วิกิพีเดีย:บทความแรกของคุณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เว็บย่อ:
WP:YFA
หน้านี้เกี่ยวกับการเขียนบทความแรกของคุณ แต่ไม่ใช่ที่เขียนบทความ!
หากคุณต้องการทดลองเขียนบทความ โปรดใช้ หน้าทดลองเขียนหรือหน้าผู้ใช้ของคุณ

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดีย!

หน้านี้มีความมุ่งหมายชี้แนะสิ่งสำคัญที่คุณควรทราบก่อนสร้างบทความสารานุกรมแรกของคุณ ก่อนที่จะบอกขั้นตอนในการสร้างบทความให้กับคุณ ด้านล่างนี้เป็นข้อแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยคุณในการเขียน:

  1. วิกิพีเดียครอบคลุมเนื้อหาเฉพาะบทความบางประเภท ถ้าหัวเรื่องนั้นน่าจะเหมาะสำหรับวิกิพีเดีย แล้วก็เริ่มเขียนได้เลย แต่ถ้าคุณไม่แน่ใจหรือบทความนั้นเกี่ยวข้องกับคุณหรือบางสิ่งที่คุณมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด แล้วคุณควรจะศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์ที่เราใช้ตัดสินว่าหัวเรื่องใดเหมาะสมได้ที่นี่
  2. คุณไม่จำเป็นต้องล็อกอินหรือมีบัญชีผู้ใช้ในการสร้างบทความ ถ้าคุณไม่ต้องการสร้างบทความนั้นด้วยตัวเอง คุณอาจขอให้ผู้อื่นสร้างบทความให้ ดูที่ วิกิพีเดีย:บทความที่ต้องการ
  3. ก่อนเริ่มบทความ ลองแก้ไขบทความที่มีอยู่ก่อนแล้วเพื่อให้คุ้นเคยกับการเขียนและการใช้ภาษามาร์กอัพของวิกิพีเดีย เช่นเดียวกับลองเสิร์ชวิกิพีเดียดูก่อนว่ามีบทความในหัวเรื่องเดียวกันอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ บางทีบทความนั้นอาจจะมีอยู่แล้ว เพียงแต่ใช้ชื่อแตกต่างกันเท่านั้น หากบทความนั้นมีอยู่แล้ว โปรดทำตัวตามสบายที่จะแก้ไขเพิ่มเติมบทความนั้นอย่างสร้างสรรค์
  4. รวบรวมแหล่งอ้างอิง เพื่อประโยชน์ทั้งใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับสารสนเทศที่คุณกำลังจะเพิ่ม และเพื่อแสดงความโดดเด่นของหัวเรื่องบทความ การอ้างอิงไปยังบล็อก เว็บไซต์ส่วนตัว มายสเปซ และยูทูบ ไม่นับ เราต้องการแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับแหล่งข้อมูลที่เข้าประเด็นคือหาข้อมูลที่มาจากไซต์ที่ลงท้ายด้วย .gov, .org หรือ .edu หรือบทความข่าวที่น่าเชื่อถือ และควรระมัดระวังอย่างยิ่งในการเขียนบทความเกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้แน่ใจว่ามีแหล่งอ้างอิงประกอบเสมอ บทความประเภทนี้ที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบ
  5. ลองขอความเห็นตอบรับ คุณอาจขอความเห็นตอบรับได้ในหลายที่ รวมทั้งหน้าอภิปราย หรือโครงการต่าง ๆ หรือผู้ใช้คนใดคนหนึ่งโดยตรง
  6. ลองเขียนบทความในหน้าผู้ใช้ส่วนตัวก่อน หลังจากที่คุณลงทะเบียนแล้ว คุณจะมีหน้าผู้ใช้เป็นของตัวคุณเอง คุณสามารถเริ่มต้นเขียนบทความใหม่ได้ที่นั่น ในหน้าย่อย คุณสามารถพัฒนาบทความจนเป็นรูปเป็นร่าง ใช้เวลา ขอผู้ใช้คนอื่นให้ช่วยเหลือคุณ และ "เปิดตัว" บทความของคุณในวิกิพีเดียเมื่อบทความพร้อม

