ประเทศจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก จีน)
中华人民共和国
(อักษรจีนตัวย่อ)
中華人民共和國
(อักษรจีนตัวเต็ม)
Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó
จงหัว เหรินหมิน ก้งเหอกั๋ว
สาธารณรัฐประชาชนจีน
ธงชาติจีน ตราแผ่นดินของจีน
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติ义勇军进行曲
(มาร์ชทหารอาสา)
ที่ตั้งของจีน
เมืองหลวง ปักกิ่ง (北京)
39°55′N 116°23′E / 39.917°N 116.383°E / 39.917; 116.383
เมืองใหญ่สุด เซี่ยงไฮ้ (上海)
ภาษาทางการ ภาษาจีนกลาง1
รัฐบาล คอมมิวนิสต์
 -  ประธานาธิบดี หู จิ่นเทา (胡锦涛)
 -  นายกรัฐมนตรี เวิน เจียเป่า (温家宝)
การสถาปนาชาติ
  ราชวงศ์เซี้ย
จักรวรรดิจีน
สาธารณรัฐจีน
สาธารณรัฐประชาชนจีน

2,205 ปีก่อนคริสตกาล
221 ปีก่อนคริสตกาล
10 ตุลาคม พ.ศ. 2454
1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 9,596,960 กม.² (ลำดับที่ 43)
 -  พื้นน้ำ (%) 2.8%2
ประชากร
 -  2551 ประมาณ 1,330,044,605 (อันดับที่ 1)
 -  2548 สำรวจ 1,315,844,000 
 -  ความหนาแน่น 1372/กม.² (อันดับที่ 71)
GDP (PPP) 2550 ประมาณ
 -  รวม 5.33 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ2 (อันดับที่ 7)
 -  ต่อประชากร 8,788 ดอลลาร์สหรัฐ2 (อันดับที่ 82)
HDI (2550) 0.777 (กลาง) (อันดับที่ 81)
สกุลเงิน หยวนเหรินหมินปี้ (RMB¥) 2 (CNY)
เขตเวลา (UTC+8)
 -  ฤดูร้อน (DST)  (UTC+8)
รหัสอินเทอร์เน็ต .cn2
รหัสโทรศัพท์ +862
1เป็นภาษาทางการร่วมกับภาษาอังกฤษในฮ่องกง ภาษาโปรตุเกสในมาเก๊าและภาษาจีนกวางตุ้งในทั้งสองเมือง รวมทั้งยังเป็นภาษาทางการร่วมกับภาษาอื่น ๆ ของชนกลุ่มน้อยในประเทศด้วย เช่น ภาษาอุยกูร์ในซินเจียงอุยกูร์ ภาษามองโกเลีย (ใช้อักษรซีริลลิกเป็นหลัก แต่ก็มีบางส่วนใช้อักษรชาฮาร์) ในมองโกเลียใน ภาษาทิเบตในทิเบต และภาษาเกาหลีในหยันเปียนและจี๋หลิน
2 ข้อมูลเฉพาะจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น ไม่รวมฮ่องกง มาเก๊า และดินแดนภายใต้การบริหารของสาธารณรัฐจีน
3อันดับพื้นที่เป็นที่ขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกา และบางครั้งถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 4

สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตัวเต็ม: 中華人民共和國; จีนตัวย่อ: 中华人民共和国; พินอิน: Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó; อังกฤษ: People's Republic of China (PRC)) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และมีประชากรมากที่สุดในโลกที่จำนวนกว่า 1.3 พันล้านคน หรือประมาณหนึ่งในห้าของประชากรโลก โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮั่น และมีขนาดเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองเพียงรัสเซียและ แคนาดา

สาธารณรัฐประชาชนจีนมีพรมแดนติดกับ 15 ประเทศ (นับเวียนตามเข็มนาฬิกา) คือ เวียดนาม ลาว พม่า อินเดีย ภูฏาน เนปาล ปากีสถาน อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กีซสถาน คาซัคสถาน รัสเซีย มองโกเลีย และ เกาหลีเหนือ

ตั้งแต่ก่อตั้งสาธารณรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2492 ประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน สาธารณรัฐประชาชนจีนอ้างอธิปไตยเหนือเกาะไต้หวัน เผิงหู เอ้หมึง (จีนกลาง: จินเหมิน) และหมาจู่แต่ไม่ได้ปกครอง โดยที่เกาะเหล่านี้ปกครองโดยสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงไทเป (จีนกลาง: ไถเป่ย) ฐานะทางการเมืองของสาธารณรัฐจีนนั้น ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่

คำว่า จีนแผ่นดินใหญ่ ใช้เรียกส่วนของจีน ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน (ส่วนใหญ่จะยกเว้นเขตบริหารพิเศษ 2 แห่ง คือ ฮ่องกง และมาเก๊า) บางคนนิยมเรียกสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า จีนแดง (Red China) โดยเฉพาะผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับจีน ปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนและ ประเทศญี่ปุ่นเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชีย มีเศรษฐกิจและกำลังทางทหารใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

ดูบทความหลักที่ ประวัติศาสตร์จีน และ ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน
เหมาเจ๋อตุงประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่จัตุรัสเทียนอันเหมินและปกครองระบอบคอมมิวนิสต์

สงครามกลางเมือง (Chinese Civil War) ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคก๊กมินตั๋ง สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2492 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจบลงด้วยการที่ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนพรรคก๊กมินตั๋งได้เข้าปกครองไต้หวัน และเกาะบางเกาะในมณฑลฝูเจี้ยน ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เหมาเจ๋อตุง ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ การปกครองในสมัยของเหมานั้น เข้มงวดและกวดขัน แม้กระทั่งชีวิตประจำวันของประชาชน

หลังจากที่เหมาเจ๋อตุงถึงแก่อสัญกรรม เติ้งเสี่ยวผิงก็ได้ขึ้นสู่อำนาจ โดยจีนยังคงอยู่ในระบอบคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นรัฐบาลจีนจึงได้ค่อยๆ ลดการควบคุมชีวิตส่วนตัวของประชาชน และพยายามที่จะปฏิรูประบบเศรษฐกิจของตนให้เป็นไปตามกลไกตลาด

