ค่าแรงขั้นต่ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ค่าแรงขั้นต่ำ เป็นค่าตอบแทนต่ำสุดซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นรายชั่วโมง รายวันหรือรายเดือนตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีความหมายเหมือนกับค่าแรงต่ำสุดซึ่งลูกจ้างจะขายแรงงานของตน แม้ว่ากฎหมายค่าแรงขั้นต่ำจะมีผลใช้บังคับในหลายรัฐ ก็ยังมีความเห็นต่างในผลดีและผลเสียของค่าแรงขั้นต่ำ ผู้สนับสนุนค่าแรงขั้นต่ำบอกว่า จะเป็นการเพิ่มมาตรฐานชีวิตของลูกจ้างและลดความยากจน[1] ขณะที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยว่า ถ้าค่าแรงขั้นต่ำสูงพอจะเห็นผลได้ดังนั้น ก็จะเป็นการเพิ่มอัตราว่างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหมู่ลูกจ้างที่มีผลิตภาพต่ำเพราะขาดประสบการณ์หรือพิการ ดังนั้นจึงเป็นการทำร้ายแรงงานที่มีฝีมือน้อยกว่าและเป็นประโยชน์แก่แรงงานที่มีฝีมือสูงกว่า[2]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายถูกเสนอครั้งแรกเพื่อเป็นหนทางในการควบคุมการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของโรงงานอุตสาหกรรมในภาคการผลิต โรงงานเหล่านี้ว่าจ้างลูกจ้างหญิงและเด็กเป็นจำนวนมาก และจ่ายค่าตอบแทนด้วยจำนวนที่ถูกมองว่าต่ำกว่าค่าแรงมาตรฐาน เจ้าของโรงงานเหล่านี้ถูกคิดว่ามีอำนาจต่อรองอย่างไม่ยุติธรรมเหนือลูกจ้าง และค่าแรงขั้นต่ำได้ถูกเสนอเพื่อเป็นวิธีในการบังคับให้พวกเขาจ่าย "อย่างยุติธรรม" เมื่อเวลาผ่านไป ความสนใจได้เปลี่ยนไปจากการช่วยเหลือผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัว กลายมาเป็นพอเพียงแก่ตัวเองมากขึ้น ทุกวันนี้ กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำครอบคลุมลูกจ้างในสาขาการจ้างงานที่จ่ายค่าแรงต่ำส่วนใหญ่[3]

ค่าแรงขั้นต่ำได้รับความสนใจจากสังคมอย่างแข็งขัน โดยมีรากเหง้ามาจากความกังวลเกี่ยวกับความสามารถของตลาดที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันของรายได้สำหรับสมาชิกแรงงานที่มีความสามารถน้อยที่สุด สำหรับบางคน ทางออกที่ชัดเจนของความกังวลนี้คือ การจำกัดความโครงสร้างค่าแรงใหม่ทางการเมือง เพื่อบรรลุการกระจายรายได้ทางสังคมที่ดีกว่า ดังนั้น กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำจึงถูกตัดสินขัดแย้งกับเกณฑ์การลดความยากจน[4]

แม้ว่าเป้าหมายของค่าแรงขั้นต่ำจะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเหมาะสม ก็มีความไม่เห็นด้วยอย่างมากว่าค่าแรงขั้นต่ำมีประสิทธิภาพพอจะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ นับตั้งแต่มีการนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำเป็นที่โต้เถียงกันอย่างสูงในทางการเมือง และได้รับเสียงสนับสนุนจากนักเศรษฐศาสตร์น้อยกว่าจากสาธารณชนทั่วไปมาก แม้ว่าจะมีประสบการณ์และการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์หลายทศวรรษ การโต้เถียงกันเกี่ยวกับมูลค่าและประโยชน์ของค่าแรงขั้นต่ำยังมีมาจนถึงปัจจุบัน[3]

การอธิบายถึงข้อบกพร่องของค่าแรงขั้นต่ำในการลดความยากจนแบบคลาสสิก อธิบายโดยจอร์จ สทิกเลอร์ ใน ค.ศ. 1946 มีดังนี้[4]

