วิธีใช้:การแก้ไข

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เว็บย่อ:
คู่มือการเขียน
นโยบาย
นโยบาย
อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
คู่มือพื้นฐาน
หลักการตั้งชื่อบทความ
เขียนให้ดียิ่งขึ้น
เขียนไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์
เขียนให้เป็นกลาง
วิธีใช้
การแก้ไขหน้า
การจัดหน้าโดยใช้แม่แบบช่วย
การอัปโหลดภาพ
การใส่ภาพ
การสร้างตาราง
การจัดหมวดหมู่
การสร้างหน้าเปลี่ยนทาง
การใส่ลิงก์
การลิงก์มาที่วิกิพีเดีย
การแทรกสูตรคณิตศาสตร์
อธิบาย
การแก้ไขเล็กน้อย
คำอธิบายอย่างย่อ
การทับศัพท์
คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย
อ่าน/เขียน คำทับศัพท์
ชื่อทะเล
ชื่อประเทศ-เมืองหลวง
ชื่อธาตุ
ถอดเสียงอังกฤษเป็นไทย
ถอดอักษรไทยเป็นโรมัน
อ้างอิง
การอ้างอิงแหล่งที่มา
ศัพท์บัญญัติ
สีที่ใช้ในเว็บ
แม่แบบ
แม่แบบ
โครง
แม่แบบแสดงข้อความ
แม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อ
วิธีการสร้างแม่แบบ
บทความเฉพาะทาง
บทความฝรั่งเศส
บทความพฤกษา
บทความการ์ตูนญี่ปุ่น
บทความการทหาร
บทความเพลง


สำหรับรายการคำสั่งฉบับย่อ ดูที่ วิธีใช้:กระดาษจดโค้ด

วิกิพีเดีย คือ เว็บไซต์ที่ใครก็สามารถเข้ามาแก้ไข และสามารถแสดงส่วนที่แก้ไขนั้นได้ทันที ทุกคนสามารถเริ่มต้นได้ไม่ยาก สำหรับการ การแก้ไขในแต่ละหน้า หลังจากกดปุ่ม "แก้ไข" จากตรงแถบส่วนบน หลังจากนั้นจะมีหน้าที่มีกรอบข้อความซึ่งสามารถแก้ไขข้อความในหน้านั้นได้ จากนั้นก็พิมพ์ข้อความที่ต้องการแก้ไขลงไป เมื่อพิมพ์เสร็จ กดปุ่ม "บันทึก" ด้านล่าง การแก้ไขหน้านั้นก็จะเปลี่ยนแปลงตามที่ได้แก้ไขทันที หรืออาจจะกดปุ่ม "ดูตัวอย่าง" เพื่อตรวจสอบว่าการแก้ไขที่ทำไปถูกตามที่ต้องการ และเมื่อพร้อมจะบันทึก สามารถกดปุ่ม "บันทึก" ได้ทันที และอย่าลืมเขียน "คำอธิบายอย่างย่อ" เพื่อบอกคนอื่นๆ ว่าเราได้แก้ไขอะไรไปบ้างหรือบอกตัวเองเผื่อจะกลับมาแก้ไขภายหลัง และอาจจะเลือก "การแก้ไขเล็กน้อย" เพื่อบอกคนอื่นไว้เช่นกัน

สำหรับแถบ "อภิปราย" ด้านบน จะเปิดหน้าใหม่ขึ้นมาสำหรับ พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของบทความนั้นๆ พูดคุยคำถามทิ้งไว้ว่าต้องการแก้ไขหน้านั้นกันอย่างไร ในหน้าอภิปรายจะมีปุ่ม "+" ขึ้นมา เพื่อสำหรับพูดคุยในหัวข้อใหม่