[แก้] การปฏิวัติ

เจียง ไคเช็ก เป็นผู้นำของจีนระหว่าง พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2492

[แก้] การปฏิวัติครั้งแรก (พ.ศ. 2454)

การปฏิวัติครั้งแรกของจีนเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ซึ่งเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิง โดยการนำของ ดร. ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง เป็นผลทำให้จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในที่สุด สาเหตุที่ก่อให้เกิดการโค่นล้มอำนาจครั้งนี้น่าจะมาจากความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีน ผู้นำประเทศจักรพรรดิแมนจูไม่มีอำนาจกำลังพอที่จะปกครองประเทศได้ ซึ่งตลอดระยะเวลาปกครอง 268 ปี (พ.ศ. 2187 – 2455) มีแต่การแย่งชิงอำนาจในหมู่ผู้นำราชวงศ์ ด้วยเหตุนี้ราษฎรส่วนมากจึงตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ แผ่นดินจีนถูกคุกคามจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตก และญี่ปุ่น ซึ่งจีนทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจระบอบการปกครองของราชวงศ์แมนจู

เพื่อความสำเร็จในการแก้ปัญหาของของประเทศชาติ ดร. ซุน ยัตเซ็น ผู้นำฯ จึงได้ประกาศอุดมการณ์ของการปฏิวัติ 3 ประการ เรียกว่า ลัทธิไตรราษฎร์ มีหัวข้อดังนี้

  1. ประชาธิปไตย มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
  2. ชาตินิยม ต้องขับไล่อำนาจและอิทธิพลของต่างชาติออกไปจากจีน
  3. สังคมนิยม มีการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกร

[แก้] การปฏิวัติครั้งที่สอง (พ.ศ. 2492)

การปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) เป็นการปฏิวัติภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง (ค.ศ. 1939 – 1945) ภายใต้การนำของ เหมา เจ๋อตุง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย เข้าสู่ระบอบสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์ โดยนับวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นวันสถาปนาประเทศจีนใหม่หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีน" โดยการปฏิวัติมีสาเหตุซึ่งสรุปได้ดังนี้

  1. ปัญหาความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจและความยากจนของประชาชน ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดี เจียง ไคเช็ค ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
  2. การเผยแพร่อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ในประเทศจีน เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎร โดยให้ความสำคัญแก่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร และเป็นศัตรูกับชนชั้นนายทุน


การปฏิวัติครั้งที่สองของจีนมีความสำเร็จ สรุปได้ดังนี้

  1. ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ เหมา เจ๋อตุง
    รัฐบาลได้ยึดที่ดินทำกินของเอกชนมาเป็นของรัฐบาล และใช้ระบบการผลิตแบบนารวม ชาวนามีฐานะเป็นแรงงานของรัฐ ทำให้ขาดความกระตือรือร้นเพราะทุกคนได้รับผลตอบแทนเท่ากัน ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนส่วนใหญ่มีสภาพลำบากยากจนเหมือนๆ กัน
  2. ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ เติ้ง เสี่ยวผิง
    เป็นยุคที่จีนปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นระบบตลาด หรือทุนนิยม โดยอมรับแนวทางทุนนิยมของชาติตะวันตกมากขึ้น เช่น เปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ เพื่อให้คนจีนมีงานทำ และอนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจการค้าได้ เป็นต้น ทั้งนี้ ระบอบการปกครองยังคงเป็นคอมมิวนิสต์เหมือนเดิม

นโยบาย “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ในสมัยของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” หมายถึง มีประเทศจีนเพียงประเทศเดียว แต่มีระบบเศรษฐกิจและการปกครอง 2 แบบ ได้แก่

  1. ระบอบคอมมิวนิสต์ สำหรับจีนแผ่นดินใหญ่ (ไม่รวมไต้หวัน)
  2. ระบอบประชาธิปไตยและระบอบทุนนิยมเสรี สำหรับฮ่องกงและมาเก๊า


ผลกระทบของการปฏิวัติจีนครั้งที่สอง คือ

  1. การปฏิวัติของ เหมา เจ๋อตง เป็นแบบอย่างในการปฏิวัติของกระบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” โดยเริ่มจากการปฏิวัติของเกษตรในชนบทและค่อยๆ ขยายเข้าไปสู่เมือง
  2. การปฏิรูปเศรษฐกิจตามแนวของ เติ้ง เสี่ยวผิง โดยยอมรับระบบทุนนิยมของโลกตะวันตก เป็นตัวอย่างความสำเร็จของการแยกระบบการปกครองออกจากระบบเศรษฐกิจ

[แก้] เมืองหลวงของจีน

ระยะการปกครองของจีนตั้งแต่ อดีต-ปัจจุบัน มีการเปลี่ยนเมืองหลวง สามารถจำแนกเมืองหลวงได้ดังนี้

