มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี

KMUTT

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หรือที่รู้จักในชื่อ "บางมด" เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล เดิมชื่อ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัย ดีเลิศ ด้านการวิจัยและ ดีเยี่ยม ด้านการเรียนการสอน โดยการจัดอันดับเพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย ปี 2548 จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้าน วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็น 1 ใน 8 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย และเปิดทำการสอนทั้งในหลักสูตรปกติ สองภาษาและนานาชาติ ในระดับปริญญาตรี โท และเอก มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยด้วย

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

บรรยากาศยามเย็นบริเวณสระมรกตและอาคารสำนักอธิการบดี มองจากด้านหลังห้องประชุมจำรัสฯ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เดิมคือ "วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี" ซึ่งเป็นวิทยาลัยในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ที่ถนนประชาอุทิศ (ซอยสุขสวัสดิ์ 48) แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

ในระยะเริ่มแรก วิทยาลัยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีกำหนด 3 ปี ใน 4 สาขาวิชา คือ

  • ช่างก่อสร้าง
  • ช่างไฟฟ้า
  • ช่างยนต์
  • ช่างเทคนิคการผลิต
ทัศนียภาพยามเย็นภายในมหาวิทยาลัยฯ มองจากสถาบันการเรียนรู้ ชั้น 7 อาคารสำนักอธิการบดี

ในปี พ.ศ. 2506 ยูเนสโก (UNESCO) และกองทุนพิเศษสหประชาชาติ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่วิทยาลัย มีโครงการ 5 ปี โดยจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เปิดสอนอยู่ ให้ทุนการศึกษาอบรมเพิ่มเติมแก่อาจารย์ และจัดซื้ออุปกรณ์การศึกษาให้แก่วิทยาลัยตามความต้องการ ในปี พ.ศ. 2508 วิทยาลัยโดยความเห็นชอบของกระทรวงศึกษาธิการ และคณะรัฐมนตรี ให้เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยมีหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โครงการนี้ได้รับความช่วยเหลือจาก ยูเนสโก และกองทุนพิเศษสหประชาชาติอีก โดยจัดเป็นโครงการ 4 ปี เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในรูปแบบเดียวกับโครงการแรก คือ ผู้เชี่ยวชาญ ทุนการศึกษา อบรมแก่อาจารย์ และอุปกรณ์การศึกษา

หลังจากนั้น วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้ยกระดับขึ้นเป็น "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี" เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2514 โดยเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยระดับอุดมศึกษา เป็นนิติบุคคลมีฐานะเป็นกรมสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย

ปัจจุบัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เปลี่ยนสภาพเป็น "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี" ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2541 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนที่ 11 ก ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541

[แก้] สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย

[แก้] ตราสัญลักษณ์พระราชลัญจกร

ตราสัญลักษณ์ ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ตราประจำมหาวิทยาลัย ลักษณะของตรานำมาจากพระราชลัญจกรประจำพระองค์ (ตราประจำพระองค์) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ลักษณะของตรา ประกอบด้วยลายกลางเป็นตราพระมหามงกุฏ ซึ่งนำมาจากพระบรมนามาภิไธยเดิม "มงกุฏ" และเป็นศิราภรณ์สำคัญหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ มีฉัตรบริวารขนาบอยู่บริเวณด้านข้างทั้งสอง โดยสัญลักษณ์ทั้งหมดจะอยู่ภายในวงกลม 2 ชั้น มีอักษรทั้งภาษาไทยและอังกฤษ แสดงนามมหาวิทยาลัย กำกับอยู่ภายในโค้งด้านล่างของวงกลม

สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีแสด - เหลือง เป็นสีที่แสดงถึงความเคลื่อนไหว ความไม่หยุดนิ่ง ความแข็งแรง ทั้งเป็นสีที่กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นเปรียบเทียบได้กับเครื่องมือเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเครื่องมือเครื่องจักรทั้งหลาย ถือเป็นส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ "ดอกธรรมรักษา" เป็นไม้ดอกที่พบมากในบริเวณที่ตั้ง มหาวิทยาลัยนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวิทยาลัย และมีสีของดอกที่คล้องกับสีประจำมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ยังมีนามที่เป็นมงคลต่อนักศึกษาและบุคลากรในด้านจริยธรรมกล่าวคือสอดคล้องกับคติธรรมที่ว่า "ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม"

