โรเจอร์ เฟเดอเรอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
โรเจอร์ เฟเดอเรอร์
R federer.jpg
ประเทศธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
ถิ่นพำนักรัฐบาเซิล-ลันท์ชัฟท์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
วันเกิด08 สิงหาคม ค.ศ. 1981 (39 ปี)
บาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ส่วนสูง1.85 เมตร (6 ฟุต 1 นิ้ว)[1]
เทิร์นโปร1998
การเล่นมือขวา
เงินรางวัล129,946,683 ดอลลาร์สหรัฐ
Official websiterogerfederer.com
เดี่ยว
สถิติอาชีพแม่แบบ:Tennis record
รายการอาชีพที่ชนะ103 (2nd in the Open Era)
อันดับสูงสุดNo. 1 (2 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2004)
อันดับปัจจุบันNo. 3 (6 พฤษภาคม 2562)[2]
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว
ออสเตรเลียนโอเพนW (2004, 2006, 2007, 2010, 2017, 2018)
เฟรนช์โอเพนW (2009)
วิมเบิลดันW (2003, 2004, 2005, 2006, 2007, 2009, 2012, 2017)
ยูเอสโอเพนW (2004, 2005, 2006, 2007, 2008)
Other tournaments
Tour FinalsW (2003, 2004, 2006, 2007, 2010, 2011)
Olympic GamesF (2012)
คู่
สถิติอาชีพแม่แบบ:Tennis record
รายการอาชีพที่ชนะ8
อันดับสูงสุดNo. 24 (9 มิถุนายน ค.ศ.2003)
ผลแกรนด์สแลมคู่
ออสเตรเลียนโอเพน3R (2003)
เฟรนช์โอเพน1R (2000)
วิมเบิลดันQF (2000)
ยูเอสโอเพน3R (2002)
Other Doubles tournaments
Olympic GamesW (2008)
Team Competitions
Davis CupW (2014)
Hopman CupW (2001, 2018, 2019)
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 30 มกราคม 2563

โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ (เยอรมัน: Roger Federer; เกิดวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1981 ที่เมืองบาเซิล) เป็นนักเทนนิสอาชีพชาวสวิสมือวางอันดับ 7 ของโลกคนปัจจุบัน และเป็นผู้เล่นที่ได้รับการยกย่องว่าเก่งที่สุดตลอดกาล เจ้าของสถิติแชมป์รายการแกรนด์สแลมสูงสุด 20 สมัย (สถิติร่วมกับราฟาเอล นาดัล) เขาขึ้นสู่ตำแหน่งมือวางอันดับ 1 ของโลกครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ยาวนานต่อเนื่องจนถึง วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2008 รวมเป็นระยะเวลา 237 สัปดาห์ติดต่อกันซึ่งถือเป็นสถิติการครองอันดับหนึงที่ติดต่อกันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์และเป็นผู้เล่นที่ครองตำแหน่งมือวางอันดับหนึ่งของโลกด้วยจำนวนสัปดาห์รวมที่สูงที่สุดเป็นอันดับสองตลอดกาลรวมทั้งสิ้น 310 สัปดาห์ เขายังเป็นหนึ่งในสี่ผู้เล่นอาชีพที่ทำสถิติคว้าชัยชนะมากกว่า 1,000 แมตช์ในการแข่งขันประเภทชายเดี่ยว รวมถึงการทำสถิติในการคว้าแชมป์รายการ เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ ไฟนอล สูงที่สุดจำนวน 6 สมัยและสถิติการคว้าแชมป์แกรนด์สแลมวิมเบิลดันสูงที่สุดถึง 8 สมัย เขายังเป็นเจ้าของสถิติการเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมติดต่อกันถึง 10 รายการและเข้าถึงรอบรองชนะเลิศติดต่อกัน 23 รายการ รวมทั้งสถิติโลกอีกมากมาย โดยตลอดการเล่นอาชีพของเขา เฟเดอเรอร์สามารถคว้าแชมป์จากการแข่งขันประเภทชายเดี่ยวได้รวมทั้งสิ้น 103 รายการ (สถิติสูงที่สุดเป็นอันดับสองตลอดกาลรองจากจิมมี่ คอนเนอร์)

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเฟเดอเรอร์เป็นนักเทนนิสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ [3][4][5][6][7][8] และเป็นชาวสวิสคนแรกที่ยังมีชีวิตอยู่และมีรูปอยู่ในสแตมป์ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยสแตมป์ดังกล่าวถูกผลิตในเดือนเมษายน ค.ศ. 2007 เป็นรูปเฟเดอเรอร์กับถ้วยแชมป์วิมเบิลดัน[9] และยังเป็นผู้เล่นคนแรกที่ได้รับรางวัลนักกีฬาโลกแห่งปี (Laureus World Sportsman of the Year) 4 ครั้งติดต่อกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 - ค.ศ. 2008[10] อีกทั้งยังเป็นผู้เล่นขวัญใจแฟนๆทั่วโลก โดยเขาได้รับรางวัลขวัญใจอันดับหนึ่งของแฟนๆจากการโหวตผ่านเว็บไซต์ (ATPTour.com Fans' Favourite) จำนวน 18 ครั้งติดต่อกันนับตั้งแต่ปี 2003 ต่อเนื่องจนถึงปี 2020 นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำปีของเอทีพีจำนวน 5 ครั้ง (มากที่สุดเป็นอันดับสอง) แฟนๆและสื่อต่างยกย่องว่าเฟเดอเรอร์เป็นนักเทนนิสที่เก่งที่สุด เป็นไอคอนของกีฬาเทนนิส รวมทั้งเป็นหนึ่งในนักกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ความสำเร็จของเขาไม่เพียงแต่ได้รับการยอมรับในบรรดาสื่อ ผู้เล่น หรือแฟนๆในวงการเทนนิสเท่านั้น แต่ยังได้รับการยกย่องจากแฟนกีฬาทุกประเภททั่วโลก

เฟเดอเรอร์ทำสถิติชนะเลิศรายการแกรนด์สแลม จำนวน 20 สมัย (สถิติสูงที่สุดตลอดกาลเท่ากับนาดัล) ประกอบไปด้วยการชนะเลิศรายการ ออสเตรเลียนโอเพน 6 สมัย, เฟรนช์โอเพน 1 สมัย, สถิติแชมป์ วิมเบิลดัน 8 สมัย และ ยูเอสโอเพน 5 สมัย เขายังชนะเลิศรายการเอทีพีมาสเตอร์ 1000 จำนวน 26 ครั้ง อีกทั้งยังชนะการแข่งขันประเภทคู่จำนวน 8 รายการ [11] และ ภายหลังจากที่เขาคว้าแชมป์รายการ เฟรนซ์ โอเพ่น ได้ในเดือนมิถุนายนปี 2009 เฟเดอเรอร์ได้กลายเป็นนักเทนนิสชายคนที่ 6 ในประวัติศาสตร์ที่สามารถคว้าแชมป์แกรนด์สแลมได้ครบทั้ง 4 รายการในการเล่นอาชีพหรือที่เรียกว่า "Career Grand Slam" ผู้คนยกย่องว่าเขาเป็นราชาแห่งการแข่งขันรายการวิมเบิลดัน ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยเฟเดอเรอร์ทำสถิติเข้ารอบชิงชนะเลิศที่วิมเบิลดันถึง 12 ครั้งและสามารถคว้าแชมป์ไปได้ 8 ครั้ง จากสถิติดังกล่าวทำให้เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เล่นที่เล่นบนคอร์ตหญ้าได้ดีที่สุดตลอดกาล นอกจากนี้เขายังทำสถิติชนะเลิศการแข่งขันรายการ เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ ไฟนอลได้มากที่สุดจำนวน 6 สมัย รวมทั้งสามารถคว้าเหรียญเงินประเภทชายเดี่ยวในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ปี 2012 ณ กรุงลอนดอน และ คว้าเหรียญทองจากการแข่งขันประเภทคู่ร่วมกับ สแตน วารินก้าเพื่อนร่วมชาติในปี 2008 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ตลอดการเล่นอาชีพเขามีเปอร์เซ็นต์การคว้าชัยชนะจากการแข่งขันทุกรายการสูงถึง 82% ซึ่งสูงที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาผู้เล่นทุกคนของ เอทีพี ทัวร์ จากการคว้าชัยชนะมากถึง 1,243 แมตซ์และพ่ายแพ้เพียง 272 แมตซ์

เฟเดอเรอร์สร้างสถิติใหม่ในวงการเทนนิสขึ้นมามากมาย อาทิ เช่น การครองตำแหน่งมือวางอันดับหนึ่งของโลกจำนวน 237 สัปดาห์ติดต่อกัน, การเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศรายการแกรนด์แสลมติดต่อกันมากที่สุด 10 รายการ (เริ่มตั้งแต่วิมเบิลดัน ปี 2005 จนถึง ยูเอสโอเพน ปี 2007), การเข้าถึงรอบรองชนะเลิศของรายการแกรนด์แสลมติดต่อกันมากที่สุดถึง 23 รายการ (เริ่มตั้งแต่วิมเบิลดัน ปี 2004 จนถึง ออสเตรเลียน โอเพ่น ปี 2010), การคว้าชัยชนะติดต่อกันมากที่สุดในยุคโอเพนบนพื้นคอร์ต 2 ประเภท ได้แก่ คอร์ตหญ้าจำนวน 65 แมตซ์ติดต่อกัน และ ฮาร์ดคอร์ตหรือพื้นปูนจำนวน 56 แมตซ์ติดต่อกัน, การเป็นผู้เล่นคนเดียวในยุคโอเพ่นที่สามารถคว้าแชมป์แกรนด์สแลมวิมเบิลดันและยูเอสโอเพนติดต่อกันถึง 5 สมัย (แชมป์วิมเบิลดันในปี 2003-2007 และ แชมป์ยูเอส โอเพ่น ในปี 2004-2008) อีกทั้งยังทำสถิติคว้าชัยชนะได้มากกว่า 300 แมตซ์ในการแข่งขันแกรนด์สแลมรวมถึงการเป็นนักเทนนิสชายคนแรกที่สามารถคว้าแชมป์แกรนด์สแลมจำนวน 3 รายการได้อย่างน้อย 5 สมัยในอาชีพ (ประกอบด้วยแชมป์ออสเตรเลียนโอเพน 6 สมัย, วิมเบิลดัน 8 สมัย และ ยูเอสโอเพน 5 สมัย) และ เคยเป็นผู้เล่นที่มีสถิติคว้าแชมป์รายการแกรนด์สแลมได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ก่อนที่จะถูกราฟาเอล นาดัล ไล่ทันในปัจจุบัน