พึงระลึกว่าหากบทความของคุณไม่อาจยอมรับได้ จะถูกลบอย่างรวดเร็ว วิกิพีเดียมีผู้ใช้คอยตรวจสอบบทความใหม่ไม่นานหลังคุณสร้างบทความ

เนื้อหา

ค้นหาบทความที่มีอยู่แล้ว

วิกิพีเดียมีบทความแล้ว 78,387 บทความ ก่อนสร้างบทความใหม่ พยายามดูให้แน่ใจเสียก่อนว่าไม่มีบทความนั้นอยู่แล้ว ซึ่งบางทีอาจใช้ชื่อต่างไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้คุณค้นหาบทความ และตรวจสอบหลักการตั้งชื่อบทความของวิกิพีเดียก่อนสร้างบทความแรกของคุณ หากมีบทความที่ตรงกับหัวเรื่องของคุณแล้ว แต่คุณคิดว่าคนอื่นน่าจะค้นหาบทความโดยใช้ชื่อหรือการสะกดที่ต่างออกไป โปรดศึกษาการเพิ่มการเปลี่ยนทางกับชื่อนั้น การเพิ่มหน้าเปลี่ยนทางที่ต้องการเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งในการช่วยวิกิพีเดีย เช่นเดียวกัน พึงระลึกว่าต้องตรวจสอบปูมการลบบทความเพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างบทความที่เคยถูกลบแล้ว

หลังค้นหาแล้วไม่พบบทความของคุณ ลองพิจารณาขยายขอบเขตการค้นหาของคุณให้รวมถึงบทความที่มีอยู่แล้วและอาจบรรจุหัวเรื่องที่เป็นบทความของคุณ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเขียนบทความเกี่ยวกับสมาชิกวงดนตรี คุณอาจค้นหาวงดนตรีนั้น และค่อยเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับหัวเรื่องของคุณเป็นส่วนหนึ่งในบทความที่มีขอบเขตกว้างกว่า

รวบรวมเอกสารอ้างอิง

รวบรวมแหล่งข้อมูลสนับสนุนสารสนเทศในบทความของคุณ หัวเรื่องใดที่ควรค่าแก่การบรรจุรวมในสารานุกรมวิกิพีเดีย หัวเรื่องนั้นจะต้องมีความโดดเด่นพอสมควร และความโดดเด่นนั้นจะต้องพิสูจน์ยืนยันได้ผ่านการอ้างอิงไปยังแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ

แหล่งข้อมูลเหล่านี้ต้องน่าเชื่อถือ หมายความว่า ต้องเป็นแหล่งข้อมูลที่มีการควบคุมบรรณาธิการบางรูปแบบ แหล่งข้อมูลตีพิมพ์ (และรุ่นของแหล่งข้อมูลเหล่านี้บนเว็บไซต์) มักเป็นแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือที่สุด แม้แหล่งข้อมูลเฉพาะบนเว็บหลายแห่งก็น่าเชื่อถือเช่นกัน บางตัวอย่างเช่น หนังสือที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์หลัก หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารวิชาการที่มีการกลั่นกรอง เว็บไซต์ของสิ่งตีพิมพ์ข้างต้น บล็อกของผู้เชี่ยวชาญ และเว็บไซต์อื่นที่เข้าหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่ได้มาตรฐาน

โดยทั่วไป แหล่งข้อมูลที่ไม่มีการควบคุมบรรณาธิการนั้นไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งรวมไปถึงหนังสือที่ตีพิมพ์โดยสื่อไร้สาระ หนังสือ บล็อก เว็บฟอรัม การอภิปรายยูสเน็ต (usenet) กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (BBS) หรือแฟนไซต์ที่เขียนขึ้นเอง ตลอดจนเว็บไซต์ไร้สาระที่อนุญาตให้สร้างบทความโฆษณาตนเองได้ หรือแหล่งพบปะชุมนุมกันอื่น หากผู้ใดก็ตามสามารถโพสต์ข้อมูลโดยไม่มีใครอื่นคอยตรวจสอบข้อมูลนั้น ก็อาจไม่น่าเชื่อถือได้

