การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เกี่ยวกับการตั้งชื่อของพายุหมุนเขตร้อน สำหรับพายุหมุนเขตร้อน ดูที่ พายุหมุนเขตร้อน

พายุหมุนเขตร้อน และ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน จะได้รับการตั้งชื่อโดยศูนย์เตือนภัยต่างๆ ที่ให้ความสะดวกระหว่างนักพยากรณ์อากาศและประชาชนทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์, ผู้สังเกตการณ์, และการเตือนภัย เนื่องจากระบบของพายุนั้น สามารถมีอายุนานกว่าสัปดาห์หรือมากกว่านั้น และในเวลาเดียวกัน ก็สามารถมีพายุเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งลูก ภายในแอ่งเดียวกัน การตั้งชื่อพายุจึงเกิดขึ้น เพื่อป้องกันการสับสนเกี่ยวกับพายุแต่ละลูก การใช้ชื่อที่ระบุเฉพาะตัวของพายุหมุนเขตร้อนแต่ละลูก ต้องย้อนกลับไปหลายปี พร้อมกับระบบการตั้งชื่อแล้วแต่สถานที่ หรือสิ่งต่างๆ ก่อนจะมีการเริ่มต้นการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ โดยการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการมีใช้กับพายุที่ก็ตัวในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกเหนือ, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกตะวันออก, กลาง, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกตะวันตก, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกใต้ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อพายุหมุนเขตร้อนในภูมิภาคออสเตรเลีย และพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดีย โดยชื่อต่างๆ จะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยเมื่อมีพายุหมุนเขตร้อนมีความเร็วลมเฉลี่ยในหนึ่ง, สาม หรือ สิบนาที มากกว่า 65 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งขึ้นอยู่กับแอ่งนั้นๆ

เนื้อหา

ประวัติ[แก้]

การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ตามหลักการ เดิมพายุเฮอร์ริเคนที่เกิดในแถบทะเลแคริบเบียนนั้นจะตั้งชื่อนักบุญเป็นภาษาสเปน แต่ต่อมาราวปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 ก็มีนักพยากรณ์อากาศชาวออสเตรเลียคนหนึ่งชื่อ คลีเมนต์ แรกกี (Clement Wragge) เกิดความคิดในการตั้งชื่อพายุโดยใช้ชื่อคนทั่วไป โดยมี 2 แบบ แบบที่ 1 ใช้ชื่อสตรี ซึ่งเข้าใจว่าต้องการให้ฟังดูอ่อนโยน ส่วนแบบที่ 2 ใช้ชื่อนักการเมือง เพื่อเปรียบเปรยว่านักการเมืองคนนั้นนำความหายนะมาให้เช่นเดียวกับพายุหมุน

เมื่อถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรดานักอุตุนิยมวิทยาในกองทัพอเมริกันซึ่งชอบใจวิธีตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนตามชื่อสตรี ด้วยความคิดถึงก็นำชื่อของคู่รักหรือภรรยาของตนมาใช้เป็นชื่อพายุ

จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2493 ได้มีการตกลงกันว่าให้ตั้งชื่อพายุไล่ตามตัวอักษร A-Z (เช่น Able, Baker, Charlie…) แต่อีก 3 ปีต่อมาก็เปลี่ยนใจเลือกแต่เฉพาะชื่อสตรี (ตัวอย่าง Alice, Barbara...) วิธีการนี้ใช้ไปได้ระยะหนึ่งจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2521 (บ้างก็ว่า 2522) จึงได้มีชื่อบุรุษเป็นชื่อพายุบ้าง

จนกระทั่ง พ.ศ. 2543 ประเทศและดินแดนต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 14 แห่งที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ลุกขึ้นมาจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใหม่ (ไม่เอาเฉพาะแต่ชื่อฝรั่ง) โดยแต่ละประเทศ (หรือดินแดน) ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตนมาให้ประเทศละ 10 ชื่อ รวมทั้งสิ้นได้ 140 ชื่อ

ลักษณะทั่วไปของพายุหมุนเขตร้อน[แก้]

พายุหมุนเขตร้อนเป็นคำทั่ว ๆ ไปที่ใช้สำหรับเรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลนที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ แต่อยู่นอกเขตบริเวณเส้นศูนย์สูตร เพราะยังไม่เคยปรากฏว่ามีพายุหมุนเขตร้อนเกิดที่เส้นศูนย์สูตรพายุนี้เกิดขึ้นในมหาสมุทรหรือทะเลที่มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 26 หรือ 27 องศาเซลเซียสขึ้นไป และมีปริมาณไอน้ำสูง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวันออกอีก พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นได้หลายแห่งในโลก และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด บริเวณที่มีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นเป็นประจำ ได้แก่

  • มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก ทางตะวันตกของลองจิจูด 180 องศา เรียกว่า "ไต้ฝุ่น" เกิดมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม ถึงตุลาคม เป็นบริเวณที่เกิดพายุหมุนมากที่สุด
  • มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือแถวทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน" เกิดมากในเดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม
  • มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ฝั่งตะวันตกของประเทศเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน"
  • มหาสมุทรอินเดียเหนือ เรียกว่า "ไซโคลน"
  • มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย เรียกว่า "ไซโคลน" เกิดมากในเดือนธันวาคม ถึงกุมภาพันธ์

พายุหมุนเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป และเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป โดยพัดเวียนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด

ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรงของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ (ด้านตะวันตก) และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้

  • พายุดีเปรสชันเขตร้อน (tropical depression) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • พายุโซนร้อน (tropical storm) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • พายุไต้ฝุ่น (typhoon) ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขึ้นไป
สถาบันที่ตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน
แอ่ง สถาบันที่ตั้งชื่อ พื้นที่รับผิดชอบ
ซีกโลกเหนือ
มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
มหาสมุทรแปซิฟิดตะวันออก
สหรัฐอเมริกา ศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติ
สหรัฐอเมริกา ศุนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลาง
ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร, ชายฝั่งอเมริกาถึง 140°ตะวันตก
ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร, 140°ตะวันตก-180
[1]
มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น
PAGASA (ไม่เป็นทางการ)
เส้นศูนย์สูตร-60°เหนือ, 180-100°ตะวันออก
5°เหนือ-20°เหนือ, 115°ตะวันออก-135°ตะวันออก
[2]
[3]
มหาสมุทรอินเดียเหนือ กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งอินเดีย ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร, 100°ตะวันออก-45°ตะวันออก [4]
ซีกโลกใต้
ใต้-ตะวันตก
มหาสมุทรอินเดีย
ศูนย์บริการอุตุนิยมวิทยาเมาทริอัส
อุตุนิยมวิทยามาดากัสการ์
เส้นศูนย์สูตร-40°ใต้, 55°ตะวันออก-90°ตะวันออก
เส้นศูนย์สูตร-40°ใต้, ชายฝั่งแอฟริกา-55°ตะวันออก
[5]
ภูมิภาคออสเตรเลีย สำนักอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศและธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย
สำนักงานบริการสภาพอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกีนี
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งออสเตรเลีย
เส้นศูนย์สูตร-10°ใต้, 90°ตะวันออก-141°ตะวันออก
เส้นศูนย์สูตร-10°ใต้, 141°ตะวันออก-160°ตะวันออก
10°ใต้-36°ใต้, 90°ตะวันออก-160°ตะวันออก
[6]
มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ศูนย์บริการอุตุนิยมวิทยาฟิจิ
สำนักบริการอุตุนิยมวิทยานิวซีแลนด์
เส้นศูนย์สูตร-25°ใต้, 160°ตะวันออก-120°ตะวันตก
25°ใต้-40°ใต้, 160°ตะวันออก-120°ตะวันตก
[6]
มหาสมุทรแอตแลนติกใต้ (ไม่เป็นทางการ) ศูนย์ไฮโดรกราฟิกทางทะเลบราซิล (ไม่เป็นทางการ) เส้นศูนย์สูตร-35°ใต้, ชายฝั่งบราซิล-20°ตะวันตก [7]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก (180° ถึง 100° ตะวันออก)[แก้]