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

เฟเดอเรอร์เกิดที่เมืองบาเซิล ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์[12] เขาเป็นลูกของ โรเบิร์ต เฟเดอเรอร์ ซึ่งเป็นคนเชื้อสายสวิส-เยอรมัน และลินเนตต์ เฟเดอเรอร์ ซึ่งเป็นคนเชื้อสายแอฟริกาใต้ เขาเติบโตในแถบชานเมือง Münchenstein ซึ่งห่างจากชายแดนฝรั่งเศส และ ชายแดนเยอรมนี ไป 10 นาที เมื่อสมัยที่ยังเด็กเขาเป็นคนที่อารมณ์ร้อนจนถูกไล่ออกจากสนามซ้อมในบางครั้ง เขาเคยคิดที่จะเป็นนักฟุตบอลอาชีพแต่ได้ตัดสินใจเลือกเป็นนักเทนนิสแทน โดยยังคงเป็นแฟนฟุตบอลตัวยงมาจนถึงปัจจุบันและติดตามผลงานของทีมฟุตบอล เอฟซี บาเซิล ทีมในลีกสวิสและยังเป็นแฟนบอลของทีมดังในอิตาลีอย่าง โรม่า รวมทั้งสนับสนุนทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์บ้านเกิดในการแข่งขันฟุตบอลโลกและฟุตบอลยูโร[13][14] ในวัยเด็กเฟเดอเรอร์ชอบไปดู มาร์เซโล ริออส เล่นที่สนามแข่ง[15] ไอดอลในกีฬาเทนนิสที่เขาชื่นชอบได้แก่ สเตฟาน เอดเบิร์ก บอริส เบคเกอร์ และ พีท แซมพราส

ปัจจุบันเฟเดอเรอร์อาศัยอยู่ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และสมรสกับอดีตนักเทนนิสหญิงผู้เกิดที่สโลวาเกีย นามว่า มิโรสลาวา วาฟริเนค (เมียร์ก้า) ซึ่งเลิกเล่นอาชีพ ในปี ค.ศ. 2002 หลังจากบาดเจ็บที่เท้า ทั้งสองคนได้พบกันที่ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ที่ซิดนีย์ ปี ค.ศ. 2000 เฟเดอเรอร์มีธุรกิจเป็นของตนเองโดยได้เปิดตัวน้ำหอม ยี่ห้อ "อาร์เอฟ คอสเมติคส์ "(RF Cosmetics) ในเดือนตุลาคมปี 2003[16] [13] ในเวลาว่างเขาและครอบครัวชอบไปพักผ่อนที่ มัลดีฟส์ ดูไบ และเทือกเขาสวิส[13][17] นอกจากนี้เขายังเป็นเพื่อนกับนักกอล์ฟระดับโลกอย่าง ไทเกอร์ วูดส์ เฟเดอเรอร์ชื่นชอบอาหารญี่ปุ่น อาหารอิตาเลียน และ อาหารอินเดียมากเป็นพิเศษและเขายังชื่นชอบการรับประทานของหวานโดยเฉพาะช็อคโกแลตและไอศกรีมเป็นอย่างมาก แต่เขาจำเป็นต้องเคร่งครัดในการคุมอาหารและการฝึกซ้อมเป็นอย่างหนักตลอดหลายปีและพยายามเลี่ยงของหวานดังกล่าว เพื่อให้เจ้าตัวยังสามารถลงแข่งขันในระดับสูงได้ในวัย 40 ปีและยังไม่มีความคิดที่จะเลิกเล่นอาชีพแต่อย่างใด

เฟเดอเรอร์สามารถพูดได้หลายภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน และ ภาษาสวิส-เยอรมัน โดยสามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว เขาได้รับการยอมรับว่ามีภาพลักษณ์ที่ดูสุขุม สุภาพ นุ่มนวล เรียบร้อย ให้เกียรติคู่แข่งและสื่ออยู่เสมอ แฟนๆยกย่องว่าเขาเป็นหนึ่งในนักกีฬาที่มีบุคลิกภาพที่ดูดีที่สุดคนหนึ่งทั้งในและนอกสนาม น้อยครั้งที่เราจะเห็นเขาแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวหรือโต้เถียงกับผู้ตัดสินและผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามและเฟเดอร์เรอร์แทบจะไม่เคยขว้างไม้ของตนเองทิ้งเพื่อระบายอารมณ์ในระหว่างการแข่งขันเลย เขาให้สัมภาษณ์ว่าเป็นผลมาจากความตั้งใจที่จะปรับปรุงพฤติกรรมตนเองจากที่เคยอารมณ์ร้อนในวัยเด็ก

การช่วยเหลือสังคม[แก้]

เฟเดอเรอร์ก่อตั้ง มูลนิธิโรเจอร์ เฟเดอเรอร์ (Roger Federer Foundation) ขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2003 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมทุนให้สำหรับการช่วยเหลือเด็กพิการ โดยเน้นที่ประเทศแอฟริกาใต้ ตัวอย่างเช่น ทุน IMBEWU[18] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2005 เฟเดอเรอร์ได้สนับสนุนให้นักเทนนิส ช่วยกันหาเงินทุนสำหรับ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก สึนามิในปี ค.ศ. 2004 และได้ประมูลไม้เทนนิสที่มีลายเซ็นของตนกำกับเอาไว้ เพื่อนำเงินไปสมทบทุนองค์การยูนิเซฟ[19] เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2006 เฟเดอเรอร์ได้รับแต่งตั้งเป็น ทูตระหว่างชาติ จากองค์การยูนิเซฟ[20] เพื่อช่วยเหลือเด็กยากจนทั่วโลก วันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2006 เขาไปเยี่ยมเด็กๆที่รัฐทมิฬนาดู ประเทศอินเดีย ซึ่งประสบภัยจากสึนามิ และกล่าวว่า "มันน่าตื่นตาตื่นใจมากที่เห็นเด็กๆใช้การซ่อมแซมจากความเสียหาย เพื่อเป็นโอกาสในการพัฒนาวิถีชีวิตของพวกเขา การที่เด็กๆสามารถฟื้นจากสภาพการณ์ที่เลวร้ายมากๆ ถือเป็นการปรับตัวที่น่ายกย่อง"[21]

สไตล์การเล่น[แก้]

เฟเดอเรอร์สามารถเล่นได้ดีในคอร์ตทุกประเภท (All Court) และ เป็นผู้เล่นสามารถตีลูกทุกชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก เขาสามารถเล่นลูกวอลเลย์หน้าเน็ทได้อย่างชาญฉลาด และสามารถเล่นที่เส้นท้ายคอร์ตหลังเบสไลน์ได้ดีมากและยังควบคุมเกมส์ได้อย่างยอดเยี่ยม เขามีกราวน์สโตรกที่ดีจากทั้งสองฝั่งของสนาม การตีลูกโฟร์แฮนด์ของเขาจะก้ำกึ่งอยู่ระหว่างแบบตะวันออกที่นำสมัยและแบบกึ่งตะวันตกเล็กน้อยโดยมือของเขาจะอยู่ที่ส่วนกลางค่อนไปทางด้านล่างของไม้ ทำให้สามารถตีได้ทั้งแบบตบและแบบท็อปสปิน เฟเดอเรอร์มักตีลูกโฟร์แฮนด์ในแนวราบและจบการตีลูกโดยที่แขนจะรวบอยู่กับตัวและไม้จะไปอยู่ด้านหลังซึ่งไม่ใช่เทคนิคของนักเทนนิสทั่วไป ซึ่งหลังจากตีลูกแล้วไม้เทนนิสจะข้ามไหล่ไปด้านหลังและข้อศอกของมือข้างที่ตีจะชี้ขึ้นฟ้า[22] เฟเดอเรอร์ยังสามารถตีลูกท็อปสปินได้รุนแรง ทำให้เขาสามารถตีลูกครอสคอร์ตฉีกมุมได้อย่างแม่นยำโดยมีการตีบอลด้วยความเร็วสูง ซึ่งจอห์น แมคเอนโรว์ ได้กล่าวถึงการตีลักษณะนี้ว่า "เป็นการตีที่ยอดเยี่ยมที่สุดในกีฬาเทนนิส"[23] เฟเดอเรอร์เป็นผู้เล่นที่ตีแบคแฮนด์มือเดียวซึ่งได้พัฒนาขึ้นจากเมื่อหลายปีก่อน ตลอดระยะเวลาหลายปีเขาได้พัฒนาจนกลายเป็นผู้เล่นที่ตีแบคแฮนด์มือเดียวได้ดีที่สุดในโลก นอกจากนี้เฟเดอเรอร์ยังตีลูกตัด (slide) ได้อย่างยอดเยี่ยมและยังสามารถตีลูกท็อปสปินได้ดีในทุกพื้นคอร์ตอีกด้วย เฟเดอเรอร์มักจะตีลูกกราวน์สโตรกได้เร็วกว่าปกติเช่นเดียวกับที่ อังเดร อากัสซี ตีเป็นประจำ ซึ่งต้องอาศัยฟุตเวิร์กและปฏิกิริยาที่ยอดเยี่ยมและเฟเดอเรอร์ยังตีลูกกราวน์สโตรกได้ใกล้เน็ตมากกว่าคู่แข่งขันทุกคนทำให้คู่แข่งถูกลดเวลาในการตีโต้ลง กราวน์สโตรกของเขาอาจไม่หนักหน่วงรุนแรงเท่า ราฟาเอล นาดัล, ดอมินิค ธีม หรือ ดานิล เมดเวเดฟ แต่ถือเป็นการตีที่มีประสิทธิภาพและรับได้ยากมากด้วยน้ำหนักและทิศทางที่พอดี และ เขายังสามารถตีลูกฉีกมุมซึ่งเปรียบเหมือนลูกทีเด็ดของเขาในแต้มสำคัญ[24]

