สิปปนนท์ เกตุทัต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิปปนนท์ เกตุทัต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
18 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 23 กันยายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้า นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ถัดไป พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้า นายประมวล สภาวสุ
ถัดไป นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524
นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้า นายแพทย์บุญสม มาร์ติน
ถัดไป ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474
ประเทศไทย
เสียชีวิต 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 (75 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรส นางเอมิลี แอนน์ เกตุทัต (คเลเวนเจอร์)
ศาสนา พุทธ
ภาพในงานวันฉลอง 72 ปี ที่สยามสมาคม วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต (23 กุมภาพันธ์ 2474[1]16 กรกฎาคม 2549) ราชบัณฑิตกิตตมศักดิ์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ทีมีคุณูปการต่อวงการศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และการพัฒนาประเทศไทยในภาพรวม ท่านเป็นผู้บุกเบิกหลายสิ่งในประเทศ ที่เป็นรากฐานทำให้เกิดองค์กรและโครงการที่ช่วยในการยกระดับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษา ของประเทศมาโดยลำดับ ท่านมีผลงานเขียน ที่จุดประกายให้เยาวชนไทย และผู้บริหารการพัฒนาประเทศได้ใช้นำทางจำนวนมาก และในวาระที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท่านได้กราบทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเพื่อนำเอา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เวลา 13:08 น. ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยโรคมะเร็งในกระดูก รวมอายุ 75 ปี

ประวัติ[แก้]

ศาสตราจารย์ ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต เป็นบุตรของ นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต (ทิพย์ เกตุทัต) และคุณหญิงถนอม ทะยานพิฆาต เกตุทัต (ถนอม ภมรสูต) และสมรสกับนางเอมิลี แอนน์ เกตุทัต (นามสกุลเดิม คเลเวนเจอร์) อดีตเลขานุการ สภาสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) โดยมีบุตรธิดา ดังนี้

  • นายโทนิทิพย์ เกตุทัต สมรสกับ น.ส.เบ็ทซี โอลสัน มีบุตร
    • นางสาว นารีทร เกตุทัต
  • รองศาสตราจารย์ ดร.มารินา เกตุทัต คาร์นส์ รองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สมรสกับ ศาสตราจารย์ ดร.เจมส์ คาร์นส์ มีบุตร
    • นางสาว เอมิลิน เกตุทัต คาร์นส์
    • ด.ญ.เจมินา เกตุทัต คาร์นส์
  • นาง ธาริสา เกตุทัต อดีตผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป ร้านภูฟ้า โครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมรส กับ นาย โมฮัมมัด อาทีฟ มาจีด มีบุตร
    • ด.ช.โอเมอร์ ไฮเดอร์

การศึกษา[แก้]

ได้รับทุนรัฐบาล (คุรุสภา) ไปศึกษาวิชาฟิสิกส์เป็นเวลา 9 ปี ตั้งแต่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2492 จนถึง 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โท และเอก

ประสบการณ์ ผลงาน และตำแหน่งต่างๆที่สำคัญ[แก้]

ศ. ดร. สิปปนนท์ มีประสบการณ์และผลงานหลายด้าน และดำรงตำแหน่งที่สำคัญทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งกิจกรรมด้านสังคมจำนวนมาก ได้แก่

ตำแหน่งด้านวิชาการ[แก้]

  • พ.ศ. 2501-2514 อาจารย์ตรี-รองศาสตราจารย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2514-2518 ศาสตราจารย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2524-2527 ศาสตราจารย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2530 ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานภาครัฐและการศึกษาของไทย[แก้]

งานภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม[แก้]

  • ผู้จัดการใหญ่ บริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (2527-2534)
  • ประธานกรรมการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (2535-2537)
  • ประธานกรรมการบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (2535-2537)
  • ประธานกรรมการบริษัทไทยโอเลฟินส์ จำกัด (2535-2537)
  • ประธานกรรมการบริษัทอะโรเมติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (2535-2537)
  • กรรมการ Asian Development Research Forum, International Development Research Center
  • ประธานกรรมการบริษัท เอ็ฟเฟ็กทีฟ แพลนเนอร์
  • ประธานกรรมการ บริษัทเงินทุนบุคคลัภย์จำกัด (มหาชน)
  • ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • ประธานกรรมการบริษัทซิสเต็มลิตเติ้ลเฮ้าส์จำกัด Bangkok International Preperatory & Secondary School

งานด้านการเมือง[แก้]

งานด้านสังคม[แก้]

  • กรรมการสภาสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)
  • กรรมการมูลนิธิไทยคม
  • ประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ประธานกรรมการทุนการศึกษาธนาคารสุมิโตโม-ซากุระ ประเทศไทย
  • ประธานกรรมการมูลนิธิดำรง ลัทธพิพัฒน์
  • ประธานกรรมการมูลนิธิโทเรเพื่อส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย
  • ประธานกรรมการมูลนิธิอีริคสัน (ประเทศไทย)
  • รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิควิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาใน พระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.)
  • ประธานกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมการสมาคมฮาร์วาร์ด ประเทศไทย
  • ที่ปรึกษา คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
  • กรรมการทุนการศึกษาเครือเจริญโภคภัณฑ์