ผู้ปกครอง เมืองหลวง ปี
ราชวงศ์ซาง อิน (殷) 1350 ปีก่อน ค.ศ. - 1046 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์โจวตะวันตก เฮา (鎬) 1046 ปีก่อน ค.ศ. - 771 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์โจวตะวันออก ลั่วหยาง (洛陽) 770 ปีก่อน ค.ศ. - 256 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์ฉิน เสียนหยาง (咸陽) 221 ปีก่อน ค.ศ. - 206 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ฉางอาน (長安) 206 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 9
ราชวงศ์ชิน ฉางอาน (長安) พ.ศ. 551 - พ.ศ. 566 (ค.ศ. 8 - ค.ศ. 23)
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ลั่วหยาง (洛陽) พ.ศ. 568 - พ.ศ. 737 (ค.ศ. 25 - ค.ศ. 194)
ราชวงศ์ฮั่นสมัยเฉาเชา ซวี่ฉาง (许昌) พ.ศ. 737 - พ.ศ. 763 (ค.ศ. 194 - ค.ศ. 220)
ราชวงศ์จิ้นตะวันตก ลั่วหยาง (洛陽) พ.ศ. 808 - พ.ศ. 859 (ค.ศ. 265 - ค.ศ. 316)
ราชวงศ์จิ้นตะวันออก เจียนขั่ง (建康) พ.ศ. 860 - พ.ศ. 963 (ค.ศ. 317 - ค.ศ. 420)
ราชวงศ์สุย ต้าซิง (大興) พ.ศ. 1124 - พ.ศ. 1161 (ค.ศ. 581 - ค.ศ. 618)
ราชวงศ์ถัง ฉางอาน (長安) พ.ศ. 1161 - พ.ศ. 1450 (ค.ศ. 618 - ค.ศ. 907)
ราชวงศ์ซ่งเหนือ ไคฟง (開封) พ.ศ. 1503 - พ.ศ. 1670 (ค.ศ. 960 - ค.ศ. 1127)
ราชวงศ์ซ่งใต้ หลินอัน (臨安) พ.ศ. 1670 - พ.ศ. 1822 (ค.ศ. 1127 - ค.ศ. 1279)
ราชวงศ์หยวน ต้าตู (大都) พ.ศ. 1807 - พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1264 - ค.ศ. 1368)
ราชวงศ์หมิง นานกิง (南京) พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1963 (ค.ศ. 1368 - ค.ศ. 1420)
ราชวงศ์หมิง ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 1963 - พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1644)
ราชวงศ์ชิง ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 2187 - พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1644 - ค.ศ. 1911)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1912 - ค.ศ. 1928)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 นานกิง (南京) พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1928 - ค.ศ. 1937)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 อู่ฮั่น (武漢) พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1934 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 ฉงชิ่ง (重慶) พ.ศ. 2480 - 2488 (ค.ศ. 1937 - 1945 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 นานกิง (南京) พ.ศ. 2488 - 2492 (ค.ศ. 1945 - 1949)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 กว่างโจว (廣州) พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) (ระหว่างสงครามกลางเมืองภายในจีน)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 ฉงชิ่ง (重慶) พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - (ระหว่างสงครามกลางเมืองภายในจีน)
สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน ไทเป (臺北) พ.ศ. 2492 - ปัจจุบัน
สาธารณรัฐประชาชนจีน ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 2492 - ปัจจุบัน

[แก้] ตารางแสดงช่วงเวลาของราชวงศ์และยุคในประวัติศาสตร์จีน

  • ราชวงศ์จิ้น (晉) ค.ศ. 265 – 420 รวม 156 ปี แยกได้เป็น
    • จิ้นตะวันตก (西晉) ค.ศ. 265 – 316 รวม 52 ปี
    • จิ้นตะวันออก (東晉) ค.ศ. 317 – 420 รวม 103 ปี

[แก้] เขตพื้นที่และสภาพแวดล้อม

แผนกการเมืองตามประวัติศาสตร์

เขตพื้นที่ของราชวงศ์ต่างๆตามประวัติศาสตร์ของจีน

แผนกการเมืองระดับบนสุดของจีนได้ดัดแปลงเป็นการบริหารที่เปลี่ยนแปลงระดับบนสุดที่รวมถึงวงจรและจังหวัดข้างล่างจังหวัดนั้นที่นั่นได้คือหน่วยงาน เขต และจังหวัด แผนกเมื่อไม่นานยังรวมถึง อำนาจหน้าที่เขตปกครอง - เมืองระดับ เมืองระดับจังหวัด เมืองและ โดยทั่วไปราชวงศ์จีนส่วนมากถูกในยอดยกมา heartlands ของจีนรู้เป็นจีนเหมาะสมราชวงศ์ต่างๆยังขยายเข้าไปในเขตพื้นที่อุปกรณ์เสริมชอบภายใน มองโกเลีย แมนจูเรีย ซินเจียง และทิเบต ราชวงศ์ชิง ที่ชาวแมนจูตั้งและผู้สืบทอด สาธารณรัฐจีน และ สาธารณรัฐประชาชนจีนรวบรวมเขตพื้นที่เหล่านี้เข้าไปในจีนจีนเหมาะสมถูกคิดให้ถูกโดยกำแพงที่ยิ่งใหญ่และขอบของ ที่ราบสูง ชาวทิเบต แมนจูเรีย และภายใน มองโกเลีย ถูกค้นพบเพื่อทิศเหนือของกำแพงที่ยิ่งใหญ่ของจีนและแนวแบ่งเขตระหว่างพวกเขาสามารถอันใดอันหนึ่งถูกใช้เป็นพรมแดนของขวัญระหว่างภายในมองโกเลีย

[แก้] การเมือง

ประเทศจีนมีการปกครองเป็นลัทธิสังคมนิยมในลักษณะของตนเอง มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ ปัจจุบันมีนายหู จิ่นเทาเป็นประธานาธิบดี เลขาธิการพรรค และประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง และมีนายเวิน เจียเป่าเป็นนายกรัฐมนตรี

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

เขตการปกครองของจีน

ดูเพิ่มได้ที่ เขตการปกครองของจีน

เขตการปกครองของจีนนั้น ตามรัฐธรรมนูญของจีน มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ ได้แก่ มณฑล อำเภอ และ ตำบล แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มมาอีก 2 ระดับ คือ จังหวัด และ หมู่บ้าน ซึ่งถ้านำมาเรียงใหม่จะได้เป็น มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และ หมู่บ้าน

สาธารณรัฐประชาชนจีนมีอำนาจการปกครองเหนือ 22 มณฑล (省) และรัฐบาลจีนยังถือไต้หวัน/ไถวาน (台湾) เป็นมณฑลที่ 23 รัฐบาลจีนยังอ้างสิทธิเหนือเกาะต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ด้วย นอกจากมณฑลแล้วยังมีเขตปกครองตนเอง (自治区) 5 แห่งซึ่งมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มาก เทศบาลนคร (直辖市) 4 แห่งสำหรับเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจีน และเขตบริหารพิเศษ (Special Administrative Regions, SARs) (特别行政区) ที่จีนเข้าไปปกครอง โดยการแบ่งพื้นที่การปกครองเป็นดังนี้

