มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
Chaiyaphum Rajabhat University
ตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัยชัยภูมิ.jpg
สถาปนา 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
ประเภท รัฐบาล
อธิการบดี ศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ
นายกสภามหาวิทยาลัย พล.ร.ท.วิรุฬห์ กองจันทร์
ที่ตั้ง ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 36000
เว็บไซต์ www.cpru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (อังกฤษ: Chaiyaphum Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในจังหวัดชัยภูมิ จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา โดยคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อจัดการหลักสูตรของมหาวิทยาลัย

ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จะได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร[1]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ตั้งอยู่บนที่ดินสาธารณประโยชน์ บนเขาสระหงส์ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลนาฝาย หมู่บ้านนาฝายและหมู่บ้านห้วยชัน ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มอบให้เป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัย จำนวน 1,482 ไร่เศษ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือ ประมาณ 12.5 กิโลเมตร ด้านหน้าติดกับถนนหลวงสาย ชัยภูมิ-ตาดโตน ด้านข้างติดกับถนน รพช. สายห้วยชัน-ห้วยต้อนมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ได้เริ่มดำเนินการก่อตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2537 และได้รับอนุมัติให้จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 ในสมัยรัฐบาลของ ฯพณฯ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยจัด สรรงบประมาณแผ่นดินมาให้ดำเนินการในปี พ.ศ. 2540 จำนวน 30 ล้านบาท

แต่เพราะปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ได้ปรับ ลดเหลือเพียง 15 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างสิ่งจำเป็นพื้นฐานบางประการ ซึ่งในระยะแรก ได้ไปอาศัยวิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดชัยภูมิเป็นสำนักงานโครงการชั่วคราว เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2540 จนสำนักงานโครงการชั่วคราวก่อสร้างเสร็จแล้ว จึงได้ย้ายออกวิทยาลัยพลศึกษาไปอยู่ ณ ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบันบนเขาสระหงส์ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 12 สิงหาคม 2541 เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้นรัฐบาลให้ชะลอโครงการไว้ก่อนและได้จัด สรรเงินมาให้รักษาสภาพโครงการ ในปี พ.ศ. 2541 จำนวน 3 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2542 จำนวน 2.4 ล้านบาท และงบพิเศษจากเงินเหลือจ่ายสำหรับก่อสร้างอาคารเพื่อรับนักศึกษาภายใต้ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 10 ล้านบาท แต่ในปี 2543 ก็ยังได้รับงบประมาณ 2.4 ล้านบาท เท่าเดิมอยู่ ในปี พ.ศ. 2544 ได้รับ เงินงบประมาณเพิ่มขึ้น คือ ค่าก่อสร้างเรียนรวม 6 ชั้น จำนวน 1 หลัง ราคา 80 ล้านบาท แต่ปรับลดเหลือ 72 ล้านบาท (งบผูกพัน 3 ปี)

ในปี พ.ศ. 2544 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็น “สถาบันราชภัฏชัยภูมิ” ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2544 จึงถือว่าวันดังกล่าวคือ วันคล้ายวันสถาปนาของมหาวิทยาลัย และได้จัดให้มีพิธีทำบุญตักบาตร ในวันคล้ายวันสถาปนาของมหาวิทยาลัยทุกปี และตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นมา ได้จัดตั้งงบประมาณในการก่อสร้าง อาคารสถานที่และพัฒนามหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น ปีงบประมาณ 2546 ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับก่อสร้าง อาคารบรรณราชนครินทร์ สูง 5 ชั้น จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 60 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2547 ได้รับการจัดสรรเงิน สำหรับ ก่อสร้างอาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ สูง 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 40 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2548 ได้รับ การจัดสรรงบประมาณจำนวน 73 ล้านบาท เป็นต้น

และเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 และในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา อันมีผลให้สถาบันราชภัฏชัยภูมิได้รับการยกฐาน เป็น "มหาวิทยาลัย ราชภัฏชัยภูม"ิ และมีสภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ ซึ่งสามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นอิสระของตน เองมีความ คล่องตัว และมีเสรีภาพทางวิชาการ

[แก้] วิทยาลัยพยาบาลพระยาภักดีชุมพล

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้รับจัดตั้งขึ้นตามคติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ได้สำรวจความต้องการทางการศึกษาของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดใกล้เคียง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้บุตรหลานเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปฏิบัติงานในชุมชนของตนเอง เป็นการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งทางด้านสุขภาพและพึ่งตนเองได้ รวมทั้งนโยบายทางด้านสาธารณสุขของประเทศ เน้นความครอบคุลมทางด้านการให้บริการ โดยมีนโยบายให้มีพยาบาลวิชาชีพทุกสถานีอนามัย ซึ่งพบว่าในชนบทยังขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพมาก จากนโยบายกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการเกษียณอายุราชการปี พ.ศ. 2548 ได้กำหนดวิชาชีพพยาบาล เป็นวิชาชีพที่ขาดแคลนวิชาชีพหนึ่ง ไม่สามารถเข้าโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดได้ นอกจากภาวะเจ็บป่วยที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จริง ๆ จึงจะอนุญาตให้เกษียณอายุราชการก่อนกำหนดได้

จากเหตุผลดังกล่าวมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จึงได้กำหนดนโยบายก่อตั้งวิทยาลัยพยาบาล ขึ้น โดยเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการตามคำสั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ที่ 910/2545 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2549 และได้ผ่านการอนุมัติหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในคราวประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ครั้งที่ 5/2549 ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และสภาการพยาบาล ได้ดำเนินการตรวจเยี่ยมและให้การรับรองสถาบัน ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551

[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานตรามหาวิทยาลัยราชภัฏเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 มีลักษณะเป็นรูปกลมรี โดยตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มีอักษร "มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ" และ "Chaiyaphum Rajabhat University" ล้อมรอบดวงตราพระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 9

สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีเหลืองและสีฟ้าอ่อน ซึ่งมีความหมาย ดังนี้

  • สีเหลือง แทน ความสุกสว่างกว้างไกล ความสดใสร่าเริง ความมีคุณธรรม และความเป็นผู้นำ
  • สีฟ้าอ่อน แทน ความสดชื่นสบายใจ ความสดใสเบิกบาน และความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น

[แก้] หน่วยงานและหลักสูตร


คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี (หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี) ระดับปริญญาตรี (หลักสูตรปกติ 4 ปี)
ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
    • แขนงการจัดการอุตสาหกรรม
    • แขนงก่อสร้าง

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา แขนงการฝึกและการจัดการกีฬา
  • โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์
  • โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  • โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาควิชาศิลปศาสตร์

-

  • โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ
  • โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน
  • โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชน
ภาควิชาครุศาสตร์

-

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

  • โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ
  • โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • โปรแกรมวิชาภาษาไทย
  • โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์
  • โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์
  • โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
ภาควิชาบริหารธุรกิจ
  • โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป
  • โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ
    • แขนงวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
    • แขนงวิชาการบัญชี
    • แขนงวิชาการตลาด
    • แขนงคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    • แขนงธุรกิจบริการ
  • โปรแกรมวิชาแขนงการจัดการทั่วไป
  • โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ
    • แขนงคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    • เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
    • แขนงการบัญชี
ภาควิชานิติศาสตร์

-

  • โปรแกรมวิชานิติศาสตร์
โครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์
หลักสูตรวิศวกรรมการผลิต ระดับปริญญาตรี (หลักสูตรปกติ 4 ปี)

[แก้] อ้างอิง

1.คณะพยาบาลศาสตร์ 2.คณะศิลปศาสตร์ 3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ และระดับบัณฑิตศึกษา ปริญญาโท

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น