  • สัดส่วนการจ้างงานอาจลดต่ำกว่าสัดส่วนที่ค่าแรงเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงลดรายได้จากการทำงานโดยรวม
  • เมื่อภาคเศรษฐกิจที่ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำรับคนงานที่ถูกปลดจากภาคที่อยู่ใต้กฎหมายนั้นแล้ว สัดส่วนการลดค่าแรงในภาคที่ไม่อยู่ใต้กฎหมายอาจเกินกว่าค่าแรงในภาคที่อยู่ภายใต้กฎหมาย
  • ผลกระทบของค่าแรงขั้นต่ำต่อการกระจายรายได้ครอบครัวอาจเป็นผลลบ นอกเสียจากมีการจัดสรรงานที่น้อยกว่าแต่ดีกว่าให้แก่สมาชิกของครอบครัวที่ขัดสน แทนที่จะให้แก่ ยกตัวอย่างเช่น วัยรุ่นจากครอบครัวที่ไม่ได้ยากจน
  • การห้ามนายจ้างจ่ายค่าจ้างน้อยกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดเท่ากับห้ามมิให้แรงงานขายแรงงานของตนน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ข้อจำกัดทางกฎหมายที่ว่า นายจ้างไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนต่ำกว่าค่าแรงตามกฎหมายเท่ากับเป็นการจำกัดทางกฎหมายว่า แรงงานไม่สามารถทำงานได้เลยในภาคเศรษฐกิจที่ได้รับความคุ้มครอง เว้นเสียแต่ว่าพวกเขาจะพบนายจ้างที่เต็มใจจะจ่ายตามค่าแรงนั้น

การศึกษาเชิงประจักษ์โดยตรงบ่งชี้ว่า ผลกระทบการขจัดความยากจนในสหรัฐอเมริกาจะเกิดขึ้นค่อนข้างน้อย แม้ว่าจะไม่มีผลกระทบด้านการว่างงานก็ตาม แรงงานค่าแรงต่ำจำนวนน้อยมากมาจากครอบครัวยากจน แต่ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นและหญิงผู้ใหญ่ที่มีฝีมือต่ำและทำงานนอกเวลา และอัตราค่าแรงที่มีผลต่อรายได้ของพวกเขาใด ๆ เป็นสัดส่วนลดลงเทียบกับเวลาที่พวกเขาถูกเสนอให้ทำงาน ดังนั้น หากผลลัพธ์ด้านตลาดสำหรับครอบครัวฝีมือต่ำถูกผนวกในวิธีที่สังคมพอใจปัจจัยอื่นนอกเหนือจากอัตราค่าแรงจะต้องถูกพิจารณาด้วย ได้แก่ โอกาสการจ้างงานและปัจจัยจำกัดการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน[4] นักเศรษฐศาสตร์ โทมัส โซเวลล์ ได้แย้งว่า โดยไม่คำนึงถึงประเพณีหรือกฎหมาย ค่าแรงขั้นต่ำแท้จริงจะต้องเป็นศูนย์เสมอ และศูนย์เป็นค่าแรงที่บางคนจะได้รับหากพวกเขาไม่สามารถหางานทำได้เมื่อพวกเขาพยายามเข้าสู่ตลาดแรงงาน หรือเมื่อพวกเขาสูญเสียงานที่พวกเขากำลังทำอยู่[5]

[แก้] กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ

นิวซีแลนด์เป็นประเทศแรกที่มีกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำใน ค.ศ. 1894[6][7] และปัจจุบันได้มีการออกกฎหมายหรือการร่วมเจรจาต่อรองผูกมัดว่าด้วยค่าแรงขั้นต่ำ ในมากกว่า 90% ของทุกประเทศในโลก[8]

อัตราค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันมาก ไม่เพียงเฉพาะด้านจำนวนเงินเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงช่วงที่ต้องจ่ายค่าตอบแทน หรือขอบเขตการครอบคลุม บางประเทศอนุญาตให้นายจ้างนับทิปที่ให้แก่ลูกจ้างเป็นส่วนหนึ่งของค่าแรงขั้นต่ำด้วย

