จังหวัดชลบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดชลบุรี
ตราประจำจังหวัดชลบุรี ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดชลบุรี
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย ชลบุรี
ชื่ออักษรโรมัน Chon Buri
ชื่อไทยอื่นๆ เมืองชล, บางปลาสร้อย (ชื่อเดิม)
ผู้ว่าราชการ นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2551)
ISO 3166-2 TH-20
ต้นไม้ประจำจังหวัด ประดู่
ดอกไม้ประจำจังหวัด ประดู่
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 4,611.829 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 51)
ประชากร 1,289,590 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 13)
ความหนาแน่น 279.63 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 12)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดชลบุรี ถนนมนตเสวี ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000
โทรศัพท์ (+66) 0 3827 5034, 0 3827 9434
เว็บไซต์ จังหวัดชลบุรี
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดชลบุรี

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ชลบุรี เป็นชื่อจังหวัดที่ติดกับอ่าวไทยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของประเทศตั้งอยู่ นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้ว ในขณะเดียวกันนั้นยังถือว่าเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศแห่งหนึ่งด้วย ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

จังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นชุมชนโบราณที่เคยมีมนุษย์ยุคหินใหม่อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้วเพราะว่าเคยมีการขุดค้นด้านโบราณคดีแล้วพบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ตรงแถวที่ราบลุ่มแม่น้ำพานทองซึ่งอยู่ในบริเวณวัดโคกพนมดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม ซึ่งแหล่งโบราณคดีที่ค้นพบในครั้งนั้นได้พบสิ่งมีคุณค่าทางโบราณคดีหลายอย่าง เช่น ขวานหินขัด เครื่องประดับจำพวกกำไล ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผาแบบใช้เชือกทาบ และได้พบซากของอาหารทะเลอีกด้วยจึงทำให้ทราบว่าบริเวณนี้อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลมากกว่าปัจจุบันนี้มาก แหล่งโบราณคดีที่กล่าวอ้างทั้งหมดข้างต้นนั้นจึงเป็นหลักฐานยืนยันส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาอันแสนยาวนานของจังหวัดชลบุรี

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 92 ตำบล 687 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองชลบุรี
  2. อำเภอบ้านบึง
  3. อำเภอหนองใหญ่
  4. อำเภอบางละมุง
  5. อำเภอพานทอง
  6. อำเภอพนัสนิคม
  1. อำเภอศรีราชา
  2. อำเภอเกาะสีชัง
  3. อำเภอสัตหีบ
  4. อำเภอบ่อทอง
  5. อำเภอเกาะจันทร์
 แผนที่

[แก้] สถานศึกษา

มหาวิทยาลัย[3]


สถาบันและวิทยาลัย

โรงเรียน

[แก้] กีฬา

จังหวัดชลบุรีมีทีมฟุตบอลอาชีพที่มีชื่อเสียงและซึ่งปัจจุบันเล่นอยู่ในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 3 ทีม คือ สโมสรฟุตบอลชลบุรี ซึ่งเป็นทีมในอำเภอเมืองชลบุรี ปัจจุบันเล่นอยู่ในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก มีผลงานได้เป็นแชมป์ประเทศไทยหนึ่งสมัยในปี พ.ศ. 2550 และเป็นตัวแทนไปแข่งในเขตเอเชียในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก นอกจากนี้ยังมีทีมสโมสรฟุตบอลพัทยายูไนเต็ด ในเมืองพัทยา และสโมสรฟุตบอลศรีราชา-สันนิบาตฯ ในเทศบาลเมืองศรีราชา อำเภอศรีราชา สำหรับการแข่งขันกีฬาในมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกในชื่อ กีฬามหาวิทยาลัยภาคตะวันออก

[แก้] สถานที่สำคัญ

[แก้] นามสกุลพระราชทานที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชลบุรี

[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียงจากจังหวัดชลบุรี

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.
  3. ^ http://www.mua.go.th/data_main/university.xls รายชื่สถาบันระดับอุดมศึกษา ในความรับผิดชอบ สกอ.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°24′N 101°00′E / 13.4°N 101°E / 13.4; 101