เป็นรายชื่อพายุที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ โดยมีประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ร่วมกันเสนอบัญชีรายชื่อเอาไว้ทั้งหมด 5 ชุดด้วยกัน ประเทศที่เสนอชื่อมี 14 ประเทศ (และดินแดน) ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

รายชื่อพายุมี 140 ชื่อ นำมาแบ่งเป็น 5 ชุดหลัก ชุดละ 28 ชื่อ โดยไล่เรียงชื่อไปตามลำดับประเทศ (และดินแดน) ที่เสนอมาตามอักษรโรมัน ข้อตกลงคือ

  1. เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 นอต หรือ 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (กลายเป็นพายุโซนร้อน) พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ
  2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ชื่อบนสุดของคอลัมน์หรือชุดที่ 1 ก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1 เป็นลูกแรก พายุลูกนั้นจะมีชื่อว่า "ดอมเรย"
  3. เมื่อมีพายุลูกต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1 พายุลูกนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมาในชุดที่ 1 เช่น พายุลูกที่ 2 จะมีชื่อว่า "ไห่คุ้ย"
  4. เมื่อใช้จนหมดชุดแรกให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "จ่ามี" จะใช้ชื่อ "กองเรย" ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ
  5. เมื่อใช้จนหมดชุดที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของชุดที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "ซาวลา" จะใช้ชื่อ "ดอมเรย"
  6. หากพายุลูกใดมีความรุนแรงและสร้างความหายนะมากเป็นพิเศษก็ให้ปลดชื่อพายุลูกนั้นไป แล้วตั้งชื่อใหม่เข้าไปในรายการชื่อแทน

ชื่อสากล[แก้]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ (ด้านตะวันตก) และทะเลจีนใต้[8]
ประเทศที่ส่งชื่อ ชุดที่ 1 ชุดที่ 2 ชุดที่ 3 ชุดที่ 4 ชุดที่ 5
กัมพูชา ด็อมเร็ย กองเร็ย นากรี กรอวาญ (กระวาน) ซาเระกา (สาลิกา)
จีน ไห่ขุย[# 1] ยวี่ถู่ เฟิงเฉิน ตู้เจวียน ไหหม่า
เกาหลีเหนือ คีโรกี โทราจี คัลแมกี มูจีแก[# 2] เมอารี
ฮ่องกง (จีน) ไคตั๊ก หม่านหยี่ ฟงวอง ฉอยหวั่น หมาอ๊อน
ญี่ปุ่น เท็มบิง อูซางิ คัมมูริ คปปุ โทกาเงะ
ลาว บอละเวน ปาบึก (ปลาบึก) ฟานทอง จำปี[# 3] นกเต็น (นกกระเต็น)
มาเก๊า (จีน) ซันปา[# 4] หวู่ติบ หว่องฟ้ง ยีนฟ้า[# 5] หมุ่ยฟ้า
มาเลเซีย เจอลาวัต เซอปัต นูรี[# 6] เมอโลร์ เมอร์บก
ไมโครนีเซีย เอวิเนียร์ มุน[# 7] ซินลากู เนพาร์ตัก นันมาดอล
ฟิลิปปินส์ มาลิกซี[# 8] ดานัส ฮากูปิต ลูปิต ตาลัส
เกาหลีใต้ แคมี นารี ชังมี มีรีแน[# 9] โนรู
ไทย พระพิรุณ วิภา เมขลา นิดา กุหลาบ
สหรัฐอเมริกา มาเรีย ฟรานซิสโก ฮีโกส โอไมส์ โรคี
เวียดนาม เซินติญ[# 10] เลกีมา บาหวี่ โกนเซิน เซินกา
กัมพูชา อ็อมปึล (อำปึล)[# 11] กรอซา ไมสัก จันทู เนสาท
จีน อู๋คง ไป๋ลู่[# 12] ไห่เฉิน เตี้ยนหมู่ ไห่ถาง
เกาหลีเหนือ ชงดารี[# 13] โพดุล โนอึล[# 14] มินดุลเล นัลแก
ฮ่องกง (จีน) ชานชาน เหล่งเหลง ดอลฟิน[# 15] ไลออนร็อก[# 16] บันยัน
ญี่ปุ่น ยางิ คาจิกิ คูจิระ คมปาซุ ฮาโตะ[# 17]
ลาว หลี่ผี[# 18] ฟ้าใส จันหอม (จันทน์หอม) น้ำเทิน ปาข่า (ปลาข่า)[# 19]
มาเก๊า (จีน) เบบินคา เผ่ย์ผ่า[# 20] หลิ่นฟา หมาเหล่า ซ้านหวู่
มาเลเซีย รุมเบีย ตาปะฮ์ นังกา เมอรันตี มาวาร์
ไมโครนีเซีย ซูลิก มิแทก เซาเดโลร์ ราอี[# 21] กูโชล
ฟิลิปปินส์ ซีมารอน ฮากีบิส โมลาเบ[# 22] มาลากัส ตาลิม
เกาหลีใต้ เชบี นอกูรี โคนี เมกี ทกซูรี[# 23]
ไทย มังคุด[# 24] [# 25] อัสนี[# 26] ชบา ขนุน
สหรัฐอเมริกา บารีจัต[# 27] แมตโม[# 28] เอตาว แอรี[# 29] ลัง[# 30]
เวียดนาม จ่ามี หะลอง หว่ามก๋อ ซงด่า เซาลา

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ใช้แทนชื่อ หลงหวาง (Longwang) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550
  2. ใช้แทนชื่อ แมมี (Maemi) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549
  3. ใช้แทนชื่อ กิสนา หรือ กฤษณา (Ketsana) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554
  4. ใช้แทนชื่อ จันจู (Chanchu) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551
  5. ใช้แทนชื่อ ป้าหม่า (Parma) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554
  6. ใช้แทนชื่อ รูซา (Rusa) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
  7. ใช้แทนชื่อ ฟิโทว์ (Fitow) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558
  8. ใช้แทนชื่อ บิลิส (Bilis) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551
  9. ใช้แทนชื่อ ซูดัล (Sudal) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549
  10. ใช้แทนชื่อ ซาวมาย (Saomai) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551
  11. ใช้ชื่อแทน บบพา (Bopha) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557
  12. ใช้ชื่อแทน ไห่เยี่ยน (Haiyan) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558
  13. เดิมกำหนดชื่อ โซนามู (Sonamu) แต่มาเลเซียขอให้ถอดชื่อออกเนื่องจากออกเสียงคล้ายกับ สึนามิ จึงเปลี่ยนเป็น ชงดารี (Jongdari) แทนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558
  14. ใช้แทนชื่อ พงซ็อนฮวา (Pongsona) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549
  15. ใช้แทนชื่อ ยันยัน (Yanyan) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549
  16. ใช้แทนชื่อ เถ่งเถง (Tingting) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549
  17. ใช้แทนชื่อ วาชิ (Washi) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555
  18. ใช้แทนชื่อ ซ้างสาน หรือ ช้างสาร (Xangsane) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551
  19. ใช้แทนชื่อ มัดสา หรือ มัสยา (Matsa) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550
  20. ใช้แทนชื่อ ฮัวเหม่ย (Vamei) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
  21. เดิมกำหนดชื่อ รานานิม (Rananim) ต่อมาเปลี่ยนเป็น ฟานาปี (Fanapi) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และเนื่องจากเป็นพายุที่เคยสร้างความเสียหายอย่างหนักแก่ไต้หวันและจีน จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ ราย (Rai) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555
  22. ใช้แทนชื่อ อิมบุโด (Imbudo) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
  23. ใช้แทนชื่อ นาบี (Nabi) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550
  24. ใช้แทนชื่อ ทุเรียน (Durian) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551
  25. ชื่อ รามสูร โดนปลดในปี พ.ศ. 2558 รอการตั้งชื่อมาทดแทน
  26. เดิมกำหนดชื่อ หนุมาน (Hanuman) แต่ถูกกรมอุตุนิยมวิทยาของอินเดียคัดค้านเนื่องจากเหตุผลทางศาสนา จึงเปลี่ยนเป็น มรกต (Morakot) ในปี พ.ศ. 2545 และเนื่องจากเป็นพายุที่เคยสร้างความเสียหายอย่างหนักแก่ไต้หวัน จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ อัสนี (Atsani) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554
  27. ใช้แทนชื่อ อูตอร์ (Utor) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558
  28. ใช้แทนชื่อ ชาทาอาน (Chataan) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
  29. ใช้แทนชื่อ โกโด (Kodo) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545
  30. เดิมกำหนดชื่อ บิเซนเต (Vicente) แต่เนื่องจากมีชื่อซ้ำกับชื่อพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก จึงเปลี่ยนเป็น ลัง (Lan) เพื่อป้องกันความสับสนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558

