วิกิพีเดีย:ลิขสิทธิ์

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิกิพีเดีย:C)

นโยบาย
นโยบายและแนวปฏิบัติในวิกิพีเดีย
หลักการสากล
ห้าเสาหลัก
อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
ปล่อยวางกฎทั้งหมด
พฤติกรรม
ประพฤติเยี่ยงอารยชน
นโยบายการเขียน
สงครามแก้ไข
ความเป็นเจ้าของบทความ
อย่าว่าร้ายผู้อื่น
เนื้อหา
มุมมองที่เป็นกลาง
งดงานค้นคว้าต้นฉบับ
การพิสูจน์ยืนยันได้
หลักการตั้งชื่อบทความ
ชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่
การลบ
นโยบายการลบ
เงื่อนไขสำหรับการลบทันที
กฎข้อบังคับ
ผู้ดูแลระบบ
นโยบายการบล็อกผู้ใช้
บอต
นโยบายการล็อก
หุ่นเชิด
ชื่อผู้ใช้
การก่อกวน
ลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์
นโยบายการใช้ภาพ
เนื้อหาที่ใช้งานโดยชอบธรรม
ดูเพิ่ม
รายชื่อนโยบายทั้งหมด
รายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมด

ข้อความสำคัญ มูลนิธิวิกิมีเดียมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ข้อความหรือภาพประกอบในบทความวิกิพีเดีย ฉะนั้นการส่งอีเมลตามที่อยู่ติดต่อของเราเพื่อขออนุญาตทำซ้ำซึ่งบทความหรือภาพจึงเปล่าประโยชน์ แม้กฎที่บริษัท สถานศึกษาหรือองค์การบัญญัติให้คุณขอผู้ดำเนินการเว็บไซต์ก่อนคัดลอกเนื้อหาก็ตาม

เนื้อหาวิกิพีเดียอย่างเดียวที่คุณควรติดต่อมูลนิธิวิกิมีเดียเป็นตราสัญลักษณ์วิกิพีเดีย/วิกิมีเดียซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้า ไม่สามารถใช้ได้อย่างเสรีโดยไม่ได้รับอนุญาต

ผู้ประพันธ์บทความปัจเจกอนุญาตให้ผลิตซ้ำหรือดัดแปลงข้อความในวิกิพีเดียแล้วทุกคนทุกที่ตราบเท่าที่การผลิตซ้ำและดัดแปลงดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขอนุญาต (ดูด้านล่าง) ส่วนภาพอาจอนุญาตให้ใช้ซ้ำและดัดแปลงหรือไม่ให้ตรวจสอบดูเงื่อนไขการผลิตซ้ำของแต่ละภาพแยกกัน ข้อยกเว้นเดียวได้แก่กรณีที่ผู้เขียนละเมิดนโยบายวิกิพีเดียโดยการอัปโหลดเนื้อความมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือมีเงื่อนไขสัญญาอนุญาตลิขสิทธิ์ซุ่งเข้าไม่ได้กับที่ผู้เขียนวิกิพีเดียใช้กับเนื้อหาวิกิพีเดียส่วนที่เหลือ แม้สื่อนั้นปรากฏบนวิกิพีเดีย (ก่อนมีการตรวจพบและนำออก) การคัดลอกสื่อดังกล่าวจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ในการขออนุญาตใช้สื่อ คุณต้องติดต่อกับผู้ทรงลิขสิทธิ์ของข้อความหรือภาพประกอบที่กล่าวถึง ซึ่งมักเป็นผู้ประพันธ์ดั้งเดิม แต่ไม่เสมอไป

หากคุณต้องการใช้ซ้ำซึ่งเนื้อหาจากวิกิพีเดีย ให้อ่านส่วน สิทธิและข้อผูกพันของผู้ใช้ซ้ำก่อน แล้วอ่าน สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ต้นฉบับ และสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู เป็นลำดับต่อไป

ข้อความในวิกิพีเดียเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนวิกิพีเดียอัตโนมัติภายใต้อนุสัญญากรุงเบิร์นฯ และอนุญาตต่อสาธารณะภายใต้สัญญาอนุญาตเสรีหนึ่งหรือหลายสัญญาอนุญาตอย่างเป็นทางการ ข้อความส่วนใหญ่และหลายภาพบนวิกิพีเดียอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตคู่ ได้แก่ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 (CC-BY-SA) และสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู (GDFL) (ไม่มีรุ่น โดยไม่มีส่วนห้ามเปลี่ยน ข้อความปกหน้า หรือข้อความปกหลัง) บางข้อความถูกนำเข้ามาเฉพาะภายใต้สัญญาอนุญาต CC-BY-SA หรือที่เข้ากันได้กับ CC-BY-SA เท่านั้น และไม่สามารถนำไปใช้ซ้ำภายใต้ GDFL ได้ ข้อความเช่นนี้จะถูกระบุที่ข้อความท้ายหน้า ในประวัติหน้า หรือหน้าอภิปรายของบทความที่ใช้ข้อความนั้น ส่วนทุกภาพมีหน้าคำอธิบายซึ่งบ่งชี้สัญญาอนุญาตที่เผยแพร่ หรือรวมถึงเหตุผลที่ใช้ภาพนั้น หากไม่เสรี

สัญญาอนุญาตที่วิกิพีเดียใช้อยู่ให้การเข้าถึงเนื้อหาของเราอย่างเสรีในแบบเดียวกับที่ซอฟต์แวร์เสรีอนุญาตอย่างเสรี เนื้อหาวิกิพีเดียสามารถคัดลอก ดัดแปลงและแจกจ่ายใหม่เฉพาะเมื่อรุ่นที่ถูกคัดลอกไปนั้นนำไปใช้ในเงื่อนไขเดิมแก่ผู้อื่น และรวมกิตติกรรมประกาศผู้เขียนบทความวิกิพีเดียด้วย (โดยทั่วไป ลิงก์กลับมาหาบทความก็เป็นไปตามข้อกำหนดแสดงที่มาเพียงพอแล้ว) ดังนั้น เนื้อหาวิกิพีเดียที่คัดลอกไปจะยังคงเสรีภายใต้สัญญาอนุญาตที่เหมาะสม และทุกคนสามารถใช้ต่อไปได้โดยอยู่ภายใต้การจำกัดบางประการ ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งหมายเพื่อรับประกันเสรีภาพดังกล่าว หลักการนี้รู้จักกันในชื่อ กอปปีเลฟต์ (copyleft) ตรงข้ามกับสัญญาอนุญาตลิขสิทธิ์ทั่วไป

สุดท้ายนี้

ข้อความภาษาอังกฤษของสัญญาอนุญาต CC-BY-SA และ GFDL เป็นข้อจำกัดที่ผูกพันตามกฎหมายอย่างเดียวระหว่างผู้ประพันธ์กับผู้ใช้เนื้อหาวิกิพีเดีย

สิทธิและข้อผูกพันของผู้ร่วมเขียน

หากคุณเพิ่มข้อความมายังวิกิพีเดียโดยตรง ด้วยวิธีนั้น คุณยินยอมให้สาธารณะสามารถใช้ซ้ำภายใต้ CC-BY-SA และ GFDL (ไม่มีรุ่น โดยไม่มีส่วนห้ามเปลี่ยน ข้อความปกหน้าหรือข้อความปกหลัง) สื่อที่มิใช่ข้อความสามารถส่งเข้ามาภายใต้สัญญาอนุญาตต่าง ๆ กันที่สนับสนุนเป้าหมายการอนุญาตการใช้ซ้ำและการแจกจ่ายอย่างไม่จำกัดทั่วไป

