เล็ก แนวมาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเอก เล็ก แนวมาลี
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2520
นายกรัฐมนตรี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ก่อนหน้า พลเรือเอก สงัด ชลออยู่
ถัดไป พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521
นายกรัฐมนตรี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ก่อนหน้า พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ถัดไป ประเทือง กีรติบุตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520
นายกรัฐมนตรี ธานินทร์ กรัยวิเชียร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 24 มกราคม พ.ศ. 2466
เสียชีวิต 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545
คู่สมรส ถวิล แนวมาลี
บุตร พลอากาศเอก อมร แนวมาลี
ศาสนา พุทธ
การเข้าเป็นทหาร
สังกัด กองทัพบกไทย
ยศ Thai army O9.png พลเอก

พลเอก เล็ก แนวมาลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย

ประวัติ[แก้]

พลเอก เล็ก แนวมาลี เกิดเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2466 สมรสกับคุณหญิงถวิล แนวมาลี มีบุตรคือพลอากาศเอก อมร แนวมาลี[1] พลเอก ถวิล ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 รวมอายุ 79 ปี ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว

งานการเมือง[แก้]

พลเอก เล็ก แนวมาลี ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียรเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 39[2][3] และพ้นจากตำแหน่งไปหลังการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 40 รัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[4] เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ได้มีการปรับย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[5] และดำรงตำแหน่งเรื่อยมาในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 41 และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 และพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 หลังจากที่พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ลาออก[6]

เล็ก แนวมาลี เคยร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองกับพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2525 และได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาพรรคชาติประชาธิปไตย[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.
  2. คณะรัฐมนตรีคณะที่ 39 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๗ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  5. คณะรัฐมนตรีคณะที่ 40 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  6. คณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองเล่ม 99 ตอนที่ 154 วันที่ 20 ตุลาคม 2525
  8. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
  9. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า