[แก้] ค่าแรงขั้นต่ำไม่เป็นทางการ

บางครั้งก็มีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำโดยไม่มีบัญญัติเป็นกฎหมาย ประเพณีและแรงกดดันนอกเหนือกฎหมายจากรัฐบาลหรือสหภาพแรงงานอาจผลักดันให้เกิดเป็นค่าแรงขั้นต่ำโดยพฤตินัยได้ เช่นเดียวกับที่ความเห็นของสาธารณะระหว่างประเทศกดดันบริษัทข้ามชาติให้จ่ายค่าตอบแทนแก่ลูกจ้างในโลกที่สามมักพบในประเทศอุตสาหกรรมเสียมากกว่า สถานการณ์อย่างหลังนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และละตินอเมริกาได้รับการเผยแพร่ในช่วงไม่กี่ปีหลังนี้ แต่มันได้มีขึ้นกับบริษัทในแอฟริกาตะวันตกในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แล้ว[5] ระดับค่าแรงขั้นต่ำสำหรับทุกอุตสาหกรรมยังสามารถกำหนดได้เป็นเปอร์เซ็นต์ของจีดีพีต่อหัวที่มีค่าไม่เปลี่ยนแปลง หรือตามระดับภาษีรายได้ของประเทศ

[แก้] การพิจารณาตรึงค่าแรงขั้นต่ำเริ่มต้น

ในบรรดาตัวบ่งชี้ซึ่งอาจถูกใช้กำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำเริ่มต้นนั้น คือ อัตราค่าแรงที่ลดการสูญเสียอาชีพให้ต่ำที่สุดขณะที่ยังรักษาไว้ซึ่งศักยภาพในการแข่งขันระหว่างประเทศ[9] ในบรรดาตัวบ่งชี้เหล่านี้มีสภาพเศรษฐกิจโดยรวมซึ่งสามารถวัดได้โดยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงและในรูปตัวเงิน ภาวะเงินเฟ้อ อุปสงค์และอุปทานแรงงาน ระดับค่าแรง การกระจายและสิ่งแสดงความต่าง ระยะเวลาจ้างงาน การเติบโตของผลิตภาพ ค่าแรง ค่าดำเนินธุรกิจ จำนวนและแนวโน้มการล้มละลาย อันดับเสรีภาพทางเศรษฐกิจ มาตรฐานความเป็นอยู่และอัตราค่าแรงเฉลี่ยทั่วไป

ในภาคธุรกิจ ความกังวลรวมไปถึงค่าดำเนินธุรกิจที่จะเพิ่มสูงขึ้นตามที่ได้คาดการณ์ไว้ ความเสี่ยงต่อความสามารถทำกำไร ระดับการว่างงานที่สูงขึ้น (และค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นของรัฐบาลในด้านประโยชน์สวัสดิการซึ่งทำให้ต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ) และผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อค่าแรงของแรงงานที่มีประสบการณ์มากกว่าผู้ซึ่งอาจมีรายได้เกินกว่าค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายอยู่แล้ว และอีกมาก[10]

ในหมู่แรงงานและผู้แทน การพิจารณาทางการเมืองถูกนำมาพิจารณาด้วย เพราะผู้นำสหภาพแรงงานต่างต้องการชนะเสียงสนับสนุนโดยเรียกร้องอัตราค่าแรงที่สูงที่สุดที่เป็นไปได้[11] ความกังวลอื่นรวมไปถึงการซื้ออำนาจ ดัชนีเงินเฟ้อและชั่วโมงทำงานมาตรฐาน

ในสหรัฐอเมริกา ค่าแรงขั้นต่ำประกาศใช้โดยรัฐบัญญัติมาตรฐานแรงงานยุติธรรม ค.ศ. 1938 และมีเจตนากำหนดค่าแรงให้สูงและเป็นระดับเดียวกันทั้งประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่โรงงานที่มีเทคโนโลยีเก่าและค่าแรงต่ำทางใต้ของประเทศ[12]

