มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
King Mongkut's University of Technology North Bangkok
Logo-kmutnb.png
คติพจน์ พัฒนาคน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สถาปนา พ.ศ. 2502 (โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ)
24 เมษายน พ.ศ. 2514 (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า)
ประเภท สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
อธิการบดี ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ
นายกสภาฯ ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล
ที่ตั้ง

วิทยาเขตกรุงเทพฯ
ถนนพิบูลสงคราม แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
วิทยาเขตปราจีนบุรี
ตำบลเนินหอม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

วิทยาเขตระยอง
ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
เว็บไซต์ www.kmutnb.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แรกก่อตั้งในปี พ.ศ. 2502 โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ภายใต้ชื่อ "โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ" หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "เทคนิคไทย-เยอรมัน" ก่อนจะยกฐานะเป็น "วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ" ในปี พ.ศ. 2507 และ "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ" ในปี พ.ศ. 2514 [1] ต่อมาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้งสามวิทยาเขตได้รับการยกฐานะเป็น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในปี พ.ศ. 2529 [2] โดยมีอำนาจบริหารอิสระจากกัน ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือแบ่งออกเป็น 3 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตกรุงเทพมหานคร เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร, วิทยาเขตปราจีนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี และวิทยาเขตระยอง อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ชื่อ สถาบันเทคโนโลยีได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระ ราชทานนามอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นมงคลยิ่งว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้า" ตามพระบรมนามาภิไธยแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ ทรงพระมหากรุณาธิคุณมีพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระตรา "พระมหามงกุฏ" มาเป็นสัญลักษณ์แห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าด้วย ตามบัญญัติ แห่งกฎหมายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ได้กำหนดให้รวมวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ วิทยาลัยโทรคมนาคม และ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ซึ่งสังกัดกรมอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาเข้าด้วยกัน แล้วจัดตั้งเป็นสถาบันเทคโนโลยี เรียกกันว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า" เป็นสถาบันศึกษาและวิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาให้ การศึกษาทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ สถาบันเป็นนิติบุคคลมีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการกำหนดการแบ่ง ส่วนราชการออกเป็นสำนักงานอธิการบดี และคณะ

[แก้] เทคนิค ไทย-เยอรมัน

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ได้มีการลงนามในสัญญาว่าด้วยความร่วมมือช่วยเหลือในทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่าง รัฐบาลไทยและรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน โดยผลแห่งสัญญานี้จึงได้ มีการลงนามในข้อตกลงระหว่างรัฐบาลทั้งสองอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2502 ในอันที่จะจัดตั้งโรงเรียนเทคนิคขึ้นในประเทศไทย ด้วยความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน โดย รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันรับจะช่วยเหลือด้วยการจัดส่งเครื่องจักร เครื่องมือ อันเป็นอุปกรณ์การสอนวิชาช่างต่างๆ มาให้ทั้งหมด พร้อมกับส่งครูผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ มาช่วยสอนด้วย ส่วนรัฐบาลไทยรับเป็นผู้จัดหาที่ดิน อาคารเรียนโรงฝึกงาน ตลอดจนครูไทยจำนวนหนึ่งที่จะทำการสอนร่วมกับครูผู้เชี่ยวชาญเยอรมันด้วย ผลแห่งสัญญาและความตกลงดังกล่าวแล้ว กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ประกาศตั้งโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือขึ้น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 และได้เริ่มเปิดการสอนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนประเภทช่างกล ที่จัดตั้งขึ้นมาด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลทั้งสองตามเงื่อนไขและ ข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ส่วนการดำเนินงานในด้านบริหารโรงเรียน ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งและดำเนินงานนั้นก็เหมือนกับโรงเรียนไทย อื่นๆ ทางฝ่ายเยอรมันเป็นเพียงที่ปรึกษาและให้ความช่วยเหลือในด้านเทคนิคเท่านั้น ใน ครั้งแรกได้ทำความตกลงช่วยเหลือกัน มีกำหนดเวลา 3 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2504 แต่ต่อมาเมื่อครบกำหนดแล้วได้มีการตกลงที่จะมีการร่วมมือช่วย เหลือโรงเรียนนี้ต่อไปอีก 2 ปี ตามข้อตกลงที่ลงนามกัน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2504 โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือในขณะนี้จัดการศึกาาเป็น 2 ประเภท คือประเภทโรงเรียนกลางวันและประเภทการศึกษาพิเศษ ประเภทโรงเรียนกลางวันจัดสอนเป็นสองขั้น คือ 1. ขั้นประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูง เปิดสอนในแผนกวิชาต่างๆ 6 แผนกคือ แผนกช่างกลโรงงาน แผนกช่างเครื่องยนต์ แผนกช่างไฟฟ้า แผนกช่างท่อและ ประสาน แผนกช่างวิทยุและโทรคมนาคม และแผนกช่างไม้ และต่อไปจะเปิดสอนแผนกช่างเขียนแบบเพิ่มขึ้นอีก 1 แผนก

