สถาบันการบินพลเรือน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถาบันการบินพลเรือน
สัญลักษณ์ สบพ.
“ ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺ เสสุ
ในหมู่มนุษย์ คนประเสริฐ คือคนที่ฝึกแล้ว
A Trained Person is an Excellent Person ”

สถาบันการบินพลเรือน ( Civil Aviation Training Center ) เดิมชื่อ "ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย" เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยมีหน้าที่ในการอบรมและผลิตบุคลากรด้านการบินทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ ตามมาตรฐานระดับสากลที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) กำหนดไว้

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะมีความรู้ความสามารถในการเข้าไปปฏิบัติงานในหน่วยงานด้านการบินทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในตำแหน่งงานต่างๆ เช่น นักบิน ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ เป็นต้น


เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

สถาบันการบินพลเรือนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างกองทุนพิเศษสหประชาชาติ (United Nations Special Fund :UNSF) องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) และรัฐบาลไทย โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย มีองค์การการบินพลเรือนระหว่าประเทศเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจการด้านบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เจริญรุดหน้าทันกับภูมิภาคอื่นๆ

ในปี พ.ศ. 2509 เมื่อหมดระยะเวลาของโครงการ( 5ปี พ.ศ. 2504-2508) รัฐบาลไทยได้รับมอบศูนย์ฝึการบินพลเรือนในประเทศไทยมาดำเนินการในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2509 โดยให้มีฐานะเป็นสถานฝึกอบรมโดยมีกรมการบินพาณิชย์ (กรมการบินพลเรือน ในปัจจุบัน) เป็นผู้รับผิดชอบ

ในปี พ.ศ. 2530 รัฐบาลได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการบินพาณิชย์ใหม่ โดยได้จัดตั้งศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยให้มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกอง ในกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม

ในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน แปรสภาพศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย เป็น สถาบันการบินพลเรือน รัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม

ในปี พ.ศ. 2536 สถาบันการบินพลเรือน ได้รับโอนกิจการศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยของกรมการบินพาณิชย์มาดำเนินการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2536 และได้รับทุนประเดิมตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน โดยได้รับจาก บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 100,000,000 บาท บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จำนวน 25,000,000 บาท และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)ในปัจจุบัน) จำนวน 25,000,000 บาท เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 150,000,000 บาท


[แก้] การจัดหน่วยงาน

  • สำนักผู้ว่าการ (Governor Bureau)
    • แผนกเลขานุการ
    • แผนกธุรการ
    • แผนกทรัพยากรบุคคลและสวัสดิการ
    • แผนกนโยบาลและแผนงาน
    • แผนกนิติการ
    • แผนกจัดหา
    • แผนกอาคารสถานที่


  • ฝ่ายบริหาร (Administrative Affairs)
    • สำนักการเงินการคลัง (Finance Bureau)
      • แผนกบัญชี
      • แผนกการเงิน
      • แผนกงบประมาณ
      • แผนกพัสดุ
    • สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศการบิน (Aviation Information Techonlogy Bureau)
      • แผนกพัฒนาสารสนเทศและเครือข่าย
      • แผนกผลิตและพัฒนาสือการศึกษา
      • แผนกบริการโสตทัศนูปกรณ์
    • สำนักวิจัยและพัฒนาธุรกิจการบิน (Aviation Business Resech and Development Bureau)
      • แผนกประชาสัมพันธ์
      • แผนกการตลาด
      • แผนกวิจัยและพัฒนา


  • ฝ่ายวิชาการ (Academic Affairs)
    • สำนักวิชาการ (Academic Affairs Bureau)
      • แผนกมาตรฐานการศึกษา
      • แผนกบริการการศึกษา
      • แผนกกิจการนักศึกษา
      • แผนกทะเบียนและวัดผล
    • กองวิชาอากาศยานและเครื่องยนต์ (Aircraft and Powerplant Division)
    • กองวิชาอิเล็กทรอนิกส์การบิน (Avionics Division)
    • กองวิชาบริการการบิน (Aeronautical Service Division)
    • กองวิชาบริหารการบิน (Aviation Management Division)
    • กองวิชาภาษาอังกฤษเทคนิคการบิน (Aviation Technical English Division)


  • ศูนย์ฝึกการบิน (Flight Training Center)
    • กองฝึกบิน (Aviation Training Division)
      • แผนกอำนวยการบิน
      • แผนกฝึกบินจำลอง
      • สถานีบริการอากาศยาน
    • กองซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Maintenance Division)
      • แผนกควบคุมมาตรฐานการซ่อม
      • แผนกซ่อมอากาศยานในลานจอด
      • สถานีซ่อมบำรุงอากาศยาน


[แก้] คณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือน

คณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือน (Board of Directors Civil Aviation Training Center) ชุดปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 11 ท่าน ประกอบด้วย

  • ประธานกรรมการ : พลอากาศเอกไพบูลย์ จันทร์หอม
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ : นางภาวสุทธิ์ จึงอนุวัตร
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ : นายวงศกร มณีกร
  • กรรมการ : นายศิริ พิเชียรโสภณ
  • กรรมการ : พลอากาศโทวินัย เปล่งวิทยา
  • กรรมการ : เรืออากาศโทณรงค์ชัย ถนัดช่างแสง
  • กรรมการ : นายวุฒิชัย สิงหมณี
  • กรรมการ : นางอัจฉราพร เหมาคม
  • กรรมการ : เรืออากาศเอกสุธี จุลชาติ
  • กรรมการ : นายบัญชา เอกธรรมสุทธิ์
  • กรรมการและเลขานุการ : พลอากาศตรีภักดิวรรธน์ วชิรพัลลภ