หากคุณต้องการนำเข้าข้อความที่คุณพบที่อื่นหรือที่คุณร่วมเขียนกับผู้อื่น คุณสามารถทำได้เฉพาะเมื่อข้อความนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เข้ากันได้กับสัญญาอนุญาต CC-BY-SA คุณไม่จำเป็นต้องทำให้แน่ใจหรือรับประกันว่า ข้อความที่นำเข้ามาอนุญาตภายใต้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ยกเว้นคุณเป็นผู้เขียนเดี่ยว ยิ่งไปกว่านั้น โปรดสังเกตว่า คุณไม่สามารถนำเข้าสารสนเทศซึ่งเผยแพร่เฉพาะภายใต้ GFDL หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า คุณสามารถนำเข้าข้อความเฉพาะที่ (ก) มีสัญญาอนุญาตเดี่ยวภายใต้เงื่อนไขที่เข้ากันได้กับสัญญาอนุญาต CC-BY-SA หรือ (ข) มีสัญญาอนุญาตคู่กับ GFDL โดยที่อีกสัญญาอนุญาตหนึ่งต้องมีเงื่อนไขเข้ากันได้กับสัญญาอนุญาต CC-BY-SA หากคุณเป็นผู้เขียนสาระนั้นเพียงผู้เดียว คุณต้องกำหนดสัญญาอนุญาตทั้ง CC-BY-SA และ GFDL

คุณยังคงลิขสิทธิ์เหนือสาระที่คุณร่วมเขียนวิกิพีเดีย ทั้งข้อความและสื่อ ลิขสิทธิ์ไม่เคยถูกโอนให้แก่วิกิพีเดีย ภายหลังคุณสามารถตีพิมพ์ซ้ำและระบุสัญญาอนุญาตใหม่ในทางใดก็ได้ อย่างไรก็ดี คุณไม่สามารถถอนหรือเปลี่ยนสัญญาอนุญาตสำเนาสาระที่คุณใส่ไว้ที่นี่ สำเนาเหล่านี้จะอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตกระทั่งตกเป็นสาธารณสมบัติเมื่อลิขสิทธิ์ของคุณหมดอายุ (คือ หลายสิบปีหลังการเสียชีวิตของผู้เขียน)

การใช้งานมีลิขสิทธิ์จากผู้อื่น

งานสร้างสรรค์ทั้งหมดมีลิขสิทธิ์โดยความตกลงระหว่างประเทศ ยกเว้นตกเป็นสาธารณสมบัติหรือมีการบอกเลิกข้อเรียกร้องลิขสิทธิ์ของงานเหล่านั้นอย่างชัดเจน โดยทั่วไป วิกิพีเดียต้องมีคำอนุญาตเพื่อใช้งานมีลิขสิทธิ์ มีบางพฤติการณ์ซึ่งงานมีลิขสิทธิ์อาจใช้ประโยชน์ได้ตามกฎหมายโดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน ดู วิกิพีเดีย:เนื้อหาไม่เสรี สำหรับรายละเอียดจำเพาะเมื่อใดและวิธีใช้ประโยชน์เนื้อความดังกล่าว ทว่าความสามารถแจกจ่ายเนื้อความของวิกิพีเดียให้มากที่สุดเท่าที่มากได้อย่างเสรีเป็นเป้าหมายของเรา ฉะนั้นภาพและไฟล์เสียงต้นฉบับซึ่งอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาต CC BY-SA และ GFDL (ไม่มีรุ่น โดยไม่มีส่วนไม่เปลี่ยนแปลง ข้อความปกหน้าหรือข้อความปกหลัง) หรือภาพและไฟล์เสียงต้นฉบับที่เป็นสาธารณสมบัติควรเลือกใช้มากกว่าไฟล์สื่อมีลิขสิทธิ์ภายใต้การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบหรืออย่างอื่นมาก

หากคุณต้องการนำเข้าซึ่งสื่อ (รวมทั้งข้อความ) ที่คุณพบที่อื่น และคุณไม่เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติเนื้อหาไม่เสรี คุณสามารถทำเช่นนั้นได้เฉพาะสาธารณสมบัติหรือมีอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เข้าได้กับสัญญาอนุญาต CC BY-SA หากคุณนำเข้าซึ่งสื่อภายใต้สัญญาที่เข้ากันได้ซึ่งต้องการแสดงที่มา คุณต้องให้เกียรติผู้ประพันธ์อย่างสมเหตุสมผล ในกรณีส่วนใหญ่คุณยังต้องพิสูจน์ยืนยันว่าเนื้อความนั้นอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตที่เข้าได้หรือเป็นสาธารณสมบัติ หากสิ่งพิมพ์เผยแพร่ต้นฉบับมีการบอกเลิกข้อเรียกร้องลิขสิทธิ์หรือสิ่งบ่งชี้อื่นว่าเนื้อความนั้นใช้ได้โดยเสรี การเชื่อมโยงไปหน้านั้นในคำอธิบายสื่อหรือหน้าคุยของบทความอาจสอดคล้องกับข้อกำหนดนี้ หากคุณได้คำอนุญาตพิเศษให้ใช้งานมีลิขสิทธิ์จากผู้ทรงลิขสิทธิ์ภายใต้เงื่อนไขที่เข้าได้ คุณจะต้องหมายเหตุข้อเท็จจริงนั้น (ร่วมกับชื่อและวันที่ที่สัมพันธ์) และพิสูจน์ยืนยันผ่านกระบวนการต่าง ๆ