[แก้] เศรษฐศาสตร์ของค่าแรงขั้นต่ำ

การวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทานของประเภทที่แสดงในหนังสือเรียนเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นกระแสหลัก บอกเป็นนัยว่า การกำหนดพื้นราคาเหนือค่าจ้างสมดุล กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้เกิดการว่างงาน[13][14] ซึ่งเป็นเพราะมีคนจำนวนมากต้องการจะทำงานโดยได้รับการจ่ายค่าแรงสูงกว่า แต่งานที่จ่ายค่าตอบแทนสูงก็จะมีน้อยเช่นกัน บริษัทจะเลือกผู้ที่เข้ามาสมัครงานเข้มข้นขึ้น ดังนั้น ผู้ที่มีทักษะหรือประสบการณ์น้อยกว่าจะไม่ถูกเลือกเข้าทำงาน

ตามแบบจำลองซึ่งแสดงอยู่ในหนังสือเรียนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นเกือบทุกเล่ม การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจะลดการจ้างงานแรงงานค่าแรงต่ำ[15] หนังสือเล่มหนึ่งว่า

ถ้าค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้นเพิ่มอัตราค่าแรงของแรงงานไร้ฝีมือเหนือระดับที่กำหนดโดยตลาดแรงงาน ปริมาณของแรงงานไร้ฝีมือที่ถูกรับเข้าทำงานจะตกลง ค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้บริการของแรงงานที่มีผลิตภาพต่ำสุด (และมีค่าแรงต่ำสุดเป็นลำดับ) ต้องออกจากตลาด ... ผลกระทบโดยตรงของกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำมีสองด้านอย่างชัดเจน แรงงานบางคน ซึ่งคาดว่าค่าแรงเก่าใกล้เคียงกับค่าแรงขั้นต่ำที่กำหนดไว้นี้ จะยินดีกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ส่วนคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานกลุ่มที่มีอัตราค่าแรงก่อนมีกำหนดค่าแรงขั้นต่ำต่ำที่สุด จะไม่สามารถหางานทำได้ พวกเขาจะถูกผลักให้เป็นคนตกงานหรือต้องออกจากตลาดแรงงานไป[16]

แผนภาพแสดงอุปสงค์และอุปทานของแรงงานคล้ายกับที่ปรากฏด้านขวามือนี้

กราฟแสดงแนวคิดกระแสหลักของตลาดแรงงาน

มีการสันนิษฐานว่าแรงงานเต็มใจจะทำงานนานขึ้นหากได้รับค่าตอบแทนสูงขึ้น นักเศรษฐศาสตร์เขียนกราฟของความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงในแกนตั้งกับระยะเวลาทำงานเป็นชั่วโมงในแกนนอน เนื่องจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มจำนวนชั่วโมงทำงานด้วย เส้นอุปทานแรงงานจึงเป็นเฉียงขึ้นไป และถูกแสดงเป็นรูปเส้นลากขึ้นไปทางขวาบน[17]

สำหรับราคาของสถานประกอบการในการจ่ายค่าตอบแทน มีการสันนิษฐานว่าเมื่อจ่ายค่าตอบแทนสูงขึ้น นายจ้างจะต้องการให้ลูกจ้างทำงานเป็นเวลาสั้นลง ซึ่งเป็นเพราะว่า จะทำให้บริษัทห้างร้านเสียค่าใช้จ่ายไปกับการจ้างแรงงาน และดังนั้น จึงปรับลดจำนวนแรงงานที่จ้างลง หรือจ้างให้ทำงานสั้นลง เส้นอุปสงค์แรงงานจึงเขียนได้เป็นรูปเส้นตรงลากลงมาทางขวาล่าง[17]