ฟิลิปปินส์[แก้]

ไต้ฝุ่นทุเรียน (เรมิง) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน โดยรายชื่อของพายุที่จะใช้ในแต่ละปีจะถูกตั้งและประกาศก่อนที่ฤดูกาลจะเริ่มขึ้น โดยหากชื่อเหล่านี้มีชื่อใดที่ไม่ได้ถูกใช้จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่[9]

2558 อามัง
(Amang)
เบตตี
(Betty)
เชเดง
(Chedeng)
โดดง
(Dodong)
เอไก
(Egay)
ฟัลกอน
(Falcon)
โกริง
(Goring)
ฮันนา
(Hanna)
อีเนง
(Ineng)
เจนนี
(Jenny)
กาบายัน
(Kabayan)
ลันโด
(Lando)
แมริลิน
(Marilyn)
โนโนย
(Nonoy)
อนยก
(Onyok)
เปร์ลา
(Perla)
เกียล
(Quiél)
รามอน
(Ramón)
ซาราห์
(Sarah)
ตีโซย
(Tisóy)
อูร์ซูลา
(Ursula)
วีริง
(Viríng)
เวง
(Weng)
โยโยย
(Yoyoy)
ซิกซัก
(Zigzag)
เพิ่มเติม: อาเบ
(Abe)
เบร์โต
(Berto)
ชาโร
(Charo)
ดาโด
(Dado)
เอสโตย
(Estoy)
เฟลีอน
(Felión)
เฮนิง
(Gening)
เฮอร์มัน
(Herman)
อีร์มา
(Irma)
ไฮเม
(Jaime)
2559 อัมโบ
(Ambo)
บุตโชย
(Butchoy)
การีนา
(Carina)
ดินโด
(Dindo)
เอนเตง
(Enteng)
เฟอร์ดี
(Ferdie)
เฮเนร์
(Gener)
เฮเลน
(Helen)
อิกเม
(Igmê)
ฮูเลียน
(Julian)
กาเรน
(Karen)
ลาวิน
(Lawin)
มาร์เซ
(Marce)
นีนา
(Nina)
โอเฟล
(Ofel)
เปปีโต
(Pepito)
กินตา
(Quinta)
รอลลี
(Rolly)
โชนี
(Siony)
โตนโย
(Tonyo)
ยูลิสซีส
(Ulysses)
วิกกี
(Vicky)
วอร์เรน
(Warren)
โยยง
(Yoyong)
โซซีโม
(Zosimo)
เพิ่มเติม: อาลักดัน
(Alakdán)
บัลโด
(Baldo)
กลารา
(Clara)
เดนซีโอ
(Déncio)
เอสตง
(Estong)
เฟลีเป
(Felipe)
การ์โด
(Gardo)
เฮลิง
(Heling)
อิสมาเอล
(Ismael)
ฮูลีโอ
(Júlio)
2560 อูริง
(Auring)
บีซิง
(Bising)
กรีซิง
(Crising)
ดันเต
(Dante)
เอมง
(Emong)
ฟาเบียน
(Fabian)
โกรีโอ
(Gorio)
ฮัวนิง
(Huaning)
อิซัง
(Isang)
โฮลีนา
(Jolina)
กีโก
(Kiko)
ลันนี
(Lannie)
มาริง
(Maring)
นันโด
(Nando)
โอเดตต์
(Odette)
ปาโอโล
(Paolo)
เกดัน
(Quedan)
รามิล
(Ramil)
ซาโลเม
(Salome)
ตีโน
(Tino)
อูร์ดูฮา
(Urduja)
วินตา
(Vinta)
วิลมา
(Wilma)
ยัสมิน
(Yasmin)
โซไรดา
(Zoraida)
เพิ่มเติม: อาลามิด
(Alamid)
บรูโน
(Bruno)
กนชิง
(Conching)
โดลอร์
(Dolor)
เอร์นี
(Ernie)
โฤลรันเต
(Florante)
เฮราร์โด
(Gerardo)
เอร์นัน
(Hernan)
อิสโก
(Isko)
เจอโรม
(Jerome)
2561 อากาตน
(Agaton)
บาชัง
(Basyang)
กาโลย
(Caloy)
โดเมง
(Domeng)
เอสเตอร์
(Ester)
โฟลรีตา
(Florita)
การ์โด
(Gardo)
เฮนรี
(Henry)
อินได
(Inday)
โจซี
(Josie)
การ์ดิง
(Karding)
ลุยส์
(Luis)
ไมไม
(Maymay)
เนเนง
(Neneng)
อมปง
(Ompong)
ปาเอง
(Paeng)
กวีนี
(Queenie)
โรซีตา
(Rosita)
ซามูเอล
(Samuel)
โตมัส
(Tomas)
อุสมัน
(Usman)
วีนัส
(Venus)
วัลโด
(Waldo)
ยายัง
(Yayang)
เซนี
(Zeny)
เพิ่มเติม: อากีลา
(Agila)
บากวิส
(Bagwis)
ชีโต
(Chito)
ดีเอโก
(Diego)
เอเลนา
(Elena)
เฟลีโน
(Felino)
กุนดิง
(Gunding)
แฮร์เรียต
(Harriet)
อินดัง
(Indang)
เจสซา
(Jessa)
อ้างอิงชื่อพายุ[9][10]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ[แก้]

เฮอร์ริเคนวิลมา พ.ศ. 2548

ภายในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติ (NHC/RSMC ไมแอมี) จะเป็นผู้ประกาศชื่อพายุหมุนเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อนเมื่อพายุลูกนั้นมีความรุนแรงถึงระดับพายุโซนร้อน ด้วยความเร็วลมรอบศูนย์กลางอย่างน้อย 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.)

รายชื่อพายุมี 6 รายชื่อ ในแต่ละรายชื่อจะประกอบด้วยชื่อผู้ชายสลับกับชื่อผู้หญิงและเรียงตามลำดับตัวอักษรในภาษาอังกฤษ และจะได้รับการกำหนดใช้โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกด้วยการหมุนเวียนเป็นประจำทุกปี

พายุหมุนเขตร้อนที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูงและส่งผลกระทบเป็นจำนวนมากจะถูกปลดออกจากรายการ และจะกำหนดชื่อใหม่แทนในการประชุมครั้งถัดไปของคณะกรรมาธิการเฮอร์ริเคน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก

หากทุกชื่อในรายการจะถูกใช้ไปหมดแล้ว จะมีการใช้อักษรกรีกขึ้นมาแทน (แอลฟา, บีตา, แกมมา, ฯลฯ) ซึ่งจะไม่ถูกปลดชื่อออกอย่างชื่อปกติ แต่ถ้ามีอานุภาพทำลายล้างมาก ก็เป็นไปได้ว่าจะมีการปลดชื่อออก และได้รับการจดทะเบียนชื่อถูกปลดที่มีเชิงอรรถ เพื่อให้อักษรกรีกยังคงใช้ได้อีกสำหรับพายุในอนาคต[11][12][13]

