จังหวัดปัตตานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดปัตตานี
ตราประจำจังหวัดปัตตานี ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดปัตตานี
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png บูดูสะอาด หาดสวย รวยน้ำตก
นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย ปัตตานี
ชื่ออักษรโรมัน Pattani
ผู้ว่าราชการ นายธีรเทพ ศรียะพันธ์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2551)
ISO 3166-2 TH-94
ต้นไม้ประจำจังหวัด ตะเคียนทอง
ดอกไม้ประจำจังหวัด ชบา
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 1,940.356 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 67)
ประชากร 647,624 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 38)
ความหนาแน่น 333.77 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 9)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดปัตตานี ถนนเดชา ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
โทรศัพท์ (+66) 0 7334 9002, 0 7333 1154
โทรสาร (+66) 0 7334 9002
เว็บไซต์ จังหวัดปัตตานี
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดปัตตานี

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดปัตตานี เป็นจังหวัดในภาคใต้ ติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา

เนื้อหา

[แก้] ที่มาของชื่อ

คำว่า ปัตตานี มาจากคำภาษามลายู ปาตานี (Patani, ڤتنا) ซึ่งมาจากคำว่า Pata Ini ("ชายหาดแห่งนี้") อีกทีหนึ่ง

[แก้] ที่ตั้ง

ปัตตานีเป็นหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้สุด ติดกับอ่าวไทย (หรือทะเลจีนใต้)

ภูเขาที่สำคัญ ได้แก่ ภูเขาทรายขาว ซึ่งอยู่ในทิวเขาสันกาลาคีรี มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำสายบุรี ภูมิอากาศอบอุ่นตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 27.5 องศาเซลเซียส ฝนตกชุกในระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม ฝนตกเฉลี่ย 1,750.9 มิลลิเมตร/ปี (เฉลี่ยในรอบ 30 ปี)

ฤดูกาลมี 2 ฤดู คือ

ฤดูร้อน เดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม

ฤดูฝน ธันวาคม-มกราคม ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวปัตตานีมีอาชีพหลักคือการทำนา สวนยาง นอกจากนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด เช่น อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี ยังประกอบอาชีพประมง ซึ่งส่งผลให้เกิดผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างมากมาย

ปัตตานีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ประมาณ 1,055 กิโลเมตร หรือ 1,025 กิโลเมตรโดยทางรถไฟ (สถานีรถไฟโคกโพธิ์)

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 115 ตำบล 629 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองปัตตานี
  2. อำเภอโคกโพธิ์
  3. อำเภอหนองจิก
  4. อำเภอปะนาเระ
  5. อำเภอมายอ
  6. อำเภอทุ่งยางแดง
  7. อำเภอสายบุรี
  8. อำเภอไม้แก่น
  9. อำเภอยะหริ่ง
  10. อำเภอยะรัง
  11. อำเภอกะพ้อ
  12. อำเภอแม่ลาน
 แผนที่

[แก้] อุทยาน

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

  • มัสยิดกรือเซะ เป็นมัสยิดที่สร้างโดยสุลต่านมุสัฟฟาร์ ชาร์ พระองค์ได้สร้างมัสยิดแห่งนี้พร้อมกับมัสยิดบ้านดาโตะ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

มัสยิดกรือเซะเป็นมัสยิดที่สุลต่านใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจและะพบปะพูดคุยกับประชาชน มัสยิดกรือเซะเป็นมัสยิดแห่งแรกในคาบสมุทรมลายู[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา
โรงเรียน

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราประจำจังหวัด: ปืนใหญ่นางพญาตานี
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกชบา (Hibiscus sp.)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ตะเคียนทอง (Hopes odorata)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด

[แก้] ชาวปัตตานีที่มีชื่อเสียง

  • พนมเทียน หรือ ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ ศิลปินแห่งชาติ


[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 6°52′N 101°14′E / 6.87°N 101.24°E / 6.87; 101.24