มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Huachiew Chalermprakiet University
HCUlogo.jpg
คติพจน์ คุณงามความดี บริสุทธิคุณ การกระทำความดี
สถาปนา 17 ธันวาคม พ.ศ. 2524
ประเภท เอกชน
ที่ตั้ง ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
วิทยาเขตยศเส
120 ถนนอนันตนาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพ
เว็บไซต์ www.hcu.ac.th

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (อังกฤษ: Huachiew Chalermprakiet University) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2524[1] โดย มูลนิธิฮั้วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยชื่อของมหาวิทยาลัย "หัวเฉียว" (จีน: 華僑) หมายถึง ชาวจีนโพ้นทะเล และเป็นชื่อที่มูลนิธิใช้เป็นชื่อของโรงพยาบาลและวิทยาลัยของมูลนิธิอยู่แล้ว

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีวิทยาเขต 1 แห่ง คือ วิทยาเขตยศเส ตั้งอยู่บริเวณถนนอนันตนาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535[2]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

“มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ” ก่อกำเนิดมากจาก “วิทยาลัยหัวเฉียว” ซึ่งมีรากฐานเติมโตมาจากโรงเรียนผดุงครรภ์อนามัยก่อตั้งโดยมูลนิธิป่อเต็มตึ๊ง ที่ก่อเกิดขึ้นจากพลังศรัทธาในคุณธรรมแห่ง “ไต้ฮงภิกขุ” ผู้ก่อตั้ง “คณะเก็บศพไต้ฮงกง” หรือ “มูลนิธิป่อเต็งตึ๊ง” ในปัจจุบัน โดยมีภารกิจในการบำเพ็ญทาน การสร้างสถานพยาบาลและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อมวลชน รวมถึงการทำงานด้านการศึกษา โดยเปิดสอนหลักสูตรพยาบาล ในระดับปริญญาตรีเป็นหลักสูตรแรก ก่อนที่จะได้รับการยกสถานะเป็น “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ” ในปัจจุบัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ในวาระที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งมีวาระครบรอบ 80 ปี จึงได้ระดมทุนจากชาวไทยเชื่อสายจีนเพื่อใช้ในการก่อสร้าง เมื่อได้รับการอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้ยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัย จึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า ““มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ” ทั้งยังได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดมหาวทิยาลัย เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 โดยจัดว่า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวในประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มาเป็นประธานเปิดมหาวิทยาลัยให้ เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยให้กับของรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งไม่เคยเป็นประธานเปิดมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งใดเลย จึงเป็นผลนำมาซึ่งความปลาบปลื้มและนับเป็นสิริมงคลอันใหญ่หลวงแก่ชาวมหาวิทยาลัย และชาวจีนโพ้นทะเลในดินแดนสยาม ที่ได้ร่วมมือกันก่อตั้งสถาบันการศึกษาแห่งนี้

นับจากการสถาปนาจนถึงปัจจุบัน “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ” ได้ทำหน้าที่ในฐานะสถาบันอุดมศึกษา ในการผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติ โดยยึดกระแสพระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงดำรัสไว้ครั้งสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยว่า “ขอให้ทำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้ดี” เป็นกระแสพระราชดำรัสที่ยังความปลาบปลื้มแก่คณะผู้ก่อตั้ง คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบคลากรของมหาวิทยาลัย เป็นล้นพ้น และก่อให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้บรรลุผลสำเร็จตามปณิธานที่ตั้งไว้ นั่นคือ “การกระจายโอกาส และสร้างความเสมอภาคในระดับอุดมศึกษา ส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามตามพื้นฐานพระพุทธศาสนา และบูชาคุณธรรมบรรพชน เพื่อสร้างบัณฑิตที่รู้รอบ รู้ลึก และมีความชำนาญงาน โดยเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อสร้างบัณฑิตผู้รู้จริง ปฏิบัติงานได้จริง ควบคู่กับการมีคุณธรรม พร้อมที่จะถ่ายทอดวิชา และอุทิศตนเพื่อรับใช้สังคมอย่างเต็มภาคภูมิ” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ นั่นคือ “มุ่งหวังให้เป็นมหาวิทยาลัยปวงชนที่มีมาตรฐานสากล ทันสมัย มีความพร้อมสำหรับการแข่งขัน และพึ่งตนเองได้"