เฟเดอเรอร์ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เล่นที่มีลูกเสริ์ฟที่ดีที่สุดในโลกและเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่เสริ์ฟเอชได้ดีที่สุดในโลก ลูกเสิร์ฟของเขาเป็นลูกที่อ่านได้ยากเนื่องจากเขามักโยนบอลไปที่จุดเดียวกันไม่ว่าเขาตั้งใจจะเสิร์ฟไปทางไหน นอกจากนี้เขายังหันหลังให้กับคู่แข่งขณะเสิร์ฟ โดยเสิร์ฟแรกของเขาจะมีความเร็วอยู่ที่ประมาณ 190 กม./ชม. (118 ไมล์/ชม.) [25] ส่วนลูกเสิร์ฟที่สองของเขามักจะเป็นลูกปั่นเด้งสูงเน้นทิศทาง เฟเดอเรอร์มักจะเสิร์ฟแบบเน้นตำแหน่งและความแม่นยำ บ่อยครั้งที่เราเห็นเขาสามารถเสริ์ฟได้ลงตรงเส้นกึ่งกลางคอร์ตพอดีโดยที่คู่ต่อสู้ไม่มีโอกาสได้โต้กลับมา ในบางครั้งเขาจะตีลูกเสิร์ฟแรงๆเพื่อให้คู่แข่งเสียการทรงตัว เฟเดอเรอร์มีฟุตเวิร์ก การทรงตัว และการควบคุมพื้นที่ที่ยอดเยี่ยม เขาถูกจัดเป็นผู้เล่นที่เคลื่อนไหวได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้เล่นส่วนใหญ่จะก้าวเท้าสั้นๆหลายๆก้าวเพื่อจะเข้าถึงบอล แต่เฟเดอเรอร์สามารถก้าวเท้ายาวๆได้อย่างลื่นไหล เขาสามารถตีลูกแรงๆในขณะที่ยังวิ่งอยู่หรือแม้แต่ในขณะที่ก้าวถอยหลังทำให้เขาสามารถเปลี่ยนเกมส์จากการตั้งรับเป็นเกมส์บุกได้อย่างรวดเร็ว สไตล์การเล่นของเฟเดอเรอร์เป็นแบบผ่อนคลายและไหลลื่นแต่ซ่อนแทคติกที่เน้นการบุกอย่างชาญฉลาดและฉาบฉวย เขาไม่ใช่ผู้เล่นที่เน้นการตั้งรับท้ายคอร์ทแต่มักจะเน้นเกมส์บุกเพื่อทำคะแนนด้วยเทคนิคต่างๆอยู่เสมอ จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาถือได้ว่าเฟเดอเรอร์เป็นผู้เล่นที่มีสไตล์การเล่นที่ครบเครื่องที่สุดในโลกและยังดูแลรักษาสภาพร่างกายของตนเองได้เป็นอย่างดีจนถึงปัจจุบันในวัย 40 ปี

อุปกรณ์และชุดแข่ง[แก้]

ปัจจุบันเฟเดอเรอร์ใช้ไม้เทนนิสยี่ห้อวิลสัน บี แอล เอกซ์ ซิก วัน ทัวร์ 90[26] ซึ่งเป็นไม้เทนนิสที่มีหน้าแร็กเก็ตที่เล็กกว่าปกติ มีน้ำหนักมากแต่บาง บางคนคาดเดาว่า เป็นไม้ที่ดัดแปลงมาจากไม้เทนนิสวิลสัน โปรสต๊าฟ ออริจินอล 6.0 85 ที่พีท แซมพราสใช้ เฟเดอเรอร์ขึงตาข่ายไว้ ค่อนข้างหลวม (53-60 ปอนด์ โดยขึ้นอยู่กับคู่แข่ง และพื้นสนาม) การแข่งขันวิมเบิลดัน 2008 เขาขึ้งไว้เพียง 47/48 ปอนด์เท่านั้น[27] การขึงตาข่ายเช่นนี้ทำให้เขาตีลูกด้วยความเร็วสูงโดยใช้แรงน้อยลงแต่ทำให้การควบคุมยากขึ้น เฟเดอเรอร์เคยใช้ไม้เทนนิสวิลสัน เอ็นโค้ด เอ็นซิก-วัน ทัวร์ 90 ไม้เทนนิสวิลสัน โปรสต๊าฟ ทัวร์ 90 และไม้เทนนิสวิลสัน โปรสต๊าฟ ออริจินอล 6.0 85 เฟเดอเรอร์สนับสนุนไม้เทนนิสและอุปกรณ์อื่นๆของวิลสัน และสนับสนุนชุดกีฬาและรองเท้าของไนกี้ ในการแข่งขันวิมเบิลดัน ปี ค.ศ. 2006 ไนกี้ทำเสื้อแจ๊กเก็ต โดยมีตราไม้เทนนิสสามอัน เป็นเครื่องหมายว่า เฟเดอเรอร์ได้ชนะวิมเบิลดันมาแล้วสามครั้ง[28] เฟเดอเรอร์ยังทำการสนับสนุนอีกหลายๆบริษัท โดยเฉพาะบริษัทของสวิตเซอร์แลนด์[29] เฟเดอเรอร์ทำการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ยิลเลตต์ ร่วมกับนักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส เทียร์รี อองรี รวมถึงนักกอล์ฟชาวอเมริกัน ไทเกอร์ วูดส์ และนักคริกเกตชาวอินเดีย ราฮูล ดราวิด[30]

สถิติโลก[แก้]

โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ ได้สร้างสถิติโลกอยู่หลายอย่างในประวัติศาสตร์วงการเทนนิสโลก สถิติโลกที่โดดเด่นที่สุดคือ การชนะเลิศ ออสเตรเลียนโอเพน วิมเบิลดัน และ ยูเอสโอเพน ในปีเดียวกันถึง 3 ครั้ง คือ ค.ศ. 2004 ค.ศ. 2006 และ ค.ศ. 2007 เขาได้ทำลายสถิติเก่าๆมากมาย รวมไปถึงการครองมืออันดับหนึ่งของโลกเป็นเวลานาน 160 สัปดาห์ติดต่อกันของ จิมมี คอนเนอร์ (ประเภทชายเดี่ยว) และ 186 สัปดาห์ติดต่อกันของ สเตฟฟี กราฟ (ประเภทหญิงเดี่ยว) ในปี ค.ศ. 2007 เขาสามารถทำสถิติได้เทียบเท่ากับ บียอร์น บอร์ก จากการชนะเลิศวิมเบิลดันติดต่อกัน 5 สมัย นับตั้งแต่จัดการแข่งขันแบบโอเพน และในปี ค.ศ. 2008 เขาได้ทำสถิติชนะเลิศยูเอสโอเพน ติดต่อกัน 5 สมัย นับตั้งแต่จัดการแข่งขันแบบโอเพน ทำสถิติเข้าชิงรายการวิมเบิลดันถึง 12 ครั้ง และ คว้าแชมป์ได้ 8 สมัย เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ครองอันดับ 1 ของโลกอย่างยาวนานหลายปีในยุคของเขา มีสถิติชนะมากกว่า 300 แมตซ์ในการแข่งขันระดับแกรนด์สแลม เป็นผู้เล่นที่ลงแข่งในรายการแกรนด์สแลมจำนวนรวมกว่า 400 แมตซ์ เป็นนักเทนนิสชายคนแรกที่ได้แชมป์แกรนด์สแลม 3 รายการอย่างน้อย 5 สมัย และ สถิติที่น่าทึ่งอีกมากมายทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เล่นที่เก่งที่สุดตลอดกาล

สถิติการแข่งขันอาชีพ[แก้]

แกรนด์สแลม ชายเดี่ยว รอบชิงชนะเลิศ (31)[แก้]

สถิติการแข่งขันอาชีพ
ประเภท รายการระดับ ชนะ แพ้ รวม (%)
เดี่ยว แกรนด์สแลม 16 6 22 0.73
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ ไฟนอล 5 1 6 0.83
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ มาสเตอร์ 1000* 17 12 29 0.59
เอทีพี ทัวร์ 500 9 4 13 0.69
เอทีพี ทัวร์ 250 20 6 26 0.77
รวม 67 29 96 0.70
คู่ แกรนด์สแลม
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1 1 1.00
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ ไฟนอล
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ มาสเตอร์ 1000* 1 2 3 0.33
เอทีพี ทัวร์ 500 3 1 4 0.75
เอทีพี ทัวร์ 250 3 2 5 0.60
รวม 8 5 13 0.62
รวม 75 33 108 0.69
1) (%) = อัตราส่วนการชนะ
2) *ในอดีตรู้จักกันในชื่อของ "ซุปเปอร์ 9" (ค.ศ. 1996–1999), "เทนนิส มาสเตอร์ซีรีส์" (ค.ศ. 2000–2003) และ "เอทีพี มาสเตอร์ซีรีส์" (ค.ศ. 2004–2008)

ชนะเลิศ (20), รองชนะเลิศ (11)[แก้]

ปี รายการ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
2003 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน ออสเตรเลีย มาร์ค ฟิลิปปูซิส 7-6 (5), 6-2, 7-6 (3)
2004 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน รัสเซีย มารัต ซาฟิน 7-6 (3), 6-4, 6-2
2004 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน (2) สหรัฐ แอนดี ร็อดดิก 4-6, 7-5, 7-6 (3), 6-4
2004 สหรัฐ ยูเอสโอเพน ออสเตรเลีย เลย์ตัน ฮิววิตต์ 6-0, 7-6 (3), 6-0
2005 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน (3) สหรัฐ แอนดี ร็อดดิก 6-2, 7-6 (2), 6-4
2005 สหรัฐ ยูเอสโอเพน (2) สหรัฐ อังเดร อากัสซี 6-3, 2-6, 7-6 (1), 6-1
2006 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน (2) ไซปรัส มาร์กอส แบกห์ดาติส 5-7, 7-5, 6-0, 6-2
2006 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน (4) สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-0, 7-6 (5), 6-7 (2), 6-3
2006 สหรัฐ ยูเอสโอเพน (3) สหรัฐ แอนดี ร็อดดิก 6-2, 4-6, 7-5, 6-1
2007 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน (3) ชิลี เฟอร์นานโด กอนซาเลซ 7-6 (2), 6-4, 6-4
2007 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน (5) สเปน ราฟาเอล นาดาล 7-6 (7), 4-6, 7-6 (3), 2-6, 6-2
2007 สหรัฐ ยูเอสโอเพน (4) เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช 7-6 (4), 7-6 (2), 6-4
2008 สหรัฐ ยูเอสโอเพน (5) สหราชอาณาจักร แอนดี เมอร์รี 6-2, 7-5, 6-2
2009 ฝรั่งเศส เฟรนช์โอเพน สวีเดน โรบิน โซเดอร์ลิง 6–1, 7–6 (1), 6–4
2009 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน (6) สหรัฐ แอนดี ร็อดดิก 5-7, 7-6 (6), 7-6 (5), 3-6, 16-14
2010 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน (4) สหราชอาณาจักร แอนดี เมอร์รี 6–3, 6–4, 7–6 (11)
2012 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน (7) สหราชอาณาจักร แอนดี เมอร์รี 4-6, 7-5, 6-3, 6-4
2017 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน (5) สเปน ราฟาเอล นาดาล 6–4, 3–6, 6–1, 3–6, 6–3
2017 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน (8) โครเอเชียมาริน ซิลิช 6-3, 6-1, 6-4
2018 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน (6) โครเอเชียมาริน ซิลิช 6–2, 6–7(5–7), 6–3, 3–6, 6–1