เฮอร์ริเคนกิลเบิร์ต พ.ศ. 2531
2558 อานา
(Ana)
บิลล์
(Bill)
คลอเดตต์
(Claudette)
แดนนี
(Danny)
เอริกา
(Erika)
เฟรด
(Fred)
เกรซ
(Grace)
เฮนรี
(Henri)
ไอดา
(Ida)
วาคีน
(Joaquin)
เคต
(Kate)
แลร์รี
(Larry)
มินดี
(Mindy)
นิโคลัส
(Nicholas)
โอเดตต์
(Odette)
ปีเตอร์
(Peter)
โรส
(Rose)
แซม
(Sam)
เทรีซา
(Teresa)
วิกเตอร์
(Victor)
แวานดา
(Wanda)
2559 อเล็กซ์
(Alex)
บอนนี
(Bonnie)
คอลิน
(Colin)
แดเนียลล์
(Danielle)
เอิร์ล
(Earl)
ฟีโอนา
(Fiona)
แกสตัน
(Gaston)
เฮอร์มีน
(Hermine)
เอียน
(Ian)
จูเลีย
(Julia)
คาร์ล
(Karl)
ลีซา
(Lisa)
แมตทิว
(Matthew)
นิโคล
(Nicole)
ออตโต
(Otto)
เปาลา
(Paula)
ริชาร์ด
(Richard)
แชรี
(Shary)
โทไบอัส
(Tobias)
วีร์ฌีนี
(Virginie)
วอลเตอร์
(Walter)
2560 อาร์ลีน
(Arlene)
เบรต
(Bret)
ซินดี
(Cindy)
ดอน
(Don)
เอมิลี
(Emily)
แฟรงคลิน
(Franklin)
แกร์ท
(Gert)
ฮาร์วีย์
(Harvey)
เออร์มา
(Irma)
โฮเซ
(José)
กาตียา
(Katia)
ลี
(Lee)
มาเรีย
(Maria)
เนต
(Nate)
โอฟีเลีย
(Ophelia)
ฟีลิป
(Philippe)
รีนา
(Rina)
ชอน
(Sean)
แทมมี
(Tammy)
วินซ์
(Vince)
วิตนีย์
(Whitney)
2561 อัลเบร์โต
(Alberto)
เบริล
(Beryl)
คริส
(Chris)
เดบบี
(Debby)
เอร์เนสโต
(Ernesto)
ฟลอเรนซ์
(Florence)
กอร์ดอน
(Gordon)
เฮเลน
(Helene)
ไอแซก
(Isaac)
จอยซ์
(Joyce)
เคิร์ก
(Kirk)
เลซลี
(Leslie)
ไมเคิล
(Michael)
นาดีน
(Nadine)
ออสการ์
(Oscar)
แพตตี
(Patty)
ราฟาเอล
(Rafael)
ซารา
(Sara)
โทนี
(Tony)
วาเลรี
(Valerie)
วิลเลียม
(William)
2562 แอนเดรีย
(Andrea)
แบร์รี
(Barry)
ช็องตาล
(Chantal)
โดเรียน
(Dorian)
เอริน
(Erin)
เฟอร์นานด์
(Fernand)
กาเบรียล
(Gabrielle)
อุมเบร์โต
(Humberto)
อีเมลดา
(Imelda)
เจร์รี
(Jerry)
คาเรน
(Karen)
โลเรนโซ
(Lorenzo)
เมลิสซา
(Melissa)
เนสตอร์
(Nestor)
ออลกา
(Olga)
ปาโบล
(Pablo)
รีเบกาห์
(Rebekah)
เซบัสเตียง
(Sebastien)
แทนยา
(Tanya)
แวน
(Van)
เวนดี
(Wendy)
2563 อาร์เทอร์
(Arthur)
เบอร์ทา
(Bertha)
กริสโตบัล
(Cristobal)
ดอลลี
(Dolly)
เอดัวร์
(Edouard)
เฟย์
(Fay)
กอนซาโล
(Gonzalo)
แฮนนา
(Hanna)
ไอเซอัส
(Isaias)
โจเซฟีน
(Josephine)
ไคล์
(Kyle)
ลอรา
(Laura)
มาร์โก
(Marco)
นานา
(Nana)
โอมาร์
(Omar)
พอเลตต์
(Paulette)
เรเน
(Rene)
แซลลี
(Sally)
เทดดี
(Teddy)
วิกกี
(Vicky)
วิลเฟรด
(Wilfred)
อ้างอิงรายชื่อ[11][12]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก[แก้]

เฮอร์ริเคนลินดา พ.ศ. 2540

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกจะมีสองหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาภูมิภาค (RSMCs) ที่ประกาศใช้ชื่อพายุหมุนเขตร้อนเมื่อพายุมีความรุนแรงถึงระดับพายุโซนร้อน ด้วยความเร็วลมรอบศูนย์กลางอย่างน้อย 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.)

พายุหมุนเขตร้อนที่ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนระหว่างชายฝั่งสหรัฐอเมริกาและ 140°ตะวันตก จะมีศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติ (NHC/RSMC ไมอามี่) เป็นผู้ประกาศ ในขณะที่พายุหมุนเขตร้อนที่ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนระหว่าง 140° ตะวันตก และ 180° จะมีศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลาง (CPHC/RSMC โฮโนลูลู) เป็นผู้ประกาศ

พายุหมุนเขตร้อนที่มีอนุภาพการทำลายล้างสูง และมีผลกระทบเป็นจำนวนมาก จะถูกปลดชื่อออกจากรายการและองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกจะเป็นผู้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นมาทดแทน

หากพายุเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของ NHC และเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของ CPHC หรือกลับกัน จะยังคงใช้ชื่อเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลง[11][12]

มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทางทิศตะวันออกของละติจูด 140° ตะวันตก[แก้]

เฮอร์ริเคนเอลิดา พ.ศ. 2545

เมื่อดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนตอนเหนือของเส้นศูนย์สูตรระหว่างชายฝั่งสหรัฐอเมริกาและ 140°ตะวันตกจะมีศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติ (NHC/RSMC ไมอามี่) เป็นผู้ประกาศใช้ชื่อ

พายุหมุนเขตร้อนที่มีอนุภาพการทำลายล้างสูง และมีผลกระทบเป็นจำนวนมาก จะถูกปลดชื่อออกจากรายการและองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกจะเป็นผู้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นมาทดแทน

ทุกชื่อในรายการจะถูกใช้ไปหมดแล้วจะมีการใช้อักษรกรีกขึ้นมาแทน (แอลฟา, บีตา, แกมมา, ฯลฯ) และชื่อกรีกนี้จะไม่ถูกปลดชื่อออก แต่ถ้ามีอนุภาคทำลายล้างมาก ก็เป็นไปได้ว่าจะมีการปลดชื่อออก และได้รับการจดทะเบียนชื่อถูกปลดที่มีเชิงอรรถ เพื่อให้อักษรกรีกยังคงทำมาใช้ได้อีกสำหรับพายุในอนาคต[11][12]