กล่าวง่าย ๆ คือ หากมีแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ (เช่น หนังสือพิมพ์ วารสารหรือหนังสือ) โดยมีข้อมูลกว้างขวางได้รับการตีพิมพ์เป็นช่วงเวลาค่อนข้างยาวนานเกี่ยวกับหัวเรื่องนั้น แล้วหัวเรื่องนั้นก็มีความโดดเด่น และคุณต้องอ้างแหล่งข้อมูลเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างหรือขยายบทความวิกิพีเดีย หากคุณไม่อาจหาแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือได้ที่ให้ข้อมูลอันกว้างขวางและเข้าใจได้เกี่ยวกับหัวเรื่องที่คุณเสนอ แล้วหัวเรื่องนั้นก็จะไม่มีความโดดเด่นหรือพิสูจน์ยืนยันได้ และแทบแน่นอนว่าจะต้องถูกลบ ดังนั้น งานแรกของคุณคือการหาเอกสารอ้างอิง

เมื่อคุณมีเอกสารอ้างอิงบทความของคุณแล้ว คุณสามารถศึกษาการจัดวางเอกสารอ้างอิงนั้นในบทความโดยอ่าน วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา แต่ไม่ต้องกังวลมากเกินไปในการจัดรูปแบบให้เรียบร้อย เพราะแม้จะเป็นการดีหากคุณทำเช่นนั้น แต่ประเด็นหลักคือ การใส่เอกสารอ้างอิงในบทความโดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่ามันจะจัดรูปแบบดีหรือไม่