มณฑล

เขตปกครองตนเอง


เทศบาลนคร


เขตบริหารพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน

[แก้] ภูมิศาสตร์

ภูมิศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน

ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออก บนฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ดินประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากรัสเซียและแคนาดาประเทศจีนมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่างๆ ถึง 15 ประเทศ ด้วยมีความยาวถึง 22,800 กม. ข้ามทะเลไปทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้มี เกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

แผ่นดินใหญ่จีนถูกขนาบทางตะวันออกไปทางใต้ด้วยทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ โดยมีพื้นที่น้ำรวม 4.73 ล้านตาราง กิโลเมตร ทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ เป็นส่วนประกอบของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีเกาะเล็กเกาะน้อยถึง 5,400 เกาะ จึงทำให้ประเทศจีนมีอาณาเขตทางทะเลที่ใหญ่มาก เกาะที่ใหญ่ที่สุดมีเนื้อที่ 36,000 ตาราง กิโลเมตร คือ ไต้หวัน ตามด้วยเกาะไหหลำ 34,000 ตาราง กิโลเมตร เกาะ Diaoyu กับเกาะ Chiwei ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเกาะไต้หวันเป็นเกาะตะวันออกสุดของจีนเกาะน้อยใหญ่ รวมถึงหินโสโครก และ ฝูงปลา ในทะเลจีนใต้ เป็นที่รู้จักกันว่า เป็นหมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งแบ่งออกเป็นตงชา ซีชา จงชา และหนานชา รวม 4 กลุ่ม

พื้นที่ทางด้านตะวันตกของจีนเป็นแนวเทือกเขาสูงชันและที่ราบสูงทิเบต มีเทือกเขาที่สำคัญคือเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งมีจุดสูงสุดคือยอดเขาเอเวอเรสต์ ทางด้านเหนือของที่ราบสูงเป็นที่ราบแอ่งกระทะขนาดใหญ่คือแอ่งทาลิมซึ่งเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้งมาก เป็นที่ตั้งของทะเลทรายอาทากามา ส่วนแม่น้ำที่สำคัญในประเทศจีนและมีต้นกำเนิดในประเทศจีนได้แก่ แม่น้ำเหลือง แม่น้ำแยงซี แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน

[แก้] ภูมิอากาศ

สาธารณรัฐประชาชนจีนมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมภาคพื้นทวีปที่มีหลากหลายรูปแบบ ลมเหนือจะมีอิทธิพลสูงในฤดูหนาว ในขณะที่ลมใต้จะมีบทบาทในฤดูร้อน มีผลถึง 4 ฤดู ที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด มีฤดูฝนปนอยู่กับฤดูร้อน ภูมิอากาศที่ซับซ้อน และหลากหลายของจีน มีผลให้สามารถแบ่งแถบอิงอุณหภูมิ กับแถบอิงความชื้นของภาคพื้นของประเทศจีนได้ คือแบ่งแถบอิงอุณหภูมิจากภาคใต้ถึงภาคเหนือเป็น แถบเส้นศูนย์สูตร ร้อนชื้น กึ่งร้อนชื้น อบอุ่น และแถบหนาวเย็น และแบ่งแถบอิงความแห้ง - ชื้น จากตะวันออกเฉียงใต้ ถึงตะวันตกเฉียงเหนือเป็นแถบความชื้นสูง

[แก้] ประชากร และ ชนเผ่า

แผนที่แสดงชนเผ่าของประเทศจีน สีน้ำตาลคือชนเผ่าฮั่น และสีอื่นคือชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในประเทศจีน

ชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศจีนคือ ชนเผ่าฮั่น 92 % ของประชากรทั้งหมด อื่นๆอีก 55 ชนเผ่า 8 % ของประชากรทั้งหมด เช่น

ที่ ชนเผ่า ประชากร เขตปกครอง
1. จ้วง 16 ล้านคน เขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง ฯลฯ
2. แมนจู 10 ล้าน
3. หุย 9 ล้าน เขตปกครองตนเองหุยหนิงเซี่ย ฯลฯ
4. ม้ง 8 ล้าน มณฑลกุ้ยโจว มณฑลยูนนาน ฯลฯ
5. อุยกูร์ 7 ล้าน เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ฯลฯ
6. อี๋ 7 ล้าน มณฑลยูนนาน ฯลฯ
7. ตูเจีย 5.75 ล้าน
8. มองโกล 5 ล้าน เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ฯลฯ
9. ทิเบต 5 ล้าน เขตปกครองตนเองทิเบต ฯลฯ
10. ปู้ยี 3 ล้าน มณฑลกุ้ยโจว ฯลฯ
11. เกาหลี 2 ล้าน

[แก้] เศรษฐกิจ

อัตราการเจริญการเติบโตของเศรษฐกิจจีนโดยธนาคารโลก

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศในปี พ.ศ. 2492 จนถึงปลาย พ.ศ. 2521 สาธารณรัฐประชาชนจีนใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางเหมือนโซเวียต ไม่มีภาคเอกชนหรือระบอบทุนนิยม เหมา เจ๋อตง เริ่มใช้นโยบายก้าวกระโดดไกล เพื่อผลักดันประเทศให้กลายเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่ทันสมัยและก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม แต่นโยบายนี้กลับถูกมองว่าเป็นความล้มเหลวทั้งทางเศรษฐกิจและมนุษยธรรม[1] หลังจากที่เหมาเสียชีวิตและสิ้นสุดการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เติ้ง เสี่ยวผิง และผู้นำจีนรุ่นใหม่ได้เริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจและใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบผสมที่ให้ความสำคัญกับทุนนิยมมากขึ้น

อาคารตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ในย่านธุรกิจเขตผู่ตง เซี่ยงไฮ้

