วิทยาลัยดุสิตธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยดุสิตธานี
Dusit Thani College
Logo DTC.jpg
คติพจน์ สุขสำเร็จด้วยปัญญา
สถาปนา 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
ประเภท เอกชน
ที่ตั้ง 902 หมู่ 6 ถนนศรีนครินทร์ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 10260
เว็บไซต์ www.dtc.ac.th

วิทยาลัยดุสิตธานี เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เริ่มแรกนั้นได้รับการก่อตั้งในชื่อ "โรงเรียนการโรงแรมดุสิตธานี" เมื่อปี พ.ศ. 2536 โดย ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) และอดีตวุฒิสมาชิก ได้เปิดทำการสอนหลักสูตรการพัฒนาธุรกิจโรงแรมและการประกอบอาหาร ต่อมาในปี พ.ศ. 2539[1] นั้นโรงเรียนการโรงแรมดุสิตธานีได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้มีฐานะเป็นวิทยาลัยเปิดสอนระดับปริญญาตรี

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดตั้ง "โรงเรียนการโรงแรมดุสิตธานี" จากปณิธานของท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) และอดีตวุฒิสมาชิก โดยผลสืบเนื่องมาจาก

  • ขาดแคลนผู้ปฏิบัติงานระดับเจ้าหน้าที่ทั่วไปซี่งจะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์และได้ศึกษามาจึงจะเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง
  • สถาบันที่ผลิตบุคลากรมีไม่เพียงพอและที่มีอยู่บางสถาบันจัดสอนเพียงทฤษฎีแต่การปฏิบัติงานในธุรกิจโรงแรมต้องเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
  • ขาดแคลนหลักสูตรที่สมบูรณ์แบบทางวิชาชีพด้านธุรกิจโรงแรมให้มีการสอนสอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน และความต้องการของโรงแรม
  • ขาดผู้นำในการพัฒนาด้านวิชาการของธุรกิจโรงแรมซึ่งจะต้องพัฒนาทางด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติไปพร้อมกัน

จากสภาพการณ์โดยสรุปข้างต้นโรงเรียนการโรงแรมดุสิตธานีจึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพเฉพาะเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาธุรกิจโรงแรมให้รุดหน้าทัดเทียมนานาประเทศซึ่งจะมีผลดีต่อประเทศชาติโดยรวมซึ่งในระยะแรกได้เปิดทำการสอนหลักสูตรเต็มเวลา ใช้เวลาในการศึกษาเล่าเรียนหลักสูตร 2 ปี

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรด้านการปฏิบัติการโรงแรม (Diploma in Hotel Operations)
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรด้านศิลปะการประกอบอาหาร (Professional Chef Diploma)

นับตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการสอนเป็นต้นมาโรงเรียนการโรงแรมดุสิตธานีได้มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการและการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจึงเป็นโรงเรียนแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้มีฐานะเป็นวิทยาลัยเปิดสอนระดับปริญญาตรีโดยเริ่มในปีการศึกษา 2539

[แก้] หลักสูตร

ปัจจุบันวิทยาลัยดุสิตธานี เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 5 สาขา วิชาได้แก่

  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและรีสอร์ท
  • สาขาวิชาการจัดการครัวและศิลปะการประกอบอาหาร
  • สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว
  • สาขาวิชาการจัดการสปา
  • สาขาวิชาการจัดการการไมซ์และอีเว็นตส์

หลักสูตรระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) จำนวน 3 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและรีสอร์ท
  • สาขาวิชาการจัดการครัวและศิลปะการประกอบอาหาร
  • สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว

หลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีจำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่

  • Bachelor of Business Administration in Hotel & Resort Management
  • Bachelor of Business Administration in Culinary Arts and Kitchen Management (หลักสูตรโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบัน Le Cordon Bleu และวิทยาลัยดุสิตธานี)

หลักสูตรระดับปริญญาโท 1 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและภัตตาคาร

[แก้] เครื่องหมายของวิทยาลัย

[แก้] ความหมายของเครื่องหมาย

  • รูปปราสาทดุสิต หมายถึง สถาบันการศึกษาแห่งนี้เป็นองค์กรหนึ่ง ในเครือของบริษัทดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) มีความประสงค์ที่จะให้ผู้ที่มาศึกษา ได้มีความรู้ประสบการณ์ และสติปัญญา เพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
  • สุขสำเร็จด้วยปัญญา (Success Through Wisdom) หมายถึง การใช้สติปัญญาทำให้ประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิต ที่ก่อให้เกิดความสุขอย่างแท้จริง
  • ความหมายโดยรวม คือ วิทยาลัยดุสิตธานีเป็นแหล่งประสิทธิ์ประสาทวิทยาการ และประสบการณ์ พัฒนาสติปัญญา และความมุ่งมั่นในการศึกษาหาความรู้ เพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคม ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอันส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิต อย่างมีความสุขที่แท้จริง

[แก้] ปณิธาน

วิทยาลัยดุสิตธานี มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตทุกคน ให้มีความรู้ความสามารถ และเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมบริการเพื่อคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของชาติ พร้อมทั้งส่งเสริมการวิจัยค้นคว้า และการศึกษา เพื่อความรอบรู้ในการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพที่เป็นมาตรฐานสากล

[แก้] สีประจำวิทยาลัย

  • สีประจำวิทยาลัยดุสิตธานี คือ สีแดงอมน้ำตาล และ สีขาว
  • สีแดงอมน้ำตาล หมายถึง ความมุ่งมั่นในการศึกษาเพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคม
  • สีขาว หมายถึง ความสะอาด ซื่อสัตย์ สุจริต

[แก้] ต้นไม้ประจำวิทยาลัย

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาจากเว็บไซต์ สกอ.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น