หัวเรื่องบทความที่ควรหลีกเลี่ยง

บทความเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อนของคุณ เว็บไซต์ของคุณ วงดนตรีที่คุณร่วม ครูของคุณ คำที่คุณสร้างเอง หรือเรื่องที่คุณเขียน 
หากคุณควรค่าแก่การบรรจุอยู่ในสารานุกรม กรุณาให้บุคคลอื่นเป็นผู้เขียน การเพิ่มเพื่อนของคุณลงในสารานุกรมดูเหมือนเป็นการสร้างความประหลาดใจดี หรือเป็นเรื่องตลกขบขัน แต่บทความลักษณะนี้มักถูกลบออกจากสารานุกรม และเมื่อลบบทความนั้น มันอาจทำให้เสียความรู้สึก และคุณอาจถูกบล็อกหากคุณพยายามสร้างบทความใหม่เรื่อย ๆ สิ่งเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้หากคุณคิดไว้ก่อนสักหน่อย บทความอาจยังอยู่หากคุณนอบน้อมพอที่จะทำให้บทความของคุณเป็นกลางและคุณมีชื่อเสียงโดดเด่นจริง ๆ แต่แม้กระนั้น จะเป็นการดีที่สุดหากคุณส่งร่างบทความมาเพื่อให้ประชาคมพิจารณาและมีมติมหาชนแทนที่เพียงจะโพสต์ขึ้นทันที เพราะบทความอาจมีอคติสอดแทรกที่คุณอาจไม่รู้ตัว แม้คุณไม่เจตนา
หัวเรื่องไม่โดดเด่น 
ผู้คนมักสร้างบทความใหม่บนวิกิพีเดียโดยไม่คิดเสียก่อนว่าหัวเรื่องนั้นแท้จริงแล้วโดดเด่นเพียงพอที่จะเพิ่มลงในสารานุกรมหรือไม่ เพราะวิกิพีเดียไม่มีข้อจำกัดด้านเนื้อที่ดังเช่นสารานุกรมที่เป็นกระดาษ นโยบายและแนวปฏิบัติด้านความโดดเด่นของเราอนุญาตให้มีบทความได้หลากหลายมาก อย่างไรก็ดี นโยบายเหล่านี้ไม่ได้อนุญาตหัวเรื่องทุกอย่าง กรณีพิเศษค่อนข้างทั่วไปของหัวเรื่องดังกล่าวนี้คือ หน้าเกี่ยวกับบุคคล บริษัทหรือกลุ่มคน ที่ไม่มีลักษณะความโดดเด่นหรือความสำคัญในเรื่องของพวกเขากับแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ ดังนั้น เราได้ตัดสินใจว่าหน้าประเภทนี้จะต้องถูกลบอย่างรวดเร็วภายใต้นโยบาย WP:CSD ของเรา ซึ่งพฤติการณ์นี้อาจก่อให้เกิดความโกรธได้ ดังนั้น โปรดพิจารณาว่าหัวเรื่องที่คุณเลือกนั้นโดดเด่นเพียงพอสำหรับวิกิพีเดีย และจากนั้น ยืนยันความโดดเด่นหรือความสำคัญของหัวเรื่องโดยอ้างแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือในกระบวนการสร้างบทความ วิกิพีเดียมิใช่สารบบของทุกสิ่งที่มีตัวตันอยู่
การโฆษณา 
โปรดเลิกพยายามส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจของคุณ ด้วยการแทรกลิงก์เชื่อมโยงภายนอกที่โยงไปหาเว็บไซต์เชิงพาณิชย์ของคุณ เว้นเสียแต่บุคคลที่เป็นกลางจะตัดสินว่าลิงก์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของบทความอย่างแท้จริง เรามีบทความเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือธุรกิจที่โดดเด่น แต่ถ้าคุณกำลังเขียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจ โปรดให้แน่ใจว่าคุณเขียนขึ้นด้วยมุมมองที่เป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และสามารถค้นหาอ้างอิงในแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหัวเรื่องที่คุณกำลังเขียนถึง
ความเรียงส่วนตัว หรืองานวิจัยใหม่ 
วิกิพีเดียสำรวจความรู้ของมนุษย์ที่มีอยู่แล้ว มิใช่สถานที่ตีพิมพ์ผลงานใหม่ อย่าเขียนบทควาซึ่งนำเสนอทฤษฎี ความคิดเห็นหรือวิจารณญาณของคุณเอง แม้ว่าคุณจะสามารถหาแหล่งอ้างอิงที่ได้รับการอยมรับสนับสนุนแล้วก็ตาม ข้อผิดพลาดที่พบได้ทั่วไปคือ การนำเสนอการสังเคราะห์แนวคิดใหม่ในบทความ พึงระลึกว่า เพียงแค่เพราะทั้งข้อเท็จจริง ก และ ข เป็นจริง ไม่ได้หมายความว่า ก ทำให้เกิด ข หรือกลับกัน (เหตุผลวิบัติ) หากนั่นเป็นจริง แหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือก็อาจจะรายงานความเชื่อมโยงนั้น และคุณควรอ้างแหล่งข้อมูลเหล่านั้น
ประโยคเดียวหรือมีแต่ลิงก์ 
บทความจะต้องมีสาระแท้จริงของตัวเอง
การโจมตีบุคคลหรือองค์การ 
เนื้อหาซึ่งละเมิดนโยบายของเราว่าด้วยชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีเจตนาข่มขู่ ใส่ร้ายหรือรังควานสิ่งที่เป็นหัวเรื่องหรืออัตลักษณ์อื่นนั้นไม่อนุญาต ข้อมูลแง่ลบที่ไม่มีการอ้างอิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทความเกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ จะถูกนำออกอย่างรวดเร็ว และหน้าที่มีจุดประสงค์โจมตีจะถูกลบอย่างรวดเร็ว