เมื่อเขียนรวมเส้นอุปสงค์และอุปทานรวมกันจะทำให้สามารถพิจารณาผลกระทบของค่าแรงขั้นต่ำได้ เริ่มจาก สมมุติว่าเส้นอุปทานและอุปสงค์แรงงานจะไม่เปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หากไม่มีค่าแรงขั้นต่ำ แรงงานและนายจ้างจะปรับปริมาณแรงงานที่มีตามราคาจนกระทั่งปริมาณแรงงานที่เป็นอุปสงค์เท่ากับปริมาณแรงงานที่เป็นอุปทาน เข้าสู่ราคาดุลยภาพ ที่ซึ่งเส้นอุปสงค์และอุปทานตัดกัน แต่ค่าแรงขั้นต่ำเปรียบได้เหมือนกับพื้นราคาคลาสสิกของแรงงาน ทฤษฎีมาตรฐานว่า ถ้ากำหนดไว้เหนือราคาดุลยภาพ แรงงานที่ยินดีจะเข้าทำงานจะมีมากกว่าความต้องการของนายจ้าง ทำให้เกิดแรงงานส่วนเกิน นั่นคือ ภาวะว่างงาน[17]

หรืออาจกล่าวได้ว่า เศรษฐศาสตร์ที่เรียบง่ายและพื้นฐานที่สุด มีแนวคิดเปรียบเทียบว่าโภคภัณฑ์ก็เหมือนกับแรงงาน ตัวอย่างเช่น ข้าวสาลี การเข้าแทรกแซงกลไกราคาโดยเพิ่มราคาของโภคภัณฑ์นั้นจะทำให้อุปทานเพิ่มขึ้นแต่อุปสงค์ลดลง ผลคือ โภคภัณฑ์มีอุปทานส่วนเกิน เมื่อมีข้าวสาลีมากเกินไป รัฐบาลจะรับซื้อข้าวสาลีนั้นเอง แต่เนื่องจากรัฐบาลไม่ว่าจ้างแรงงานที่เป็นอุปทานส่วนเกิน แรงงานเหล่านี้จึงอยู่ในภาวะว่างงาน ซึ่งภาวะว่างงานจะต่ำกว่าหากไม่มีกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำเสียอีก[5]

ดังนั้น ทฤษฎีพื้นฐานบอกว่า การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจะช่วยแรงงานที่ได้รับการเพิ่มค่าแรง แต่จะเป็นผลเสียแก่ผู้ที่ไม่ได้ถูกจ้าง หรือผู้ที่สูญเสียงาน เพราะบริษัทประหยัดเงินที่ใช้จ้าง แต่ผู้เสนอแนวคิดค่าแรงขั้นต่ำยืนยันว่าสถานการณ์ซับซ้อนเกินว่าที่ทฤษฎีพื้นฐานจะอธิบายได้

ปัจจัยที่ซับซ้อนประการหนึ่งคือ ความเป็นไปได้ว่าจะเกิดการผูกขาดการซื้อในตลาดแรงงาน ซึ่งนายจ้างเพียงคนเดียวมีอำนาจทางตลาดในการกำหนดค่าแรงที่จะจ่าย ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ในทางทฤษฎีที่ว่า ค่าแรงขั้นต่ำอาจเพิ่มการจ้างงานได้ แม้ว่าอำนาจทางตลาดในนายจ้างเพียงคนเดียวไม่น่าจะมีอยู่ในตลาดแรงงานส่วนใหญ่ก็ตาม[18]

[แก้] การพิจารณาผลกระทบ

หลายกลุ่มมีพื้นฐานทางอุดมการณ์ การเมือง การเงินและอารมณ์ที่แตกต่างกันมากในประเด็นว่าด้วยเรื่องกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ ตัวอย่างเช่น หน่วยงานออกกฎหมายมีส่วนได้เสียในการแสดงว่ากฎหมาย "ของพวกเขา" ไม่ก่อให้เกิดการว่างงาน เช่นเดียวกับสหภาพแรงงาน ผู้ซึ่งอาชีพของสมาชิกได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ ส่วนอีกด้านหนึ่งของประเด็น สถาบันนโยบายการจ้างงาน ซึ่งเปิดเผยการศึกษาหลายชิ้นซึ่งคัดค้านค่าแรงขั้นต่ำ[19] การมีอยู่ของกลุ่มและปัจจัยทรงอิทธิพลเหล่านี้หมายความว่าการพิจารณาในประเด็นดังกล่าวไม่ได้ปราศจากอคติเสมอไป ยิ่งไปกว่านั้น เป็นการยากกว่าปกติที่จะแยกแยะผลกระทบของค่าแรงขั้นต่ำจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบถึงการจ้างงาน[5]