2558 แอนเดรอัส
(Andres)
บลังกา
(Blanca)
การ์โลส
(Carlos)
โดโลเรส
(Dolores)
เอนริเก
(Enrique)
เฟลิเซีย
(Felicia)
กิเยร์โม
(Guillermo)
ฮิลดา
(Hilda)
อิกนาซิโอ
(Ignacio)
ฆิเมนา
(Jimena)
เควิน
(Kevin)
ลินดา
(Linda)
มาร์ตี
(Marty)
นอรา
(Nora)
โอลาฟ
(Olaf)
แพทริเซีย
(Patricia)
ริก
(Rick)
แซนดรา
(Sandra)
เทร์รี
(Terry)
วีเวียน
(Vivian)
วัลโด
(Waldo)
ซีนา
(Xina)
ยอร์ก
(York)
เซลดา
(Zelda)
2559 แอกาทา
(Agatha)
บลัส
(Blas)
ซีเลีย
(Celia)
ดาร์บี
(Darby)
อิสเทลล์
(Estelle)
แฟรงก์
(Frank)
จอร์เจตต์
(Georgette)
ฮาวเวิร์ด
(Howard)
ไอซิส
(Isis)
ฆาบิเอร์
(Javier)
เคย์
(Kay)
เลสเตอร์
(Lester)
แมเดลิน
(Madeline)
นิวตัน
(Newton)
ออร์ลีน
(Orlene)
เพน
(Paine)
รอสลิน
(Roslyn)
ซีมอร์
(Seymour)
ทีนา
(Tina)
เวอร์จิล
(Virgil)
วินิฟริด
(Winifred)
แซเวียร์
(Xavier)
โยลันดา
(Yolanda)
ซี้ก
(Zeke)
2560 เอเดรียน
(Adrian)
เบอาตริซ
(Beatriz)
แคลวิน
(Calvin)
ดอรา
(Dora)
ยูจีน
(Eugene)
เฟร์นันดา
(Fernanda)
เกร็ก
(Greg)
ฮิลารี
(Hilary)
เออร์วิน
(Irwin)
โจวา
(Jova)
เคนเนท
(Kenneth)
ลิเดีย
(Lidia)
แมกซ์
(Max)
นอร์มา
(Norma)
โอติส
(Otis)
ปิลาร์
(Pilar)
ราโมน
(Ramon)
เซลมา
(Selma)
ทอดด์
(Todd)
เบโรนิกา
(Veronica)
วิลีย์
(Wiley)
ซีนา
(Xina)
ยอร์ก
(York)
เซลตา
(Zelda)
2561 อะเลตตา
(Aletta)
บัด
(Bud)
คาร์ลอตตา
(Carlotta)
แดเนียล
(Daniel)
เอมิเลีย
(Emilia)
ฟาบีโอ
(Fabio)
กิลมา
(Gilma)
เฮกเตอร์
(Hector)
อิเลียนา
(Ileana)
จอห์น
(John)
คริสตี
(Kristy)
เลน
(Lane)
มิเรียม
(Miriam)
นอร์มัน
(Norman)
โอลิเวีย
(Olivia)
พอล
(Paul)
โรซา
(Rosa)
เซร์ฆิโอ
(Sergio)
ทารา
(Tara)
บิเซนเต
(Vicente)
วิลลา
(Willa)
แซเวียร์
(Xavier)
โยลันดา
(Yolanda)
ซี้ก
(Zeke)
2562 แอลวิน
(Alvin)
บาร์บารา
(Barbara)
คอสมี
(Cosme)
เดลิลา
(Dalila)
เอริก
(Erick)
ฟลอสซี
(Flossie)
กิล
(Gil)
เฮนรีเอตต์
(Henriette)
อิโว
(Ivo)
จูลีเอตต์
(Juliette)
กิโก
(Kiko)
โลเรนา
(Lorena)
มานูเอล
(Manuel)
นาร์ดา
(Narda)
ออกเทฟ
(Octave)
พริสซิลลา
(Priscilla)
เรย์มันด์
(Raymond)
โซเนีย
(Sonia)
ติโก
(Tico)
เวลมา
(Velma)
วอลลิส
(Wallis)
ซีนา
(Xina)
ยอร์ก
(York)
เซลดา
(Zelda)
2563 อะแมนดา
(Amanda)
บอริส
(Boris)
คริสตีนา
(Cristina)
ดักลัส
(Douglas)
เอลิดา
(Elida)
ฟาอุสโต
(Fausto)
เจนิวีฟ
(Genevieve)
เอร์นัน
(Hernan)
ไอเซลล์
(Iselle)
ฆูลิโอ
(Julio)
คารินา
(Karina)
โลเวลล์
(Lowell)
มารี
(Marie)
นอร์เบิร์ต
(Norbert)
โอดาส์
(Odalys)
โพโล
(Polo)
เรเชล
(Rachel)
ไซมอน
(Simon)
ทรูดี
(Trudy)
แวนซ์
(Vance)
วินนี
(Winnie)
แซเวียร์
(Xavier)
โยลันดา
(Yolanda)
ซี้ก
(Zeke)
อ้างอิงรายชื่อ[11][12]

มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือตอนกลาง (ละติจูด 140° ตะวันตก ถึง 180°)[แก้]

เฮอร์ริเคนอิโอเค พ.ศ. 2549

เมื่อดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนตอนเหนือของเส้นศูนย์สูตรระหว่าง 140°ตะวันตก ถึง 180° จะมีศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลาง (CPHC/RSMC โฮโนลูลู) เป็นผู้ประกาศใช้ชื่อ

สี่ชุดของชื่อจะถูกหมุนเวียนโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกโดยไม่นำปีที่มีชื่อแรกเป็นชื่อลำดับถับไปในกรณีที่ไม่ได้ใช้เมื่อปีที่แล้ว

พายุหมุนเขตร้อนที่มีอนุภาพการทำลายล้างสูง และมีผลกระทบเป็นจำนวนมาก จะถูกปลดชื่อออกจากรายการและองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกจะเป็นผู้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นมาทดแทน

ชื่อสุดท้ายในรายการนี้คือ โอเมกา (Omeka) ในขณะที่ต่อไปจะเป็น เปวา (Pewa)[11][12]

ชุดที่ 1 อาโกนี
(Akoni)
เอมา
(Ema)
โฮเน
(Hone)
อีโอนา
(Iona)
เกลี
(Keli)
ลาลา
(Lala)
โมเก
(Moke)
โนโล
(Nolo)
โอลานา
(Olana)
เปนา
(Pena)
อูลานา
(Ulana)
วาเล
(Wale)
ชุดที่ 2 อากา
(Aka)
เอเกกา
(Ekeka)
เฮเน
(Hene)
ไอโอลานา
(Iolana)
เกโอนี
(Keoni)
ลีโน
(Lino)
เมเล
(Mele)
โนนา
(Nona)
โอลีวา
(Oliwa)
ปามา
(Pama)
อูปานา
(Upana)
เวเน
(Wene)
ชุดที่ 3 อาลิกา
(Alika)
เอเล
(Ele)
ฮูโก
(Huko)
อีโอปา
(Iopa)
กีกา
(Kika)
ลานา
(Lana)
มากา
(Maka)
เนกี
(Neki)
โอเมกา
(Omeka)
เปวา
(Pewa)
อูนาลา
(Unala)
วาลี
(Wali)
ชุดที่ 4 อานา
(Ana)
เอลา
(Ela)
ฮาโลลา
(Halola)
อีอูเน
(Iune)
กีโล
(Kilo)
โลเก
(Loke)
มาลีอา
(Malia)
นีอาลา
(Niala)
โอโฮ
(Oho)
ปาลี
(Pali)
อูลีกา
(Ulika)
วาลากา
(Walaka)
อ้างอิงรายชื่อ[11][12]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือ (ละติจูด 45° ตะวันออก ถึง 100° ตะวันออก)[แก้]

ซูเปอร์พายุไซโคลนโกนู เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ในแอ่งมหาสมุทรอินเดียพายุหมุนเขตร้อนจะได้รับการใช้ชื่อเมื่อดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงเป็นพายุไซโคลน ด้วยความเร็วลมรอบศูนย์กลางอย่างน้อย 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.)

ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 ชื่อจะถูกคัดเลือกโดยสมาชิกของ ESCAP/WMO จนกระทั่งเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภูมิภาคนิวเดลี ได้เริ่มมีการกำหนดชื่อขึ้น

ในแอ่งนี้จะไม่มีการปลดชื่อพายุหมุนเขตร้อน เนื่องจากเป็นการกำหนดชื่อ เมื่อมีการกำหนดชื่อใหม่รายชื่อครั้งก่อนจะไม่ถูกนำกลับมาใช้

ถ้าพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนออกจากมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก เข้าสู่มหาสมุทรอินเดียเหนือ ก็จะยังคงใช้ชื่อเดิมที่ใช้ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกต่อไป