ห้ามใช้เนื้อความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายและเป็นผลเสียต่อวิกิพีเดีอย่างร้ายแรง หากมีข้อสงสัย ให้เขียนเนื้อหาด้วยตัวคุณเอง ฉะนั้นเป็นการสร้างงานมีลิขสิทธิ์ใหม่ที่สามารถรวมอยู่ในวิกิพีเดียโดยไม่มีปัญหา

หมายเหตุว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ครอบคลุมการแสดงออกความคิดอย่างสร้างสรรค์ แต่ไม่รวมตัวความคิดหรือสารสนเทศเอง ฉะนั้นการอ่านบทความสารานุกรมหรืองานอื่น การสังเคราะห์มโนทัศน์ด้วยคำของคุณเอง และเสนอเข้ามายังวิกิพีเดีย ตราบเท่าที่คุณไม่ได้ยึดแหล่งที่มานั้นใกล้ชิดเกินไป ทว่า การไม่อ้างต้นฉบับเป็นแหล่งอ้างอิงยังผิดจริยธรรม (แม้ไม่ผิดกฎหมาย)

การโยงไปงานที่มีลิขสิทธิ์

เนื่องจากงานที่เพิ่งสร้างส่วนใหญ่มีลิขสิทธิ์ บทความวิกิพีเดียแทบทั้งหมดซึ่งอ้างแหล่งที่มาจะโยงไปยังเนื้อความที่มีลิขสิทธิ์ ไม่จำเป็นต้องได้มาซึ่งคำอนุญาตจากผู้ทรงลิขสิทธิ์ก่อนโยงไปเนื้อความที่มีลิขสิทธิ์ ดังที่ผู้ประพันธ์หนังสือไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อนอ้างอิงงานของผู้อื่นในบรรณานุกรม เช่นเดียวกันวิกิพีเดียไม่ได้จำกัดให้เชื่อมโยงเฉพาะกับเนื้อหา CC-BY-SA หรือโอเพนซอร์สเท่านั้น

อย่างไรก็ดีหากคุณทราบหรือมีข้อสงสัยอย่างสมเหตุสมผลว่าเว็บไซต์ภายนอกกำลังบรรจุงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ อย่าลิงก์ไปสำเนานั้น ตัวอย่างเช่น การโยงไปยังเว็บไซต์ที่มีเนื้อเพลงยอดนิยมซึ่งไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงลิขสิทธิ์ การชี้นำผู้อื่นให้ไปยังเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นโดยทราบและเจตนาถือเป็นการละเมิดร่วมรูปแบบหนึ่งในสหรัฐ การโยงไปยังหน้าที่จัดจำหน่ายงานของผู้อื่นอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมายจะสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อวิกิพีเดียและผู้เขียน

ทว่า สถานภาพลิขสิทธิ์ของหน่วยเก็บถาวรอินเทอร์เน็ตในสหรัฐไม่ชัดเจน ปัจจุบันการโยงไปหน่วยเก็บถาวรอินเทอร์เน็ต เช่น เวย์แบ็กแมชีน ซึ่งเก็บสำเนาเว็บเพจในหน่วยเก็บถาวรแบบไม่ดัดแปลงที่รับมา ณ ช่วงใดช่วงหนึ่ง ถือว่ายอมรับได้

ในบทความเกี่ยวกับเว็บไซต์ การมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์นั้นแม้อาจมีการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ที่หนึ่งที่ใดบนเว็บไซต์ดังกล่าวถือว่ายอมรับได้