สิ่งที่ต้องระมัดระวัง

การคัดลอก - อย่าละเมิดลิขสิทธิ์ 
เพื่อความปลอดภัย อย่าคัดลอกข้อความยาวกว่า 2-3 ประโยคจากแหล่งใดก็ตาม รวมทั้งระบุเอกสารอ้างอิงทั้งหมดที่คุณใช้ คุณสามารถคัดลอกได้เฉพาะแหล่งข้อมูลที่คุณ แน่ใจ ว่าเป็นสาธารณสมบัติ และแม้จะเป็นสาธารณสมบัติ ก็ยังควรอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลนั้น และระลึกว่าเนื้อหาในเว็บไซต์ส่วนใหญ่บนอินเทอร์เน็ต ไม่ใช่ สาธารณสมบัติ รวมทั้งเนื้อร้องของเพลงส่วนใหญ่ด้วย อันที่จริง ทุกผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา ถือว่าอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์โดยอัตโนมัติ แม้ไม่มีข้อความสงวนลิขสิทธิ์ หรือสัญลักษณ์ © หากคุณคิดว่าสิ่งที่คุณเพิ่มเติมลงในวิกิพีเดียเป็นสาธารณสมบัติ ให้ระบุว่าคุณนำมาจากที่ใด ทั้งในบทความหรือในหน้าพูดคุย และให้เหตุผลในหน้าพูดคุยว่าเหตุใดคุณจึงคิดว่ามันเป็นสาธารณสมบัติ (เช่น "บทความนี้เผยแพร่ใน พ.ศ. 2438 ...") หากคุณคิดว่าเป็น "การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ" (fair use) กรุณาหมายเหตุไว้ในหน้าพูดคุยว่าเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดู ลิขสิทธิ์
การค้นคว้าที่ดีและอ้างแหล่งข้อมูลของคุณ 
บทความที่ปรากฏขึ้นอย่างทันทีทันใดอาจดีกว่าไม่มี แต่บทความเหล่านี้ยากที่จะพิสูจน์ยืนยันได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างงานอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ โปรดทำการค้นคว้ากับแหล่งข้อมูลดีที่สุดเท่าที่หาได้และอ้างอิงอย่างเหมาะสม เมื่อทำเช่นนี้ ตลอดจนไม่คัดลอกเนื้อหายาว จะช่วยหลีกเลี่ยงมิให้เกิดกรณีการโจรกรรมทางวรรณกรรม เรายินดีต้อนรับบทความสั้นที่เขียนดี ที่เรียกว่า "โครง" ซึ่งสามารถใช้เป็นฐานซึ่งผู้ใช้คนอื่นสามารถพัฒนาต่อไปได้ หากคุณไม่มีข้อมูลเพียงพอจะเขียนโครงดี ๆ เป็นไปได้ว่าคุณไม่ควรสร้างบทความ ณ ท้ายบทความ คุณควรเพิ่ม "แม่แบบโครง" เช่นนี้: {{โครง}} (แต่จะเป็นการดีมากหากคุณเจาะจงประเภทด้วย เช่น {{โครงบุคคล}} โครงจะช่วยติดตามบทความที่ต้องการขยายความเพิ่มเติม
บทความเกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ 
บทความที่เขียนเกียวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ต้องมีแหล่งอ้างอิงเพื่อที่ตัวบุคคลจะได้สามารถพิสูจน์ยืนยัน ชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบ
การเอนเอียงหรือข้อมูลที่ทำให้เกิดข้อโต้แย้ง 
โปรดอย่าเขียนบทความซึ่งสนับสนุนมุมมองใดมุมมองหนึ่งโดยเฉพาะในด้านการเมือง ศาสนา และอื่น ๆ ทำความเข้าใจเรื่องนี้โดยมุมมองที่เป็นกลางก่อนเขียนบทความประเภทนี้
บทความที่มีนิยามหัวเรื่องต่างออกไป 
โดยหลักแล้ว บทความวิกิพีเดียจะเกี่ยวกับว่าสิ่งนั้นคืออะไร มิใช่เป็นคำใด ๆ หากบทความนั้นเป็นเพียงคำหรือวลี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคำนั้นมีการใช้ที่หลากหลาย เช่นนั้นแล้ว บทความควรจะเป็นของวิกิพจนานุกรมมากกว่า แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ลองพยายามเขียนย่อหน้าแรกสั้น ๆ แต่เขียนดี ซึ่งนิยามหัวเรื่องหนึ่งเช่นเดียวกับข้อมูลเพิ่มเติมที่เข้ากันได้
การจัดการ 
ทำให้แน่ใจว่ามีลิงก์ถึงบทความใหม่จากบทความวิกิพีเดียอื่น (คลิก "หน้าที่ลิงก์มา" ในกล่องเครื่องมือ) และบทความใหม่รวมอยู่ในหมวดหมู่ที่เหมาะสมอย่างน้อยหนึ่งหมวด มิฉะนั้นแล้ว จะเป็นการยากแก่ผู้อ่านที่จะค้นหาบทความ
บทความที่เป็นเรื่องในท้องถิ่น 
มีบทความเกี่ยวกับสถานที่ เช่น โรงเรียนหรือถนนที่เป็นที่รู้จักเฉพาะแต่กับคนจำนวนน้อย เช่น ศิษย์เก่าหรือบุคคลที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง ไม่มีมติมหาชนเกี่ยวกับบทความประเภทนี้ แต่บางคนอาจโต้แย้งหากบทความไม่มีการระบุเลยว่าสถานที่แห่งนั้นพิเศษหรือแตกต่างจากสถานที่ที่คล้ายกันนับพัน ๆ หมื่น ๆ แห่งอย่างไร ภาพถ่ายเพิ่มความน่าสนใจ พยายามเพิ่มสีสันให้แก่บทความที่เป็นเรื่องในท้องถิ่น แหล่งข้อมูลบุคคลที่สามเป็นเพียงหนทางเดียวในการพิสูจน์ว่าหัวเรื่องที่คุณกำลังเขียนถึงนั้นโดดเด่น
บทความข่าวด่วน 
ขณะที่วิกิพีเดียยอมรับบทความเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันเด่น ๆ บทความเกี่ยวกับเหตุการณ์ข่าวด่วนโดยไม่มีความโดดเด่นอย่างต่อเนื่องไม่เหมาะกับโครงการของเรา พิจารณาเขียนบทความนั้นในโครงการพี่น้องของเรา วิกิข่าว
การเขียนผิดหน้า 
หากคุณกำลังพยายามสร้างบทความใหม่ คุณจะเริ่มต้นด้วยกล่องแก้ไขที่ว่างเปล่า หากคุณเห็นข้อความในกล่องแก้ไขที่คุณไม่ได้เขียนขึ้น (ตัวอย่างเช่น เนื้อหาของหน้านี้) แล้วคุณกำลังแก้ไขหน้าที่มีอยู่แล้วอย่างเป็นอุบัติเหตุ อย่าบันทึกการเปลี่ยนแปลงของคุณ
อาจจะดู ข้อผิดพลาดในวิกิพีเดียที่ถูกพบบ่อย และ สิ่งที่ไม่ต้องการให้อยู่ในวิกิพีเดีย