ประเทศ
สมาชิก
ชุดที่ 1 ชุดที่ 2 ชุดที่ 3 ชุดที่ 4 ชุดที่ 5 ชุดที่ 6 ชุดที่ 7 ชุดที่ 8
บังกลาเทศ โอนิล
(Onil)
อ็อกนี
(Ogni)
นิชา
(Nisha)
คีรี
(Giri)
เฮเลน (Helen) จาปาลา
(Chapala)
ออกคี
(Ockhi)
ฟานี
(Fani)
อินเดีย อัคนี
(Agni)
อากาศ
(Akash)
บิชลี
(Bijli)
ชัล
(Jal)
เลฮาร์
(Lehar)
เมฆ
(Megh)
สาคร
(Sagar)
วายุ
(Vayu)
มัลดีฟส์ ฮีบารู
(Hibaru)
โกนู
(Gonu)
ไอลา
(Aila)
เกอีลา
(Keila)
มาดี
(Madi)
โรอานู
(Roanu)
มากูนู
(Mekunu)
ฮีกาอา
(Hikaa)
พม่า ปยา
(Pyarr)
เยมยีน
(Yemyin)
พยาน
(Phyan)
ทเน
(Thane)
นะเนาะ
(Na−nauk)
จั่น
(Kyant)
ดะแย
(Daye)
จ้า
(Kyarr)
โอมาน บาอัซ
(Baaz)
ซีดร์
(Sidr)
วาร์ด
(Ward)
มูร์จัน
(Murjan)
ฮุดฮุด
(Hudhud)
นาดา
(Nada)
ลูบัน
(Luban)
มาฮา
(Maha)
ปากีสถาน ฟาโนส
(Fanoos)
นาร์กีส
(Nargis)
ไลลา
(Laila)
นีลัม
(Nilam)
นิโลฟาร์
(Nilofar)
วาร์ดะห์
(Vardah)
ติตลี
(Titli)
บุลบูล
(Bulbul)
ศรีลังกา มาลา
(Mala)
รัศมี
(Rashmi)
พันทุ
(Bandu)
วียารุ
(Viyaru)
อโชบา
(Ashobaa)
อสิรี
(Asiri)
คีคุม
(Gigum)
โสภา
(Soba)
ไทย มุกดา
(Mukda)
ไข่มุก
(Khai−Muk)
เพชร
(Phet)
ไพลิน
(Phailin)
โกเมน
(Komen)
โมรา
(Mora)
เพทาย
(Phethai)
อัมพัน
(Amphan)
อ้างอิงชื่อพายุจาก[14][15]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียใต้-ตะวันตก (แอฟริกา ถึง 90° ตะวันออก)[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนกาฟิโลเมื่อกำลังมีความรุนแรงสูงสุด
2558-59 แอนนาเบลล์
(Annabelle)
โบฮาเล
(Bohale)
คูฮองตัง
(Corentin)
ดายา
(Daya)
เอ็มเมอโฮด์
(Emeraude)
ฟองตาลา
(Fantala)
เกา
(Gao)
อัซชินา
(Hassina)
อินาซิว
(Inacio)
จูมา
(Juma)
เคติเว
(Ketiwe)
ลาเลลานี
(Lalelani)
มูอาบี
(Moabi)
นาอิมา
(Naima)
อุคตาฟ
(Octave)
เพียฮา
(Piera)
คีซิตู
(Quizito)
ริชาร์ด
(Richard)
โซเฟีย
(Sofia)
ทาเทียนา
(Tatiana)
อุมโบนี
(Umboni)
เวลา
(Vela)
เวย์น
(Wayne)
ซาบา
(Xaba)
ยาซิด
(Yazid)
เซนานี
(Zenani)
ข้อมูลสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[16]

ในแอ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรอินเดีย พายุดีเปรสชันเขตร้อนและดีเปรสชันกึ่งเขตร้อนจะได้รับการตั้งชื่อเมื่อศูนย์อุตุนิยมวิทยาประจำภูมิภาคที่เกาะเรอูว์นียงของฝรั่งเศสตรวจพบว่ามีความเร็วลมคงที่สูงสุด 10 นาทีอยู่ที่ 65 กม./ชม. (40 ไมล์) หรือมากกว่านั้นเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ตั้งชื่อพายุได้แก่ ศูนย์แจ้งเตือนพายุหมุนเขตร้อนระดับอนุภูมิภาคในมอริเชียสและมาดากัสการ์

ศูนย์แจ้งเตือนพายุหมุนเขตร้อนระดับอนุภูมิภาคในมอริเชียสจะตั้งชื่อพายุลูกหนึ่ง ๆ เมื่อมันมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลางระหว่างละติจูด 55° ตะวันออกกับละติจูด 90° ตะวันออก แต่ถ้าพายุลูกใดมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลางระหว่างละติจูด 30° ตะวันออกกับละติจูด 55° ตะวันออก ศูนย์แจ้งเตือนพายุหมุนเขตร้อนระดับอนุภูมิภาคในมาดากัสการ์จะเป็นผู้กำหนดชื่อที่เหมาะสมของพายุลูกนั้น

รายชื่อใหม่จะใช้เป็นประจำทุกปี ในขณะที่ชื่อปกติจะใช้เพียงครั้งเดียวจึงไม่มีการปลดชื่อออก[17] ซึ่งรายชื่อในปี 2558 - 2559 ยังไม่ได้รับการคัดเลือก[18]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในภูมิภาคออสเตรเลีย (90° ตะวันออก ถึง 160° ตะวันออก)[แก้]

ในภูมิภาคออสเตรเลียในซีกโลกใต้ อยู่ระหว่าง 90° ตะวันออก ถึง 160° ตะวันออก พายุหมุนเขตร้อนจะได้รับการใช้ชื่อเมื่อได้รับการสังเกตการณ์ และ/หรือ วิเคราะห์ความรุนแรง ว่าพายุมีลมแรงใกล้ศูนย์กลาง ซึ่งจะได้รับการคาดการณ์ต่อไป[6] สำหรับอินโดนีเซียโดยสำนักอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศและธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย จะตั้งชื่อพายุที่ก่อตัวระหว่างเส้นศูนย์สูตรถึง 10° ใต้ และระหว่าง 90° ตะวันออก ถึง 141° ตะวันออก ในขณะที่สำนักงานบริการสภาพอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกีนี จะตั้งชื่อพายุที่พัฒนาระหว่างเส้นศูนย์สูตรถึง 10° ใต้ และระหว่าง 141° ตะวันออก ถึง 160° ตะวันออก[6] นอกเหนือจากพื้นที่เหล่านี้ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งออสเตรเลีย จะเป็นผู้ตั้งชื่อหากมีพายุไซโคลนเกิดขึ้น[6] ซึ่งพายุที่ได้รับดารตั้งชือและเป็นพายุที่ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และ/หรือ ความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญและการหยุดชะงักลงของวิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การปลดของชื่อพายุนั้นๆ[6] และจะมีการส่งชื่อใหม่ไปให้องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพายุหมุนเขตร้อน[6][19]

อินโดนีเซีย[แก้]

รายชื่อเอ อังเกรก
(Anggrek)
บากุง
(Bakung)
เซ็มปากา
(Cempaka)
ดาห์เลีย
(Dahlia)
ฟลัมโบยัน
(Flamboyan)
เคนันงา
(Kenanga)
ลีลี
(Lili)
มักกา
(Mangga)
เซโรจา
(Seroja)
เทราไท
(Teratai)
รายชื่อบี อังกูร์
(Anggur)
เบลิมบิง
(Belimbing)
ดูกู
(Duku)
จัมบู
(Jambu)
เล็งเก็ง
(Lengkeng)
เมลาที
(Melati)
นังกา
(Nangka)
ปีซาง
(Pisang)
รัมบูทัน
(Rambutan)
ซาโว
(Sawo)
ข้อมูลสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[6][20]

ถ้าพายุก่อตัวระหว่างเส้นศูนย์สูตรถึง 10° ใต้ และระหว่าง 90° ตะวันออก ถึง 141° ตะวันออก มันจะได้รับการตั้งชื่อโดยสำนักอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศและธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย (BMKG/TCWC จาการ์ตา)[6] โดยจะใช้ตามลำดับจากรายชื่อเอ ในขณะที่รายชื่อบี จะมีการทำไปแทนรายชื่อในรายการรายชื่อเอ ซึ่งอาจจะมีการปลด ลบออก หรือด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม[6] โดนชื่อต่อไปที่จะถูกใช้ในพื้นที่นี้คือ เซ็มปากา

ปาปัวนิวกินี[แก้]

รายชื่อเอ อาลู
(Alu)
บูรี
(Buri)
โดโด
(Dodo)
อีมัว
(Emau)
เฟเร
(Fere)
ฮีบู
(Hibu)
อีลา
(Ila)
กามา
(Kama)
โลบู
(Lobu)
ไมลา
(Maila)
รายชื่อบี โนอู
(Nou)
โอบาฮา
(Obaha)
ปาอัย
(Paia)
รานู
(Ranu)
ซาบี
(Sabi)
ทาอู
(Tau)
อูเม
(Ume)
วาลี
(Vali)
วาอู
(Wau)
อูรัม
(Auram)
ข้อมูลสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[6]

ถ้าพายุก่อตัวระหว่างศูนย์สูตรถึง 10° ใต้ และระหว่าง 141° ตะวันออก ถึง 160° ตะวันออก มันจะถูกตั้งชื่อโดยสำนักงานบริการสภาพอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกีนี (NWS, TCWC พอร์ต โมเรสบี)[6] รายชื่อที่ได้ใช้ในรายชื่อเอและจะได้รับการปลดโดยอัตโนมัติหลังจากใช้งาน โดยไม่มีการคำนึงถึงความเสียหายหรือผลที่เกิดจากพายุ[6] รายชื่อบี จะมีการทำไปแทนรายชื่อในรายการรายชื่อเอ ซึ่งอาจจะมีการปลด ลบออก หรือด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม[6]

ออสเตรเลีย[แก้]

พายุไซโคลนกำลังแรงบรูซคือพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่มีการคงชื่อไว้เมื่อมันเคลื่อนตัวไปยังแอ่งมหาสมุทรอินเดียใต้-ตะวันตก

เมื่อมีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขี้นที่ต่ำกว่า 10° ใต้ และระหว่าง 90° ตะวันออก ถึง 160° ตะวันออก มันจะได้รับการตั้งชื่อโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งออสเตรเลีย (BoM) ซึ่งดำเนินการโดยสามศูนย์เตือนภัยพายุไซโคลนเขตร้อนใน เพิร์ท, ดาร์วิน หรือ บริสเบน[6] ชื่อที่ใช้ได้รับมอบหมายตามลำดับตัวอักษร และใช้หมุนเวียนโดยไม่คำนึงถึงปี[6][19] โดยชื่อต่อไปที่จะถูกใช้คือสแตน

อานีกา
(Anika)
บิลลี
(Billy)
ชาร์ลอต
(Charlotte)
โดมินิก
(Dominic)
เอลลี
(Ellie)
เฟรดดี
(Freddy)
กาบรีล
(Gabrielle)
เฮอร์มัน
(Herman)
อิลซา
(Ilsa)
แจสเปอร์
(Jasper)
คีร์รีลี
(Kirrily)
ลินโคลน
(Lincoln)
เมแกน
(Megan)
เนวีล
(Neville)
โอลกา
(Olga)
พอล
(Paul)
โรบิน
(Robyn)
แซน
(Sean)
ทาซา
(Tasha)
วินซ์
(Vince)
เซเลีย
(Zelia)
------
แอนโทนี
(Anthony)
เบียนกา
(Bianca)
เคาร์ทนี
(Courtney)
เดียน
(Dianne)
เอร์รอล
(Errol)
ฟีนา
(Fina)
แกรนท์
(Grant)
เฮย์เลย์
(Hayley)
อิกกี
(Iggy)
เจนนา
(Jenna)
โคจี
(Koji)
ลัวนา
(Luana)
มิทแชลล์
(Mitchell)
นาแรลล์
(Narelle)
โอซามู
(Osamu)
เพตา
(Peta)
รูบีนา
(Rubina)
ซันดรา
(Sandra)
ทิม
(Tim)
วิคตอเรีย
(Victoria)
แซน
(Zane)
------
เอเลสเซีย
(Alessia)
บรูซ
(Bruce)
แคทเทอรีน
(Catherine)
ไดลัน
(Dylan)
เอ็ดนา
(Edna)
เฟลตเชอร์
(Fletcher)
กีลเลียน
(Gillian)
ฮาดี
(Hadi)
ไอวานา
(Ivana)
แจ็ค
(Jack)
เคท
(Kate)
ลัม
(Lam)
มาร์เซีย
(Marcia)
นาทาน
(Nathan)
โอลวิน
(Olwyn)
แควง
(Quang)
ราเควล์
(Raquel)
สแตน
(Stan)
ทาเทียนา
(Tatiana)
อูเรียห์
(Uriah)
เวตเต
(Yvette)
------
อัลเฟรด
(Alfred)
บลันเช
(Blanche)
เซเลบ
(Caleb)
เดบบี
(Debbie)
เอร์นี
(Ernie)
ฟรันเซส
(Frances)
เกรก
(Greg)
ฮิลดา
(Hilda)
ไอโซเบล
(Isobel)
จอยซ์
(Joyce)
เคลวิน
(Kelvin)
ลินดา
(Linda)
มาร์คัส
(Marcus)
โนรา
(Nora)
โอเวน
(Owen)
เพนนี
(Penny)
รีเลย์
(Riley)
ซาวันนาฮ์
(Savannah)
ทรีโวร์
(Trevor)
เวโรนีกา
(Veronica)
วัลเลซ
(Wallace)
------
แอน
(Ann)
บลาค
(Blake)
คลัวเดีย
(Claudia)
ดาเมียน
(Damien)
เอสเทอร์
(Esther)
เฟอร์ดีนานด์
(Ferdinand)
เกรเทล
(Gretel)
ฮาโรลด์
Harold)
ไอมอเกน
(Imogen)
โจชัว
(Joshua)
กีมี
(Kimi)
ลูคัส
(Lucas)
มาเรียน
(Marian)
โนอาห์
(Noah)
โอเดตเต
(Odette)
แพดดี
(Paddy)
รูบี
(Ruby)
เซท
(Seth)
ทิฟฟานี
(Tiffany)
เวอร์นอน
(Vernon)
------ -----
ข้อมูลสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[6][19]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ (160° ตะวันออก ถึง 120° ตะวันตก)[แก้]

พายุไซโคลนแพม ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 เป็นพายุที่รุนแรงที่สุดตามความเร็วลมที่ได้รับการบันทึก

ภายในแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ในซีกโลกใต้ระหว่าง 160° ตะวันออก ถึง 120° ตะวันตก พายุหมุนเขตร้อนจะได้รับการใช้ชื่อเมื่อได้รับการสังเกตการณ์ และ/หรือ วิเคราะห์ความรุนแรง ว่าพายุมีลมแรงใกล้ศูนย์กลาง ซึ่งจะได้รับการคาดการณ์ต่อไป[6] ศูนย์บริการอุตุนิยมวิทยาฟิจิ (FMS/RSMC นาดี) จะตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนระหว่างเส้นศูนย์สูตรถึง 25° ใต้ ในขณะที่สำนักบริการอุตุนิยมวิทยานิวซีแลนด์ (MetService, TCWC เวลลิงตัน) จะเป็นผู้ตั้งชื่อ ซึ่งเป็นรายชื่อที่ใช้ร่วมกับ RSMC นาดี[6] ซึ่งพายุที่ได้รับดารตั้งชือและเป็นพายุที่ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และ/หรือ ความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญและการหยุดชะงักลงของวิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การปลดของชื่อพายุนั้นๆ[6] และจะมีการส่งชื่อใหม่ไปให้องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพายุหมุนเขตร้อน[6] ชื่อของพายุหมุนเขตร้อนจะถูกใช้ตั้งแตารายการเอ ถึง ดี ตามลำดับ โดยไม่ต้องย้อนกลับเริ่มต้นใช้รายชื่อเอใหม่ เมื่อเริ่มปีต่อไป[6] ชื่อพายุต่อไปคือทูนี