ในปีการศึกษา 2506 การเรียนในขั้นประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูง ในระยะ 3 ปีแรก ได้รับนักเรียนเข้าศึกษาเพียงปีละ 50 คน มีหลักสูตรการเรียน 2 ปี และ 3 ปี 2 ปีนั้น รับนักเรียนที่สำเร็จชั้นปีที่ 1 จากโรงเรียนประเภทช่างกลต่างๆ มาเรียน 2 ปี ส่วนหลักสูตรการเรียน 3 ปี ผู้ที่สำเร็จจะได้รับประกาศนียบัตรประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูงของกระทรวง ศึกษาธิการ แต่สำหรับนักเรียนแผนกช่างไม้นั้น รับผู้ที่เรียนสำเร็จชั้นมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย แผนกช่างไม้มาเรียน 3 ปี ซึ่งเมื่อสำเร็จแล้วก็จะได้ประกาศนียบัตรประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูงเช่น เดียวกัน เมื่อผ่านระยะ 3 ปีแรกมาแล้ว โรงเรียนได้เปิดรับเฉพาะผู้ที่ สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 มาเรียนต่อ 3 ปี ผู้ที่สำเร็จชั้นปีที่ 1 จาก โรงเรียนประเภทช่างกลต่างๆ ไม่รับเข้าเรียน 2. ขั้นวิชาชีพชั้นสูง เปิดสอนในวิชาแผนกต่างๆ 4 แผนกคือ แผนกช่างกลโรงงาน แผนกช่างเครื่องยนต์ แผนกช่างไฟฟ้า และแผนกช่างท่อและประสาน การเรียนในขั้นวิชาชีพชั้นสูงนี้ โรงเรียนเปิดรับเฉพาะผู้ที่สำเร็จขั้นประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูง จากโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือเข้าเรียนต่ออีก 2 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะ ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของกระทรวงศึกษาธิการ นักเรียนขั้น วิชาชีพชั้นสูงนี้ส่วนใหญ่ออกฝึกงานตามโรงงานอุตสาหกรรม และองค์การรัฐบาล ซึ่ง ได้ฝึกงานในวิชาช่างแขนงที่ตนเรียน และโรงเรียนยอมรับรองผลการปฏิบัติงานนั้น เป็นการเรียนภาคปฏิบัติส่วน การเรียนภาคทฤษฎีนักเรียนต้องไปเรียนที่โรงเรียนสัปดาห์ละ 1 วัน