วิธีสร้างบทความใหม่

ดูบทความหลักที่ วิธีใช้:สร้างบทความใหม่

ทั้งผู้ใช้ล็อกอินและไม่ล็อกอินต่างก็สามารถสร้างบทความได้ แต่คุณยังสามารถเสนอให้เขียนบทความได้ใน วิกิพีเดีย:บทความที่ต้องการ

ชื่อเรื่องสำหรับบทความใหม่ของคุณ

ในกล่องค้นหาด้านล่าง พิมพ์ชื่อบทความของคุณ แล้วคลิก "ไป" หากหน้าค้นหารายงานว่า "คุณอาจสร้างหน้านี้ได้" ตามด้วยชื่อบทความสีแดง แล้วคุณสามารถคลิกชื่อบทความสีแดงและเริ่มต้นแก้ไขบทความได้

ยังไม่มีบทความนี้?
พิมพ์ชื่อ แล้วคลิก "ไป (ลองชื่อเรื่อง)"

* ค้นหาชื่อที่ใกล้เคียง

อาจมีหรือไม่มีบทความในชื่อเดียวกับที่คุณต้องการจะเขียน

การที่ไม่มีบทความชื่อเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องหมายความว่า ไม่มีบทความอยู่ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การค้นหาช่วยได้

การจัดการบทความที่ชื่อซ้ำกัน

บางครั้งมีบทความในชื่อที่เขียนเลือกแล้ว แต่เป็นหัวข้อที่ต่างออกไป ในกรณีนี้ หัวเรื่องจะต้องแยกออกจากกัน กระบวนการแยกชื่อที่เหมือนหรือคล้ายกันออกจากกันซึ่งความหมายแตกต่างกันชัดเจนนั้น เรียกว่า "การแก้ความกำกวม" มือใหม่อาจสับสน ถ้าจำเป็น สร้างหน้าของคุณเป็นร่างในหน้าผู้ใช้ จากนั้นถามที่เลขาชาววิกิพีเดีย ให้ช่วยเหลือในการแก้ไขความกำกวม

มีสามหนทางหลักในการแก้ความกำกวม ขึ้นอยู่กับมีหัวข้อมากเท่าใดและมีอย่างใดสำคัญมากกว่าที่เหลือมาก

  • หน้าแก้ความกำกวม ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณพิมพ์คำว่า "ซัลซา" คุณจะถูกนำไปยังหน้าแก้ความกำกวมซึ่งมีหัวเรื่องทั้งหมดที่ชื่อว่า "ซัลซา" รวมทั้ง ซัลซา (ซอส), ซัลซา (แนวดนตรี) และความหมายอื่นอีกมากที่มีคำว่า ซัลซา
  • การใช้หลัก ในบางกรณี ชื่อโดยตัวของมันเองจะใช้เป็นชื่อความหมายที่ใช้กันมากที่สุดของคำนั้น ("การใช้หลัก") และการใช้อย่างอื่นทั้งหมดจะพบในหน้าแก้ความกำกวม ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณพิมพ์คำว่า "ไทย" คุณจะถูกนำไปยังบทความเกี่ยวกับประเทศไทย ส่วนการใช้อย่างอื่น เช่น ชาวไทย ทำรายการไว้ในหน้าแก้ความกำกวม
  • เพียงสองหัวข้อ ในบางกรณี ถ้าหัวข้อนั้นมีเพียงสองความหมาย ชื่อเรื่องเพียงอย่างเดียวควรใช้สำหรับความหมายหนึ่ง ซึ่งเป็นความหมายทั่วไปกว่า และมีข้อความไว้บนสุดของหน้านั้น จะถูกใช้เพื่อนำผู้อ่านไปยังอีกบทความหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณพิมพ์คำว่า "กรุงเทพมหานคร" คุณจะถูกนำไปยังบทความเกี่ยวกับเมืองหลวงของประเทศไทย และจมีลิงก์นำคุณไปยังกรุงเทพมหานคร ที่เป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

ใส่แหล่งอ้างอิง

สิ่งแรก ๆ ที่คุณควรเขียนในบทความของคุณ คือ รายการแหล่งข้อมูลสำหรับสารสนเทศของคุณ สำหรับตอนนี้ แค่ใส่ลิงก์แบบด้านล่างนี้ (ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นลิงก์โดยอัตโนมัติ):

(1) http://www.nytimes.com/2007/04/12/books/12vonnegut.html
(2) http://www-03.ibm.com/ibm/history/exhibits/space/space_shuttle.html

ภายหลัง คุณจะเรียนรู้วิธีการจัดรูปแบบให้ปรากฏเป็นเชิงอรรถ

จะเป็นการดีกว่าหากคุณยังไม่คล่อง ในการสร้างบทความของคุณในหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้คุณ ที่ซึ่งคุณสามารถใช้เวลานานได้เท่าที่ต้องการในการทำให้มันเป็นบทความที่ดี จากนั้นค่อยย้ายไปลงในสเปซบทความหลัก คุณสามารถสร้างหน้าทดลองเขียน ("กระบะทราย") ส่วนตัวเพื่อพัฒนาบทความโดยคลิกลิงก์นี้ อย่างไรก็ดี แม้ในบทความสเปซผู้ใช้ หัวข้อที่ไม่อาจยอมรับได้ก็อาจถูกเสนอให้ลบได้

