เมทธิลโบรไมด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมทธิลโบรไมด์
Methyl bromide.svg
Bromomethane-3D-vdW.png
ชื่อตาม IUPAC Bromomethane
ชื่ออื่น Methyl bromide, Monobromomethane, Methyl fume, Halon 1001, Curafume, Embafume, R-40 B1, UN 1062
เลขทะเบียน
เลขทะเบียน CAS [74-83-9][CAS]
PubChem 6323
EC number 200-813-2
RTECS number PA4900000
SMILES
 
InChI
 
คุณสมบัติ
สูตรโมเลกุล CH3Br
มวลโมเลกุล 94.94 g mol−1
ลักษณะทางกายภาพ Colorless gas with chloroform-like odor (at high conc.)
ความหนาแน่น 1.730 g/cm³ (0°C, liquid) [1]

3.974 g/l (20 °C, gas)

จุดหลอมเหลว

−93.66 °C

จุดเดือด

3.56 °C

ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ 15.22 g/l
log P 1.19
ความดันไอ 1900 hPa (20 °C)
ความอันตราย
อันตรายหลัก Toxic (T), Dangerous for the environment (N), Carc. Cat. 3
NFPA 704
NFPA 704.svg
1
3
0
 
R-phrases R23/24/25, R34, R36/37/38, R45, R48/20, R50, R59, R68
S-phrases (S1/2), S15, S27, S36/39, S38, S45, S59, S61
จุดวาบไฟ < -30 °C (liquid)
อุณหภูมิที่ติดไฟด้วยตัวเอง 535 °C
Explosive limits 8.6 - 20 %
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี

เมทธิลโบรไมด์ (อังกฤษ: Methyl Bromide) หรือ โบรโมมีเทน (อังกฤษ: Bromomethane) เป็นสารประกอบออร์กาโนโบรไมด์ที่มีสูตรโมเลกุล CH3Br มีลักษณะเป็นแก๊สที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและไม่ติดไฟ ถูกผลิตขึ้นโดยสิ่งมีชีวิตบางชนิดตามธรรมชาติรวมถึงถูกสังเคราะห์ขึ้นในภาคอุตสาหกรรม รูปร่างโมเลกุลมีลักษณะเป็นทรงสี่หน้า และเป็นหนึ่งในสารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซน ในอดีตมนุษย์เคยใช้เป็นยาฆ่าแมลง จนกระทั้งหลายประเทศได้ยุติการใช้ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ถึง ต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 หรือในปี ค.ศ. 1995 - ปี ค.ศ. 2005

การนำไปใช้ทางผลผลิตทางการเกษตร[แก้]

เมทธิลโบรไมด์เป็นสารเคมีที่ใช้ในการอบไม้และรมควันพืชผลทางการเกษตรอย่างแพร่หลาย

ผลกระทบต่อร่างกายหากได้รับสาร[แก้]

เมทธิลโบรไมด์ เป็นสารเคมีที่ทำลายสารพันธุกรรมของมนุษย์และสัตว์ที่มีพิษสูงมาก

พิษต่อระบบประสาท[แก้]

ทำลายระบบประสาท มีผลทำให้ระบบประสาทเสียหายถาวร ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง มีอาการประสาทหลอน

พิษต่อระบบทางเดินหายใจ[แก้]

ทำลายปอดหากสูดดมเข้าไป ก่อให้เกิดการอักเสบ พุพองในทางเดินหายใจ

พิษต่อระบบอวัยวะภายใน[แก้]

ทำลายอวัยวะภายในจนล้มเหลว เกิดอาการชักกะตุกและทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว

พิษต่อระบบต่อมไร้ท่อ[แก้]

หากได้รับพิษแบบสะสม ทำให้ระบบต่อมไร้ท่อ ทั้งต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ อัณฑะและรังไข่โตขึ้นและเปลี่ยนรูปร่างไป ทำให้เป็นหมัน

การก่อมะเร็ง[แก้]

นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะและมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งรังไข่อีกด้วย ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น ร่างกายอ่อนแรง

การปนเปื้อนในอาหาร[แก้]

พบว่าเมื่อมีการรมควันข้าวด้วยเมทธิลโบรไมด์ จะสามารถซึมเข้าสู่เนื้อข้าวสารได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ สามารถกระจายตัวในข้าวสาร ได้ยาวนานและอยู่ตัวเนื่องจากจับตัวกับคาร์โบไฮเดรตได้อย่างดี ซึ่งงานวิจัยพบว่าสารจะซึมเข้าสู่เนื้อข้าวสารในวันที่ 34

วิธีลดการปนเปื้อนในอาหาร[แก้]

จากงานวิจัยของประเทศญี่ปุ่น จากการศึกษาเมทธิลโบรไมด์ที่ตกค้างในข้าวและราเมน พบว่าการลดการปนเปื้อนทำได้โดยการใช้ความร้อนยิ่งนานค่าการปนเปื้อนยิ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และจากการศึกษาพบว่าหากนำข้าวสารไปซาวน้ำ พบสารเมทธิวโบรไมด์ลดลง 49 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อนำไปหุง ค่าจะลดลงอีก 9.8 เปอร์เซ็นต์

เมทธิลโบรไมด์ในประเทศไทย[แก้]

มีการนำไปใช้ในการรมควันข้าวสารก่อนบรรจุถุง

การใช้สารทดแทน[แก้]

สารที่นำมาใช้ทดแทนเมทธิลโบรไมด์ คือ อีโคฟูม และซัลฟูริลฟลูออไรด์ แต่ในสหรัฐอเมริกา มีความกังวลการใช้ซัลฟูริลฟลูออไรด์ ในอาหาร เนื่องจากจะมีฟลูออไรด์ตกค้างในอาหาร ซึ่งอาจได้รับเกินกว่าค่าความปลอดภัย จึงต้องใช้และตรวจสอบจำกัดปริมาณอย่างเหมาะสม[2]

อ้างอิง[แก้]