รายชื่อเอ อานา
(Ana)
บีนา
(Bina)
โคดี
(Cody)
โดวี
(Dovi)
เอวา
(Eva)
ฟิลิ
(Fili)
จีนา
(Gina)
เฮการ์
(Hagar)
ไอรีน
(Irene)
จูดี
(Judy)
เคอร์รี
(Kerry)
โลลา
(Lola)
มัล
(Mal)
นัต
(Nat)
โอโล
(Olo)
พิตา
(Pita)
ราเอ
(Rae)
เชเอลา
(Sheila)
แทม
(Tam)
อูร์มิล
(Urmil)
ไวอานู
(Vaianu)
วาตี
(Wati)
ซาเวียร์
(Xavier)
ยานี
(Yani)
ซีตา
(Zita)
รายชื่อบี อูร์เทอร์
(Arthur)
เบคกี
(Becky)
ชิป
(Chip)
เดเนีย
(Denia)
เอลิซา
(Elisa)
โฟทู
(Fotu)
เกลน
(Glen)
เฮตตี
(Hettie)
อินนิส
(Innis)
โจนี
(Joni)
เคน
(Ken)
ลิน
(Lin)
โมเซส
(Moses)
นิชา
(Nisha)
โอเปตี
(Opeti)
เพียร์ล
(Pearl)
รีน
(Rene)
ซาราฮ์
(Sarah)
ทรอย
(Troy)
------ วาเนซซา
(Vanessa)
วาโน
(Wano)
------ ยวอน
(Yvonne)
ซากา
(Zaka)
รายชื่อซี อัลวิน
(Alvin)
บูเน
(Bune)
ไครีล
(Cyril)
แดพพีน
(Daphne)
เอเดน
(Eden)
ฟลอรีน
(Florin)
แกร์รี
(Garry)
ฮาเลย์
(Haley)
ไอซา
(Isa)
จูน
(June)
โคฟี
(Kofi)
ลูอิส
(Louise)
ไมค์
(Mike)
นีโก
(Niko)
โอลา
(Ola)
แพม
(Pam)
รัวเบน
(Reuben)
โซโล
(Solo)
ทูนี
(Tuni)
อูลา
(Ula)
วิคตอร์
(Victor)
วินสตัน
(Winston)
------ ยาโล
(Yalo)
เซนา
(Zena)
รายชื่อดี อามอส
(Amos)
บาร์ท
(Bart)
โคลิน
(Colin)
ดอนนา
(Donna)
เอลลา
(Ella)
แฟรงก์
(Frank)
กีตา
(Gita)
ฮาลี
(Hali)
ไอริส
(Iris)
โจ
(Jo)
กาลา
(Kala)
เลโอ
(Leo)
โมนา
(Mona)
เนล
(Neil)
โอมา
(Oma)
ปามี
(Pami)
ริตา
(Rita)
ซาไร
(Sarai)
ตีโน
(Tino)
------ วิคกี
(Vicky)
วิกิ
(Wiki)
------ โยลันเด
(Yolande)
ซาซู
(Zazu)
รายชื่ออี
(เตรียม)
อารู
(Aru)
เบลา
(Bela)
คุก
(Cook)
ดีน
(Dean)
เอเดน
(Eden)
ฟลอรีน
(Florin)
เกรท
(Garth)
ฮาร์ท
(Hart)
ไอซา
(Isa)
จูลี
(Julie)
เควิน
(Kevin)
ลูอิส
(Louise)
เมีย
(Mia)
------ ------ พิลิ
(Pili)
เร็กซ์
(Rex)
ซูกี
(Suki)
ทาซี
(Tasi)
อูไรอา
(Uraia)
เวลมา
(Velma)
วานิตา
(Wanita)
------ ยาเทส
(Yates)
ซีดีน
(Zidane)
ข้อมูลสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[6][21]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้[แก้]

เมื่อมีพายุหมุนเกิดขึ้นในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ ศูนย์ไฮโดรกราฟิกทางทะเลบราซิลของศูนย์บริการอุตุนิยมวิทยามารินโฮ จะเป็นผู้ใช้ชื่อโดยใช้ระบรายชื่อที่กำหนดไว้[7] ชื่อต่อไปที่จะใช้คือ เดนี[7]

อารานี
(Arani)
บาโป
(Bapo)
การี
(Cari)
เดนี
(Deni)
เอไซ
(Eçaí)
งัวรา
(Guará)
อีบา
(Iba)
จากัวร์
(Jaguar)
แกมบี
(Kamby)
มานี
(Mani)
ข้อมูลสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. RA IV Hurricane Committee (March 13, 2015). Regional Association IV (North America, Central America and the Caribbean) Hurricane Operational Plan 2014 (Report No. TCP-30). World Meteorological Organization. pp. 30–31, 101–105. https://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/OPERATIONALPLAN2014_en_final.pdf. เรียกข้อมูลเมื่อ March 28, 2015. 
  2. WMO/ESCP Typhoon Committee (March 13, 2015). Typhoon Committee Operational Manual Meteorological Component 2015 (Report No. TCP-23). World Meteorological Organization. pp. 40–41. https://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/TCP-23EDITION2015.pdf. เรียกข้อมูลเมื่อ March 28, 2015. 
  3. http://www.typhoon2000.ph/tcterm.htm#P
  4. RSMC — Tropical Cyclones New Delhi (2010). Report on Cyclonic Disturbances over North Indian Ocean during 2009. India Meteorological Department. pp. 2–3. Archived from the original on April 5, 2010. http://www.webcitation.org/5om5T4KLY. เรียกข้อมูลเมื่อ May 24, 2011. 
  5. RA I Tropical Cyclone Committee (November 9, 2012). Tropical Cyclone Operational Plan for the South-West Indian Ocean: 2012 (Report No. TCP-12). World Meteorological Organization. pp. 13–14. Archived from the original on March 29, 2015. https://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/TCP-12-WMO-TD-577-rev-2012_121495_en.pdf. เรียกข้อมูลเมื่อ March 29, 2015. 
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 6.13 6.14 6.15 6.16 6.17 6.18 6.19 6.20 6.21 6.22 RA V Tropical Cyclone Committee (5 May 2015) (PDF). List of Tropical Cyclone Names withdrawn from use due to a Cyclone's Negative Impact on one or more countries (Tropical Cyclone Operational Plan for the South-East Indian Ocean and the Southern Pacific Ocean 2014). World Meteorological Organization. pp. 2B-1 - 2B-4 (23 - 26). https://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/TCP24_RAVOpPlan_2014_final.pdf. เรียกข้อมูลเมื่อ 6 May 2015. 
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Normas Da Autoridade Marítima Para As Atividades De Meteorologia Marítima" (ใน Portuguese). Brazilian Navy. 2011. Archived from the original on 6 February 2015. สืบค้นเมื่อ 6 February 2015. 
  8. http://www.tmd.go.th/programs%5Cuploads%5Ccyclones%5Ctcnamelist_up.pdf เปลี่ยนคำบัญญัติภาษาไทย ตามราชบัณฑิตยสถาน และกรมอุตุนิยมวิทยา (วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557)
  9. 9.0 9.1 "Philippine Tropical cyclone names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. 2012-06-16. Archived from the original on 2012-06-17. สืบค้นเมื่อ 2012-06-17. 
  10. "Tropical cyclone names". Met Office — UK National Weather Service. สืบค้นเมื่อ 22 October 2013. 
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 Unattributed (2010-06-01). "RA IV Hurricane Operational Plan for North America, Central America and the Caribbean Hurricane Operational Plan" (PDF). Regional Association IV Hurricane Committee. World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 2010-09-25. 
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 Unattributed. "Frequently asked questions: B: Tropical Cyclone Names". Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory. National Oceanic and Atmospheric Administration. 
  13. Unattributed (2006-04-04). "RA IV Hurricane Committee Twenty-eighth Session report". Regional Association IV Hurricane Committee. World Meteorological Organization. Archived from the original on 2010-09-24. สืบค้นเมื่อ 2010-09-24. 
  14. http://www.tmd.go.th/programs%5Cuploads%5Ccyclones%5Ctcnamelist_up.pdf เปลี่ยนคำบัญญัติภาษาไทย ตามราชบัณฑิตยสถาน และกรมอุตุนิยมวิทยา (วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557)
  15. Unattributed (2010). "Tropical Cyclone Operational Plan for the Bay of Bengal and the Arabian Sea". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 2011-07-02. 
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reunion_Names
  17. Unattributed (2010). "Tropical Cyclone Operational Plan for the South-West Indian Ocean (2010)" (PDF). Regional Association I Tropical Cyclone Committee. World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 2011-07-05. 
  18. http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmrs9.0/anglais/activiteope/liste_noms.html
  19. 19.0 19.1 19.2 "Tropical Cyclone Names". Australian Bureau of Meteorology. 2014. สืบค้นเมื่อ November 14, 2014. 
  20. "Cyclone Names". Badan Meteorologi, Klimatologi, dan Geofisika. Archived from the original on March 16, 2015. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015. 
  21. RA V Tropical Cyclone Committee (2011) (ในภาษาFrench). Plan d'operations convernant les cyclones tropicaux dans le pacifique sud et le sudest de l'oc'ean Indien 2010 (รายงาน). World Meteorological Organization. pp. 21. http://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/TD-292_TCP-24_2010_fr.pdf. เรียกข้อมูลเมื่อ 2011-06-11.