นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
25 กันยายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2518 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ก่อนหน้า ประกายเพชร อินทุโสภณ
ถัดไป เสริมศักดิ์ เทพาคำ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด พ.ศ. 2463
เสียชีวิต พ.ศ. 2536
พรรคการเมือง ประชาธิปัตย์
คู่สมรส อินทิรา ชาลีจันทร์
ศาสนา พุทธ

นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ (พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2536 [1]) อดีตเสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา [2] อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี [3] และรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วย ในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ช่วง พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2519 อีกทั้งยังเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกที่ไม่ได้เป็นทหาร

ประวัติ[แก้]

นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ มีชื่อเล่นว่า "จ้อย"เป็นบุตรคนที่ 4 ของ พันโท พระโสภิณพินิจ (ลัง ชาลีจันทร์) กับ ท่านผูหญิงโสภิณพินิจ(บึ้ง ชาลีจันทร์) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2463 มีพี่น้อง 9 คน เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมตอนต้นศึกษาที่ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และจบชั้นมัธยมตอนปลายศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ [4] แล้วเดินทางไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านธรณีวิทยาที่สหรัฐอเมริกา จากนั้นเข้ารับราชการจนตำแหน่งสุดท้ายเป็นเลขาธิการสำนักงานพลังงานแห่งชาติ [5] เคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) ชุดแรก เมื่อ พ.ศ. 2505 [6]

นายนิธิพัฒน์สมรสกับ นางอินทิรา อินทรทูต บุตรสาวของพระพินิจชนคดี อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กับหม่อมหลวงอรุณ สนิทวงศ์ มีบุตรชายคือ นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์

งานการเมือง[แก้]

นายนิธิพัฒน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[7] และลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2517 และเข้าทำงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมทั้งลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตบางกอกใหญ่ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 35 และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[8][5] นับเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกของประเทศไทย ที่ไม่ได้เป็นทหาร แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

บั้นปลายของชีวิต[แก้]

หลังจากพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 นายนิธิพัฒน์หันไปทำธุรกิจส่วนตัว และดูแลกิจการธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูลภรรยา และนายนิธิพัฒน์ ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2536 รวมอายุ 73 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ และคณะ. ปิยานุสรณ์. กรุงเทพฯ : ที่ระลึกในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2537, 2537. 378 หน้า. , 378 หน้า
  2. จากบทความ"เสรีไทย"
  3. รายนามเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี
  4. หอเชิดชูเกียรติยศนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์
  5. 5.0 5.1 การดิ้นรนครั้งสุดท้ายของ ROTHCHILD ไทยนาม "อินทรทูต"!? นิตยสารผู้จัดการ, พฤษภาคม 2529
  6. วสท. ผู้ก่อกำเนิด สภาวิศวกร บทความโดย ดร.สุขุม สุขพันธ์โพธาราม อุปนายก วสท.
  7. พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 85 ตอนที่ 122 วันที่ 31 ธันวาคม 2511
  10. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า