รองชนะเลิศ (11)[แก้]

ปี รายการ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
2006 ฝรั่งเศส เฟรนช์โอเพน สเปน ราฟาเอล นาดาล 1-6, 6-1, 6-4, 7-6 (4)
2007 ฝรั่งเศส เฟรนช์โอเพน (2) สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-3, 4-6, 6-3, 6-4
2008 ฝรั่งเศส เฟรนช์โอเพน (3) สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-1, 6-3, 6-0
2008 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-4, 6-4, 6-7 (5), 6-7 (8), 9-7
2009 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน สเปน ราฟาเอล นาดาล 7-5, 3-6, 7-6 (3), 3-6, 6-2
2009 สหรัฐ ยูเอสโอเพน อาร์เจนตินา ฮวน มาร์ติน เดล โปโตร 3–6, 7–6 (5), 4–6, 7–6 (4), 6–2
2011 ฝรั่งเศส เฟรนช์โอเพน (5) สเปน ราฟาเอล นาดาล 7–5, 7–6(3), 5–7, 6–1
2014 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช 7–6(9–7), 4–6, 6–7(4–7), 7–5, 4–6
2015 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช 6–7(1–7), 7–6(12–10), 4–6, 3–6
2015 สหรัฐ ยูเอสโอเพน เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช 4–6, 7–5, 4–6, 4–6

เทนนิสมาสเตอร์คัพ ชายเดี่ยว รอบชิงชนะเลิศ (10)[แก้]

ชนะเลิศ (6)[แก้]

ปี รายการ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
2003 แม่แบบ:Country data อเมริกา ฮูสตัน สหรัฐอังเดร อากัสซี 6-3, 6-0, 6-4
2004 แม่แบบ:Country data อเมริกา ฮูสตัน ออสเตรเลีย เลย์ตัน ฮิววิตต์ 6-3, 6-2
2006 ประเทศจีน เซี่ยงไฮ้ สหรัฐเจมส์ เบลค 6-0, 6-3, 6-4
2007 ประเทศจีน เซี่ยงไฮ้ สเปน ดาวิด เฟร์เรร์ 6-2, 6-3, 6-2
2010 สหราชอาณาจักร ลอนดอน สเปน ราฟาเอล นาดาล 6–3, 3–6, 6–1
2011 สหราชอาณาจักร ลอนดอน ฝรั่งเศส โจ วิลเฟร็ด ซองก้า 6–3, 6–7(6–8), 6–3

รองชนะเลิศ (4)[แก้]

ปี รายการ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
2005 ประเทศจีน เซี่ยงไฮ้ อาร์เจนตินา ดาวิด นาบัลเดียน 6-7 (4), 6-7 (11), 6-2, 6-1, 7-6 (3)
2012 สหราชอาณาจักร ลอนดอน เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช 6–7(6–8), 5–7
2014 สหราชอาณาจักร ลอนดอน เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช บาย
2015 สหราชอาณาจักร ลอนดอน เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช 3–6, 4–6

เอทีพี มาสเตอร์ ซีรีส์ ชายเดี่ยว รอบชิงชนะเลิศ (42)[แก้]

ชนะเลิศ (24)[แก้]

ปี รายการ พื้นสนาม คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
2002 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัมบวร์ค ดิน รัสเซีย มารัต ซาฟิน 6-1, 6-3, 6-4
2004 สหรัฐ อินเดียนเวลส์ คอนกรีต สหราชอาณาจักร ทิม เฮนแมน 6-3, 6-3
2004 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัมบวร์ค (2) ดิน อาร์เจนตินา กิลเยร์โม โคเรีย 4-6, 6-4, 6-2, 6-3
2004 แคนาดา โตรอนโต คอนกรีต สหรัฐ แอนดี ร็อดดิก 7-5, 6-3
2005 สหรัฐ อินเดียนเวลส์ (2) คอนกรีต ออสเตรเลีย เลย์ตัน ฮิววิตต์ 6-2, 6-4, 6-4
2005 สหรัฐ ไมอามี คอนกรีต สเปน ราฟาเอล นาดาล 2-6, 6-7 (4), 7-6 (5), 6-3, 6-1
2005 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัมบวร์ค (3) ดิน ฝรั่งเศส ริชาร์ด กาสเกต์ 6-3, 7-5, 7-6 (4)
2005 สหรัฐ ซินซินเนติ คอนกรีต สหรัฐ แอนดี ร็อดดิก 6-3, 7-5
2006 สหรัฐ อินเดียนเวลส์ (3) คอนกรีต สหรัฐ แอนดี ร็อดดิก 7-5, 6-3, 6-0
2006 สหรัฐ ไมอามี (2) คอนกรีต โครเอเชีย อีวาน ลูบิซิช 7-6 (5), 7-6 (4), 7-6 (6)
2006 แคนาดา โตรอนโต (2) คอนกรีต ฝรั่งเศส ริชาร์ด กาสเกต์ 2-6, 6-3, 6-2
2006 สเปน มาดริด คอนกรีต (i) ชิลี เฟอร์นานโด กอนซาเลซ 7-5, 6-1, 6-0
2007 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัมบวร์ค (4) ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 2-6, 6-2, 6-0
2007 สหรัฐ ซินซินเนติ (2) คอนกรีต สหรัฐเจมส์ เบลค 6-1, 6-4
2009 สเปน มาดริด (2) ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 6–4, 6–4
2009 สหรัฐ ซินซินเนติ (3) คอนกรีต เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช 6–1, 7–5
2010 สหรัฐ ซินซินเนติ (4) คอนกรีต สหรัฐ มาร์ดี ฟิช 6–7 (5), 7–6 (1), 6–4

รองชนะเลิศ (18)[แก้]

ปี รายการ พื้นสนาม คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
2002 สหรัฐ ไมอามี คอนกรีต สหรัฐอังเดร อากัสซี 6-3, 6-3, 3-6, 6-4
2003 อิตาลี โรม ดิน สเปน เฟลิกซ์ แมนทิลลา 7-5, 6-2, 7-6 (10)
2006 โมนาโก มอนติคาร์โล ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-2, 6-7 (2), 6-3, 7-6 (5)
2006 อิตาลี โรม (2) ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-7 (0), 7-6 (5), 6-4, 2-6, 7-6 (5)
2007 โมนาโก มอนติคาร์โล (2) ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-4, 6-4
2007 แคนาดา โตรอนโต คอนกรีต เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช 7-6 (2), 2-6, 7-6 (2)
2007 สเปน มาดริด คอนกรีต อาร์เจนตินา ดาวิด นาบัลเดียน 1-6, 6-3, 6-3
2008 โมนาโก มอนติคาร์โล (3) ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 7-5, 7-5
2008 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัมบวร์ค ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 7-5, 6-7 (3), 6-3
2010 สเปน มาดริด (2) ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-4, 7-6 (5)
2010 แคนาดา โตรอนโต (2) คอนกรีต สหราชอาณาจักร แอนดี เมอร์รี 7-5, 7-5
2010 ประเทศจีน เซี่ยงไฮ้ คอนกรีต สหราชอาณาจักร แอนดี เมอร์รี 6–3, 6–2

เทนนิสโอลิมปิกเกมส์ ชายเดี่ยว (2)

เหริยญเงิน(1) 2012

ปี รายการ พื้นสนาม คู่แข่ง ผลการแข่งขัน
2000 ออสเตรเลีย กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ณ กรุง ซิดนีย์ ปูน ฝรั่งเศส Arnaud Di Pasquale 6–7(5–7), 7–6(9–7), 3–6
2012 สหราชอาณาจักร กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ณ กรุงลอนดอน หญ้า สหราชอาณาจักร แอนดี เมอร์รี 2–6, 1–6, 4–6

เทนนิสโอลิมปิกเกมส์ ชายคู่ รอบชิงชนะเลิศ (1)[แก้]

เหรียญทอง (1)[แก้]

ปี รายการ พื้นสนาม จับคู่กับ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
2008 ประเทศจีน กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ณ กรุงปักกิ่ง คอนกรีต สวิตเซอร์แลนด์ สตานิสลาส วาวรินกา สวีเดน ไซมอน แอสพีลิน
สวีเดน โทมัส โยฮันส์สัน
6–3, 6–4, 6–7 (4), 6–3

รวมรอบชิงชนะเลิศทุกรายการ (109)[แก้]

ประเภทเดี่ยว (96)[แก้]