ตารางด้านล่างนี้เป็นการสรุปการยกเหตุผลสนับสนุนของผู้ที่เห็นด้วยและคัดค้านกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ

เหตุผลที่เห็นด้วยกับกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ
  • ยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของชนชั้นที่ยากจนที่สุดและอ่อนแอที่สุดในสังคมและเพิ่มค่าแรงเฉลี่ย[1]
  • กระตุ้นและสนับสนุนให้ลูกจ้างทำงานหนักขึ้น ไม่เหมือนกับโครงการสวัสดิการและการโอนเงินอื่น[20]
  • กระตุ้นการบริโภค โดยการเพิ่มเงินในมือของผู้ที่มีรายได้ต่ำผู้ใช้จ่ายเช็คค่าจ้างทั้งหมด[1]
  • เพิ่มจริยธรรมด้านการทำงานแก่ผู้ที่มีรายได้น้อย เมื่อนายจ้างต้องการการทำงานตอบแทนมากขึ้นจากค่าจ้างลูกจ้างเหล่านี้ที่เพิ่มขึ้น[1]
  • ลดค่าใช้จ่ายโครงการสวัสดิการสังคมของรัฐบาลโดยการเพิ่มรายได้ของผู้ที่ได้รับค่าแรงต่ำสุด[1]
  • กระตุ้นให้ประชากรเข้าสู่ระบบแรงงานมากกว่าจะไปแสวงหาเงินด้วยวิธีที่ผิดกฎหมาย เช่น การขายยาเสพติด[21][22]
  • กระตุ้นประสิทธิภาพและการใช้เครื่องจักรในอุตสาหกรรม[23]
เหตุผลคัดค้านกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ
  • ส่งผลเสียต่อธุรกิจขนาดเล็กมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่[24]
  • ลดความต้องการจำนวนแรงงาน โดยผ่านการลดจำนวนชั่วโมงของแรงงานหนึ่งคน หรือผ่านการลดจำนวนตำแหน่งงาน[25][26]
  • อาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ เมื่อธุรกิจพยายามชดเชยรายได้ด้วยการขึ้นราคาขายสินค้า[27][28]
  • เป็นประโยชน์แก่แรงงานบางส่วน ขณะที่แรงงานที่ยากจนและมีผลิตภาพน้อยที่สุด[29]
  • อาจส่งผลให้แรงงานบางกลุ่มในระบบถูกตัดออกจากระบบ[30]
  • มีประสิทธิภาพน้อยกว่าวิธีอื่นในการลดความยากจน และสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจมากกว่าวิธีอื่น[31]
  • เหนี่ยวรั้งมิให้แรงงานที่ยากจนได้รับการศึกษาเพิ่มเติม เพราะเป็นการล่อใจให้เข้าสู่ตลาดอาชีพ[31]

ใน ค.ศ. 2006 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โต้แย้งว่า ค่าแรงขั้นต่ำไม่อาจเชื่อมโยงกับการว่างงานในประเทศที่ประสบการสูญเสียอาชีพได้โดยตรง[8] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ออกรายงานซึ่งให้เหตุผลว่า ประเทศสามารถบรรเทาภาวะว่างงานวัยรุ่นได้โดย "การลดค่าจัดจ้างเยาวชนทักษะต่ำ" โดยให้ค่าจ้างฝึกงานต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ[32] การศึกษาของรัฐสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่า บัญชีค่าจ้างประจำปีและเฉลี่ยของธุรกิจเติบโตเร็วกว่าและการจ้างงานอยู่ในอัตราเร็วกว่าในรัฐที่มีค่าแรงขั้นต่ำ[33] การศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ แต่ไม่ได้อ้างเพื่อพิสูจน์สาเหตุ