นอกจากการศึกษาประเภทกลางวันแล้ว โรงเรียนยังได้จัดการศึกษาพิเศษขึ้นในเวลาเย็นตามหลักสูตรสารพัดช่าง ของกรมอาชีวศึกษาอีกด้วย คือ จัดสอนตามหลักสูตรระยะสั้น 180 ชั่วโมง หรือ 300 ชั่วโมง ซึ่งได้เปิดสอนวิชาช่างต่างๆ คือ ช่างเครื่องยนต์ ช่างกลึง ช่างประสาน ช่างวิทยุ และช่างเขียนแบบ ผู้ที่สมัครเข้า เรียนตามหลักสูตรดังกล่าวนี้บางช่างก็กำหนดความรู้ไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมปีที่ 6 เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างเครื่องยนต์ และช่างวิทยุ ส่วนช่างอื่นๆ ไม่กำหนดพื้นความรู้ ส่วนมากของผู้ที่มาเรียนเป็นผู้ใหญ่ที่ทำงานในตอนกลางวัน และมาเรียนใน ตอนเย็น

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 มาจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันได้ส่งเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์การ สอนต่างๆ มาให้เรื่อยๆ คิดเป็นมูลค่าได้ประมาณ 7 ล้านบาท สิ่งของต่างๆ ที่นำมายังประเทศไทยนี้ ได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้าทั้งหมดนอกจาก เครื่องจักรเครื่องมือที่ได้ส่งมาให้แล้ว ยังได้ส่งผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมันมาช่วยฝึกสอนร่วมกับครูไทยอีก 8 คน ผู้เชี่ยวชาญเยอรมันเหล่านี้ได้รับเงินเดือนจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันแต่ รัฐบาลไทยก็ได้ช่วยเหลือเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในเรื่องต่างๆ คือ จัดหาบ้านพักให้อยู่อาศัยทุกคน ตลอดจนออกค่าน้ำค่าไฟให้ด้วย นอกจาก นั้นการนำของใช้ส่วนตัวเข้ามาใช้ในประเทศไทยก็ยังได้รับการยกเวั้นภาษีขา เข้าทั้งหมดอีกด้วย งานติดตั้งเครื่องจักรเครื่องมือในโรงฝึกงาน รวมทั้งการเดินสายไฟฟ้าและการวางท่อประปา ท่อลม ท่อแก๊ส เป็นผลงานของ นักเรียน 50 คน รุ่นแรกที่ได้ปฏิบัติงานร่วมกับคณะครูผู้เชี่ยวชาญเยอรมัน และครูไทยทั้งสิ้น

บุคคลสำคัญที่เป็นผู้บริหารงานโรงเรียน

  1. นายบุญญศักดิ์ ใจจงกิจ อาจารย์ใหญ่
  2. นายยง แย้มสรวล ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่
  3. นายคาร์ล สตุทเล่อร์ อาจารย์ใหญ่เยอรมัน (พ.ศ. 2502-2504)
  4. นายแอนส์ มอสดอร์ฟ อาจารย์ใหญ่เยอรมัน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา)
  5. นายฮูเบิร์ต ชุดเล่อร์ อาจารย์หัวหน้าโรงฝึกงาน และผู้เชี่ยวชาญช่างกลโรงงาน

คณะผู้เชี่ยวชาญเยอรมัน

  1. นายอีมิล ดิทริช อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญช่างไฟฟ้า
  2. นายเฮอร์เบิร์ต มัง อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญช่างท่อและประสาน
  3. นายไฮน์ บิสมานน์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญช่างเครื่องยนต์
  4. นายไฮน์ริชชุปเปอร์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญช่างกลโรงงาน (พ.ศ. 2502-2504)
  5. นายออสคาร์ ชาร์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญช่างกลโรงงาน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา)
  6. นาย เกอร์จ เดกินเดอร์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชายช่างไม้ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา)
  7. นายวอลฟ์กัง กร๊าฟท์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญช่างวิทยุ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา)

[แก้] ทำเนียบอธิการบดี

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะ กสิภาร์ (พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2538)
  2. รองศาสตราจารย์บรรเลง ศรนิล (พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2544)
  3. ศาสตราจารย์ ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2550)
  4. รองศาสตราจารย์ปรีชา อ่องอารี (พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2551)
  5. ศาสตราจารย์ ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ (พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน)

