มตั้งแต่ก่อนราชวงศ์อะแคมินิดจนถึงหลังราชวงศ์อะแคมินิด (ประมาณพ.ศ. 143-243) ยุคกลางเริ่มจากยุคหลังจากสิ้นสุดยุคโบราณจนถึงยุคราชวงศ์ซัสซานิด และยุคหลังจากนั้น ยุคใหม่ เริ่มหลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ซัสซานิดจนถึงปัจจุบัน เอกสารภาษาเปอร์เซียที่เก่าที่สุดอยู่ในยุคจักรวรรดิเปอร์เซียเมื่อ 57 ปีก่อนพุทธศักราช

[แก้] ภาษาเปอร์เซียโบราณ

ดูบทความหลักที่ ภาษาเปอร์เซียโบราณ

ภาษาเปอร์เซียโบราณพัฒนามาจากภาษาอิหร่านดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในที่ราบอิหร่านทางตะวันตกเฉียงใต้ ตัวอย่างที่เก่าที่สุดของภาษานี้คือจารึกเบฮิสตันในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ในสมัยราชวงศ์อะแคมินิด แม้ว่าจะมีตัวอย่างที่อายุมากกว่านี้ เช่นจารึกของพระเจ้าไซรัสมหาราช แต่ภาษาใหม่กว่า ภาษาเปอร์เซียโบราณเขียนด้วยอักษรรูปลิ่มสำหรับภาษาเปอร์เซีย ซึ่งมีลักษณะเฉพาะสำหรับภาษา คาดว่าประดิษฐ์ขึ้นใช้ในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ในยุคราชวงศ์อะแคมินิดเริ่มมีการนำอักษรอราเมอิกมาใช้ พบทางตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นบ้านเกิดของราชวงศ์อะแคมินิด

[แก้] ภาษาเปอร์เซียยุคกลาง

ดูบทความหลักที่ ภาษาเปอร์เซียกลาง

ในทางตรงกันข้ามกับภาษาเปอร์เซียโบราณ ภาษาเปอร์เซียยุคกลางมีความแตกต่างทั้งทางด้านรุปแบบการเขียนและการพูด รูปแบบทวิพจน์ในภาษาเปอร์เซียโบราณได้หายไป ภาษาเปอร์เซียยุคกลางใช้ปรบทในการบอกหน้าที่ของคำ ภาษาเปอร์เซียยุคกลางเริ่มต้นขึ้นเมื่อราชวงศ์อะแคสินิดเริ่มตกต่ำ โดยการเปลี่ยนแปลงของภาษาน่าจะเริ่มราวพุทธศตวรรษที่ 9 และใช้จนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ภาษาเปอร์เซียกลางจึงเริ่มเปลี่ยนมาสู่ภาษาเปอร์เซียใหม่ เอกสารที่เหลือยู่ส่วนใหญ่เป็นเอกสารทางศาสนาโซโรอัสเตอร์ ชื่อของภาษาในยุคนี้คือ Parsik ซึ่งกลายเป็นคำว่า "เปอร์เซีย" ในภาษาเปอร์เซียใหม่ เมื่อเขียนด้วยอักษรอาหรับ เมื่อภาษานี้เปลี่ยนมาเป็นภาษาเปอร์เซียใหม่ ภาษายุคกลางนี้จึงเรียกว่าภาษาปะห์ลาวี จุดเปลี่ยนระหว่างภาษายุคกลาง (ปะห์ลาวี เช่นภาษาพาร์เทียน) มาเป็นภาษาเปอร์เซีย (farsi)จึงเป็นจุดที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและการเขียนด้วยอักษรอาหรับ

[แก้] ภาษาเปอร์เซียใหม่

ประวัติศาสตร์ของภาษาเปอร์เซียใหม่เกิดขึ้นเมื่อ 1,000 - 1,200 ปี พัฒนาการของภาษานี้แบ่งเป็นยุคต้น ยุคคลาสสิกและยุคใหม่ ผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่ในปัจจุบันสามารถเข้าใจเอกสารโบราณของภาษาเปอร์เซียได้แม้จะมีความแตกต่างทางด้านไวยากรณ์บ้าง

[แก้] ภาษาเปอร์เซียคลาสสิก

การแพร่เข้ามาของศาสนาอิสลามกลายเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ของภาษาเปอร์เซียและวรรณกรรม ภาษานี้เป็นภาษากลางของโลกอิสลามฝั่งตะวันออกและอินเดีย เป็นภาษากลางและภาษาทางวัฒนธรรมของราชวงศ์ที่นับถือศาสนาอิสลามหลายราชวงศ์ เช่นซามานิดส์ บูยิดส์ ตาฮิริดส์ จักรวรรดิโมกุล ติมูริดส์ คาชนาวิดส์ เซลจุก ความเรชมิดส์ ซาฟาวิด อัฟชาริดส์ จักรวรรดิออตโตมานและอื่นๆ

ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาเดียวในตะวันออกที่มาร์โคโปโลรู้จัก อิทธิพลของภาษาเปอร์เซียต่อภาษาอื่นๆในโลกอิสลามปรากฏชัดมาก หลังจากที่ชาวอาหรับรุกรานเปอร์เซีย ภาษาเปอร์เซียได้ปรับปรุงคำศัพท์จากภาษาอาหรับมาใช้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่บางคำมาจากตระกูลภาษาอัลไตอิกระหว่างที่ถูกปกครองภายใต้จักรวรรดิมองโกล

[แก้] ภาษาเปอร์เซียกับการปกครองในอินเดีย

ในช่วง 500 ปีก่อนที่อังกฤษจะเข้าปกครองอินเดียเป็นอาณานิคม ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาที่สองที่สำคัญในอินเดียทั้งทางด้านการเรียนการสอนและทางวัฒนธรรม ในยุดจักรวรรดิโมกุล ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาราชการ เมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย ภาษาอังกฤษจึงเข้ามาเป็นภาษากลางแทนที่ภาษาเปอร์เซีย

[แก้] ภาษาเปอร์เซียในปัจจุบัน

ตังแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษ ภาษารัสเซียและภาษาฝรั่งเศสได้เข้ามาเป็นศัพท์เทคนิคในภาษาเปอร์เซีย สมาคมวิชาการภาษาเปอร์เซียแห่งชาติในอิหร่านเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการสร้างคำใหม่จากรากศัพท์ภาษาเปอร์เซียให้เทียบเท่าคำยืมจากภาษาอื่น

[แก้] ความผันแปรและสำเนียง

ภาษาเปอร์เซียยุคใหม่มีสำเนียงที่สำคัญสามสำเนียงคือ

  • ภาษาเปอร์เซียอิหร่านยุคใหม่ (ฟาร์ซีตะวันตก) เป็นสำเนียงของภาษาเปอร์เซียที่ใช้พูดในอิหร่าน ภาษาเปอร์เซียเรียก Farsi ภาษาอังกฤษเรียก Persian
  • ภาษาดารี (ฟาร์ซีตะวันออก) เป็นชื่อท้องถิ่นของภาษาเปอร์เซียที่ใช้พูดในอัฟกานิสถาน
  • ภาษาทาจิก เป็นสำเนียงของภาษาเปอรืเซีย ใช้พูดในทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน และรัสเซีย เขียนด้วยอักษรซีริลลิก

นอกจากนั้นยังมีภาษาต่อไปนี้ที่ใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซีย

วิกิพีเดีย
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาเปอร์เซีย
เครื่องมือส่วนตัว
สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น