ตั้งแต่เริ่มมีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในปี 2521 เศรษฐกิจของจีนซึ่งนำโดยการลงทุนและการส่งออก[2] เติบโตขึ้นถึง 70 เท่า[3] และกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุด[4] ปัจจุบัน จีนมีจีดีพี (nominal) สูงเป็นอันดับสามของโลกที่ 30 ล้านล้านหยวน (4.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่รายได้ต่อหัวมีค่าเฉลี่ยเพียง 3,300 ดอลลาร์สหรัฐ จึงยังคงตามหลังประเทศอื่นอีกนับร้อย[5] อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และ ตติยภูมิ มีอัตราส่วนร้อยละ 11.3, 48.6 และ 40.1 ตามลำดับ และหากวัดด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ จีนจะมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นที่สองรองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น[6] จีนเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกและเป็นประเทศที่มีมูลค่าทางการค้าสูงเป็นอันดับสามรองจาก สหรัฐอเมริกาและเยอรมนีด้วยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 2.56 ล้านล้านดอลลาร์ มูลค่าการส่งออก 1.43 ล้านล้านดอลลาร์ (อันดับสอง) และมูลค่าการนำเข้า 1.13 ล้านล้านดอลลาร์ (อันดับสาม) จีนมีมูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในโลก (มากกว่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์) [7] และเป็นหนึ่งในประเทศยอดนิยมของการลงทุนจากต่างชาติ โดยสามารถดึงเงินลงทุนมากกว่า 8 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2550 เพียงปีเดียว[8]

[แก้] การพัฒนาอุตสาหกรรมของจีน

เส้นทางรถไฟในประเทศจีน
เส้นทางรถไฟความเร็วสูง HSR ของประเทศจีน
รถไฟใต้ดินในเซี่ยงไฮ้

เมื่อราวๆ กลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการวิพากษ์ในหนังสือพิมพ์จีนว่าด้วย การทบทวนและประเมินการพัฒนาอุตสาหกรรมจีนตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 จนปัจจุบัน และเปรียบเทียบกับการพัฒนาอุตสาหกรรมหลังเปิดประเทศปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งมีหลากหลายความเห็นที่น่าสนใจที่ไทยอาจต้องศึกษา เพื่อนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุนของประเทศ

เนื่องจากประเทศจีนได้เริ่มพัฒนาตามแบบฉบับอุตสาหกรรมใหม่ (ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1) ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย และเกิดการชะงักงันเป็นเวลาหลายสิบปีจวบจนกลางศตวรรษที่ 20 และเกือบหยุดสนิทประมาณ 30 ปี เสร็จแล้วใช้เวลาอีก 20 ปี ในการพัฒนาแบบก้าวกระโดดจนกระทั่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในหลายๆ ด้านของโลก

นักวิชาการจีนดังกล่าวมีความเห็นว่า ที่จีนสามารถพัฒนาจนเป็นเช่นนี้ เกิดจากกระแสความคิด 2 กระแส

  1. กระแสแรก จีนได้วางพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักไว้ตั้งแต่ต้นและไม่เคยละทิ้ง เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เครื่องจักรกล เคมี จึงกลายเป็นพื้นฐานรองรับและประกันการพัฒนา
  2. กระแสที่สอง ในช่วงที่จีนเปิดประเทศใหม่ๆ ว่าด้วยแนวทางที่จะนำเข้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีกลุ่มหนึ่งเห็นคล้อยตามคำแนะนำของประเทศที่พัฒนาแล้วสมัยนั้นว่า ควรที่จะพัฒนาตามขั้นตอน เนื่องจากเทคโนโลยีจีนขณะนั้นล้าหลังอยู่มาก จึงเลือกนำเข้าเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระดับก่อนหน้าสมัยนั้น 5-10 ปี

ถึงแม้เทคโนโลยีที่จีนใช้ในขณะนั้นจะล้าหลังในสากลโลก แต่ถือว่าทันสมัยมากสำหรับจีน ในการผลิตและจำหน่ายในตลาดของจีน ซึ่งรับความนิยมสูงมาก เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน

ขณะเดียวกัน ก็มีอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่า พื้นฐานทางวิชาการและเทคโนโลยีจีนพร้อมอยู่แล้ว จึงเลือกที่จะก้าวกระโดดโดยซื้อเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ณ ขณะนั้น เช่น ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร เทคโนโลยีอวกาศ อุตสาหกรรมเหล็ก ปรากฏในภายหลังว่า ทั้งสองกลุ่มได้พบจุดบรรจบกันในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 20 และนำมาซึ่งความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอีกระลอกดังที่เห็นกันขณะนี้

ผลและสภาพของการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของจีนที่เราได้เห็นทุกวันนี้ นักวิชาการจีนส่วนใหญ่มองว่าเป็นผลเกิดจากการปูพื้นฐานทางวิชาการและการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักตั้งแต่สมัยแรก กลายเป็นหลักประกันสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมเบา เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ให้พัฒนาอยู่บนขาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ เช่น เหล็กและโลหะอื่นๆ พลาสติก และเคมี ที่เป็นพื้นฐานนำไปแปรรูปต่อจนจีนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับสูงดังที่เป็นอยู่ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีและสิทธิบัตรตราสินค้าของตนเอง

[แก้] เมืองใหญ่

ดูรายชื่อทั้งหมดที่รายชื่อเมืองในจีนเรียงตามจำนวนประชากร อันดับเมืองขนาดใหญ่ 20 เมืองแรก จัดอันดับตามจำนวนประชากร