[แก้] สัญลักษณ์

  • ตัวอักษรกลางรูปวงกลม นำมาจากสัญลักษณ์ของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง คือ 善 อ่านว่า ซ่าน (shàn) ในภาษาจีนกลางหรือ เสียง ในภาษาแต้จิ๋ว หมายถึง "คุณงามความดี บริสุทธิคุณ การกระทำความดี"
  • ส่วนวงกลมชั้นนอก มีอักษรไทย/จีน/อังกฤษ บอกชื่อ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ภาษาจีนเขียนว่า 華僑崇聖大學 อ่านว่า หัวเฉียวฉงเซิ่งต้าเสฺว (huáqiáo chóngshèng dàxué) ในภาษาจีนกลาง หรือ ฮั่วเคี้ยวฉ่งเสี่ยไต่ฮัก ในภาษาแต้จิ๋ว โดยคำว่า 華僑 หมายถึงชาวจีนโพ้นทะเล 崇聖 หมายถึงเฉลิมพระเกียรติ และ 大學 หมายถึงมหาวิทยาลัย โดยรวมจึงหมายถึง มหาวิทยาลัยที่ลูกหลานชาวจีนโพ้นทะเลสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ

[แก้] หลักสูตร

“มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ” เปิดสอนระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ปริญญาต่อเนื่อง 2 ปี ทั้งภาคปกติและภาคสมทบ (เรียนเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์) หลักสูตรนานาชาติ (International Program) เพื่อเพิ่มทักษะภาษาต่างประเทศ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ และเพื่อเตรียมพร้อมเข้าศึกษาต่อต่างประเทศในระดับสูง พร้อมกับเปิดโอกาสให้นักศึกษาต่างชาติได้เข้ามาศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมไทย และระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อผลิตนักบริหารมืออาชีพสู่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และผู้นำทางสังคมในภาครัฐและเอกชน ภายใต้การจัดการเรียนการสอนของคณะต่าง ๆ รวม 13 คณะวิชา ได้แก่

  • คณะพยาบาลศาสตร์
  • คณะสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม
  • คณะศิลปศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตร์
  • คณะเทคนิคการแพทย์
  • คณะกายภาพบำบัด
  • คณะการแพทย์แผนจีน
  • คณะนิติศาสตร์
  • บัณฑิตวิทยาลัย

รวม 33 สาขาวิชา ครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เปิดสอนสาขาดังนี้

  • สาขาพยาบาลศาสตร์
  • สาขาการแพทย์แผนจีน
  • สาขาเภสัชศาสตร์
  • สาขาเทคนิคการแพทย์
  • สาขากายภาพบำบัด
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาการจัดการโรงพยาบาล

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม

ด้านมนุษยศาสตร์

  • ภาษาจีน
  • ภาษาอังกฤษ
  • ภาษาและวัฒนธรรมไทย
  • ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ
  • หลักสูตรเอกคู่ (Double-Major) ภาษาอังกฤษ-จีน และภาษาอังกฤษ-ภาษาไทย

ด้านสังคมศาสตร์

  • สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
  • บริหารธุรกิจ (บัญชี การจัดการ การตลาด การเงิน ธุรกิจระหว่างประเทศ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ การจัดการอุตสาหกรรม)
  • นิติศาสตร์
  • นิเทศศาสตร์ (วิทยุและโทรทัศน์ การออกแบบนิเทศศิลป์ ประชาสัมพันธ์ โฆษณาและการสื่อสารการตลาด ศิลปะการแสดง สื่อมัลติมีเดียและสื่อใหม่)
  • การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการเพื่อการท่องเที่ยว

สำหรับปริญญาโท การจัดการหลักสูตรเน้นที่คุณภาพมากกว่าปริมาณ โดยเลือกหลักสูตรที่เป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัย ทั้งด้นประสบการณ์และความพร้อม ได้แก่

  • พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ
  • สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบูรณาการนโยบายสวัสดิการสังคม
  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA.)
  • การจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรม
  • เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องสำอาง
  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีสมัยใหม่และร่วมสมัย (สอนเป็นภาษาจีน) ร่วมกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียว (จีน)

[แก้] คณะ

[แก้] สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย

[แก้] ชมรมต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย

  • ชมรมวิทยุสมัครเล่น
  • ชมรมเทควันโด
  • ชมรมเปตอง
  • ชมรมแบดมินตัน
  • ชมรมฟุตบอล
  • ชมรมมุสลิมศึกษา
  • ชมรมพุทธศาสน์
  • ชมรมคนใต้
  • ชมรม R&DTC
  • ชมรมกีฬายิงปืนและBB GUN
  • ชมรมบาสเกตบอล
  • ชมรมดนตรีสากล
  • ชมรม HCU Band
  • ชมรมขับร้องประสานเสียง
  • ชมรมผู้นำเชียร์ประจำมหาวิทยาลัย
  • ชมรมเชียร์
  • ชมรม Bounce HCU

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

13°36′46″N 100°45′29″E / 13.612757°N 100.758124°E / 13.612757; 100.758124พิกัดภูมิศาสตร์: 13°36′46″N 100°45′29″E / 13.612757°N 100.758124°E / 13.612757; 100.758124