บริบทเองก็มีึความสำคัญ การโยงไปยังบทปฏิทรรศน์ภาพยนตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่งของเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้อาจยอมรับได้ แม้นำเสนอภาพนิ่งจากภาพยนตร์ (ซึ่งการใช้โดยทั่วไปชัดเจนว่าได้รับอนุญาตจากผู้จัดจำหน่ายหรือได้รับอนุญาตภายใต้การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ) ทว่า การโยงไปยังภาพนิ่งของภาพยนตร์โดยตรงลบบริบทและการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมายของเว็บไซต์สำหรับการใช้ที่อนุญาตหรือการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ

การละเมิดลิขสิทธิ์

ผู้มีส่วนร่วมที่โพสต์เนื้อความมีลิขสิทธิ์ซ้ำซากแม้ได้รับคำเตือนอย่างเหมาะสมแล้วอาจถูกผู้ดูแลระบบบล็อกมิให้แก้ไขเพื่อป้องกันปัญหาเพิ่ม

หากคุณสงสัยการละเมิดลิขสิทธิ์ อย่างน้อยคุณควรนำประเด็นขึ้นในหน้าอภิปรายของหน้านั้น แล้วผู้อื่นสามารถตรวจสอบสถานการณ์และดำเนินการได้หากจำเป็น ในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณหลอก ตัวอย่างเช่น ข้อความที่พบที่อื่นบนเว็บที่จริงถูกคัดลอกมาจากวิกิพีเดียตั้งแต่แรกไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทางฝ่ายวิกิพีเดีย

หากหน้าหนึ่งมีเนื้อความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ควรลบเนื้อความนั้น หรือลบทั้งหน้าหากไม่มีเนื้อความอื่นใด ดูขั้นตอนในรายละเอียดที่ วิกิพีเดีย:ปัญหาลิขสิทธิ์

แนวปฏิบัติสำหรับภาพและไฟล์อื่น

ภาพ ภาพถ่าย วิดีทัศน์และไฟล์เสียงก็มีลิขสิทธิ์เช่นเดียวกับงานเขียน ย่อมมีผู้ทรงลิขสิทธิ์ยกเว้นอยู่ในสาธารณสมบัติอย่างชัดเจน ภาพ วิดีทัศน์และไฟล์เสียงบนอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องมีสัญญาอนุญาตโดยตรงจากผู้ทรงลิขสิทธิ์หรือผู้แทน ในบางกรณี แนวปฏิบัติการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบอาจทำให้ใช้ไฟล์เหล่านั้นได้ไม่ว่าการอ้างลิขสิทธิ์กรณีใด ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:เนื้อหาไม่เสรี

หน้าคำอธิบายภาพต้องติดป้ายระบุพิเศษเพื่อบ่งชี้สถานภาพทางลิขสิทธิ์ของภาพนั้น ตามที่อธิบายใน ป้ายระบุลิขสิทธิ์ภาพ ภาพที่ไม่ติดป้ายระบุหรือติดป้ายระบุไม่ถูกต้องจะถูกลบ

คุณสามารถถามข้อสงสัยเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ได้โดยตรงในหน้า วิกิพีเดีย:แผนกช่วยเหลือ

สิทธิและข้อผูกพันของผู้ใช้ซ้ำ

โลโก้วิกิพีเดีย/วิกิมีเดีย ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้า เป็นเนื้อหาวิกิพีเดียเพียงอย่างเดียวที่คุณควรติดต่อมูลนิธิวิกิมีเดีย เพราะไม่อนุญาตให้ใช้อย่างเสรีก่อนได้รับอนุญาต (สำหรับสื่อมวลชน ดู Foundation:Press room ส่วนบุคคลทั่วไป ดู วิกิพีเดีย:ติดต่อ) หากคุณต้องการใช้สาระอื่นในหนังสือ บทความ เว็บไซต์หรือสิ่งตีพิมพ์อื่นของคุณ คุณสามารถทำเช่นนั้นได้ แต่เฉพาะที่เข้ากันกับเงื่อนไขสัญญาอนุญาตเท่านั้น (ยกเว้นการใช้งานภายใต้ข้อกำหนดเนื้อหาไม่เสรี) โปรดปฏิบัติตามแนวปฏิบัติด้านล่าง