อันดับ เมือง มณฑล ประชากร อันดับ เมือง มณฑล ประชากร
Shanghai
เซี่ยงไฮ้
ปักกิ่ง
ปักกิ่ง
Shenzhen
ฉงชิ่ง
1 เซี่ยงไฮ้ - 14,530,000 11 เฉิงตู เสฉวน 3,750,000
2 ปักกิ่ง - 10,300,000 12 ฉงชิ่ง - 3,270,000
3 เซินเจิ้น กวางตุ้ง 11,820,000 13 ชิงเต่า ซานตง 3,200,000
4 กวางโจว กวางตุ้ง 7,050,000 14 ถางซาน เหอเป่ย์ 3,200,000
5 ฮ่องกง - 6,840,000 15 นานกิง เจียงซู 3,110,000
6 ตงกว่าง กวางตุ้ง 6,450,000 16 ซีโบ ซานตง 2,900,000
7 เทียนจิน - 5,190,000 17 ฝูโจว ฝูเจี้ยน 2,600,000
8 อู่ฮั่น หูเป่ย์ 1,105,289 18 ฉางซา หูหนาน 2,520,000
9 ฮาร์บิน เฮย์หลงเจียง 4,754,753 19 หนานชาง เจียงซี 2,440,000
10 เฉิ่นหยาง เหลียวหนิง 4,420,000 20 อู๋ซี เจียงซู 2,400,000
ข้อมูลปี 2550

[แก้] กองทัพ

ตั้งแต่ก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปี พ.ศ. 2492 กองทัพของประเทศจีนได้เติบโตอย่างรวดเร็วกองทัพเรือ ตำรวจมีอาวุธในข้อตกลงที่แท้จริงของกองทัพแดง ปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งอาวุธที่มีนั้นส่วนใหญ่จะมาจากประเทศรัสเซีย จีนเพิ่มกำลังทางทหารสูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชียและอันดับที่ 4 ของโลก หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้สถานะของยุคหลังสงครามโลก หรือที่เรียกกันว่ายุคสงครามเย็นได้ยุติลง ได้ส่งผลให้ขั้วของการเป็นมหาอำนาจได้เปลี่ยนแปลงไปสหรัฐอเมริกาเองปรารถนาที่จะเป็นขั้วอำนาจขั้วเดียวในโลกโดยดำเนินยุทธศาสตร์ที่มุ่งไปสู่ความเป็นมหาอำนาจชาติเดียว ในขณะเดียวกันประเทศที่ศักยภาพอย่างจีนได้พยายามที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ประเทศมหาอำนาจ โดยการเร่งพัฒนาหลาย ๆ ด้าน และที่ขาดไม่ได้นั่นคือ การพัฒนาให้กองทัพมีศักย์ในการดำเนินสงครามโดยการปรับปรุงให้กองทัพให้มีความทันสมัยในช่วง 10 ปี แรกนั้น ภัยคุกคามหลักของจีนนั้น

มุ่งไปที่สหภาพโซเวียต ในขณะที่ปัญหาไต้หวันยังเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในระดับต่ำ ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2538 – 2539 (ค.ศ. 1995 – 1996) ปัญหาเกิดขึ้นบริเวณเกาะไต้หวัน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงภายใน ทำให้ทิศทางของการพัฒนากองทัพมุ่งไปสู่การรองรับภัยคุกคามที่เกิดจากการพยายามแยกตัวของไต้หวันตั้งแต่ พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) เป็นต้นมา กองกำลังทางบกได้รับอาวุธและยุทโธปกรณ์พิเศษที่ใหม่ และหลากหลายที่จีนผลิตเองเข้าประจำการ เช่น รถถังหลัก รถถังสะเทินน้ำสะเทินบก รถสายพานลำเลียงพล ปืนใหญ่อัตตาจร อาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศ ระบบป้องกันภัยทางอากาศ คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ กล้องมองกลางคืน อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าอาวุธจากรัสเซีย เช่น อากาศยานปีกหมุน และ ระบบนำวิถี โดยอาวุธที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นได้มีการนำมาสวนสนามแสดงแสนยานุภาพ เมื่อ 1 ตุลาคม 2542 ที่ผ่านมา ปัจจุบันสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ “Chinese Defense Today Website” อย่างไรก็ตามเนื่องจาก PLA เป็นเป็นกองทัพที่ใหญ่ ดังนั้นการนำเอาอาวุธใหม่เข้าประจำการพร้อมกันเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลา ทำให้หลายหน่วยยังคงใช้อาวุธเก่าอยู่จนกว่าจะได้รับของใหม่เข้าประจำการ นอกจากนี้ทางกองทัพยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักนิยมการรบร่วม (Joint Operations Doctrine) จากที่กล่าวนั้นจะเห็นได้ว่ากองทัพจีนนั้นมีการปรับปรุงกองทัพให้มีความทันสมัยซึ่งได้พัฒนากันมานานนับ 10 ปี แต่ก็เป็นการพัฒนาแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เพราะเป็นกองทัพที่มีขนาดใหญ่ มีกำลังพลจำนวนมากถึง 2.3 ล้านคน มีขอบเขตหรือดินแดนที่ต้องรับผิดชอบอันกว้างใหญ่ไพศาล ทั้งทางบกและทางทะเล การพัฒนาต่างๆ คงจะต้องดำเนินต่อไป โดยมีหน่วยงานเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนาคือ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ (Special Operations Forces: SOF) การพัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกล การพัฒนากองกำลังทางเรือ การพัฒนาหน่วยสะเทินน้ำสะเทินบก ในปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีกองทัพใหญ่ที่สุดในโลก

[แก้] นโยบายทางชนชาติของจีน

จีนเป็นประเทศเอกภาพที่มีหลายชนชาติ รัฐบาลจีนดำเนินนโยบายทางชนชาติที่ให้ ชนชาติต่าง ๆ มีความเสมอภาค สมานสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เคารพและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาและขนบธรรมเนียมของชนชาติส่วนน้อยระบบปกครองตนเองในเขตชนชาติส่วนน้อยเป็นระบบการเมืองอันสำคัญอย่างหนึ่งของจีน คือ ให้ท้องที่ที่มีชนชาติส่วนน้อยต่าง ๆ อยู่รวม ๆ กันใช้ระบบปกครองตนเอง ตั้งองค์กรปกครองตนเองและใช้สิทธิอำนาจปกครองตนเอง ภายใต้การนำที่เป็นเอกภาพ ของรัฐ รัฐประกันให้ท้องที่ที่ปกครองตนเองปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายของรัฐตามสภาพที่เป็นจริงในท้องถิ่นของตน ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ บุคลากรทางวิชาการและ กรรมกรทางเทคนิคชนิดต่าง ๆ ของชนชาติส่วนน้อยเป็นจำนวนมาก ประชาชน ชนชาติต่าง ๆ ในท้องที่ที่ปกครองตนเองกับประชาชนทั่วปแระเทศรวมศูนย์กำลังดำเนิน การสร้างสรรค์สังคมนิยมที่ทันสมัย เร่งพัฒนาเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในท้องที่ที่ ปก ครองตนเองให้เร็วขึ้นและสร้างสรรค์ท้องที่ที่ปกครองตนเองของชนชาติส่วนน้อยที่สมานสามัคคีกันและเจริญรุ่งเรือง ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

