สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก สนามเทพหัสดิน)
สนามศุภชลาศัย
Suphachalasai Stadium by AsianFC.jpg
ชื่อเต็ม สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ
ที่ตั้ง กรุงเทพ ประเทศไทย
เปิด พ.ศ. 2478
เจ้าของ Office of Sports and Recretion Development
พื้นสนาม หญ้า
ความจุ 35,000
รับใช้งาน
ฟุตบอลทีมชาติไทย
กีฬาแหลมทอง 1959
เอเชียนเกมส์ 1966
กีฬาแหลมทอง 1967
เอเชียนเกมส์ 1970
กีฬาแหลมทอง 1975
เอเชียนเกมส์ 1978
ซีเกมส์ 1985


สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ตั้งอยู่เลขที่ 154 ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2478

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

การแข่งขันกรีฑานักเรียน และมวยกลางแจ้ง ณ สนามโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

แต่เดิมการแข่งขันกรีฑานักเรียนจะจัดอยู่ที่สนามโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อมานาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น. อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก ได้ย้ายสนามแข่งขันไปแข่งขันที่ท้องสนามหลวง เมื่อ พ.ศ. 2477 และในปีเดียวกันก็ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณตำบลวังใหม่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรงบริเวณที่เดิมเป็นวังวินเซอร์ ซึ่งเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สร้างพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อสร้างสนามกีฬา และโรงเรียนพลศึกษากลาง สนามกีฬาแห่งใหม่นี้ใช้ชื่อว่า สนามกรีฑาสถาน เริ่มงานตั้งแต่ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 จวบจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2484

กรมพลศึกษาย้ายมาอยู่ที่สนามกีฬาแห่งใหม่นี้ เมื่อ พ.ศ. 2481 พร้อมทั้งย้ายการแข่งขันกรีฑาประชาชนชาย ประจำปี พ.ศ. 2481 จากสนามหลวงมาจัดที่นี่ โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขัน ณ สนามกรีฑาสถาน เป็นครั้งแรก

เมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 กรมพลศึกษา ได้เปลี่ยนชื่อสนามกรีฑาสถาน เป็น สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงศุภชลาศัย ปัจจุบัน นิยมเรียกสั้นๆ เพียงว่า สนามศุภชลาศัย หรือ สนามกีฬาแห่งชาติ

ปัจจุบัน กรมพลศึกษาได้คืนสถานที่บางส่วนให้เป็นสถานที่เรียนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และใช้สถานที่บางส่วนเป็นที่ทำการของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงาน สมาคมเกี่ยวกับการกีฬา และนันทนาการอื่นๆ

[แก้] อาคารกีฬาในสนามกีฬาแห่งชาติ

  • สนามศุภชลาศัย (Supachalasai Stadium) เป็นสนามกีฬากลางแจ้ง มีลู่วิ่งสังเคราะห์เพื่อจัดการแข่งขันกรีฑา มีอัฒจันทร์โดยรอบ มีหลังคาหนึ่งด้าน ความจุรวม 35,000 ที่นั่ง ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นาวาโทหลวงศุภชลาศัย ร.น.
  • สนามเทพหัสดิน (Thephasadin Stadium) เป็นสนามกีฬากลางแจ้ง มีลู่วิ่งจัดการแข่งขันกรีฑา ใช้ฝึกซ้อมกรีฑาและกีฬาทั่วไป ความจุ 6378 ที่นั่ง ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี หรือ สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  • สนามวอร์ม 200 ม. เป็นสนามฝึกซ้อมขนาดเล็ก ตั้งอยู่ระหว่างสนามศุภชลาศัย และสนามเทพหัสดิน
  • สนามจินดารักษ์ ใช้แข่งขันฟุตบอลนัดย่อย และเป็นที่ฝึกซ้อม
  • อาคารนิมิบุตร หรือ ยิมเนเซียม 1 เป็นสนามกีฬาในร่ม
  • อาคารจันทนยิ่งยง หรือ ยิมเนเซียม 2

[แก้] กิจกรรมสำคัญ

[แก้] การแข่งขันกีฬา

[แก้] กิจกรรมฉลองปีใหม่

[แก้] กิจกรรมการเมือง

[แก้] กิจกรรมของรัฐบาล

[แก้] คอนเสิร์ต

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′45″N 100°31′44″E / 13.7457°N 100.5289°E / 13.7457; 100.5289