ชนะเลิศ (67)[แก้]
รายการ (ก่อน/หลังปี 2009)
แกรนด์สแลม (16)
มาสเตอร์คัพ /
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ ไฟนอล (5)
เอทีพี มาสเตอร์ซีรีส์ /
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ มาสเตอร์ 1000 (17)
เอทีพี อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ โกลด์ /
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ 500 ซีรีส์ (9)
เอทีพี อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ /
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ 250 ซีรีส์ (20)
แบ่งตามพื้นสนาม
คอนกรีต (45)
ดิน (9)
หญ้า (11)
พรม (2)
แบ่งตามสภาพสนาม
นอกร่ม (51)
ในร่ม (16)
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 4 กุมภาพันธ์ 2001 อิตาลี มิลาน, อิตาลี พรม (i) ฝรั่งเศส จูเลียน บอตเตอร์ 6-4, 6-7 (7), 6-4
2. 13 มกราคม 2002 ออสเตรเลีย ซิดนีย์, ออสเตรเลีย คอนกรีต อาร์เจนตินา ฮวน อิกนาซิโอ เชลา 6-3, 6-3
3. 19 พฤษภาคม 2002 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัมบวร์ค, เยอรมัน ดิน รัสเซีย มารัต ซาฟิน 6-1, 6-3, 6-4
4. 13 ตุลาคม 2002 ออสเตรีย เวียนนา, ออสเตรีย คอนกรีต (i) แม่แบบ:Country data สาธารณรัฐเชค ยีรี โนวัค 6-4, 6-1, 3-6, 6-4
5. 16 กุมภาพันธ์ 2003 ฝรั่งเศส มาร์เซย์, ฝรั่งเศส คอนกรีต (i) สวีเดน โยนัส บียอร์คแมน 6-2, 7-6 (6)
6. 2 มีนาคม 2003 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คอนกรีต แม่แบบ:Country data สาธารณรัฐเชค ยีรี โนวัค 6-1, 7-6 (2)
7. 4 พฤษภาคม 2003 แม่แบบ:Country data เยอรมัน มิวนิก, เยอรมัน ดิน ฟินแลนด์ ยาร์คโค นิมิเนน 6-1, 6-4
8. 15 มิถุนายน 2003 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัลเล, เยอรมัน หญ้า เยอรมนี นิโคลัส คีเฟอร์ 6-1, 6-3
9. 6 กรกฎาคม 2003 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร หญ้า ออสเตรเลีย มาร์ค ฟิลิปปูซิส 7-6 (5), 6-2, 7-6 (3)
10. 12 ตุลาคม 2003 ออสเตรีย เวียนนา, ออสเตรีย (2) คอนกรีต (i) สเปน คาร์ลอส โมยา 6-3, 6-3, 6-3
11. 16 พฤศจิกายน 2003 สหรัฐ มาสเตอร์คัพ, ฮูสตัน, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต แม่แบบ:Country data อเมริกา อังเดร อากัสซี 6-3, 6-0, 6-4
12. 1 กุมภาพันธ์ 2004 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน, เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย คอนกรีต รัสเซีย มารัต ซาฟิน 7-6 (3), 6-4, 6-2
13. 7 มีนาคม 2004 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (2) คอนกรีต สเปน เฟลิเซียโน โลเปซ 4-6, 6-1, 6-2
14. 21 มีนาคม 2004 สหรัฐ อินเดียนเวลส์, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต สหราชอาณาจักร ทิม เฮนแมน 6-3, 6-3
15. 16 พฤษภาคม 2004 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัมบวร์ค, เยอรมัน (2) ดิน อาร์เจนตินา กิลเยร์โม โคเรีย 4-6, 6-4, 6-2, 6-3
16. 13 มิถุนายน 2004 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัลเล, เยอรมัน (2) หญ้า แม่แบบ:Country data อเมริกา มาร์ดี ฟิช 6-0, 6-3
17. 4 กรกฎาคม 2004 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร (2) หญ้า แม่แบบ:Country data อเมริกา แอนดี ร็อดดิก 4-6, 7-5, 7-6 (3), 6-4
18. 11 กรกฎาคม 2004 สวิตเซอร์แลนด์ กัสตาด, สวิตเซอร์แลนด์ ดิน รัสเซีย อิกอร์ อังเดรเยฟ 6-2, 6-3, 5-7, 6-3
19. 1 สิงหาคม 2004 แคนาดา โตรอนโต, แคนาดา คอนกรีต แม่แบบ:Country data อเมริกา แอนดี ร็อดดิก 7-5, 6-3
20. 12 กันยายน 2004 สหรัฐ ยูเอสโอเพน, นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต ออสเตรเลีย เลย์ตัน ฮิววิตต์ 6-0, 7-6 (3), 6-0
21. 3 ตุลาคม 2004 ไทย กรุงเทพฯ, ไทย คอนกรีต (i) แม่แบบ:Country data อเมริกา แอนดี ร็อดดิก 6-4, 6-0
22. 21 พฤศจิกายน 2004 สหรัฐ มาสเตอร์คัพ, ฮูสตัน, สหรัฐอเมริกา (2) คอนกรีต ออสเตรเลีย เลย์ตัน ฮิววิตต์ 6-3, 6-2
23. 9 มกราคม 2005 ประเทศกาตาร์ โดฮา, กาตาร์ คอนกรีต โครเอเชีย อีวาน ลูบิซิช 6-3, 6-1
24. 20 กุมภาพันธ์ 2005 เนเธอร์แลนด์ ร็อตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ คอนกรีต (i) โครเอเชีย อีวาน ลูบิซิช 5-7, 7-5, 7-6 (5)
25. 27 กุมภาพันธ์ 2005 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (3) คอนกรีต โครเอเชีย อีวาน ลูบิซิช 6-1, 6-7 (6), 6-3
26. 20 มีนาคม 2005 สหรัฐ อินเดียนเวลส์, สหรัฐอเมริกา (2) คอนกรีต ออสเตรเลีย เลย์ตัน ฮิววิตต์ 6-2, 6-4, 6-4
27. 3 เมษายน 2005 สหรัฐ ไมอามี, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต สเปน ราฟาเอล นาดาล 2-6, 6-7 (4), 7-6 (5), 6-3, 6-1
28. 15 พฤษภาคม 2005 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัมบวร์ค, เยอรมัน (3) ดิน ฝรั่งเศส ริชาร์ด กาสเกต์ 6-3, 7-5, 7-6 (4)
29. 13 มิถุนายน 2005 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัลเล, เยอรมัน (3) หญ้า รัสเซีย มารัต ซาฟิน 6-4, 6-7 (6), 6-4
30. 3 กรกฎาคม 2005 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร (3) หญ้า แม่แบบ:Country data อเมริกา แอนดี ร็อดดิก 6-2, 7-6 (2), 6-4
31. 21 สิงหาคม 2005 สหรัฐ ซินซินเนติ, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต แม่แบบ:Country data อเมริกา แอนดี ร็อดดิก 6-3, 7-5
32. 11 กันยายน 2005 สหรัฐ ยูเอสโอเพน, นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา (2) คอนกรีต แม่แบบ:Country data อเมริกา อังเดร อากัสซี 6-3, 2-6, 7-6 (1), 6-1
33. 2 ตุลาคม 2005 ไทย กรุงเทพฯ, ไทย (2) คอนกรีต (i) สหราชอาณาจักร แอนดี เมอร์รี 6-3, 7-5
34. 8 มกราคม 2006 ประเทศกาตาร์ โดฮา, กาตาร์ (2) คอนกรีต ฝรั่งเศส กาเอล มงฟิลส์ 6-3, 7-6 (5)
35. 29 มกราคม 2006 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน, เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย (2) คอนกรีต ไซปรัส มาร์กอส แบกห์ดาติส 5-7, 7-5, 6-0, 6-2
36. 19 มีนาคม 2006 สหรัฐ อินเดียนเวลส์, สหรัฐอเมริกา (3) คอนกรีต แม่แบบ:Country data อเมริกา เจมส์ เบลค 7-5, 6-3, 6-0
37. 2 เมษายน 2006 สหรัฐ ไมอามี, สหรัฐอเมริกา (2) คอนกรีต โครเอเชีย อีวาน ลูบิซิช 7-6 (5), 7-6 (4), 7-6 (6)
38. 18 มิถุนายน 2006 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัลเล, เยอรมัน (4) หญ้า แม่แบบ:Country data เชค โทมัส เบอร์ดิช 6-0, 6-7 (4), 6-2
39. 9 กรกฎาคม 2006 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร (4) หญ้า สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-0, 7-6 (5), 6-7 (2), 6-3
40. 13 สิงหาคม 2006 แคนาดา โตรอนโต, แคนาดา (2) คอนกรีต ฝรั่งเศส ริชาร์ด กาสเกต์ 2-6, 6-3, 6-2
41. 10 กันยายน 2006 สหรัฐ ยูเอสโอเพน, นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา (3) คอนกรีต แม่แบบ:Country data อเมริกา แอนดี ร็อดดิก 6-2, 4-6, 7-5, 6-1
42. 8 ตุลาคม 2006 ญี่ปุ่น โตเกียว, ญี่ปุ่น คอนกรีต สหราชอาณาจักร ทิม เฮนแมน 6-3, 6-3
43. 22 ตุลาคม 2006 สเปน มาดริด, สเปน คอนกรีต (i) ชิลี เฟอร์นานโด กอนซาเลซ 7-5, 6-1, 6-0
44. 29 ตุลาคม 2006 สวิตเซอร์แลนด์ บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ พรม (i) ชิลี เฟอร์นานโด กอนซาเลซ 6-3, 6-2, 7-6 (3)
45. 19 พฤศจิกายน 2006 ประเทศจีน มาสเตอร์คัพ, เซี่ยงไฮ้, จีน (3) คอนกรีต (i) แม่แบบ:Country data อเมริกา เจมส์ เบลค 6-0, 6-3, 6-4
46. 28 มกราคม 2007 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน, เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย (3) คอนกรีต ชิลี เฟอร์นานโด กอนซาเลซ 7-6 (2), 6-4, 6-4
47. 3 มีนาคม 2007 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (4) คอนกรีต รัสเซีย มิคาอิล ยุซนี 6-4, 6-3
48. 20 พฤษภาคม 2007 ออสเตรเลีย ฮัมบวร์ค, เยอรมัน (4) ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 2-6, 6-2, 6-0
49. 8 กรกฎาคม 2007 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร (5) หญ้า สเปน ราฟาเอล นาดาล 7-6 (7), 4-6, 7-6 (3), 2-6, 6-2
50. 19 สิงหาคม 2007 สหรัฐ ซินซินเนติ, สหรัฐอเมริกา (2) คอนกรีต แม่แบบ:Country data อเมริกา เจมส์ เบลค 6-1, 6-4
51. 9 กันยายน 2007 สหรัฐ ยูเอสโอเพน, นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา (4) คอนกรีต เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช 7-6 (4), 7-6 (2), 6-4
52. 28 ตุลาคม 2007 สวิตเซอร์แลนด์ บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ (2) ตอนกรีต (i) ฟินแลนด์ ยาร์คโค นิมิเนน 6-3, 6-4
53. 18 พฤศจิกายน 2007 ประเทศจีน มาสเตอร์คัพ, เซี่ยงไฮ้, จีน (4) คอนกรีต (i) สเปน ดาวิด เฟร์เรร์ 6-2, 6-3, 6-2
54. 20 เมษายน 2008 โปรตุเกส เอสโตริล, โปรตุเกส ดิน รัสเซีย นิโคไล ดาวิเดนโก 7-6 (5), 1-2 รีไทร์
55. 15 มิถุนายน 2008 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัลเล, เยอรมัน (5) หญ้า แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฟิลิปป์ โคลห์ชไรเบอร์ 6-3, 6-4
56. 8 กันยายน 2008 สหรัฐ ยูเอสโอเพน, นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา (5) คอนกรีต สหราชอาณาจักร แอนดี เมอร์รี 6-2, 7-5, 6-2
57. 26 ตุลาคม 2008 สวิตเซอร์แลนด์ บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ (3) ตอนกรีต (i) อาร์เจนตินา ดาวิด นาบัลเดียน 6-3, 6-4
58. 17 พฤษภาคม 2009 สเปน มาดริด, สเปน (2) ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 6–4, 6–4
59. 7 มิถุนายน 2009 ฝรั่งเศส เฟรนช์โอเพน, ปารีส, ฝรั่งเศส ดิน สวีเดน โรบิน โซเดอร์ลิง 6–1, 7–6 (1), 6–4
60. 5 กรกฎาคม 2009 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร (6) หญ้า แม่แบบ:Country data อเมริกา แอนดี ร็อดดิก 5–7, 7–6 (6), 7–6 (5), 3–6, 16–14
61. 23 สิงหาคม 2009 สหรัฐ ซินซินเนติ, สหรัฐอเมริกา (3) คอนกรีต เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช 6–1, 7–5
62. 31 มกราคม 2010 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน, เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย (4) คอนกรีต สหราชอาณาจักร แอนดี เมอร์รี 6–3, 6–4, 7–6 (11)
63. 23 สิงหาคม 2010 สหรัฐ ซินซินเนติ, สหรัฐอเมริกา (4) คอนกรีต สหรัฐ มาร์ดี ฟิช 6–7 (5), 7–6 (1), 6–4
64. 24 ตุลาคม 2010 สวีเดน สต็อกโฮล์ม, สวีเดน ตอนกรีต (i) แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฟลอเรียน เมเยอร์ 6–4, 6–3
65. 7 พฤศจิกายน 2010 สวิตเซอร์แลนด์ บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ (4) คอนกรีต (i) เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช 6–4, 3–6, 6–1
66. 28 พฤศจิกายน 2010 สหราชอาณาจักร เวิลด์ทัวร์ไฟนอล, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร (5) คอนกรีต (i) สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-3, 3-6, 6-1
67. 8 มกราคม 2011 ประเทศกาตาร์ โดฮา, กาตาร์ (3) คอนกรีต รัสเซีย นิโคไล ดาวิเดนโก 6-3, 6-4