การใช้ข้อความซ้ำ

การแสดงที่มา
ในการแจกจ่ายข้อความบนวิกิพีเดียใหม่ในทุกรูปแบบ ให้เครดิตแก่ผู้เขียนโดยรวม ก) ไฮเปอร์ลิงก์ (เมื่อเหมาะสม) หรือยูอาร์แอลไปยังหน้าที่คุณกำลังใช้ซ้ำ (ข) ไฮเปอร์ลิงก์ (เมื่อเหมาะสม) หรือยูอาร์แอลไปยังสำเนาออนไลน์เสถียรอื่นที่เข้าถึงได้อย่างเสรี ซึ่งเข้ากันได้กับสัญญาอนุญาต และให้เครดิตแก่ผู้เขียนในแบบที่เทียบเท่ากับเครดิตที่ให้มายังเว็บไซต์นี้ หรือ (ค) รายการผู้เขียนทุกคน (ซึ่งอาจกรองให้ไม่รวมผู้ร่วมเขียนเล็กน้อยมากหรือไม่เกี่ยวข้อง) ข้อความจากแหล่งข้อมูลภายนอกอาจแนบข้อกำหนดการแสดงที่มาเพิ่มเติมแก่งาน ซึ่งควรชี้บนหน้าของบทความหรือในหน้าพูดคุย ตัวอย่างเช่น หน้านั้นอาจมีป้ายหรือประกาศอื่นบ่งชี้ว่า เนื้อหาบางส่วนหรือทั้งหมดเดิมเคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อน เมื่อประกาศนั้นมองเห็นได้ในหน้า โดยทั่วไปผู้ใช้ซ้ำควรคงไว้
กอปปีเลฟต์/อนุญาตแบบเดียวกัน
หากคุณดัดแปรหรือเพิ่มจากหน้าที่คุณใช้ซ้ำ คุณต้องให้สัญญาอนุญาตภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 หรือใหม่กว่า
บ่งชี้การเปลี่ยนแปลง
หากคุณดัดแปรหรือเพิ่ม คุณต้องระบุในรูปแบบที่สมเหตุสมผลว่า ผลงานดั้งเดิมถูกดัดแปร ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังใช้ซ้ำหน้าในวิกิ การบ่งชี้นี้ไปยังประวัติของหน้าก็ถือว่าเพียงพอ
ประกาศสัญญาอนุญาต
แต่ละสำเนาหรือรุ่นดัดแปรที่คุณแจกจ่าย ต้องรวมประกาศสัญญาอนุญาตที่แถลงว่า ผลงานเผยแพร่ภายใต้ CC-BY-SA และ (ก) ไฮเปอร์ลิงก์หรือยูอาร์แอลไปยังข้อความของสัญญาอนุญาต หรือ (ข) สำเนาของสัญญาอนุญาต อย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรณีนี้ ยูอาร์แอลที่เหมาะสมคือ http://creativecommons.org/licenses/by-sa/3.0/

คำถามที่ถามบ่อย

เราเพิ่มเนื้อหาที่มาจากที่อื่นลงในวิกิพีเดียได้หรือไม่

โดยปกติแล้ว ไม่ได้ ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ที่อยู่ตามเว็บไซต์ หรือหนังสือต่าง ๆ มักเป็นเนื้อหาที่สงวนลิขสิทธิ์ ซึ่งแม้ว่าไม่มีประกาศแจ้งลิขสิทธิ์ ไม่ได้หมายความว่าเนื้อหานั้นเป็นสาธารณสมบัติ โดยมีบางกรณีที่สามารถนำมาใช้ได้ หากผู้เขียนอนุญาตให้ใช้เนื้อหาภายใต้สัญญาอนุญาตที่เหมาะสม โดยหากยังต้องการเขียนเนื้อหาที่สงวนลิขสิทธิ์นั้น ให้ศึกษาวิกิพีเดีย:เขียนงานอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