จัดหมวดหมู่

ทุกบทความควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่งในวิกิพีเดีย ในการค้นหาหมวดหมู่สำหรับบทความของคุณ ไปที่ หมวดหมู่:มูลฐาน และคลิกหมวดหมู่ย่อยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นตามลิงก์หมวดหมู่ย่อยที่เกี่ยวข้องไปเรื่อย ๆ ให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตามลำดับหมวดหมู่ย่อยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และเพิ่มการประกาศหมวดหมู่ โดยเขียน [[หมวดหมู่:ชื่อหมวดหมู่]] ที่ท้ายบทความของคุณสำหรับแต่ละหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่มีหมวดหมู่ย่อยที่เกี่ยวข้องของมันเอง

ขั้นสุดท้าย

หลังจากคุณเสร็จสิ้นแล้ว คลิก ดูตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบข้อผิดพลาด จากนั้นคลิก บันทึก

หลังสร้างบทความ

ตอนนี้เมื่อคุณได้สร้างหน้าไปแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้

พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

วิกิพีเดียเป็นงานที่ไม่เสร็จ โดยทั่วไปแล้ว บทความที่เพิ่งสร้างใหม่ ๆ นั้นห่างไกลจากคำว่าเสร็จสมบูรณ์ มากนัก ยังมีหนทางอีกยาวไกล อันที่จริง คุณอาจต้องแก้ไขหลายรอบ แต่บทความก็ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น

หากคุณมีความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับบทความที่คุณเพิ่งสร้าง คุณอาจเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต และดังนั้น มีข้อมูลให้เพิ่มเติมอีก ซึ่งอาจคุณอาจกลับมาทีหลังวันนี้ วันพรุ่งนี้ หรืออีกหลายเดือนหลังจากนี้ ได้ทุกเวลา เอาเลย

ปรับปรุงรูปแบบ

เพื่อจัดรูปแบบบทความให้ถูกต้อง (และขยายบทความ ตลอดจนกระทั่งพัฒนาจนเป็นบทความคัดสรร!) ดูเพิ่มที่

  1. วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน เพื่อเรียนรู้วิธีการจัดบทความของคุณ
  2. วิกิพีเดีย:แนวทางในการเขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น

คนอื่นสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างเสรีในบทความเมื่อมันถูกบันทึกแล้ว ผู้สร้างไม่มีสิทธิพิเศษประการใดในการควบคุมเนื้อหาในภายหลัง ดูที่ วิกิพีเดีย:ความเป็นเจ้าของบทความ

เช่นกัน ก่อนที่คุณจะรู้สึกท้อแท้หรือขุ่นเคืองกับวิธีที่ผู้อื่นดัดแปลงหรือนำออกซึ่งการมีส่วนของคุณ จำไว้ว่า ไม่มีอะไรต้องอาย

เพิ่มไปยังหน้าแก้ความกำกวม

หากคำนั้นกำกวม หมายความว่า มีหลายหน้าที่ใช้ชื่อนั้นหรือคล้ายกัน ดูหากมีหน้าแก้ความกำกวมที่ใช้ชื่อนั้น ถ้ามี ให้เพิ่มไปยังหน้านั้นด้วย

ถ้ายังต้องการความช่วยเหลือ ...

ที่ที่ดีที่สุดในการหาความช่วยเหลือ คือ วิกิพีเดีย:เลขาชาววิกิพีเดีย

อ่านสารานุกรมจริง ๆ

ลองอ่านบทความสารานกรมจริง ๆ เพื่อทำความเข้าใจการออกแบบ รูปแบบ โทน และองค์ประกอบอื่นของเนื้อหาสารานุกรม มีการเสนอว่า ถ้าคุณวางแผนจะเขียนบทความแก่สารานุกรม คุณควรมีความรู้พื้นหลังอยู่บ้างในการเขียนอย่างเป็นทางการ เช่นเดียวกับหัวเรื่องใกล้มือ เป็นที่แนะนำว่า ควรเข้าศึกษาในชั้นเรียนการประพันธ์ในโรงเรียนระดับมัธยมหรือมหาวิทยาลัยก่อนที่คุณจะเริ่มเขียนบทความสารานุกรม

เป้าหมายของวิกิพีเดีย คือ การสร้างสารานุกรมที่ทันสมัยในทุกเรื่องที่จะคิดฝันได้ โดยสมมุติว่าตีพิมพ์เป็นสารานุกรมรูปเล่ม