รองชนะเลิศ (29)[แก้]
รายการ (ก่อน/หลังปี 2009)
แกรนด์สแลม (6)
มาสเตอร์คัพ /
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ ไฟนอล (1)
เอทีพี มาสเตอร์ซีรีส์ /
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ มาสเตอร์ 1000 (12)
เอทีพี อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ โกลด์ /
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ 500 ซีรีส์ (4)
เอทีพี อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ /
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ 250 ซีรีส์ (6)
แบ่งตามพื้นสนาม
คอนกรีต (11)
ดิน (11)
หญ้า (2)
พรม (5)
แบ่งตามสภาพสนาม
นอกร่ม (21)
ในร่ม (8)
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 13 กุมภาพันธ์ 2000 ฝรั่งเศส มาร์เซย์, ฝรั่งเศส พรม (i) สวิตเซอร์แลนด์ มาร์ก รอสเซต 2-6, 6-3, 7-6 (5)
2. 29 ตุลาคม 2000 สวิตเซอร์แลนด์ บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ พรม (i) สวีเดน โธมัส เอนควิสท์ 6-2, 4-6, 7-6 (4), 1-6, 6-1
3. 25 กุมภาพันธ์ 2001 เนเธอร์แลนด์ ร็อตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ คอนกรีต (i) ฝรั่งเศส นิโคลัส เอสคูด 7-5, 3-6, 7-6 (5)
4. 28 ตุลาคม 2001 สวิตเซอร์แลนด์ บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ (2) พรม (i) สหราชอาณาจักร ทิม เฮนแมน 6-3, 6-4, 6-2
5. 3 กุมภาพันธ์ 2002 อิตาลี มิลาน, อิตาลี พรม (i) อิตาลี ดาวิด ซานกวินเนตติ 7-6 (2), 4-6, 6-1
6. 31 มีนาคม 2002 สหรัฐ ไมอามี, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต สหรัฐ อังเดร อากัสซี 6-3, 6-3, 3-6, 6-4
7. 11 พฤษภาคม 2003 อิตาลี โรม, อิตาลี ดิน สเปน เฟลิกซ์ แมนทิลลา 7-5, 6-2, 7-6 (10)
8. 13 กรกฎาคม 2003 สวิตเซอร์แลนด์ กัสตาด, สวิตเซอร์แลนด์ ดิน แม่แบบ:Country data เชค ยีรี โนวัค 5-7, 6-3, 6-3, 1-6, 6-3
9. 20 พฤศจิกายน 2005 ประเทศจีน มาสเตอร์คัพ, เซี่ยงไฮ้, จีน พรม (i) อาร์เจนตินา ดาวิด นาบัลเดียน 6-7 (4), 6-7 (11), 6-2, 6-1, 7-6 (3)
10. 5 มีนาคม 2006 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คอนกรีต สเปน ราฟาเอล นาดาล 2-6, 6-4, 6-4
11. 23 เมษายน 2006 โมนาโก มอนติคาร์โล, โมนาโก ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-2, 6-7 (2), 6-3, 7-6 (5)
12. 14 พฤษภาคม 2006 อิตาลี โรม, อิตาลี (2) ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-7 (0), 7-6 (5), 6-4, 2-6, 7-6 (5)
13. 11 มิถุนายน 2006 ฝรั่งเศส เฟรนช์โอเพน, ปารีส, ฝรั่งเศส ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 1-6, 6-1, 6-4, 7-6 (4)
14. 22 เมษายน 2007 โมนาโก มอนติคาร์โล, โมนาโก (2) ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-4, 6-4
15. 10 มิถุนายน 2007 ฝรั่งเศส เฟรนช์โอเพน, ปารีส, ฝรั่งเศส (2) ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-3, 4-6, 6-3, 6-4
16. 12 สิงหาคม 2007 แคนาดา โตรอนโต, แคนาดา คอนกรีต เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช 7-6 (2), 2-6, 7-6 (2)
17. 21 ตุลาคม 2007 สเปน มาดริด, สเปน คอนกรีต (i) อาร์เจนตินา ดาวิด นาบัลเดียน 1–6, 6–3, 6–3
18. 27 เมษายน 2008 โมนาโก มอนติคาร์โล, โมนาโก (3) ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 7–5, 7–5
19. 18 พฤษภาคม 2008 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัมบวร์ค, เยอรมัน ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 7–5, 6–7 (3), 6–3
20. 8 มิถุนายน 2008 ฝรั่งเศส เฟรนช์โอเพน, ปารีส, ฝรั่งเศส (3) ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 6–1, 6–3, 6–0
21. 6 กรกฎาคม 2008 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร หญ้า สเปน ราฟาเอล นาดาล 6–4, 6–4, 6–7 (5), 6–7 (8), 9–7
22. 1 กุมภาพันธ์ 2009 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน, เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย ตอนกรีต สเปน ราฟาเอล นาดาล 7–5, 3–6, 7–6 (3), 3–6, 6–2
23. 14 กันยายน 2009 สหรัฐ ยูเอสโอเพน, นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต อาร์เจนตินา ฮวน มาร์ติน เดล โปโตร 3–6, 7–6 (5), 4–6, 7–6 (5), 6–2
24. 8 พฤศจิกายน 2009 สวิตเซอร์แลนด์ บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ (3) คอนกรีต (i) เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช 6–4, 4–6, 6–2
25. 16 พฤษภาคม 2010 สเปน มาดริด, สเปน (2) ดิน สเปน ราฟาเอล นาดาล 6-4, 7-6 (5)
26. 13 มิถุนายน 2010 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัลเล, เยอรมัน หญ้า ออสเตรเลีย เลย์ตัน ฮิววิตต์ 3-6, 7-6 (4), 6-4
27. 15 สิงหาคม 2010 แคนาดา โตรอนโต, แคนาดา (2) คอนกรีต สหราชอาณาจักร แอนดี เมอร์รี 7-5, 7-5
28. 17 ตุลาคม 2010 ประเทศจีน เซี่ยงไฮ้, จีน คอนกรีต สหราชอาณาจักร แอนดี เมอร์รี 6–3, 6–2
29. 26 กุมภาพันธ์ 2011 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (2) คอนกรีต เซอร์เบีย โนวัค ยอโควิช 3-6, 3-6

ประเภทคู่ (13)[แก้]

ชนะเลิศ (8)[แก้]
รายการ (ก่อน/หลังปี 2009)
เหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ (1)
เอทีพี มาสเตอร์ซีรีส์ /
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ มาสเตอร์ 1000 (1)
เอทีพี อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ โกลด์ /
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ 500 ซีรีส์ (3)
เอทีพี อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ /
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ 250 ซีรีส์ (3)
แบ่งตามพื้นสนาม
คอนกรีต (5)
ดิน (1)
หญ้า (1)
พรม (1)
แบ่งตามสภาพสนาม
นอกร่ม (4)
ในร่ม (4)
ลำดับ วันที่ รายการ พื้นสนาม จับคู่กับ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 25 กุมภาพันธ์ 2001 เนเธอร์แลนด์ ร็อตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ คอนกรีต (i) สวีเดน โยนัส บียอร์คแมน เช็กเกีย ปีเตอร์ พาลา
เช็กเกีย พาเวล วิซเนอร์
6–3, 6–0
2. 15 กรกฎาคม 2001 สวิตเซอร์แลนด์ กัสตาด, สวิตเซอร์แลนด์ ดิน รัสเซีย มารัต ซาฟิน ออสเตรเลีย ไมเคิล ฮิลล์
สหรัฐ เจฟฟ์ ทารันโก
0–1 รีไทร์
3. 24 กุมภาพันธ์ 2002 เนเธอร์แลนด์ ร็อตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ (2) คอนกรีต (i) เบลารุส แมกซ์ เมิร์นยี ประเทศบาฮามาส มาร์ค โนว์ลส
แคนาดา ดาเนียล เนสเตอร์
4–6, 6–3, [10–4]
4. 6 ตุลาคม 2002 รัสเซีย มอสโก, รัสเซีย พรม (i) เบลารุส แมกซ์ เมิร์นยี ออสเตรเลีย โจชัว อีเกิล
ออสเตรเลีย แซนดอน สโตลล์
6–4, 7–6 (0)
5. 30 มีนาคม 2003 สหรัฐ ไมอามี, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต เบลารุส แมกซ์ เมิร์นยี อินเดีย ลีนเดอร์ เพส
เช็กเกีย ดาวิด ริคล์
7–5, 6–3
6. 12 ตุลาคม 2003 ออสเตรีย เวียนนา, ออสเตรีย คอนกรีต (i) สวิตเซอร์แลนด์ ยเวส อัลเลโกร อินเดีย มาเฮช บูพาติ
เบลารุส แมกซ์ เมิร์นยี
7–6 (7), 7–5
7. 12 มิถุนายน 2005 แม่แบบ:Country data เยอรมัน ฮัลเล, เยอรมัน หญ้า สวิตเซอร์แลนด์ ยเวส อัลเลโกร สวีเดน โจอาคิม โยฮันส์สัน
รัสเซีย มารัต ซาฟิน
7–5, 6–7 (6), 6–3
8. 16 สิงหาคม 2008 ประเทศจีน กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ค.ศ. 2008, ปักกิ่ง, จีน คอนกรีต สวิตเซอร์แลนด์ สตานิสลาส วาวรินกา สวีเดน ไซมอน แอสพีลิน
สวีเดน โทมัส โยฮันส์สัน
6–3, 6–4, 6–7 (4), 6–3
รองชนะเลิศ (5)[แก้]
รายการ (ก่อน/หลังปี 2009)
เอทีพี มาสเตอร์ซีรีส์ /
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ มาสเตอร์ 1000 (2)
เอทีพี อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ โกลด์ /
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ 500 ซีรีส์ (1)
เอทีพี อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ /
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ 250 ซีรีส์ (2)
แบ่งตามพื้นสนาม
คอนกรีต (4)
ดิน (0)
หญ้า (0)
พรม (1)
แบ่งตามสภาพสนาม
นอกร่ม (2)
ในร่ม (3)
ลำดับ วันที่ รายการ พื้นสนาม จับคู่กับ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 29 ตุลาคม 2000 สวิตเซอร์แลนด์ บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ พรม (i) สโลวาเกีย โดมินิค เฮอร์บาตี สหรัฐ โดนัลด์ จอห์นสัน
แอฟริกาใต้ ปีเตอร์ นอร์วัล
7–6 (11), 4–6, 7–6 (4)
2. 17 มีนาคม 2002 แม่แบบ:Country data อเมริกา อินเดียนเวลส์, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต เบลารุส แมกซ์ เมิร์นยี ประเทศบาฮามาส มาร์ค โนว์ลส
แคนาดา ดาเนียล เนสเตอร์
6–4, 6–4
3. 23 กุมภาพันธ์ 2003 เนเธอร์แลนด์ ร็อตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ คอนกรีต (i) เบลารุส แมกซ์ เมิร์นยี ออสเตรเลีย เวย์น อาเธอร์ส
ออสเตรเลีย พอล ฮันเลย์
7–6 (4), 6–2
4. 3 ตุลาคม 2004 ไทย กรุงเทพฯ, ไทย คอนกรีต (i) สวิตเซอร์แลนด์ ยเวส อัลเลโกร สหรัฐ จัสติน กิเมลสตอบ
สหรัฐ เกรย์ดอน โอลิเวอร์
5–7, 6–4, 6–4
5. 19 มีนาคม 2011 แม่แบบ:Country data อเมริกา อินเดียนเวลส์, สหรัฐอเมริกา (2) คอนกรีต สวิตเซอร์แลนด์ สตานิสลาส วาวรินกา ยูเครน อเล็กซานเดอร์ โดลโกโปลอฟ
เบลเยียม ซาวิเย่ร์ มาลิส
4–6, 7–6(5), [7–10]
(i) = ในร่ม