ระหว่างการปฏิบัติเป็นเวลาหลายสิบปี พรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ของจีนได้ก่อรูปขึ้นซึ่งทรรศนะและนโยบายพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาทางชนชาติหลายประการที่สำคัญได้แก่

  • การกำเนิด การพัฒนาและการสูญสลายของชนชาตินั้นเป็นกระบวนการทาง ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปัญหาชนชาติจะดำรงอยู่เป็นเวลานาน
  • ระยะสังคมนิยมเป็นระยะที่ชนชาติต่าง ๆ ร่วมกันพัฒนาและเจริญรุ่งเรือง ปัจจัย ร่วมกันระหว่างชนชาติต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ลักษณะพิเศษและข้อ แตกต่างระหว่างชนชาติต่าง ๆ จะดำรงอยู่ต่อไป
  • ปัญหาชนชาติเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาทั่วสังคม มีแต่แก้ปัญหาทั่วสังคมให้ลุล่วง ไปเท่านั้น ปัญหาทางชนชาติจึงจะได้รับการแก้ไขอย่างมีขั้นตอน มีแต่ในภารกิจร่วมกัน ที่สร้างสรรค์สังคมนิยมเท่านั้น ปัญหาทางชนชาติของจีนในปัจจุบันจึงจะได้รับการ แก้ไขอย่างมีขั้นตอนได้
  • ชนชาติต่าง ๆ ไม่ว่ามีประชากรมากหรือน้อย มีประวัติยาวหรือสั้นและมีระดับ การพัฒนาสูงหรือต่ำ ต่างก็เคยสร้างคุณูปการเพื่ออารยธรรมของปิตุภูมิ จึงควรมีความ เสมอภาคทั้งนั้น ควรเสริมสร้างความสามัคคีอันยิ่งใหญ่ระหว่างประชาชนชนชาติต่าง ๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและรักษาเอกภาพแห่งชาติ
  • การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างขนานใหญ่เป็นภาระหน้าที่มูลฐานแห่งสังคมนิยม และก็ เป็นภาระหน้าที่มูลฐานของงานชนชาติของจีนในขั้นตอนปัจจุบัน ชนชาติต่าง ๆ ต้องช่วย เหลือซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุซึ่งความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน

การปกครองตนเองในเขตชนชาติส่วนน้อยเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีต่อทฤษฎีชนชาติของลัทธิมาร์กซ และเป็นระบอบมูลฐานในการแก้ปัญหาชนชาติของจีนการพยายามสร้างขบวนเจ้าหน้าที่ชนชาติส่วนน้อยขนาดใหญ่ขนาดหนึ่งที่มีทั้งคุณธรรม และขีดความสามารถเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดในการทำงานทางชนชาติให้ดีและแก้ปัญหาทางชนชาติให้ลุล่วงไปปัญหาทางชนชาติกับปัญหาทางศาสนามักจะผสมผสานอยู่ด้วยกันในท้องที่บาง แห่ง ขณะจัดการกับปัญหาทางชนชาติ ยังต้องสังเกตปฏิบัติตามนโยบายทางศาสนา ของรัฐอย่างทั่วด้านและถูกต้องนอกจากนี้ ในขณะเดียวกันกับที่พยายามส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษาตลอดจนภารกิจอื่นๆ ของเขตชนชาติส่วนน้อย ยกระดับชีวิตทาง วัตถุและวัฒนธรรมของประชาชนชนชาติส่วนน้อยอันไพศาลซึ่งรวมทั้งชาวศาสนาด้วยให้สูงขึ้น รัฐบาลจีนยังสนใจเคารพความเชื่อถือทางศาสนาของชนชาติส่วนน้อยและรักษา มรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติส่วนน้อยเป็นพิเศษ สำรวจ เก็บสะสม ศึกษา จัดให้เป็น ระเบียบและจัดพิมพ์จำหน่ายมรดกทางวัฒนธรรมและศิลปะพื้นเมืองของชนชาติต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งวัฒนธรรมทางศาสนาด้วย รัฐบาลยังได้ลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อซ่อมแซม วัดวาอารามและสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาอันสำคัญที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในเขตชนชาติส่วนน้อย

[แก้] สภาพทางการทูตโดยสังเขป

[แก้] ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

[แก้] ด้านการเมือง

ทางการไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศดำเนินมาด้วยความราบรื่นบนพื้นฐานของความเสมอภาค เคารพซึ่งกันและกัน ไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน และอยู่ภายใต้หลักการของผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคง สันติภาพ และเสถียรภาพของภูมิภาค ความร่วมมือกันของทั้ง 2 ได้ดำเนินมาอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด แต่เมื่อสิ้นสุดสงครามเย็นเมื่อจีนสามารถได้สถาปนาความสัมพันธ์กับอาเซียนทุกประเทศแล้ว ความสำคัญของประเทศไทยต่อจีนในทางยุทธศาสตร์ได้ลดลงไปจากเดิม ความสัมพันธ์ในปัจจุบันจึงได้เน้นด้านการค้าและเศรษฐกิจบนพื้นฐานของผลประโยชน์ต่างตอบแทนเป็นหลัก

