ไสว พัฒโน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไสว พัฒโน
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2536 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 23 กันยายน พ.ศ. 2536
นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2471 (86 ปี)
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
พรรคการเมือง ประชาธิปัตย์
คู่สมรส นางละเอียด พัฒโน

นายไสว พัฒโน (เกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2471) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 8 สมัย

ประวัติ[แก้]

ไสว พัฒโน เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2471 เป็นบุตรของนายจันทร กับนางสิงขร พัฒโน พัฒโนสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสกับนางละเอียด พัฒโน (สกุลเดิม ทองเลิศ) มีบุตรชาย คือ นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่

งานการเมือง[แก้]

อดีตประกอบอาชีพทนายความ และเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด 2 สมัย ก่อนที่จะได้รับการชักชวนโดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ให้มาลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2518 แต่ในครั้งต่อมา (พ.ศ. 2519) ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และกลับมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2522 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะวางมือทางการเมือง เนื่องจากปัญหาสุขภาพ [1]

ไสว พัฒโน ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2529 ต่อมาได้รับเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 16 และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2535[2] และต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 เขาได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[3] แทนนายสุวิทย์ คุณกิตติ ซึ่งถูกปรับออกจากตำแหน่ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ไสว พัฒโน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]