จักรพรรดิหงหวู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Hongwu1.jpg
จักรพรรดิหงหวู่
พระบรมนามาภิไธย จักรพรรดิ ไคเถียน ชิงเตา เจ้าจี Liji Dasheng Zhishen Renwen Yiwu Junde Chenggong Gao
開天行道肇紀立極大聖至神仁文義武俊德成功高皇帝
พระนาม จักรพรรดิหงหวู่
พระนามเต็ม Family name: Zhū (朱)
Birth name: Chóngbā (重八)
Given name: Xingzong (興宗), later Yuánzhāng (元璋)
Courtesy name: Guóruì (國瑞)
พระอิสริยยศ จักรพรรดิ
ราชวงศ์ ราชวงศ์หมิง
ครองราชย์ 23 January 1368 < – 24 June 1398
รัชกาลก่อนหน้า None (dynasty founded)
รัชกาลถัดไป จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน
วัดประจำรัชกาล หมิง Tàizǔ
明太祖
จักรพรรดิหงหวู่หรือจักรพรรดิจูหยวนจาง

สมเด็จพระจักรพรรดิหงหวู่ หรือ หงหวู่ฮ่องเต้ (ภาษาจีน: 洪武帝, พินอิน: Hóngwǔ, หงหวู่ตี้, 21 ตุลาคม พ.ศ. 1871 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 1941) คือจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์หมิงของจีน

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

[แก้] วัยเยาว์

หมิงไท่จู่ จูหยวนจาง(朱元璋)เป็นพระนามเดิมของ จักรพรรดิหงหวู่ ผู้สถาปนาราชวงศ์ต้าหมิงของจีน เกิดในครอบครัวชาวนาที่หมู่บ้านกูจวง ตำบลจงหลี อำเภอเหาโจว มณฑลอันฮุย เมื่อ พ.ศ. 1871 (ค.ศ. 1328) บิดามีชื่อว่า จูซื่อเจิน มารดามีชื่อว่า เฉินสี ในวันที่เขาเกิดนั้นมีเรื่องเล่าว่าพ่อไปตักน้ำได้พบผ้าแพรแดงผืนหนึ่งซึ่งคนในหมู่บ้านต่างเห็นว่าเป็นมงคลนิมิต จูซื่อเจินจึงตั้งชื่อบุตรชายคนนี้ว่าจูหยวนจาง แปลว่า แผ่นหยกชั้นเลิศ

ในปี พ.ศ. 1881(ค.ศ. 1338) เกิดโรคระบาดซ้ำเติมความแห้งแล้งที่มีติดต่อกันนานหลายปี จูซื่อเจินกับนางเฉินสีและพี่ชายคนโตจูจ้งซื่อได้เสียชีวิตลง เพื่อนบ้านที่พอมีฐานะเกิดความสงสารจึงแบ่งที่ดินให้ใช้ฝังศพคนทั้งสาม จากนั้นบุตรที่เหลือจึงแยกย้ายเร่ร่อนไปรับจ้างหาเลี้ยงชีพ จูหยวนจางจำต้องไปบวชเป็นเณรที่วัดหวางเจวี๋ยซื่อ แต่ภัยแล้งที่มีติดต่อกันอย่างยาวนานทำให้วัดเองประสบปัญหาไม่น้อย พระและเณรในวัดต่างต้องออกธุดงค์ไปเที่ยวภิกขาจารต่างถิ่นซึ่งรวมถึงเณรจูหยวนจางด้วยเช่นกัน จนถึง พ.ศ. 1891 จึงได้บวชเป็นพระแต่บวชได้เพียงสี่ปีก็สึกออกมาเนื่องจากในขณะนั้นเกิดขบวนการปฏิวัติเพื่อขับไล่พวกมองโกลออกไปจากแผ่นดินจีนหลายกลุ่ม จูหยวนจางจึงไปร่วมขบวนการโค่นล้มราชวงศ์หยวนของกัวจื่อซิง(郭子兴) ซึ่งใช้เมืองเหาโจวเป็นที่มั่น

[แก้] เริ่มการโจมตี

กัวจื่อซิงเห็นแววความสามารถของเขาจึงได้ยกหม่าชิวเซียงธิดาบุญธรรมให้เป็นภรรยา ในปี พ.ศ. 1895 จูหยวนจางปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็งมีผลงานโดดเด่นกว่าผู้อื่นจึงได้รับเลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็วแต่ทำให้ถูกกัวจื่อซิงกับบุตรชายระแวงอยู่เสมอ ครั้งหนึ่งกัวจื่อซิงจับเขาไปขังแต่หม่าชิงเซียงกับมารดาไปอ้อนวอนขอจึงได้รับการปล่อยตัว จูหยวนจางจึงตัดสินใจพาภรรยากลับไปอยู่ที่ตำบลจงหลีบ้านเกิดและได้ชักชวนเพื่อนในวัยเยาว์กับคนอื่นๆ จัดตั้งกองกำลังเป็นของตนเอง จาก 700 คนก็เพิ่มจำนวนมากกว่า 20,000 คนภายในระยะเวลา 2 ปี

