วิกิพีเดีย:ผลประโยชน์ทับซ้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เว็บย่อ:
WP:COI
แนวปฏิบัติ
นโยบายและแนวปฏิบัติในวิกิพีเดีย
พฤติกรรม
เชื่อว่าคนอื่นมีเจตนาดี
ผลประโยชน์ทับซ้อน
มารยาท
โปรดอย่ากัดผู้ใช้ใหม่
ลายเซ็น
หน้าผู้ใช้
เนื้อหา
อัตชีวประวัติ
การอ้างอิงแหล่งที่มา
แหล่งข้อมูลอื่น
การใส่ภาพ
ไม่ต้องกลัวเสียอรรถรส
การแก้ไข
ขอให้กล้าแก้ไขบทความ
คำอธิบายอย่างย่อ
ต้องมีเนื้อหาอย่างชัดเจน
ความสำคัญของเนื้อหา
เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม
แนวทางการเขียน
คู่มือในการเขียน
เขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น
หลีกเลี่ยงถ้อยคำคลุมเครือ
ดูเพิ่ม
รายชื่อนโยบายทั้งหมด
รายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมด

ผลประโยชน์ทับซ้อนในวิกิพีเดียเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างการพยายามสร้างสารานุกรมในมุมมองที่เป็นกลาง กับผู้เขียนที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น ผลประโยชน์สามารถเกิดขึ้นได้หลายแบบไม่ว่า การโฆษณาสินค้าหรือทางบริษัทของตน การวิพากษ์วิจารณ์คู่แข่ง ในการช่วยให้วิกิพีเดียปลอดจากเรื่องผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น ถ้าคุณรู้ว่าคุณอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน คุณควรจะหลีกเลี่ยงการแก้ไขบทความที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือองค์กรที่คุณมีส่วนร่วมหรือหน่วยงานคู่แข่ง โดยถ้าคุณรู้สึกว่าจำเป็นต้องแก้ไขเนื่องจากข้อความที่มีอยู่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง คุณสามารถอภิปรายเพิ่มเติมในหน้าพูดคุยของแต่ละหน้านั้น และขอให้ผู้อ่านร่วมทำการแก้ไขข้อความให้ถูกต้องได้

เนื้อหา

[แก้] รูปแบบผลประโยชน์ทับซ้อน

วิกิพีเดียมีจุดประสงค์จะเป็นสารานุกรมที่เป็นกลาง และมีการกล่าวถึงในหลายเรื่องว่าอะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย ซึ่งรวมถึงการโฆษณาสินค้า โฆษณาตัวเอง การปล่อยข่าวลือ ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนว่าอะไรคือผลประโยชน์ที่ทับซ้อน การพิจารณานั้นขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง โดยดูได้จากเจตนาของตัวคุณในขณะที่เขียน ว่ากำลังพยายามสร้างสารานุกรมที่เป็นกลางอยู่หรือไม่

[แก้] สิ่งตอบแทน

ถ้าคุณได้รับเงินหรือสิ่งตอบแทนในการแก้ไขเรื่องราวเกี่ยวกับบริษัทหรือหน่วยงานของคุณ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หรือการแก้ไขวิกิพีเดียส่งผลให้คุณได้รับผลตอบแทนในอนาคต ทางวิกิพีเดียไม่แนะนำให้คุณเขียนบทความเหล่านั้นเพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน และเนื้อหาที่ไม่เป็นกลางได้ ข้อความที่เขียนที่จะเกิดขึ้นจะมีลักษณะที่ไม่เป็นกลางสูง

[แก้] อัตชีวประวัติ

คุณไม่ควรเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับตัวคุณเอง บุคคลใกล้ตัว หรือเกี่ยวกับผลงานที่คุณสร้างขึ้น ซึ่งถ้าตัวคุณหรือผลงานของคุณมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากพอ คนอื่นจะมาเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับคุณในที่สุด

[แก้] หน้าผู้ใช้

ผู้เขียนวิกิพีเดียสามารถเขียนเรื่องราวของตนเองลงได้ในวิกิพีเดียในส่วนหน้าย่อยที่เรียกว่าหน้าผู้ใช้ โดยหน้าเหล่านั้นจะขึ้นต้นด้วยคำว่า "ผู้ใช้:" ซึ่งจะแบ่งแยกออกจากส่วนสารานุกรมอย่างชัดเจน โดยแต่ละคนสามารถเขียนได้อย่าง "เหมาะสม" ตามนโยบายวิกิพีเดีย อย่างไรก็ตามถ้าคุณต้องการเขียนเรื่องราวของตนเองโดยไม่สนใจที่จะร่วมเขียนอย่างอื่นในวิกิพีเดีย คุณอาจจะลองสร้างบล็อกหรือเว็บไซต์ของคุณเองภายนอก

[แก้] ผลที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้น

เมื่อคุณเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับตัวคุณ ผลงานคุณ หรือบริษัทคุณ แน่นอนว่างานเขียนนั้นคุณยินยอมเผยแพร่ผลงานบนวิกิพีเดียด้วยสัญญาอนุญาตเสรี คุณไม่อาจควบคุมการแก้ไขหรือรลบบทความนั้น เพราะเมื่อบทความนั้นถูกสร้างขึ้นแล้วจะมีชาววิกิพีเดียท่านอื่นมาร่วมกันเขียนและแก้ไขให้บทความนั้นเป็นกลางและสอดคล้องกับนโยบายวิกิพีเดีย ซึ่งอาจรวมถึงเนื้อหาในด้านลบและคำพิพากษ์วิจารณ์ที่คุณอาจไม่ต้องการ ซึ่งวิกิพีเดียนั้นไม่มีการลบบทความเพียงเพราะคุณไม่ชอบ ดังนั้นอย่าเพียงแต่สร้างเนื้อหาที่คุณชื่นชอบ หรือเพียงต้องการคำสรรเสริญ

ตัวอย่างเช่นในบทความ วิจิตร เกตุแก้ว ซึ่งเริ่มต้นครั้งแรกด้วยข้อความ

วิจิตร เกตุแก้ว เป็นนายกสมาคมฟุตบอลไทยที่สร้างคุณูปการให้กับวงการฟุตบอลเป็นอย่างมาก เพื่อสานฝันของคนไทยทั้งชาติให้เป็นจริง

ซึ่งในปัจจุบันเนื้อหาของบทความนี้ได้ขยายขึ้นและมีการรวมถึงข้อดีข้อเสีย ผลงานและความผิดพลาด ที่เกิดขึ้น โดยมีผู้พยายามลบข้อเสียและข้อผิดพลาดออกเหลือไว้เฉพาะแต่ข้อดี แต่ก็ถูกย้อนกลับมาหลายครั้ง ดูเพิ่มเติมได้ที่ วิจิตร เกตุแก้ว