[แก้] ตราสัญลักษณ์วิสัยทัศน์

ตราสัญลักษณ์วิสัยทัศน์ ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ตราวิสัยทัศน์ เป็นตราที่เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2552 โดยตราดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดทอนรายละเอียดของตราสัญลักษณ์ (LOGO) ให้ง่ายต่อการจดจำ, สร้างเอกลักษณ์ให้กับมหาวิทยาลัย และเป็นตราสัญลักษณ์ที่สามารถใช้ได้ในทุกๆ ที่ อาธิเช่น ขวดน้ำ มจธ., ใบปลิว, แก้วน้ำ, ของที่ละลึก รวมทั้งที่ๆ ไม่เหมาะสมที่จะใช้ตราพระลัญจกรซึ่งเป็นตราประจำพระองค์พระมหากษัตริย์

ทั้งนี้ในตราสัญลักษณ์วิสัยทัศน์นั้น ประกอบด้วยสองส่วนคือ สัญญลักษณ์วิสัยทัศน์ (Vision Mark) และตัวอักษรสัญลักษณ์ (Wordmark)

สัญญลักษณ์วิสัยทัศน์ (Vision Mark) สื่อถึงความชัดเจนในวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย (Framing Vision) ที่จะก้าวสู่อนาคตอย่างยั่งยืน ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาว มจธ. โดยรูปแบบของจุด หรือ Pixel ที่เรียงกันสามารถสื่อถึงความเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีได้อย่างร่วมสมัย ในขณะเดียวกันการเรียงกันเป็นเลขสี่ยังสามารถสื่อถึงความภาคภูมิใจในนามพระราชทาน

ตัวอักษรสัญลักษณ์ (Wordmark) เป็นการเรียงตัวกันอย่างสร้างสรรค์ (Creative & Constructive) สื่อถึงการไม่หยุดนิ่งและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้การใช้ชื่อย่อตัวอักษรภาษาอังกฤษยังสื่อถึงวิสัยทัศน์ที่จะนำมหาวิยาลัยก้าวไปสู่สากลอย่างมีประสิทธิภาพ

[แก้] วิสัยทัศน์ประจำมหาวิทยาลัย

วิสัยทัศน์ 5 มุ่ง

มุ่งมั่น เป็นมหาวิทยาลัยที่ใฝ่เรียนรู้

มุ่งสู่ ความเป็นเลิศในเทคโนโลยีและการวิจัย

มุ่งธำรง ปณิธานในการสร้างบัณฑิตที่เก่งและดี

มุ่งสร้าง ชื่อเสียงและเกียรติภูมิให้เป็นที่ภูมิใจของประชาคม

มุ่งก้าว ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับโลก

[แก้] เพลงประจำมหาวิทยาลัย

[แก้] หลักสูตรที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เปิดสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ใน 8 คณะ ดังนี้

[แก้] คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็น 1 ใน 8 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เรียงลำดับตามการก่อตั้งดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถือว่าเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

หลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี ใน 12 สาขาวิชา 24 หลักสูตรดังนี้

หลักสูตรปกติ

หลักสูตรนานาชาติ

  • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ)
  • วิศวกรรมโยธา (นานาชาติ - สองสถาบัน)

หลักสูตรสองภาษา

  • วิศวกรรมไฟฟ้า (หลักสูตรสองภาษา)
  • วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (หลักสูตรสองภาษา)
  • วิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด (หลักสูตรสองภาษา)
  • วิศวกรรมเคมี (หลักสูตรสองภาษา)
  • วิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตรสองภาษา)
  • วิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรสองภาษา)
  • วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (หลักสูตรสองภาษา)
  • วิศวกรรมวัสดุ (หลักสูตรสองภาษา)
  • วิศวกรรมเครื่องมือ (หลักสูตรสองภาษา)
  • วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรสองภาษา)


หลักสูตรปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (วิชาเอกวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (วิชาเอกวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (วิชาเอกวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (วิชาเอกวิศวกรรมโครงสร้าง)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (วิชาเอกวิศวกรรมเทคนิคธรณี)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการบริหารและการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการขึ้นรูปพอลิเมอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมระบบการผลิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชามาตรวิทยาทางอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเที่ยงตรง
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการเชื่อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคุณภาพ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาวาริชวิศวกรรม

หลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) /Ph.D.