แม้ว่าจะถูกคัดค้านอย่างแข็งขันจากทั้งประชาคมธุรกิจและพรรคอนุรักษนิยมเมื่อมีการเสนอค่าแรงขั้นต่ำใน ค.ศ. 1999 แต่หลังริเริ่มค่าแรงขั้นต่ำในสหราชอาณาจักร ประเด็นดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์กันต่อไป และพรรคอนุรักษนิยมพลิกจากพรรคฝ่ายค้านเป็นพรรครัฐบาลใน ค.ศ. 2000[34] การทบทวนถึงผลกระทบของค่าแรงขั้นต่ำไม่พบผลกระทบที่สังเกตได้ใด ๆ ต่อระดับการจ้างงาน[35] อย่างไรก็ตาม ราคาในภาคค่าแรงขั้นต่ำอาจถูกพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญเร็วกว่าราคาในภาคที่ไม่อยู่ภายใต้ค่าแรงขั้นต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสี่ปีแรกหลังนำแนวคิดค่าแรงขั้นต่ำไปปฏิบัติ[36]

ตั้งแต่การริเริ่มค่าแรงขั้นต่ำระดับชาติในสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1999 ผลกระทบของค่าแรงขั้นต่ำต่อการจ้างงานเป็นหัวข้อการวิจัยและการสังเกตอย่างกว้างขวางโดยคณะกรรมการจ้างเงินต่ำ คณะกรรมการจ้างเงินต่ำพบว่า แทนที่จะทำให้ลูกจ้างตกงาน นายจ้างกลับลดอัตราการว่าจ้าง ลดชั่วโมงทำงานของพนักงาน เพิ่มราคาสินคา และพบหนทางในการทำให้แรงงานปัจจุบันเพิ่มผลิตภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมบริการ[37] ทั้งสหภาพการค้าและองค์กรนายจ้างไม่คัดค้านแนวคิดค่าแรงขั้นต่ำ ถึงแม้ว่าองค์กรนายจ้างจะคัดค้านอย่างหนักจนถึง ค.ศ. 1999