ไทยและจีนไม่มีปัญหาหรือข้อขัดแย้งใดๆ ที่ตกทอดมาจากประวัติศาสตร์ การไปมาหาสู่ของผู้นำระดับสูงสุดก็ได้เป็นไปอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะการเสด็จฯ เยือนจีนอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2543 การเสด็จฯ เยือนจีนของพระบรมวงศานุวงศ์ไทยมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจระหว่างประชาชนของสองประเทศอีกด้วย

ปัจจุบันความสัมพันธ์ไทย - จีน มีความใกล้ชิดกันมากขึ้นในทุกด้าน ทั้งกรอบทวิภาคี พหุภาคี และเวทีภูมิภาค เช่น การประชุมอาเซียนและจีน อาเซียน + 3 ARF ASEM เป็นต้น ในการเยือนจีนเมื่อเดือนสิงหาคม 2544 ทางไทยและจีนต่างเห็นพ้องที่จะมุ่งพัฒนาความสัมพันธ์และขอบข่ายความร่วมมือระหว่างกันให้กว้างขวางยิ่งขึ้นในลักษณะของความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ การเยือนจีนของนายกรัฐมนตรีประสบความสำเร็จหลายด้าน เช่น ความร่วมมือด้านยาเสพติด ด้านการเงิน การคลัง พาณิชย์นาวี รวมทั้งได้ลงนามความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างไทย - จีน และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งสภาธุรกิจไทย - จีน

เมื่อปี 2548 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 30 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างปไทยและจีน ทั้งสองประเทศจะมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและใกล้ชิดกันเป็นพิเศษระหว่างทั้งสองประเทศ อาทิ การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับผู้นำ โดยนายกรัฐมนตรีไทย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางเยือนจีน อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 เพื่อร่วมฉลองในกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐบาลไทย และรัฐบาลจีนร่วมกันจัดขึ้นที่ประเทศจีน การจัดกิจกรรมฉลองร่วม การจัดทำหนังสือที่ระลึก การจัดงานสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน และการแลกเปลี่ยนเยาวชน เป็นต้น

ล่าสุด นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนนครหนานหนิง เมื่อวันที่ 30 - 31 ตุลาคม 2549 เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีนสมัยพิเศษ ที่จัดขึ้นในโอกาสที่อาเซียนและจีนฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 15 ปี โดยได้พบหารือกับผู้นำระดับรัฐบาลและระดับท้องถิ่นของจีน รวมถึงผู้นำอีก 9 ประเทศของอาเซียน ซึ่งการเยือนประสบผลสำเร็จอย่างดี

[แก้] ด้านเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2546 ได้มีการลงนามความตกลงเร่งลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ระหว่างไทย -จีน ซึ่งช่วยลดอุปสรรคด้านภาษีในการค้าสินค้าผักและผลไม้ (สินค้าพิกัดภาษี 07 08) ทั้งประเทศไทย และ จีน มีความพร้อมในการลดภาษีอยู่แล้ว ซึ่งได้มีผลยกเว้นภาษีสำหรับสินค้า 116 รายการ ในพิกัดภาษี 07 08 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546

  • การค้าไทย และ จีน ในปี 2548 มีมูลค่า 20,343.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.31 ประเทศไทยส่งออก 9,183.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 11,159.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • การค้าไทย และ จีน ในปี 2549 มีมูลค่า 25,154.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.75 ประเทศไทยส่งออก 11,708.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 13,445.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าที่ทางการจีนนำเข้าจากไทยที่สำคัญมากที่สุดคือ สายอากาศและเครื่องสะท้อนสัญญาณทางอากาศ พลาสติก มันสำปะหลัง คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ แผงวงจรไฟฟ้า ไม้ที่เลื่อยแล้ว ส่วนสินค้าที่จีนส่งออกมาไทยที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์แผ่นเหล็กรีดร้อน เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์หรือโทรเลขแบบใช้สาย เงิน ตะกั่ว

การลงทุนของไทยในจีนเมื่อปี 2548 ไทยลงทุนในจีนรวม 95.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ธัญพืช ฟาร์มสัตว์ มอเตอร์ไซค์ โรงแรม ร้านอาหาร การนวดแผนไทย ส่วนการลงทุนของจีนในไทยในปีเดีวกัน จีนลงทุนในไทยรวม 2,286 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก และอุตสาหกรรมโลหะพื้นฐานการลงทุนที่จีนได้รับอนุมัติจากรัฐบาลจีนมีจำนวนทั้งสิ้น 15 โครงการ ประกอบด้วยกิจการก่อสร้าง การค้า ธนาคาร การแปรรูปโลหะ การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ สายการบิน เครื่องจักร ร้านอาหาร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

[แก้] วัฒนธรรม

ประชาชนจีนมีทั้งสิ้น 56ชนเผ่า ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา โดยนับถือนิกายมหายานและวัชระญาณโดยนับถือปนไปกับลัทธิขงจื้อและเต๋า 300กว่าล้านนอกนั้นนับถือนิกายเถรวาท มีนับถือศาสนาอิสลาม11กว่าล้าน นับถือศาสนาคริสต์9ล้าน

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ China's Great Leap Forward. The University of Chicago Chronicle (14-03-1996).
  2. ^ China must be cautious in raising consumption China Daily. Retrieved on February 8, 2009.
  3. ^ China jumps to world's No 3 economy The Australian. Retrieved on January 21, 2009.
  4. ^ GDP growth 1952-2007. Chinability. Retrieved on 2008-10-16.
  5. ^ China's GDP grows by seven-year low of 9% in 2008 Xinhua News Agency. Retrieved on January 27, 2009.
  6. ^ World Economic Outlook Database International Monetary Fund (April 2008). Retrieved on 27 July 2008.
  7. ^ China forex reserves exceed 1.9 trillion U.S. dollars Xinhua (14 October 2008). Retrieved on 21 November 2008.
  8. ^ FDI doubles despite tax concerns Ministry of Commerce of the People's Republic of China (19 February 2008). Retrieved 26 July 2008.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น