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีขึ้นรูปโลหะ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตและระบบ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ)

[แก้] คณะวิทยาศาสตร์

หลักสูตรปริญญาตรี

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ เน้นด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ และคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์
  • สาขาวิชาสถิติประยุกต์
  • สาขาวิชาเคมี เน้นด้านเคมีอุตสาหกรรม และเคมีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ เน้นฟิสิกส์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมและการแพทย์ รวมทั้งการสร้างสรรค์และพัฒนาระบบเลเซอร์ชนิดต่างๆ
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ (วัสดุและนาโนเทคโนโลยี)
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา เน้นด้านจุลชีววิทยาในอุตสาหกรรมอาหาร การแพทย์ การเกษตร การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมพันธุศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร : เน้นด้านการแปรรูปอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

หลักสูตรปริญญาโท

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
  • Industrial Chemistry
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษา
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยาประยุกต์

หลักสูตรปริญญาเอก

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • Doctor of Philosophy Program in Bioscience

[แก้] คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม (ค.อ.บ.) หลักสูตร 5 ปี ใน 4 สาขาวิชา (รับนศ.ปวช.และม.6) ดังนี้

  • สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า นอกจากนั้น ยังรับนักศึกษาเทียบโอน โดยรับผู้จบ ปว.ส. ในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อมาศึกษาต่อในชั้นปีที่ 3 แต่ต้องเรียนในวิชาอื่นที่ยังโอนไม่ได้ซึ่งอาจจะเป็นวิชาในปี 1 หรือ 2 ตามแต่วิชาที่ยังขาดอยู่ ในหลักสูตรนี้แบ่งวิชาเอกออกเป็น 3 วิชาเอก คือ
    • วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
    • วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
    • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิศวกรรมอุตสาหกรรม

และจะเปิดหลักสูตรเทียบโอนสำหรับหลักสูตรข้างต้นในอนาคตโดยรับนศ.ปวส.มาเรียนต่อ 3 ปี

เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม (คอ.บ.) หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี ใน 1 สาขาวิชา ดังนี้

  • ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา รับนักศึกษาปี 2552 ปีสุดท้าย นักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในภาคนี้มาจากการสอบตรงของ ปวส.ปี2นั้นเอง โดยภาควิชานี้ครบรอบ 20 ปีแล้ว (เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553)

เปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)หลักสูตร 4 ปี

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชนเป็นสาขาวิชาที่ได้ถูกปรับเปลี่ยนมาจากภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความครอบคลุมทางด้านของสื่อสารมวลชนมากยิ่งขึ้น โดยเน้นให้นักศึกษาปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี เป็นหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) นักศึกษารุ่นแรกมีจำนวนทั้งสิ้น 46 คน ซึ่งมาจากการสอบตรงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 หรือ ปวช.ปี3


เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี ดังนี้

  • สาขาเทคโนโลยีการพิมพ์ :เป็นหลักสูตรที่รองรับการขยายตัวทางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมการพิมพ์ และการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ ควรมีความถนัดในสาขา วิชาเคมี และฟิสิกส์ เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านวัสดุ และอุปกรณ์ทางการพิมพ์ บัณฑิตที่ สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ จะมีความรู้ความสามารถด้านการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างดี

ปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี ใน 2 สาขาวิชา ดังนี้

  • สาขาวิชาเทคนิคการพิมพ์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ - มัลติมีเดีย :เป็นหลักสูตรที่รองรับการผลิตบุคลากรที่มี ความรู้ความสามารถในการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียสมัยใหม่ หลักสูตรนี้จะปูพื้นฐานด้านวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ศิลปะการออกแบบ และการถ่ายภาพ หลังจากนั้นจะเข้าสู่หมวดวิชาเฉพาะด้าน ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มวิชาต่างๆ คือ กลุ่มวิชาการศึกษา กลุ่มวิชาเทคโนโลยีพื้นฐาน (อิเล็กทรอนิกส์) กลุ่มวิชาเทคโนโลยี-มัลติมีเดีย กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัลติมีเดีย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักการและ เทคนิคการสร้าง ตั้งแต่การสร้างสื่อพื้นฐานของมัลติมีเดีย จนสามารถพัฒนาเป็นชุดมัลติมีเดียเพื่อประยุกต์ใช้ทางการศึกษา (บทเรียน CAI) แอนิเมชั่น และกราฟิค ออบแบบเกม สื่อสารมวลชน และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสามารถแนะนำและจัดทำฐานข้อมูลทางการศึกษาในระบบทางด่วนข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึง เขียนโปรแกรมทางด้านต่างๆ อาทิเช่น C, php, java.