  • พ.ศ. 1898 (ค.ศ. 1355) ฉีโจวหวางหรือกัวจื่อซิงพ่อตาของเขาสิ้นพระชนม์ลง บุตรชายทั้งสองไม่มีความสามารถพอ จูหยวนจางจึงได้ขึ้นเป็นผู้นำกองกำลังแทน
  • พ.ศ. 1899 (ค.ศ. 1356) จูหยวนจางยกกำลังบุกเมืองจี้ซิงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองอิ้งเทียน ( ปัจจุบันคือเมืองหนานจิง ) ใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการทยอยกำจัดกลุ่มอำนาจอื่นๆ ที่ตั้งตัวเป็นอิสระเช่นกัน พร้อมกับใช้คำสั่ง สามไม่ คือ ไม่เผาบ้าน ไม่ฆ่าคน ไม่ปล้นชิง ทำให้ชาวเมืองอื่นๆ ต่างพากันยินยอมอย่างง่ายดาย
  • พ.ศ. 1907 (ค.ศ. 1364) สถาปนาตนเองขึ้นเป็นหวู่หวาง ปกครองดินแดนแถบใต้แม่น้ำฉางเจียง

[แก้] กำเนิดราชวงศ์หมิง

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 1910 (ค.ศ. 1367) จูหยวนจางยกทัพบุกถึงนครต้าตูเมืองหลวงของราชวงศ์หยวน จักรพรรดิซุ่นตี้เห็นเหลือกำลังที่จะรับมือจึงพาเหล่าพระญาติพระวงศ์และชาวมองโกลหนีออกนอกด่านไปอยู่ที่เมืองซ่างตู วันที่ 2 เดือน 8 จึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเป่ยผิง ประกาศตั้งราชวงศ์ต้าหมิง สถาปนาตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ทรงพระนามว่าหมิงไท่จู่ (明太祖)ใช้ศักราชประจำพระองค์ว่าหงหวู่ หรือหงอู่(洪武)เปลี่ยนชื่อเมืองอิ้งเทียนเป็นหนานจิงใช้เป็นเมืองหลวง นอกจากนั้นโปรดให้โอรสให้เป็นหวาง (อ๋อง)ไปครองเมืองต่างๆ เพื่อความมั่นคงของราชวงศ์ คือ ตั้งองค์ชายจูเพียวเป็นไท่จือ องค์ชายจูตี้เป็นเยียนหวางครองเมืองเป่ยผิง องค์ชายจูเฉวียนเป็นหนิงหวางครองเมืองต้าหนิง องค์ชายจูกุ้ยเป็นไต้หวางครองเมืองต้าถง องค์ชายจูกังเป็นจิ้นหวางครองเมืองไท่หยวน องค์ชายฝู่เป็นฉีหวางครองเมืองชิงโจว องค์ชายจูส่วงเป็นฉินหวางครองเมืองซีอาน องค์ชายจูอิงเป็นซู่หวางครองเมืองกานซู

หมิงไท่จู่ได้ดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคม ด้วยความประหยัดมัธยัสถ์ ผ่อนปรน แก่ประชากรส่วนใหญ่ และทรงศึกษาถึงความล้มเหลวของราชวงศ์ต่างๆ ในอดีตเห็นว่าภัยสำคัญเกิดจากการที่ขันทีเข้าแทรกแซงการบริหารราชการ จึงมีพระราชโองการให้จารึกแผ่นเหล็กประกาศห้ามขันทีเข้ายุ่งเกี่ยวกับการบริหารราชการ ผู้ฝ่าฝืนกำหนดโทษประหารสถานเดียว นอกจากนั้นยังได้ลดบทบาทของอัครเสนาบดีรวบอำนาจไว้ที่พระองค์ฎีกาและข้อราชการต่างๆ ต้องถวายถึงพระองค์โดยตรง อัครเสนาบดีเป็นเพียงผู้รับราชโองการไปดำเนินการ ในด้านทหารการเลื่อนลดปลดย้ายแม่ทัพนายกองก็ต้องผ่านการพิจารณาจากพระองค์โดยตรง นอกจากนั้นพระองค์ยังได้จัดตั้งจินอีเว่ย (กองกำลังทหารเกราะทอง)ให้เป็นกองกำลังพิเศษคอยถวายอารักขาและสอดแนมความเคลื่อนไหวของขุนนางและราษฎร เรียกได้ว่าพระองค์กุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างแท้จริง

ในรัชกาลของพระองค์กล่าวกันว่าทรงประหารขุนนางทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนรวมทั้งผู้เกี่ยวข้องหากสงสัยว่าจะเป็นภัยต่อราชบัลลังก์กว่าห้าหมื่นคน โดยเฉพาะปลายรัชกาลหลังจากที่สถาปนาองค์ชายจูหยุนเหวิน(朱 允文)พระราชนัดดาเป็นไท่จือแทนองค์ชายจูเพียว (朱標) พระบิดาที่สิ้นพระชนม์ไปก่อน แม่ทัพหลายคนต้องถูกประหารเนื่องจากเกรงจะเป็นภัยในอนาคต ไม่เว้นแม้แต่แม่ทัพสีต๋าหรือฉีต๊ะผู้เคยออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระองค์แต่การตัดสินพระทัยของพระองค์กลับส่งผลร้ายมาให้พระราชนัดดาอย่างแรง

[แก้] สวรรคต

จักรพรรดิหงหวู่ทรงครองราชย์นานถึง 30 ปี เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1941 (ค.ศ. 1398) พระชนม์ได้ 70 พรรษา พระศพได้รับการเชิญไปบรรจุไว้ที่สุสานเซี่ยวหลิง เชิงเขาจื่อจินซาน ชานกรุงนานกิง ปิดฉากของมหาบุรุษที่มีชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง จากลูกชาวนายากจนได้เป็นจักรพรรดิปกครองแผ่นดินจีนที่ยิ่งไพศาล

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons
สมัยก่อนหน้า จักรพรรดิหงหวู่ สมัยถัดไป
จักรพรรดิหยวนฮุ่ยจง
(ราชวงศ์หยวน)
2leftarrow.png จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1941)
2rightarrow.png จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน