สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Logo kmitl.jpg
“ การศึกษา วิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ ”

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตามพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. 2551 (ยกเลิก ฉบับปี 2528) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การศึกษา การค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีเพื่อความก้าวหน้า ทางอุตสาหกรรม และ เศรษฐกิจของประเทศเดิมที สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ด้วยการรวม วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เข้าด้วยกัน โดยแต่ละแห่งมีฐานะเป็นวิทยาเขต วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี เป็นสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตนนทบุรี และในปีเดียวกันนั้นได้ย้ายไปที่ อำเภอลาดกระบัง เป็นวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกอบด้วยพระนาม "พระจอมเกล้า" ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตามพระบรมนามาภิไธย แห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตรา "พระมหามงกุฎ" มาเป็นสัญลักษณ์แห่งสถาบันฯ ด้วย นับเป็นสิ่งอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นมหามงคลยิ่งส่วนคำว่า "เจ้าคุณทหาร" นั้น มีไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ท่านเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "เจ้าคุณทหาร" ตามที่ ท่านเลี่ยม พรตพิทยพยัต ทายาทของท่านได้แจ้งความประสงค์ไว้ในการบริจาคที่ดิน ที่เป็นที่ตั้งของสถาบันฯ ในปัจจุบัน

[แก้] ลำดับเหตุการณ์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า"พระจอมเกล้าลาดกระบัง" มีประวัติ ความเป็นมาดังนี้

  • พ.ศ. 2503 - ก่อตั้งศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2507 - ศูนย์ฝึกโทรคมนนทบุรี ได้ปรับฐานะเป็นวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี
  • พ.ศ. 2508 - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรีเป็นวิทยาเขตนนทบุรี
  • พ.ศ. 2514 - ย้ายมาอยู่ที่อำเภอลาดกระบัง และเปลี่ยนชื่อ เป็นวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • พ.ศ. 2515 - วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ยกฐานะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์
- วิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง โอนมาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และยกฐานะเป็น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2517 - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ได้โอนสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการมาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2518 - ก่อสร้างอาคารหอประชุมใหญ่ อาคารอนุสรณ์ อาคารห้องสมุด อาคารปฏิบัติการโทรคมนาคม และอาคารยิมเนเซี่ยม ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2520 - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้จัดตั้งคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และวิทยาศาสตร์ขึ้น เพื่อผลิตบัญฑิตทางด้านครูอาชีวศึกษา สำหรับวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาต่างๆ และให้การศึกษา การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2522 - วิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร ได้โอนจากกระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบังและยกฐานะเป็น คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  • พ.ศ. 2524 - ได้จัดตั้งสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์
  • พ.ศ. 2527 - ก่อสร้างศูนย์เรียน "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ" อันประกอบด้วยอาคารบรรยายรวม อาคารเรียนและ ปฏิบัติการ อาคารศูนย์สารสนเทศ อาคารสันทนาการ อาคารสำนักอธิการบดี หอพักนักศึกษา ชาย-หญิง และสระว่ายน้ำ ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น มูลค่า 480 ล้านบาท และเปิดใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2529
  • พ.ศ. 2528 - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. 2528 และมีชื่อเต็มว่า "สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "พระจอมเกล้าลาดกระบัง"
- ได้จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย

[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ดอกแคแสด ดอกไม้ประจำสถาบันฯ
  • พระมหามงกุฎ มีพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตรา "พระมหามงกุฎ" มาเป็นสัญลักษณ์แห่งสถาบันฯ ตามนาม "พระจอมเกล้า" ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิ คุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตามพระบรมนามาภิไธย แห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • ดอกไม้ประจำสถาบัน คือ ดอกแคแสด[1]
  • สีประจำสถาบัน คือ สีแสด (ซึ่งเป็นสีประจำรัชกาลที่ 4) [1]

[แก้] การศึกษา

ปัจจุบัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก มีทั้งหลักสูตรทั่วไป หลักสูตรภาคสมทบ และหลักสูตรนานาชาติ ประกอบด้วยคณะทั้งหมด 7 คณะ 3 วิทยาลัย ได้แก่

คณะ ระดับปริญญาตรี บัณฑิตศึกษา
คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการวัดคุม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ชีวการแพทย์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเขตร้อน
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
  • สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาทัศนศิลป์
  • สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
  • สาขาวิชาสหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
คณะวิทยาศาสตร์
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์
  • สาขาวิชาปิโตรเคมีและเคมีของไฮโดรคาร์บอน
  • สาขาวิชาเคมีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาเคมีประยุกต์
  • สาขาวิชามาตรวิทยา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาวิชาสถิติประยุกต์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตรและพัฒนาการ
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจ
    • หลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการ
    • หลักสูตรนิเทศศาสตร์เกษตร
    • หลักสูตรพัฒนาการเกษตร
    • หลักสูตรการจัดการทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม
  • สาขาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และประมง
    • หลักสูตรสัตวศาสตร์
    • หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
    • หลักสูตรพืชไร่
    • หลักสูตรพืชสวน
    • หลักสูตรปฐพีวิทยา
    • หลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช
  • บริหารธุรกิจ
    • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
    • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
  • วิทยาศาสตร์
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง
    • สาขาวิชาพืชสวน
    • สาขาวิชาพืชไร่
    • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
    • สาขาวิชากีฏวิทยาและสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิชาปฐพีวิทยา
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางโรคพืช
    • สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาครุศาสตร์วิศวกรรม
  • สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร
  • สาขาวิชาศิลปศาสตร์ประยุกต์
  • ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
    • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
    • สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา
    • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนอาชีวศึกษา
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
    • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
    • สาขาวิชาการวิจัยนวัตกรรมการศึกษา
    • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • วิทยาศาสตร์
    • สาขาวิชาวิทยาการจัดการอุตสาหกรรม
    • สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์
    • สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร
  • ศิลปศาสตร์
    • สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์-ภาษาอังกฤษเพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอุตสาหกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร (วิทยาศาสตร์การอาหาร)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการหมัก
  • สาขาวิชาวิศวกรรมแปรรูปอาหาร
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิทยาลัยนานาชาติ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาการจัดการโลจีสติกส์และซัพพลายเชน
  • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
  • สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
  • สาขาวิชาสหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางโรคพืช
วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี
วิทยาลัยร่วมด้านเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลและการประยุกต์ใช้งาน
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล

[แก้] วิทยาเขต

ในปี พ.ศ. 2526 ทางสถาบันฯ ได้มีความเห็นว่าควรจะได้มีการขยายงานการศึกษา การวิจัย และบริการสังคมของสถาบันไป สู่ภูมิภาค จึงจัดตั้งวิทยาเขตชุมพรขึ้นในปี พ.ศ. 2533 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวาง ศิลาฤกษ์อาคารเรียนรวม พร้อมเปิดป้ายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2541 วิทยาเขตชุมพรเปิดการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2539[2]

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร ตั้งอยู่ที่ ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มีพื้นที่ 3,500ไร่ ประกอบไปด้วย 3 สำนักวิชา 7 สาขาวิชาดังนี้

สำนักวิชา สาขาวิชา
วิศวกรรมศาสตร์
เทคโนโลยีการเกษตร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีประมง
  • สาขาวิชาพืชสวน
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
วิทยาศาสตร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

[แก้] พื้นที่มหาวิทยาลัย

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนโดยถนนฉลองกรุงและทางรถไฟสายตะวันออก

  • ส่วนที่หนึ่ง อยู่ทางทิศเหนือ ประกอบไปด้วยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 4 และอุทยานพระจอมเกล้า อาคารกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ศูนย์เรียนรวมสมเด็จพระเทพฯ บัณฑิตวิทยาลัย อาคารปฏิบัติการวิศวกรรมศาสตร์2 หอพักสถาบัน และศูนย์กีฬาประจำสถาบัน
  • ส่วนที่สอง อยู่ทางทิศตะวันออก ประกอบไปด้วยคณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม และคณะวิทยาศาสตร์
  • ส่วนที่สาม อยู่ทางทิศตะวันตก ประกอบไปด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และหอประชุมใหญ่
  • ส่วนที่สี่ อยู่ทางทิศตะวันใต้ ประกอบไปด้วย สำนักหอสมุดกลาง และอาคารเจ้าคุณทหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร

[แก้] พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของสถาบัน โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรนั้น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้ร่วมกันจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน ที่ ไบเทค บางนา

[แก้] การเดินทาง

1.รถไฟสายตะวันออก

2.รถโดยสารประจำทาง

  • รถโดยสารประจำทางสาย 1013 ต้นทางจากซอยสุขุมวิท 77 (อ่อนนุช) ปลายทางตลาดหัวตะเข้
  • รถโดยสารประจำทางสาย 1013 (คันเล็ก) ต้นทางจากศูนย์การค้าเสรีเซนเตอร์ ปลายทางนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
  • รถประจำทางสาย 517 ต้นทางสวนจตุจักร ปลายทาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

3.รถยนต์ส่วนตัว

  • ใช้ทางด่วนพิเศษมอเตอร์เวย์ (กรุงเทพ-ชลบุรี) ออกจากทางด่วนที่ถนนร่มเกล้า เลี้ยวขวาเข้าถนนร่มเกล้า เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอ่อนนุชและเลี้ยวซ้ายเข้าถนนฉลองกรุง
  • จากถนนศรีนครินทร์ เข้าถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77) ระยะทางประมาณ 16 กม. และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนฉลองกรุง

4.รถตู้ปรับอากาศ

  • อนุสาวรีย์ชัย-เทคโนฯลาดกระบัง
  • เดอะมอลล์บางกะปิ-หัวตะเข้
  • มีนบุรี-หัวตะเข้

[แก้] อันดับสถาบัน

นิตยสารเอเชียวีก ได้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วเอเชีย (ปัจจุบันนิตยสารได้ปิดตัวลง) โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดอยู่ในประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอันดับดังนี้

  • พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) อันดับที่ 25 46.74 (คะแนน เต็ม 100) จากทั้งหมด 35 สถาบัน[3]
  • พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) อันดับที่ 27 52.60 (คะแนน เต็ม 100) จากทั้งหมด 39 สถาบัน โดยมีจากประเทศไทย 5 สถาบัน[4]

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งได้จัดอันดับเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อยู่ในอันดับที่ 11 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย อันดับที่ 20 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับ 1,335 ของมหาวิทยาลัยทั่วโลก[5]

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′36″N 100°46′48″E / 13.726725°N 100.780125°E / 13.726725; 100.780125

[แก้] อ้างอิง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คณะ

ครุศาสตร์อุตสาหกรรม · เทคโนโลยีการเกษตร · เทคโนโลยีสารสนเทศ · วิทยาศาสตร์ · วิศวกรรมศาสตร์ · สถาปัตยกรรมศาสตร์ · อุตสาหกรรมเกษตร · บัณฑิตวิทยาลัย

KMITL logo.gif
วิทยาเขต

วิทยาเขตชุมพร · วิทยาเขตระยอง


School.svg สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นบทความเกี่ยวกับ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น