[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

[แก้] ตราประจำมหาวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ " พระมหาพิชัยมงกุฏ " ซึ่งเป็นพระบรมราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ให้เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

[แก้] ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ต้นประดู่แดง เป็นไม้เนื้อแข็งซึ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งของสถาบัน กิ่งมีลักษณะโน้มลงแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นไม้ป่าแสดงถึงความสามารถของบัณฑิตที่สามารถดำรงคงอยู่ได้อย่างอดทนแม้อยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก ดอกมีสีแดงเข้มเหมือนหมากสุก ซึ่งตรงกับสีประจำมหาวิทยาลัย และจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันสถาปนาสถาบันคือ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ของทุกปี เปรียบคล้ายกับนักศึกษาในชั้นปีสุดท้ายที่ใก้ลจะสำเร็จการซึ่งตรงกับต้นประดู่แดงที่กำลังจะออกดอก เป็นดอกประดู่แดงทีมีความสวยงามและทน

ประดูแดง ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

[แก้] สีประจำมหาวิทยาลัย

สีแดงหมากสุก เป็นสีประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่สถาบันอัญเชิญมาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย

[แก้] วิทยาเขตและสถานที่ตั้ง

[แก้] กรุงเทพมหานคร

ตั้งอยู่ที่ 1518 ถนนพิบูลสงคราม เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่รวมทั้งหมด 83 ไร่ 172.9 ตารางวา โดยมีอาคารเรียน 13 หลัง อาคารโรงฝึกงาน 6 หลัง และอาคารอื่นๆ 9 หลัง

[แก้] ปราจีนบุรี

ตั้งอยู่ที่ตำบลเนินหอม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่รวมทั้งหมด 1,809 ไร่ 59 ตารางวา มีอาคารเรียน 2 หลัง คณะอาคารสำนักงาน 1 หลัง และอาคารอื่นๆ 8 หลัง และมีอาคารที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 3 หลัง

[แก้] ระยอง

จะก่อสร้างบนที่ดินประมาณ 100 ไร่เศษ ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ห่างจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 20 กิโลเมตร และได้มีการสำรองที่ดิน เพื่อการขยายพื้นที่อีก 200 ไร่ โดยการก่อสร้างจะเป็นโครงการต่อเนื่อง 5 ปี ใช้งบประมาณ 3,000 ล้านบาท

[แก้] หลักสูตรและการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเปิดการเรียนการสอนในหลายสาขาวิชา ซึ่งครอบคลุมทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพจนถึงระดับปริญญาเอก ปีการศึกษา 2547 มีหลักสูตรที่เปิดสอนทั้งสิ้น จำนวน 117 หลักสูตร เป็นหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำนวน 3 หลักสูตร ระดับปริญญาตรีจำนวน 73 หลักสูตร ระดับ ปริญญาโท จำนวน 33 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก จำนวน 8 หลักสูตร

[แก้] หน่วยงาน

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือประกอบด้วยคณะ ศูนย์ และหน่วยงานต่างๆ ดังนี้