ตารางสถิติการแข่งขันอาชีพในรายการสำคัญ[แก้]

ตารางนี้จะช่วยอธิบายความหมายของแต่ละข้อความรวมทั้งอักษรย่อ

ตารางเพื่อสร้างความเข้าใจในข้อความและอักษรย่อ
ชนะเลิศ / เข้าร่วม อัตราส่วนของจำนวนครั้งที่ชนะเลิศ
ต่อจำนวนครั้งที่เข้าร่วมแข่งขันในรายการนั้น
ชนะ–แพ้ จำนวนแมตช์ที่ชนะ–แพ้
รายละเอียดของแต่ละอักษรย่อ
NMS รายการนั้นยังไม่ได้เป็นรายการระดับ
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ มาสเตอร์ 1000
NM1 รายการนั้นไม่ใช่รายการระดับเอทีพี
เวิลด์ ทัวร์ มาสเตอร์ 1000 อีกต่อไป
NH ไม่มีการจัดการแข่งขันรายการนั้น A ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการนั้น
LQ ตกรอบคัดเลือก #R 1R = ตกรอบแรก, 2R = ตกรอบที่สอง
3R = ตกรอบที่สาม, 4R = ตกรอบที่สี่
(RR = ตกรอบ Round Robin)
QF ตกรอบก่อนรองชนะเลิศ (8 คนสุดท้าย) SF ตกรอบรองชนะเลิศ (4 คนสุดท้าย)
F รองชนะเลิศ (รองแชมป์) W ชนะเลิศ (แชมป์เปี้ยน)

ประเภทเดี่ยว[แก้]

รายการ 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 ชนะเลิศ /
เข้าร่วม
รวม
ชนะ–แพ้
รวม %
การชนะ
แกรนด์สแลม
ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน A LQ 3R 3R 4R 4R W SF W W SF F W SF 4 / 12 59–8 88.06
ฝรั่งเศส เฟรนช์โอเพน A 1R 4R QF 1R 1R 3R SF F F F W QF 1 / 12 43–11 79.63
สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน A 1R 1R QF 1R W W W W W F W QF 6 / 12 55–6 90.16
สหรัฐ ยูเอสโอเพน A LQ 3R 4R 4R 4R W W W W W F SF 5 / 11 56–6 90.32
ชนะเลิศ / เข้าร่วม 0 / 0 0 / 2 0 / 4 0 / 4 0 / 4 1 / 4 3 / 4 2 / 4 3 / 4 3 / 4 1 / 4 2 / 4 1 / 4 0/ 1 16 / 46 N/A 34.78
ชนะ–แพ้ 0–0 0–2 7–4 13–4 6–4 13–3 22–1 24–2 27–1 26–1 24–3 26–2 20-3 5-1 N/A 213–31 87.30
แชมป์เปี้ยนชิพส่งท้ายปี
สหราชอาณาจักร เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ ไฟนอล A A A A SF W W F W W RR SF W 5 / 9 34–7 82.93
โอลิมปิกเกมส์
Olympic flag.svg กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน Not Held SF Not Held 2R Not Held QF Not Held 0 / 3 8–4 66.67
เอทีพี มาสเตอร์ซีรีส์ / เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ มาสเตอร์ 1000 (ก่อน/หลังปี 2009)
สหรัฐ อินเดียนเวลส์ A A LQ 1R 3R 2R W W W 2R SF SF 3R 3 / 10 30–7 81.08
สหรัฐ ไมอามี A 1R 2R QF F QF 3R W W 4R QF SF 4R 2 / 12 36–10 78.26
โมนาโก มอนติคาร์โล A 1R 1R QF 2R A A QF F F F 3R A 0 / 9 21–9 70.00
อิตาลี โรม A A 1R 3R 1R F 2R A F 3R QF SF 2R 0 / 10 19–10 65.51
สเปน มาดริด A A 2R 2R QF SF A A W F SF W F 2 / 9 27–7 79.41
แคนาดา แคนาดา A A 1R A 1R SF W A W F 2R QF F 2 / 9 26–7 78.79
สหรัฐ ซินซินเนติ A A 1R A 1R 2R 1R W 2R W 3R W W 4/10 23–6 79.31
ประเทศจีน เซี่ยงไฮ้ Not Held NMS Not Held Not Masters Series A F 0 / 1 4–1 80.00
ฝรั่งเศส ปารีส A A 1R 2R QF QF A A A 3R QF 2R SF 0 / 8 10–7 58.82
เยอรมนี ฮัมบวร์ค A A 1R 1R W 3R W W A W F NM1 4 / 8 29–4 87.88
ชนะเลิศ / เข้าร่วม 0 / 0 0 / 2 0 / 8 0 / 7 1 / 9 0 / 8 3 / 6 4 / 5 4 / 7 2 / 9 0 / 9 2 / 8 1 / 8 17 / 86 N/A 34.78
ชนะ–แพ้ 0–0 0–2 2–8 8–7 18–8 21–8 20–3 27–1 34–3 26–7 22–8 24–6 22-7 N/A 224–678 76.71
เอทีพี อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ โกลด์ / เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ 500 ซีรีส์ (ก่อน/หลังปี 2009)
เนเธอร์แลนด์ ร็อตเตอร์ดัม 250 QF A F QF SF QF W A A A A A 1 / 6 19–5 79.17
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูไบ Held as ATP 250 A 2R W W W F W 1R A A 4 / 7 25–3 89.29
สเปน บาร์เซโลนา A A 1R A A A A A A A A A A 0 / 1 0–1 0.00
สหรัฐ วอชิงตัน ดี.ซี. A 1R A A A Held as ATP 250 A A 0 / 1 0–1 0.00
สหรัฐ อินเดียนาโพลิส A A 1R A A Held as ATP 250 0 / 1 0–1 0.00
ญี่ปุ่น โตเกียว A A A A A A A A W A A A A 1 / 1 5–0 100.00
สวิตเซอร์แลนด์ บาเซิล Held as ATP 250 F W 1 / 2 9–1 90.00
ออสเตรีย เวียนนา A SF SF QF W W A A A A A ATP 250 2 / 5 18–3 85.71
ชนะเลิศ / เข้าร่วม 0 / 0 0 / 3 0 / 3 0 / 2 1 / 3 2 / 3 1 / 2 2 / 2 1 / 2 1 / 1 0 / 1 0 / 1 1 / 1 9 / 24 N/A 37.50
ชนะ–แพ้ 0–0 6–3 3–3 6–2 8–2 13–1 7–1 10–0 9–1 5–0 0–1 4–1 5–0 N/A 76–15 83.52
เอทีพี อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ / เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ 250 ซีรีส์ (ก่อน/หลังปี 2009)
ประเทศกาตาร์ โดฮา A A A A A QF A W W A A SF SF W 3 / 6 23–3 88.46
ออสเตรเลีย อเดเลด A A 2R A A A A A A A A A A 0 / 1 1–1 50.00
ออสเตรเลีย ซิดนีย์ A A A QF W 1R A A A A A A A 1 / 3 7–2 77.78
ออสเตรเลีย โอคแลนด์ A A 1R A A A A A A A A A A 0 / 1 0–1 0.00
ฝรั่งเศส มาร์เซย์ A QF F SF A W A A A A A A A 1 / 4 14–3 82.35
อิตาลี มิลาน A A QF W F A A A Not Held 1 / 3 11–2 84.62
เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน A A SF A A A Not Held 0 / 1 3–1 75.00
โปรตุเกส เอสโตริล A A A A A A A A A A W A SF 1 / 2 7–1 87.50
เยอรมนี มิวนิก A A A A A W A A A A A A A 1 / 1 5–0 100.0
ออสเตรีย เซนต์โพลเทน A A 1R A A A A A A A A Not Held 0 / 1 0–1 0.00
สหราชอาณาจักร ลอนดอน A 1R A A A A A A A A A A A 0 / 1 0–1 0.00
เยอรมนี ฮัลเล A A QF QF SF W W W W A W A F 5 / 9 36–4 90.00
สหราชอาณาจักร นอตติงแฮม A A 1R A A A A A A A A Not Held 0 / 1 0–1 0.00
เนเธอร์แลนด์ เฮอร์โตเกนบอช A A A 1R A A A A A A A A A 0 / 1 0–1 0.00
สวิตเซอร์แลนด์ กัสตาด 1R 1R 1R 1R 2R F W A A A A A A 1 / 7 9–6 66.67
สหรัฐ ลองไอส์แลนด์ A A A A 2R A A A A A A A A 0 / 1 1–1 50.00
อุซเบกิสถาน ทาชเคนท์ A 2R A A A Not Held 0 / 1 1–1 50.00
ฝรั่งเศส ตูลูส QF 2R A Not Held 0 / 2 3–2 60.00
ไทย กรุงเทพฯ A A A A A A W W A A A A A 2 / 2 10–0 100.00
รัสเซีย มอสโก A A A 1R QF A A A A A A A A 0 / 2 2–2 50.00
สวิตเซอร์แลนด์ บาเซิล 1R QF F F SF 2R A A W W W ATP 500 3 / 9 29–6 82.86
ฝรั่งเศส ลียง A 2R 2R A A A A A A A A A NH 0 / 2 2–2 50.00
สวีเดน สต็อกโฮล์ม A A 2R A A A A A A A A A W 1 / 2 5–1 83.33
สถิติการแข่งขันเทนนิสอาชีพ
รายการที่ลงทำการแข่งขัน 3 14 28 22 25 23 17 15 17 16 19 15 18 2 รวม: 233
รายการที่ได้รองแชมป์ 0 0 2 2 2 2 0 1 4 4 4 4 4 0 รวม: 28
รายการที่ได้แชมป์ 0 0 0 1 3 7 11 11 12 8 4 4 5 1 รวม: 67
สถิติบนพื้นผิวแต่ละประเภท
คอนกรีต ชนะ–แพ้ 2–2 7–7 24–15 21–9 30–11 46–11 46–4 50–1 59–2 44–6 34–10 36–10 47-7 10-1 N/A 456–96 82.61
ดิน ชนะ–แพ้ 0–1 0–4 3–7 9–5 12–5 15–4 16–2 15–2 16–3 16–3 21–4 18–2 10-4 0-0 N/A 151–46 76.64
หญ้า ชนะ–แพ้ 0–0 0–2 2–3 9–3 5–3 12–0 12–0 12–0 12–0 6–0 11–1 7–0 8-2 0-0 N/A 96-14 87.27
พรม ชนะ–แพ้ 0–0 6–4 7–4 10–4 11–4 5–2 0–0 4–1 5–0 2–0 0–0 0–0 0–0 0-0 N/A 50–19 72.46
รวมทุกพื้นผิว ชนะ–แพ้ 2–3 13–17 36–29 49–21 58–23 78–17 74–6 81–4 92–5 68–9 66–15 61–12 65-13 10-1 N/A 753-175 81.14
เปอร์เซ็นต์การชนะ (%) 40% 43% 55% 70% 72% 82% 93% 95% 95% 88% 81% 84% 83% 91% รวม (%) : 81%
อันดับโลกเมื่อสิ้นปี 301 64 29 13 6 2 1 1 1 1 2 1 2 N/A