ต้องทำอะไรบ้างหากนำเนื้อหาในวิกิพีเดียไปใช้

เนื้อหาในวิกิพีเดีย ยกเว้นข้อความที่อ้างอิงมานั้น อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาต CC-BY-SA และ GFDL ซึ่งนำไปใช้ได้หากเนื้องานของคุณนั้นอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเดียวกัน ซึ่งรวมทั้งหมายความว่าคุณควรระบุถึงผู้เขียน รวมถึงอนุญาตให้ผู้อื่นนำเนื้อหาของคุณไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหากงานของคุณนั้นไม่สามารถอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตดังกล่าว การอ้างอิงจากบทความวิกิพีเดียนั้นสามารถทำได้ ภายใต้การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ อย่างไรก็ตามรูปภาพที่ใช้ในบทความวิกิพีเดียอาจมีสัญญาอนุญาตที่แตกต่างกัน คุณสามารถคลิกที่ภาพและดูคำอธิบายลิขสิทธิ์ของแต่ละภาพได้

การคัดลอกข้อความไปลงในบล็อกส่วนตัว เว็บบอร์ด หรือเว็บไซต์อื่น

วิกิพีเดียเปิดเสรีให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องทำเรื่องขอ อย่างไรก็ตามตามสัญญาอนุญาต CC-BY-SA และ GFDL แล้วหากคุณนำไปใช้ในบล็อกส่วนตัวหรือเว็บบอร์ด คุณต้องเขียนข้อความและทำลิงก์ดังต่อไปนี้

  1. บอกที่มา และทำลิงก์กลับมาที่วิกิพีเดียในหน้าที่มีการนำไปใช้ โดยลิงก์กลับมาที่ตัวบทความที่คุณคัดลอกไป ไม่ใช่ลิงก์กลับมาเฉพาะเว็บ
  2. เขียนอธิบายเพิ่มเติมในลักษณะว่า ข้อมูลนี้อนุญาตให้ผู้อื่นนำไปคัดลอกต่อโดยเสรีเช่นกันตามสัญญาอนุญาต CC-BY-SA และ GFDL

สังเกตอย่างไรว่าบทความใดอาจละเมิดลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์ที่พบบ่อย มักจะมีจุดที่สังเกตได้ดังต่อไปนี้

  • ผู้ให้ข้อมูลไม่ได้สมัครสมาชิก ซึ่งแสดงเป็นหมายเลขไอพี หรือผู้ใช้ที่เพิ่งสมัครใหม่ไม่นาน ผู้ใช้กลุ่มนี้มีแนวโน้มสูงว่าจะเป็นผู้เยี่ยมชมขาจรซึ่งอาจยังไม่ทราบถึงนโยบายวิกิพีเดีย
  • เพิ่มเนื้อหาจำนวนมากในคราวเดียว หรือการจัดรูปแบบไม่เป็นวิกิ เพราะบ่อยครั้งที่ผู้ให้ข้อมูลใช้วิธี copy-paste จึงทำให้เนื้อหาไม่อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน ดูเพิ่มที่ ประวัติตัวกรองการแก้ไขหมายเลข 26
  • การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ภายนอกโดยเชื่อว่าเป็นการให้เครดิต กรณีนี้สามารถตรวจสอบได้ง่ายว่าข้อความเหมือนกันหรือคล้ายกันมากหรือไม่ ถ้าแหล่งข้อมูลนั้นไม่ได้เป็น CC-BY-SA และ GFDL หรือไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ก็อาจเป็นการละเมิดได้
  • พบเนื้อหาที่เหมือนกันบนเสิร์ชเอนจิน แสดงว่ามีเว็บไซต์อื่นที่มีข้อมูลเดียวกันนี้จึงอาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่กรุณาพิจารณาด้วยว่าเว็บไซต์นั้นไม่ได้คัดลอกมาจากวิกิพีเดียอีกต่อหนึ่ง (ดูจากวันที่สร้างถ้ามี)
    • ใช้เว็บจำพวก Wayback Machine เช่น http://web.archive.org ในการค้นหาเว็บที่ต้องสงสัยว่าเป็นแหล่งต้นฉบับ เพราะจะมีการระบุวันที่ไว้อย่างชัดเจน และสามารถใช้กับเว็บที่ขณะนี้ล่มไปแล้วได้ด้วย
  • ใช้เครื่องมือ http://toolserver.org/~earwig/copyvios?lang=th&project=wikipedia