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Real Value of the Minimum Wage
  2. ^ Black, John (2003-09-18). Oxford Dictionary of Economics. Oxford University Press, USA. p. 300. http://www.amazon.com/dp/0198607679. 
  3. ^ 3.0 3.1 Neumark, David; William L. Wascher (2008). Minimum Wages. Cambridge, Massachusetts: The MIT Press. ISBN 978-0-262-14102-4. http://mitpress.mit.edu/catalog/item/default.asp?ttype=2&tid=11659. 
  4. ^ 4.0 4.1 4.2 Eatwell, John, Ed.; Murray Milgate, Peter Newman (1987). The New Palgrave: A Dictionary of Economics. London: The Macmillan Press Limited. pp. 476–478. ISBN 0-333-37235-2. 
  5. ^ 5.0 5.1 5.2 5.3 Sowell, Thomas (2007-04-02). Basic Economics (3rd Edition): A Common Sense Guide to the Economy. New York: Basic Books. ISBN 0-465-00260-9. http://www.amazon.com/dp/0465002609.  Minimum Wage Laws are covered on pages 210-221. The full text of an essentially identical section from a previous edition can be found at page 163 HERE
  6. ^ "Minimum wage encyclopedia topics | Reference.com". 74.125.153.132. http://74.125.153.132/search?q=cache:BGJadOmw1JAJ:www.reference.com/browse/minimum%2Bwage+zealand+%22first+minimum+wage+law%22+1894&cd=2&hl=en&ct=clnk. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-07-29. 
  7. ^ "The best anti-poverty program we have? - Free Online Library". 74.125.153.132. http://74.125.153.132/search?q=cache:E83FNT8k_-UJ:www.thefreelibrary.com/The%2Bbest%2Banti-poverty%2Bprogram%2Bwe%2Bhave%253F-a0203335454+zealand+%22first+minimum+wage+law%22+1894&cd=4&hl=en&ct=clnk. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-07-29. 
  8. ^ 8.0 8.1 ILO 2006: Minimum wages policy (PDF)
  9. ^ Provisional Minimum Wage Commission: Preliminary Views on a Bask of Indicators, Other Relevant Considerations and Impact Assessment, Provisional Minimum Wage Commission, Hong Kong Special Administrative Region Government, [1]
  10. ^ Setting the Initial Statutory Minimum Wage Rate, submission to government by the Hong Kong General Chamber of Commerce.
  11. ^ Li, Joseph, “Minimum wage legislation for all sectors,” China Daily October 16, 2008 [2], “Hong Kong sets Minimum Wage – What one Singaporean thinks,” Speaker’s Corner, SG Forums, November 5, 2010 [3]
  12. ^ Berstein, David E., & Leonard, Thomas C., Excluding Unfit Workers: Social Control Versus Social Justice in the Age of Economic Reform, Law and Contemporary Problems, Vol. 72, No. 3, 2009 [4]
  13. ^ McConnell, C.R. and S.L. Brue, Economics, Irwin-McGraw Hill, 1999, 14th ed., p. 594.
  14. ^ Gwartney, J.D., R.L. Stroup, R.S. Sobel, and D.A. Macpherson, Economics: Private and Public Choice, Thomson South-Western, 2003, 10th ed., p. 97.
  15. ^ David Card and Alan B. Krueger, Myth and Measurement: The New Economics of the Minimum Wage, Princeton University Press, 1995, pp. 1, 6-7.
  16. ^ Gwartney, James D.; Richard L. Stroup. Economics: Private and Public Choice. New York: Harcourt Brace Jovanovich. pp. 559–562. ISBN 0-15-518880-1. 
  17. ^ 17.0 17.1 17.2 Ehrenberg, R. and Smith, R. "Modern labor economics: theory and public policy", HarperCollins, 1994, 5th ed.
  18. ^ William M. Boal and Michael R. Ransom, "Monopsony in the Labor Market", Journal of Economic Literature, V.35, March, pgs.86-112 [5]
  19. ^ Harry Bernstein, "Troubling Facts on Employment," Los Angeles Times, September 15, 1992, p. D3; Eric Engquist, "Health Bill Fight Nears Showdown," Crain's New York Business, May 15, 2006, p. 1.
  20. ^ Richard B. Freeman (1994). Minimum Wages – Again!. International Journal of Manpower. 
  21. ^ http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=545382
  22. ^ http://www.epi.org/publications/entry/books_crimeandwork/
  23. ^ Bernard Semmel, Imperialism and Social Reform: English Social-Imperial Thought 1895-1914 (London: Allen and Unwin, 1960), p. 63.
  24. ^ Wal-Mart Warms to the State - Mises Institute
  25. ^ Tupy, Marian L. Minimum Interference, National Review Online, May 14, 2004
  26. ^ "The Wages of Politics", Wall Street Journal
  27. ^ Increasing the Mandated Minimum Wage: Who Pays the Price?
  28. ^ Why Wal-Mart Matters - Mises Institute
  29. ^ "Will have only negative effects on the distribution of economic justice. Minimum-wage legislation, by its very nature, benefits some at the expense of the least experienced, least productive, and poorest workers." (Cato)
  30. ^ Williams, Walter (1989). South Africa's War Against Capitalism. New York: Praeger. ISBN 027593179X. 
  31. ^ 31.0 31.1 A blunt instrument, The Economist, October 26, 2006 (อังกฤษ)
  32. ^ Scarpetta, Stephano, Anne Sonnet and Thomas Manfredi,Rising Youth Unemployment During The Crisis: How To Prevent Negative Long-Term Consequences on a Generation?, 14 April 2010 (read-only PDF)
  33. ^ Fiscal Policy Institute, "States with Minimum Wages Above the Federal Level have had Faster Small Business and Retail Job Growth," March 30, 2006.
  34. ^ "National Minimum Wage". politics.co.uk. Archived from the original on December 1, 2007. http://web.archive.org/web/20071201162434/http://www.politics.co.uk/issue-briefs/economy/employment/national-minimum-wage/national-minimum-wage-$366581.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-12-29. 
  35. ^ Metcalf, David (April 2007). "Why Has the British National Minimum Wage Had Little or No Impact on Employment?". http://ideas.repec.org/p/cep/cepdps/dp0781.html. 
  36. ^ Wadsworth, Jonathan (September 2009). "Did the National Minimum Wage Affect UK Prices". ftp://repec.iza.org/RePEc/Discussionpaper/dp4433.pdf. 
  37. ^ Low Pay Commission (2005). National Minimum Wage - Low Pay Commission Report 2005

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น