ประเภทคู่[แก้]

รายการ 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 ชนะเลิศ /
เข้าร่วม
รวม
ชนะ–แพ้
รวม %
การชนะ
แกรนด์สแลม
ออสเตรเลียนโอเพน A A 1R 1R A 3R 1R A A A A A A 0 / 4 2–4 33.33
เฟรนช์โอเพน A A 1R A A A A A A A A A A 0 / 1 0–1 0.00
วิมเบิลดัน A 3R QF 3R A A A A A A A A A 0 / 3 7–3 70.00
ยูเอสโอเพน A A 2R A 3R A A A A A A A A 0 / 2 3–2 60.00
ชนะเลิศ / เข้าร่วม 0 / 0 0 / 1 0 / 4 0 / 2 0 / 1 0 / 1 0 / 1 0 / 0 0 / 0 0 / 0 0 / 0 0 / 0 0 / 0 0 / 10 N/A 0.00
ชนะ–แพ้ 0–0 2–1 4–4 2–2 2–1 2–1 0–1 0–0 0–0 0–0 0–0 0–0 0–0 N/A 12–10 54.55
แชมป์เปี้ยนชิพส่งท้ายปี
เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ ไฟนอล A A A A A A A A A A A A A 0 / 0 0–0
โอลิมปิกเกมส์
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน Not Held A Not Held 2R Not Held W Not Held 1 / 2 6–1 85.71

เงินรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขันเทนนิสอาชีพ[แก้]

ปี รายการ
แกรนด์สแลม
รายการ
ATP
รวม เงินรางวัล
($)
อันดับของ
เงินรางวัล
1998 0 0 0 27,955[31]
1999 0 0 0 225,139[32] 97[32]
2000 0 0 0 623,782[33] 27[33]
2001 0 1 1 865,425[34] 14[34]
2002 0 3 3 1,995,027[35] 4[35]
2003 1 6 7 4,000,680[36] 1[36]
2004 3 8 11 6,357,547[37] 1[37]
2005 2 9 11 6,137,018[38] 1[38]
2006 3 9 12 8,343,885[39] 1[39]
2007 3 5 8 10,130,620[40] 1[40]
2008 1 3 4 5,886,879[41] 2[41]
2009 2 2 4 8,768,110[42] 1[42]
2010* 1 1 2 3,552,635[43] 2[43]
รวม* 16 47 63 56,914,704[44] 1[44]
*จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2553

อ้างอิง[แก้]

  1. "Player profile – Roger Federer". ATP World Tour.
  2. "Rankings | Singles | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
  3. "Roddick: Federer might be greatest ever". The Associated Press. 2005-07-03. สืบค้นเมื่อ 2007-03-02. Check date values in: |date= (help)
  4. "Federer inspires comparisons to all-time greats". The Associated Press. 2004-09-12. สืบค้นเมื่อ 2007-03-02. Check date values in: |date= (help)
  5. "4-In-A-Row For Federer". The Associated Press. 2006-07-09. สืบค้นเมื่อ 2007-03-02. Check date values in: |date= (help)
  6. Sarkar, Pritha (2005-07-04). "Greatness beckons Federer". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2007-03-02. Check date values in: |date= (help)
  7. Collins, Bud (2005-07-03). "Federer Simply In a League of His Own". MSNBC Website. MSNBC.COM. สืบค้นเมื่อ 2007-04-09. Check date values in: |date= (help)
  8. "Jack Kramer: Federer is the best I have ever seen". The Observer. 2007-06-24. สืบค้นเมื่อ 2007-07-15. Italic or bold markup not allowed in: |publisher= (help); Check date values in: |date= (help)
  9. "Swiss stamp honours Federer". สืบค้นเมื่อ 2007-04-22.
  10. "Winners Archive Roger Federer". สืบค้นเมื่อ 2008-07-10.
  11. "โรเจอร์ เฟเดอเรอร์" คว้าแชมป์วิมเบิลดัน เป็นสมัยที่ 5 กรุงเทพธุรกิจ
  12. "Profile". rogerfederer.com. สืบค้นเมื่อ 2007-07-19.
  13. 13.0 13.1 13.2 "Ask Roger - Official Website". สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  14. "Favorite Football Team". สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  15. Malinowski, Scoop (2005-03-22). "Marcelo Rios: The Man We Barely Knew". Tennis Week. สืบค้นเมื่อ 2007-03-02. Check date values in: |date= (help)
  16. Boeck, Greg (2004-03-15). "Low-key Federer on top of world". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2007-03-28. Check date values in: |date= (help)
  17. "Favorite Vacation Spot". สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  18. "Roger Federer Foundation". สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  19. "Tennis stars rally for UNICEF's tsunami relief". UNICEF.com. 2005-01-13. สืบค้นเมื่อ 2007-03-02. Check date values in: |date= (help)
  20. Dolan, Sabine (2006-04-03). "UNICEF's newest Goodwill Ambassador, tennis star Roger Federer, hits an ace for children". UNICEF.com. สืบค้นเมื่อ 2007-03-02. Check date values in: |date= (help)
  21. "Goodwill Ambassador Roger Federer sees tsunami recovery progress in Tamil Nadu". UNICEF.com. สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  22. Clarey, Christopher (2006-06-25). "Coming to grips with today's forehand". International Herald Tribune. สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  23. "On court". Swissinfo.com. สืบค้นเมื่อ 2007-07-10.
  24. Wallace, David Foster (2006-08-20). "Federer as Religious Experience". Play Magazine. New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-06-21.
  25. "Service Speed Comparison:Federer, Roddick, Sampras". สืบค้นเมื่อ 2007-05-31.
  26. "Roger Federer Equipment". สืบค้นเมื่อ 2007-03-07.
  27. "Ask Roger; Official Website". สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  28. Hodgkinson, Mark (2006-06-27). "More jacket than racket for Federer". Telegraph.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2007-09-05.
  29. "Roger Federer-Sponsors". rogerfederer.com. สืบค้นเมื่อ 2007-06-20.
  30. "Gillette Winners". สืบค้นเมื่อ 2007-09-28.
  31. "Federer Prize Money 1998" (TXT). สืบค้นเมื่อ 2008-09-13.
  32. 32.0 32.1 "ATP Prize Money for 12/13/99" (TXT). สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  33. 33.0 33.1 "ATP Prize Money for 12/18/00" (TXT). สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  34. 34.0 34.1 "Prize money leaders 11/19/01" (TXT). สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  35. 35.0 35.1 "ATP Prize Money for 12/09/02" (TXT). สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  36. 36.0 36.1 "ATP Prize Money for 12/15/03" (TXT). สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  37. 37.0 37.1 "ATP Prize Money for 12/13/04" (TXT). สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  38. 38.0 38.1 "ATP Prize Money for 12/19/05" (TXT). สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  39. 39.0 39.1 "ATP Prize Money for 12/18/06" (TXT). สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  40. 40.0 40.1 "ATP Prize Money for 12/24/07" (TXT). สืบค้นเมื่อ 2008-01-28.
  41. 41.0 41.1 "ATP Prize Money for 12/29/08" (TXT). สืบค้นเมื่อ 2009-02-07.
  42. 42.0 42.1 "ATP Prize Money for 12/28/09" (TXT). สืบค้นเมื่อ 2010-01-07.
  43. 43.0 43.1 "2010 Prize Money" (PDF). ATP World Tour. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23. Italic or bold markup not allowed in: |publisher= (help)
  44. 44.0 44.1 "Career Prize Money" (PDF). ATP World Tour. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23. Italic or bold markup not allowed in: |publisher= (help)