จบแล้วสามารถทำงานด้านไหนได้บ้าง สามารถที่งานด้านมัลติมีเดียเช่น นักออกแบบกราฟิค แอนิเมชั่น ออกแบบเกม งานโฆษณา งานด้านภาพยนตร์ ผู้ออกแบบเว็บไซต์ งานด้านคอมพิวเตอร์เช่น โปรแกรมเมอร์ ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เวบมาสเตอร์ เป็นต้น

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย :เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีวามรู้ความสามารถในการคิดและการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ มีเดีย และศิลปะ เพื่อประยุกต์ใช้งานและบูรณาการความรู้ ความสามารถเหล่านั้นในการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องมือ สิ่งอำนวยความสะดวก ที่ตอบสนองความต้องการในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ โดยคำนึงถึงมิติทางด้านประสาทสัมผัสและการรับรู้ของมนุษย์เป็นหลัก

จบแล้วสามารถทำงานด้านไหนได้บ้าง :ธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ธุรกิจรับจัดงานแสดงสินค้า-นิทรรศการที่มีเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ธุรกิจสร้างเกม ทั้ง Hardware และ Software ธุรกิจสวนสนุก ธุรกิจสร้างและออกแบบของเล่น ธุรกิจภาพยนตร์ ธุรกิจออกแบบเครื่องใช้ภายในบ้านและสำนักงาน ธุรกิจสร้างต้นแบบสินค้าเพื่อการตัดสินใจ หน่วยงานวิทยาศาสตร์ของรัฐและเอกชนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์เด็ก เป็นต้น และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี

เปิดสอนหลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) หลักสูตร 4 ปีใน 1 สาขาวิชา ดังนี้

  • สาขาวิชามีเดียอาร์ต :เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความสามารถทางปัญญาแห่งศาสตร์ทางศิลปะและการออกแบบที่เน้นทางด้าน แอนิเมชัน ด้านเทคนิคภาพเพื่อการผลิตภาพยนตร์ และด้านการถ่ายภาพถ่าย ดิจิทัลและการออกแบบกราฟิก ตลอดจนปลูกฝังให้มีการนำเอาคุณธรรม และ จริยธรรมของสังคมและบุคคลมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตผลงาน

[แก้] คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) หลักสูตร 5 ปี ใน 3 สาขาวิชา ดังนี้

  • สถาปัตยกรรม (สถ.บ. หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
  • สถาปัตยกรรมภายใน (สถ.บ. หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
  • ศิลปอุตสาหกรรม (สถ.บ. หลักสูตรภาษาอังกฤษ)

และหลักสูตร 4 ปี ในสาขาวิชา

  • ออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)

[แก้] คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

นับจากปีเทคโนโลยีสารสนเทศไทย พ.ศ. 2538 ที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อผลิตบัณฑิต และมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพ ออกรับใช้สังคมไทยที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนทรัพยากรบุคคลทางด้าน ไอทีจวบจนกระทั่งปัจจุบัน กล่าวได้ว่า เป็นภาระกิจที่ยากลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยามที่ประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ อย่างรุนแรง ควบคู่ไปกับการที่โลกมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมหลายอย่างในการฝ่าฟันอุปสรรคนานาประการในช่วงรอยต่อ ของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมขนาดใหญ่ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการจัดองค์กร ในรูปแบบที่มีพลวัตสูง การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพการศึกษาเพื่อการแสวงหารายได้เพื่อเลี้ยงดูตนเอง ไม่ให้เป็นภาระกับรัฐบาล และอีกหลายสิ่งที่ทรัพยากรบุคคลของคณะฯ ได้ร่วมกันทุ่มเทให้เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ ทำให้คณะฯ ประสบความสำเร็จ ในระดับที่น่าพอใจกล่าวคือ เป็นเพียงคณะเดียวในประเทศไทยที่เปิดสอน สาขาเทคโนโลยี สารสนเทศครบถ้วนทั้ง ปริญญาตรี โท และเอก ท่ามกลางแรงกดดันจากหลากหลายปัจจัย ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ ยังคงยืนยันในเรื่องคุณภาพของบัณฑิต ทั้งด้านวิชาชีพ และการสื่อสารในยุค โลกาภิวัฒน์ซึ่งพอกล่าวเป็นตัวอย่างได้ว่า คณะเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และมีการกำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาของคณะฯ ต้องผ่านการ ทดสอบภาษาอังกฤษที่ได้มาตรฐานสากล

เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) ใน 2 สาขาวิชา ดังนี้

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Doctor of Philosophy Program in Computer Science)
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Doctor of Philosophy Program in Information Technology)

เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) ใน 4 สาขาวิชา ดังนี้

  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Master of Science Program in Information Technology)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Master of Science Program in Electronic Business)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสารสนเทศ (Master of Science Program in Bioinformatics)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Master of Science Program in Software Engineering)

เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี) หลักสูตร 4 ปี ใน 2 สาขาวิชา ดังนี้

  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 2 ปี (ปวส.ต่อเนื่อง) ใน 1 สาขาวิชา ดังนี้

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาคปกติ) มี สองวิทยาเขต คือ

และในปีการศึกษา 2550 ทางคณะได้มีการเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี ใน 1 สาขาวิชา ดังนี้

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตร 4 ปี (ปัจจุบัน คือ รุ่น IT#15)

[แก้] คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ

[แก้] คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี

[แก้] คณะศิลปศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์ เป็นโครงการขยายงานเดิม จากภาควิชาภาษาและสังคม สังกัดคณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม มีลำดับความเป็นมาในการจัดตั้ง ดังนี้

         o สภาสถาบันฯ ให้ความเห็นชอบ เมื่อคราวประชุม ครั้งที่ 5/2537 วันที่ 1 กันยายน 2537
         o ขอทบทวน/ปรับแผนเพื่อขอบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ 8 วันที่ 27 กันยายน
           2538 (ครั้งที่ 1) แต่ไม่ได้รับการพิจารณา
         o สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 1/2541 วันที่ 9 เมษายน 2541
         o ขอความเห็นชอบให้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ 8 (ครั้งที่ 2)
           วันที่ 13 กรกฎาคม 2543
         o ทบวงมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบการบรรจุโครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ไว้ในแผน
           พัฒนาการศึกษา ฉบับที่ 8 วันที่ 2 สิงหาคม 2543
         o ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 117 ตอนที่ 89 ง.
           วันที่ 7 พฤศจิกายน 2543

เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) 1 สาขาวิชา คือ ปริญญาเอก สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ)

เปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) 2 สาขาวิชา คือ

ปริญญาโทภาษาศาสตร์ประยุกต์ ด้านการสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) (โครงการปกติจันทร์ – ศุกร์ และโครงการพิเศษ เสาร์ - อาทิตย์)

[ปริญญาโทศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต ด้าน English for Professional and International Communication] (หลักสูตรใหม่ เริ่มรับสมัครภาคการศึกษา 1/2553)

[แก้] บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการ และนวัตกรรม

เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ใน 5 สาขาวิชา ดังนี้

  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตการจัดการโลจิสติกส์ (Master of Science Program in Logistics Management)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารโครงการ (Master of Science in Project Management)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Master of Science in Technology and Innovation Management)
  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ (Master of Business Administration in Entrepreneurship Management)
  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการธุรกิจโทรคมนาคม (Master of Business Administration in Telecommunication Business Management)

[แก้] สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้)

[แก้] ศูนย์และสถาบันในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท) จัดตั้งขึ้นตามประกาศพระราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 114 ตอนที่ 16 ก. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ คือ ให้สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ เพื่อเป็นแหล่งดำเนินการวิจัย การพัฒนาและการวิศวกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสหวิทยบริการ เพื่อสนองนโยบายด้านการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์และเน้นนโยบายการพึ่งพาตนเอง สร้างขีดความสามารถของภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ประกอบด้วยศูนย์ต่าง ๆ ดังนี้

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

School.svg มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นบทความเกี่ยวกับ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น