กลเม็ดในการเขียนวิกิพีเดีย

  • ควรเขียนบทความด้วยมุมมองที่เป็นกลาง และระบุเอกสารอ้างอิง เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของบทความ ง่ายต่อการตรวจสอบ และเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มเติมข้อมูลในภายหลัง
  • การใช้ภาษาในวิกิพีเดีย ไม่จำเป็นจะต้องเขียนให้ดูสละสลวยเหมือนแต่งคำกลอนส่งชิงรางวัล หรือแต่งให้หรูหราเหมือนทำรายงานวิทยานิพนธ์ การเขียนวิกิพีเดียสามารถใช้ภาษาทั่วไปที่สะกดคำได้ถูกต้อง ในลักษณะของภาษาหนังสือ (ไม่ใช่ภาษาปากหรือภาษาแชต) ถ้าไม่แน่ใจสามารถตรวจสอบได้จากพจนานุกรมใกล้มือ หรือจากเว็บ พจนานุกรมจากราชบัณฑิตฯ สำหรับคำจากภาษาอื่น มักจะมีปัญหาสะกดคำหลายแบบ สามารถตรวจสอบได้จาก ศัพท์บัญญัติจากราชบัณฑิตฯ การถอดเสียงภาษาอังกฤษ และ การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน
  • ถ้าได้มีงานเขียนไว้แล้ว และต้องการนำมาลงในวิกิพีเดีย สามารถคัดลอกมาลงในวิกิพีเดีย หลังจากนั้นลองกดปุ่ม "ดูตัวอย่าง" ก่อนที่จะทำการ "บันทึก" เพื่อแน่ใจว่าข้อความจะแสดงผลออกมาตามที่ต้องการ ในวิกิพีเดียมีบางคำสั่งที่จะแตกต่างจากพวก โปรแกรมอื่นๆ อยู่เล็กน้อย
  • ในระหว่างทำการแก้ไขบทความ ถ้าต้องการเปิดดูหน้าปัจจุบัน โดยไม่ยกเลิกการแก้ไขที่ทำอยู่ ให้เปิดลิงก์ "ยกเลิก" ในหน้าอื่น

หลังจากหน้าใดสร้างเสร็จแล้ว สามารถใช้คำสั่งต่อไปนี้ได้:

  • เพิ่มหมวดหมู่ของบทความ เพื่อโยงบทความเข้าหาบทความใกล้เคียงกัน
  • ใส่ลิงก์ข้ามภาษา เพื่อเชื่อมโยงบทความเดียวกันในภาษาอื่น
  • ตรวจสอบดูบทความและหน้าอื่นที่กล่าวถึงหน้านั้น โดยกด "หน้าที่ลิงก์มา" จากเมนูด้านซ้ายมือ

หน้าที่ถูกป้องกัน

ในบางกรณีลิงก์ที่เคยแสดงว่า "แก้ไขหน้านี้" กลับถูกแสดงแทนด้วยคำว่า "หน้าถูกล็อก" (หรืออื่นๆ ที่เทียบเท่ากันในภาษาของโครงการนั้นๆ) ในกรณีนี้หน้านั้นจะแก้ไขมิได้

การแยกส่วนกันตรวจแก้

การย้ายหรือคัดลอกส่วนของข้อความในหน้าเดียวกัน หรือจากหน้าอื่น และจะแก้ไขส่วนอื่นๆ ด้วย จะเป็นการดีกว่าถ้าแยกการแก้อย่างนี้เป็น 2 หน เพราะจะทำให้การตรวจความแตกต่างเกิดประโยชน์ที่สุด สำหรับการตรวจสอบการตรวจแก้อื่นๆ

หัวข้อที่ยังไม่สมบูรณ์

สำหรับหัวข้อที่ยังไม่สมบูรณ์ หรือเป็นเพียงร่าง รอให้เข้ามาเพิ่มเติมเนื้อหาภายหลัง สามารถใส่คำว่า {{โครง}} ซึ่งจะมีผลให้ วิกิแสดงแม่แบบ "โครง" ซึ่งจะแจ้งให้ผู้อ่านทราบว่า ข้อมูลในหัวข้อนี้ยังไม่สมบูรณ์, และเป็นการเชิญชวนผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ มาเพิ่มเติมเนื้อหาลงไป

หัวข้อที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

หากคุณพบเห็นหน้าที่ไม่เหมาะสม และต้องการแจ้งลบ ให้ใส่คำว่า {{ลบ}} ที่หน้านั้น. หน้านั้นจะถูกเพิ่มเข้าไปในรายการหน้าที่ถูกแจ้งลบ โดยทันที

สำหรับผู้ใช้เว็บเบราว์เซอร์ Safari

ถ้าท่านใช้เว็บเบราว์เซอร์ซาฟารี (Safari) บน Mac OS X ท่านจะพบว่า การที่เบราว์เซอร์กำหนดให้เวลาการโหลด หรืออัปโหลดหน้า ใช้เวลาได้ไม่เกิน 60 วินาทีนั้น สั้นเกินไป ที่ท่านจะส่งการแก้ไขของท่านได้ โดยเฉพาะเมื่อเซิร์ฟเวอร์กำลังรับการโหลดหนักๆ การคลิกที่ "บันทึก" อีกที จะเป็นการแก้ไขซ้ำ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ถ้าเป็นการแก้ไขเฉพาะส่วน (section) ปัญหานี้ท่านสามารถแก้ได้โดยติดตั้ง SafariNoTimeout ซึ่งเป็นส่วนขยายฟรี ที่ช่วยเพิ่มเวลาจาก 60 วินาทีเป็น 10 นาทีได้

ดูเพิ่ม