งานระดับนานาชาติ[แก้]

  • รองผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาแห่ง เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีเมส) (2515-2517)
  • กรรมการสภาสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียและกรรมการบริหาร (2518-2524)
  • กรรมการสภาการศึกษาและพัฒนานานาชาติ นิวยอร์ก (2518-2529)
  • ประธานสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาและคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ สิงคโปร์ (2521-2524)
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยออโตโนมัส กัวดาลาฮารา เม็กซิโก (2521-2527)
  • กรรมการสถาบันวางแผนการศึกษานานาชาติ องค์การยูเนสโก (2523-2530)
  • กรรมการสมาคมเอเซีย (2531-2536)
  • กรรมการสถาบันนานาชาติเพื่อการศึกษา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (2534-2536)
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (2532-2537)

งานด้านให้คำปรึกษาแนะนำ[แก้]

  • กรรมการ คณะที่ปรึกษาด้านการศึกษา ธนาคารโลก (2520-2521)
  • กรรมการ คณะที่ปรึกษาด้านการวางแผนพัฒนาการศึกษา มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (2522-2524)
  • ที่ปรึกษาด้านนโยบายวางแผนการศึกษาและพัฒนา องค์การพัฒนานานาชาติแห่งคานาดา (2525)
  • ที่ปรึกษาด้านการศึกษาและการพัฒนาสังคมพื้นที่บริเวณชาย ฝั่งทะเลตะวันออก (2525)
  • ประธานคณะกรรมการการประเมินผลความร่วมมือระหว่างยูเนสโกและธนาคารโลกด้านการศึกษา (2526-2527)
  • ที่ปรึกษาด้านการวางแผน กระทรวงวางแผน คูเวต (2542)

ประสบการณ์อื่นๆ ในต่างประเทศ[แก้]

  • ร่วมในคณะผู้แทนไทยและเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการไปประชุมนานาชาติด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม อุตสาหกรรม และการพัฒนา เป็นจำนวนมากกว่ายี่สิบครั้ง (2508-2544)
  • ศึกษา วิจัย ดำเนินงาน ดูงาน ประชุมวิชาการ รวมทั้งทัศนศึกษา (2492-2544) รวมทั้งสิ้นประมาณ 60 ประเทศ ดังนี้คือ
    • แถบอาเซีย: มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินล์ ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม ฮ่องกง มาเก๊า สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา
    • แถบโอเชียเนีย: ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี
    • แถบตะวันออกกลาง: บาห์เรน สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรต คูเวต การ์ตา ซีเรีย อิสราเอล
    • แถบยุโรป: นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ รัสเซีย ตุรกี เยอรมนี สาธารณรัฐเชค สาธารณรัฐสโลวัค ออสเตรีย ฮังการี อังกฤษ ยูโกสลาเวีย สวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส สเปน เบลเยี่ยม กรีซ ลักเซมเบิร์ก เนเทอแลนด์ โปรตุเกส
    • แถบแอฟริกา: อียิปต์ เคนยา ทานซาเนีย แอฟริกาใต้
    • แถบอเมริกา: สหรัฐอเมริกา คานาดา เม็กซิโก ปอร์เตอริโก บราซิล เวเนซูเอล่า อาร์เจนตินา พารากวัย

ผลงานวิจัย บทความวิชาการ และหนังสือ[แก้]

(รวบรวมถึง 31 มีนาคม 2545)

  • เอกสารที่ตีพิมพ์เป็นภาษาไทย รวม 225 เรื่อง ซึ่งเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา เทคโนโลยี วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สังคมสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา การวิจัยปิโตรเคมี อุตสาหกรรม การจัดการ รวมทั้งหนังสือโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษา
  • รายชื่อหัวข้อเอกสารที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ รวม 100 เรื่อง ซึ่งเกี่ยวกับด้านการวิจัยทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์และฟิสิกส์ว่าด้วยของแข็ง ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

รางวัลและเกียรติคุณ[แก้]

  • พ.ศ. 2492-2501 ได้รับทุนรัฐบาล (คุรุสภา) ไปศึกษา ณ สหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาตรี โท เอก และหลังปริญญาเอก
  • พ.ศ. 2518 นักการศึกษาดีเด่น สมาคมการศึกษาไทย
  • พ.ศ. 2537 นักเรียนรัฐบาลดีเด่น สมาคมนักเรียนรัฐบาลไทย
  • พ.ศ. 2538 ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
  • พ.ศ. 2538 รางวัลมหิดลวิทยานุสรณ์
  • พ.ศ. 2539 รางวัลบุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาสังคม คณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ
  • พ.ศ. 2540 นักวิทยาศาสตร์อาวุโสดีเด่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2548 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาฟิสิกส์[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ได้รับ

ปริญญากิตติมศักดิ์[แก้]

ปริญญากิตติมศักดิ์ที่ได้รับ

อ้างอิง[แก้]

  1. ศูนย์สนเทศและหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ประวัติของศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ราชบัณฑิต
  2. พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย)เล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศาสตราจารย์ประเวศ วะสี, ศาสตราจารย์สิปปนนท์ เกตุทัต)
  8. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐ เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๙ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖ เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]