ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเทศที่มีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีผู้แทนในระบบรัฐสภาแสดงด้วยสีแดง แบบอื่นแสดงด้วยสีม่วง

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[1] (อังกฤษ: Constitutional Monarchy) คือ รูปแบบหนึ่งของรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญอันมีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือการสืบเชื้อสายพระราชบัลลังก์ โดยกษัตริย์จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ใช้ โดยพระราชอำนาจของกษัตริย์จะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็น ราชาธิปไตยแบบจำกัด หรือ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) ซึ่งไม่เหมือนกับราชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ซึ่งกษัตริย์จะมีพระราชอำนาจทางการเมืองเบ็ดเสร็จและไม่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ปัจจุบัน รัฐแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญส่วนใหญ่มักจะมีการปกครองด้วยระบบรัฐสภา อาทิ ออสเตรเลีย เบลเยียม กัมพูชา แคนาดา เดนมาร์ก ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สเปน สวีเดน ไทย[2] สหราชอาณาจักร ภูฏาน โดยกษัตริย์จะทรงเป็นประมุขแห่งรัฐเท่านั้น ไม่ทรงเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร เพราะฝ่ายบริหารมีนายกรัฐมนตรีจากประชาชนเป็นหัวหน้าหรือประมุขอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย การปกครองตามแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อาจรู้จักกันในชื่อ "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"[3][4] เนื่องจากปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเรียกรวมการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยระบบรัฐสภา

เนื้อหา

[แก้] รายชื่อประเทศที่ปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

รัฐ/ประเทศ รัฐธรรมนูญล่าสุด (ค.ศ.) รูปแบบของรัฐ/ประเทศ ที่มา
ธงของราชรัฐอันดอร์รา อันดอร์รา 1993 ราชรัฐร่วม (Co-principality) เลือกจากบิชอปแห่ง La Seu d'Urgell และการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส
ธงของประเทศบาห์เรน บาห์เรน 2002 ราชอาณาจักร การสืบเชื้อสายพระราชบัลลังก์ ตามรัฐธรรมนูญ
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม 1831 ราชอาณาจักร; ราชาธิปไตยโดยประชานิยม[5] การสืบเชื้อสายพระราชบัลลังก์ ตามรัฐธรรมนูญ
ธงของประเทศภูฏาน ภูฏาน 2007 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์
ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน 1959 รัฐสุลต่าน; สมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบอิสลาม การสืบพระราชบัลลังก์
ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา 1993 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก 1953 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 1946 จักรวรรดิ การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศจอร์แดน จอร์แดน 1952 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศคูเวต คูเวต 1962 รัฐเจ้าผู้ครองนคร (Emirate) การสืบพระราชบัลลังก์ โดยต้องได้รับพระราชานุมัติจากพระราชวงศ์อัล-ซาบาห์ และความยินยอมของรัฐสภา
ธงของราชอาณาจักรเลโซโท เลโซโท 1993 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ โดยต้องได้รับความยินยอมสภาผู้นำ
ธงของราชรัฐลิกเตนสไตน์ ลิกเตนสไตน์ 1862 ราชรัฐ (Principality) การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของราชรัฐลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก 1868 อาณาจักรแกรนด์ดยุค (Grand duchy) การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย 1957 สหพันธรัฐ; ราชาธิปไตยโดยเลือกตั้ง (Elective monarchy) เลือกตั้งจากเชื้อสายสุลต่านทั้งเก้าซึ่งเป็นผู้แทนรัฐต่าง ๆ ในมาเลเซีย
ธงของราชรัฐโมนาโก โมนาโก 1911 ราชรัฐ (Principality) การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของราชอาณาจักรโมร็อกโก โมร็อกโก 1962 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 1815 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศนอร์เวย์ นอร์เวย์ 1814 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศโอมาน โอมาน 1996 รัฐสุลต่าน; สมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบอิสลาม การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศกาตาร์ กาตาร์ 2003 รัฐเจ้าผู้ครองนคร; สมบูรณาญาสิทธิราชย์ การสืบพระราชบัลลังก์
ธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย 1992 ราชอาณาจักร; สมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบอิสลาม การสืบพระราชบัลลังก์
ธงของประเทศสเปน สเปน 1978 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ สวาซิแลนด์ 1968 ราชอาณาจักร; สมบูรณาญาสิทธิราชย์ การสืบพระราชบัลลังก์
ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน 1974 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของราชอาณาจักรไทย ไทย 2007 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของราชอาณาจักรตองกา ตองกา 1970 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1971 สหรัฐ; สมบูรณาญาสิทธิราชย์ แบบ ราชาธิปไตยโดยเลือกตั้ง (Elective monarchy) เลือกสรรโดยสภาสูงสุดกลางจากบรรดาชนชั้นปกครองของอาบูดาบี
ธงของนครรัฐวาติกัน นครรัฐวาติกัน นครรัฐ; ราชาธิปไตยโดยเลือกตั้งแบบเทวาธิปไตย (Theocratic elective monarchy) เลือกสรรโดยสภาพระคาร์ดินัล
ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 1688 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ชื่อเต็มของรัฐ/ประเทศต่อไปนี้ มิได้ขึ้นต้นด้วยราชอาณาจักร แต่เป็นราชาธิปไตยโดยพฤตินัย
ธงของประเทศแอนติกาและบาร์บูดา แอนติกาและบาร์บูดา 1981 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 1901 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศบาฮามาส บาฮามาส 1973 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศบาร์เบโดส บาร์เบโดส 1966 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศเบลีซ เบลีซ 1981 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา 1867 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศเกรเนดา เกรเนดา 1974 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศจาเมกา จาเมกา 1962 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 1907 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศปาปัวนิวกินี ปาปัวนิวกินี 1975 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์คิตส์และเนวิส 1983 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศเซนต์ลูเซีย เซนต์ลูเซีย 1979 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 1979 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของหมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะโซโลมอน 1978 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ธงของประเทศตูวาลู ตูวาลู 1978 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

[แก้] หมายเหตุ

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน
  2. ^ กำพล จำปาพันธ์. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน - สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ (ตอนที่ ๑)
  3. ^ จินตภาพสังคมไทยและพรรคการเมืองของประชาชน เมธา มาสขาว. ไทยเอ็นจีโอ 10 เมษายน พ.ศ. 2551, เข้าถึงเมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
  4. ^ แนวทางประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม หรือ “สังคม-ประชาธิปไตย” (Social-Democracy) ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย. หน้าที่ 8. เข้าถึงเมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
  5. ^ เบลเยียมเป็นประเทศเพียงแห่งเดียวที่มีราชาธิปไตยโดยประชานิยม — เป็นระบบซึ่งชื่อตำแหน่งของกษัตริย์ยึดโยงกับประชาชนแทนที่จะเป็นรัฐ ชื่อตำแหน่งราชาแห่งชาวเบลเยียมจึงไม่ใช่ ราชาแห่งเบลเยียม แต่เป็น ราชาแห่งชาวเบลเยียม เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของระบบของเบลเยียมนี้ก็คือ กษัตริย์พระองค์ใหม่จะไม่ได้ขึ้นครองราชย์โดยอัตโนมัติหลังกษัตริย์พระองค์ก่อนหน้าเสียชีวิตหรือสละบัลลังก์ ผู้ที่จะเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่จะกลายเป็นกษัตริย์ได้ก็ต่อเมื่อได้กล่าวคำสาบานตนต่อรัฐธรรมนูญแล้วเท่านั้น

[แก้] ดูเพิ่ม