หากไม่แน่ใจว่าบทความนั้นละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ให้ติดป้าย {{ตรวจลิขสิทธิ์}} ไว้ที่ส่วนหัวของบทความ เพื่อแจ้งให้คนอื่น ๆ ทราบและช่วยกันตรวจสอบ บทความที่แจ้งจะมีรายชื่อรวมกันอยู่ที่ หมวดหมู่:บทความที่รอการตรวจลิขสิทธิ์

ควรทำอย่างไรหากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ในวิกิพีเดีย

เราเคร่งครัดในเรื่องลิขสิทธิ์ โดยพยายามย้ายเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากวิกิพีเดีย แต่อาจไม่พบเจอทุกครั้ง คุณสามารถช่วยเราได้ และแจ้งได้ที่แผนกช่วยเหลือ พร้อมระบุแหล่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือแจ้งด้วยการใช้ แม่แบบ:ละเมิดลิขสิทธิ์ ที่หน้าบทความ บทความที่ถูกแจ้งละเมิดลิขสิทธิ์จะถูกรวบรวมไว้ที่ วิกิพีเดีย:ปัญหาลิขสิทธิ์

สำหรับข้อความที่แทรกหรือเพิ่มใหม่เข้าไปในบทความที่มีอยู่แล้ว ถ้าหากละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถลบส่วนนั้นออกได้ทันที หรือย้ายไปไว้ที่หน้าพูดคุยแล้วอธิบายว่าละเมิดจากแหล่งใด เนื่องจากเนื้อหาที่มีอยู่เดิมนั้นไม่ได้ละเมิด

ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานเขียนในวิกิพีเดีย

ทุกคนที่นำงานเขียนมาลงไว้ในวิกิพีเดีย เป็นการตกลงยินยอมที่จะเผยแพร่ผลงานนั้น ภายใต้สัญญาอนุญาต (การให้ใช้สิทธิในผลงานอันมีลิขสิทธิ์) แบบ CC-BY-SA และ GFDL ซึ่งหมายความว่าใครสามารถนำไปใช้ก็ได้ แต่มีเงื่อนไขว่า คนที่เอาไปใช้ต้องให้สิทธิภายใต้ CC-BY-SA และ GFDL ต่อคนอื่นต่อไป ซึ่งทำให้คนใช้ต่อไป ต้องแบ่งปันให้คนอื่นต่อ ๆ ไป ซึ่งสัญญาอนุญาตรูปแบบนี้จะทำให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลอย่างสมบูรณ์ โดยอาจกล่าวได้ว่าทุกคนจะได้รับสิทธิภายใต้ CC-BY-SA และ GFDL โดยเท่าเทียมกัน.

ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ของผลงานในวิกิพีเดีย (เฉพาะในส่วนที่ผู้เขียนได้สร้างสรรค์ขึ้นด้วยตนเอง) ยังคงตกเป็นของผู้สร้างสรรค์งานแต่เพียงผู้เดียว ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์

การประกาศให้ใช้สัญญาอนุญาต CC-BY-SA และ GFDL นี้, จะไม่มีผลทำให้ ผู้สร้างสรรค์สูญเสียความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานของตนเองแต่อย่างใด, โดย เจ้าของผลงาน จะยังคงมีสิทธิที่จะนำงานในส่วนของตนไปเผยแพร่ ภายใต้สัญญาอนุญาต แบบอื่น ๆ ในรูปแบบใดก็ได้ เท่าที่ กฎหมายรับรอง การประกาศสัญญาอนุญาต CC-BY-SA และ GFDL นี้, เป็นเพียงการที่เจ้าของผลงาน อนุญาต ให้ผู้อื่น ใช้สอย/ดัดแปลงแก้ไข/เผยแพร่ ผลงานนี้ได้ ภายใต้เงื่อนไขของ CC-BY-SA และ GFDL เท่านั้น (ทั้งนี้ เจ้าของผลงาน ไม่สามารถที่จะเรียกคืนหรือ ยกเลิก สัญญาอนุญาต CC-BY-SA และ GFDL ในผลงานที่ประกาศออกไปแล้วได้)

ปัญหาบทความละเมิดลิขสิทธิ์

ดูเพิ่ม