[แก้] กรุงเทพมหานคร

  • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
    • ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล
    • ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี
    • ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า
    • ภาควิชาครุศาสตร์โยธา
    • ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
    • ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา
    • ภาควิชาธุรกิจอุตสาหกรรม]
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ
    • ศูนย์ e-Learning
  • คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์
    • ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม
    • ภาควิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
    • ภาควิชาสถิติประยุกต์
    • ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
    • ภาควิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรมและอุปกรณ์การแพทย์
    • ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม
    • ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ
    • ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
    • ภาควิชาวิศวกรรมการผลิต
    • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
    • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
    • ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
    • ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต
    • ภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ
    • ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอิเล็กทรอนิกส์
  • คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์
    • ภาควิชาภาษา
    • ภาควิชาสังคมศาสตร์
    • ภาควิชามนุษยศาสตร์
    • ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางศิลปศาสตร์ประยุกต์
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
    • ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล
    • ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า
    • ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม
    • ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม
    • ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ
    • ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง
    • ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
    • ภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ
    • ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม
    • โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ
    • ภาควิชาสถาปัตย์กรรม
    • ภาควิชาเทคโนโลยีศิลปอุตสาหกรรม
    • ภาควิชาการออกแบบสำนักงานอัตโนมัติและการจัดการธุรกิจ
  • บัณฑิตวิทยาลัย
  • บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน
  • สำนักงานอธิการบดี
    • กองกลาง
    • กองแผนงาน
    • กองบริการการศึกษา
    • กองกิจการนักศึกษา
    • กองบริหารและจัดการทรัพยากรมนุษย์
    • กองงานพัสดุ
    • โครงการกองวิเทศสัมพันธ์ (IA)
    • โครงการไอเอสเต้ (IAESTE)
    • ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา
    • ศูนย์ประสานราชการใสสะอาด
    • ศูนย์บริการเทคโนโลยี มจพ.ปราจีนบุรี (CTS)
    • งานจัดสิทธิประโยชน์และเกื้อกูลบุคลากร
    • งานตรวจสอบภายใน
    • กองงานวิทยาเขตปราจีนบุรี (GAD)
    • สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา
    • สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม
    • สำนักหอสมุดกลาง
    • สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STRI)
    • ศูนย์สหกิจศึกษาและอุตสาหกรรมสัมพันธ์
    • สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส

[แก้] วิทยาเขตปราจีนบุรี

  • คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม
    • ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม
    • ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • ภาควิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์และจัดการอุตสาหกรรมก่อสร้าง
    • ภาควิชาเทคโนโลยีการออกแบบและผลิตเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมเกษตร
    • ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม
  • คณะอุตสาหกรรมเกษตร
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอิเล็กทรอนิกส์
    • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

[แก้] วิทยาเขตระยอง

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมพอลิเมอร์
  • คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม
  • คณะที่จะเปิดทำการเรียนการสอน
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
    • คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์
    • คณะการจัดการอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว
    • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม
    • คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์

[แก้] อันดับมหาวิทยาลัย

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 สจพ. อยู่ในอันดับที่ 1,583 ของโลก อันดับที่ 57 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 22 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[3]

[แก้] การเดินทาง

[แก้] รถโดยสารประจำทาง


[แก้] ถนนพิบูลสงคราม


  • รถโดยสารประจำทางสาย 32 ปากเกร็ด-สนามหลวง
  • รถโดยสารประจำทางสาย 33 ปทุมธานี-สนามหลวง
  • รถโดยสารประจำทางสาย 64 ท่าน้ำนนทบุรี-สนามหลวง
  • รถโดยสารประจำทางสาย 90 ปทุมธานี-หมอชิต
  • รถโดยสารประจำทางสาย 97 กระทรวงสาธารณสุข-โรงพยาบาลสงฆ์
  • รถโดยสารประจำทางสาย 117 ท่าน้ำนนทบุรี-กทม.2
  • รถโดยสารประจำทางสาย 175 ท่าน้ำนนทบุรี-ท่าน้ำภาษีเจริญ
  • รถโดยสารประจำทางสาย 203 ท่าน้ำนนทบุรี-สนามหลวง
  • รถโดยสารประจำทางสาย 543ก ท่าน้ำนนทบุรี-บางเขน
[แก้]
ถนนวงศ์สว่าง
  • รถโดยสารประจำทางสาย 18 ท่าอิฐ-อนุสาวรีย์ชัยฯ
  • รถโดยสารประจำทางสาย 49 หัวลำโพง-หมอชิต
  • รถโดยสารประจำทางสาย 50 ลุมพินี-พระราม7
  • รถโดยสารประจำทางสาย 170 อ้อมใหญ่-หมอชิต
  • รถโดยสารประจำทางสาย 179 พระราม9-พระราม7

[แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°49′08″N 100°30′51″E / 13.818811°N 100.514206°E / 13.818811; 100.514206