[แก้] คณะผู้บริหาร

รายนามคณะผู้บริหารสถาบันการบินพลเรือนชุดปัจจุบัน

  • ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน : พลอากาศตรีภักดิวรรธน์ วชิรพัลลภ
  • รองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร : นาวาอากาศตรีวัฒนา มานนท์
  • รองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการ : นาวาอากาศเอกจิรพล เกื้อด้วง
  • รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ฝึกการบิน : นาวาอากาศเอกเพิ่มศักดิ์ มุขพรหม
  • ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ : นายฐาปนพงศ์ พุทธศิริ
  • ผู้อำนวยการสำนักการเงินการคลัง : นางสาวภัคณัฐฐ์ มากช่วย
  • ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศการบิน : นางสาวมณสิชา สิทธิคง
  • ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาธุรกิจการบิน : นางสาววรินทร เลี่ยมนาค
  • ผู้อำนวยการกองวิชาอากาศยานและเครื่องยนต์ : นายวิโรจน์ น้อยวิไล
  • ผู้อำนวยการกองวิชาอิเล็กทรอนิกส์การบิน : นายสุริยพงศ์ แก้วอัมพร
  • ผู้อำนวยการกองวิชาบริการการบิน : นายธวัชชัย หันสุเวช
  • ผู้อำนวยการกองวิชาบริหารการบิน : นายฐิติวัฒน์ บุญญฤทธิ์
  • ผู้อำนวยการกองวิชาภาษาอังกฤษเทคนิคการบิน : นางสาวนภคพร นคฤทธภพ
  • รักษาการผู้อำนวยการกองฝึกบิน : นาวาอากาศโทอภิชาติ วาทะวัฒนะ
  • รักษาการผู้อำนวยการกองซ่อมบำรุงอากาศยาน : พันจ่าอากาศเอกสมบัติ ภู่ทอง

[แก้] หลักสูตร

แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ หลักสูตรภาคพื้น หลักสูตรภาคอากาศ และหลักสูตรฝึกอบรม


  • หลักสูตรภาคพื้น แบ่งเป็น 3 หลักสูตร ได้แก่
    • 1. หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต (Bachelor of Technology in Aviation) เป็นหลักสูตร 4ปี โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ในแผนกวิทย์-คณิต และแผนกศิลป์ นักศึกษาจะเรียนรวมกันเป็นเวลา 2 ปี (ชั้นปีที่1,2) และจะเลือกสาขาเมื่อนักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 มี 3 สาขาวิชา ได้แก่
      • 1.1 สาขาวิชาการจัดการจราจรทางอากาศ (Program in Air Traffic Management)
      • 1.2 สาขาวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Program in Air Cargo Management)
      • 1.3 สาขาวิชาการจัดการท่าอากาศยาน (Program in Airport Management)
    • 2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Science) เป็นหลักสูตร 4 ปี มี 1 สาขาวิชา ได้แก่
      • 2.1 สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์การบิน (Program in Aviation Electronics) โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 แผนกวิทย์-คณิต
    • 3. หลักสูตรอนุปริญญา [ปวส.] เป็นหลักสูตร 2 ปีครึ่ง มี 3 หลักสูตร ได้แก่
      • 3.1 หลักสูตรฝึกอบรมนายช่างภาคพื้นดิน (Aircraft Maintenance - Aircraft Maintenance Engineer Licence) โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 แผนกวิทย์-คณิต และ ระดับชั้น ปวช.แผนกเครื่องกลและเครื่องยนต์
      • 3.2 หลักสูตรการบำรุงรักษาเครื่องวัดประกอบการบิน (Aircraft Maintenance - Aircraft Instrument)
      • 3.3 หลักสูตรการบำรุงรักษาเครื่องสื่อสารการบิน (Communication Maintenance) โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 แผนกวิทย์-คณิต และ ระดับชั้น ปวช.แผนกไฟฟ้าและอิเลคทรอนิค


  • หลักสูตรภาคอากาศ ในปัจจุบันมี 8 หลักสูตร ได้แก่
    • 1. Commercial Pilot Licence - Aeroplane (Integrate Course Instrument Rating and Multi-Engine Rating) - (หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี - เครื่องบิน)
    • 2. Private Pilot Licence - Aeroplane (หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล - เครื่องบิน)
    • 3. Commercial Pilot Licence - Helicopter (หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี - เฮลิคอปเตอร์)
    • 4. Private Pilot Licence - Helicopter (หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล - เฮลิคอปเตร์)
    • 5. Private Pilot Licence - Helicopter Special
    • 6. Instrument Rating (Single Engine)
    • 7. Multi-Engine Rating
    • 8. Flight Instructor Rating (Aeroplane - Helicopter Ground & Flight Training)


  • หลักสูตรฝึกอบรม
    • Operations Group
      • Air Traffic Control License & Rating
      • Air Traffic Controller License & Aerodrome Control Rating
      • Approach Terminal Control Non-Radar Procedural
      • Approach Terminal Control Radar
      • Area Airways Control Non-Radar Procedural
      • AIS Officer
      • AIS Cartography
      • Flight Operations Officer / Flight Dispatcher
      • Flight Operations Officer Refresher
      • Aviation Introductory to Flight Operations Officer / Flight Dispatcher
      • Search & Rescue Administration
      • CNS/ATM Technologies For Air Traffic Service Manager
      • Safety Management System
      • Aviation Security Management
      • Human Factor For Operational Personnel
      • Meteorology For Aviation Personnel
      • Performance Based Navigation
      • Controller - Pilot Data Link & Communication
      • Aerodrome Certification
    • Aircraft Maintenance Group
      • Helicopter Maintenance Special
      • Skill Test For Aircraft Maintenance Engineering

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น