ประเทศปากีสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก ปากีสถาน)
اسلامی جمہوریۂ پاکستان
Islāmī Jamhūriya-i-Pākistān
อิสลามี จัมฮูริยะ อิ ปากิสถาน
Islamic Republic of Pakistan
สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน
ธงชาติปากีสถาน ตราแผ่นดินของปากีสถาน
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญIman, Ittehad, Nazm
("ศรัทธา, เอกภาพ, วินัย")
เพลงชาติQaumi Tarana
(เพลงชาติ) [1][2]
ที่ตั้งของปากีสถาน
เมืองหลวง อิสลามาบัด
33°40′N 73°10′E / 33.667°N 73.167°E / 33.667; 73.167
เมืองใหญ่สุด การาจี
ภาษาทางการ ภาษาอูรดูและภาษาอังกฤษ
รัฐบาล สาธารณรัฐอิสลาม
 -  ประธานาธิบดี อาซีฟ อาลี ซาร์ดารี
 -  นายกรัฐมนตรี ยูซาฟ ราซา จิลานี
เอกราช
  ประกาศ
สาธารณรัฐ
จาก สหราชอาณาจักร
14 สิงหาคม พ.ศ. 2490
23 มีนาคม พ.ศ. 2499 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 803,940 กม.² (ลำดับที่ 34)
 -  พื้นน้ำ (%) 3.1
ประชากร
 -  2549 ประมาณ 163,985,373[3] (อันดับที่ 6)
 -  ความหนาแน่น 211/กม.² (อันดับที่ 53)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 404.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 26)
 -  ต่อประชากร 2,628 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 128)
HDI (2546) 0.527 (กลาง) (อันดับที่ 135)
สกุลเงิน รูปี (Rs.) (PKR)
เขตเวลา PST (UTC+5:00)
 -  ฤดูร้อน (DST) not observed (UTC+6:00)
รหัสอินเทอร์เน็ต .pk
รหัสโทรศัพท์ +92

ประเทศปากีสถาน หรือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (อังกฤษ: Islamic Republic of Pakistan; อูรดู: پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง

คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วย ปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์ หรือกัษมีระ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูชิสถาน (BaluchisTAN)

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] การเมือง

ปากีสถานปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลาม มีประธานาธิบดีเป็นประมุข นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่แสดงที่ตั้งแคว้นและดินแดนของประเทศปากีสถาน

เขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศปากีสถาน ได้แก่

แคว้น (Provinces) :

ดินแดน (Territorries) :

ส่วนของเขตแคชเมียร์ที่ปากีสถานบริหาร (Pakistani-administered portions of Kashmir region) :

[แก้] ภูมิศาสตร์

สภาพภูมิอากาศของประเทศปากีสถานแตกต่างกันออกไปตามสภาพที่ตั้ง มีตั้งแต่อากาศร้อนจัดจนถึงอากาศหนาวจัดในตอนเหนือของประเทศ ในตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบมีอากาศร้อนในฤดูร้อนและเย็นลงในฤดูหนาวส่วนทางตอนเหนือจะมีอากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็งในฤดูหนาว จึงมีหึมะปลกคลุมอยู่ทั่วไปปริมาณน้ำฝนที่ตกไม่มากนักยกเว้นทางตอนใต้ของประเทศติดกับ ทะเลอาหรับจะมีฝนตกหนักเนื่องจากได้รับอิทธิพลลมมรสุมตกชุกในปลายฤดูร้อน

[แก้] เศรษฐกิจ

[แก้] ประชากร

มีการประมาณประชากรของปากีสถานในปี พ.ศ. 2552 ประมาณ 180,800,000 คน[4] [5] โดยชาวปัญจาบเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศ มีจำนวนกว่าร้อยละ 60-70 รองลงมาเป็นพวกซินด์ และปาทาน นอกจากนี้ยังมีประชากรกลุ่มอื่น อย่างชาวอัฟกันอพยพ, บัลติ, เปอร์เซีย, กัศมีร์ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาทีหลังอย่าง ชาวปากีสถานเชื้อสายจีน และชาวปากีสถานเชื้อสายไทย

ประชากรกว่าร้อยละ 97 นับถือศาสนาอิสลาม โดยส่วนใหญ่เป็นซุนนีย์ ส่วนร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นชีอะห์ มีผู้นับถือศาสนาอื่นอยู่บ้าง แต่มีอยู่ประปราย และส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตชนบท และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และการประมง

[แก้] ศาสนา

ประเทศปากีสถาน จัดว่าเป็นประเทศสังคมมุสลิม เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์มากเป็นอันดับที่สองของโลก โดยมีผู้นับถือนิกายซุนนีย์ร้อยละ 75 และนิกายชีอะห์ร้อยละ 20 โดยสามารถจำแนกจำนวนศาสนิกของศาสนาต่างๆ ได้ดังนี้

นอกจากนี้ยังมีศาสนิกชนในศาสนาอื่น ที่ไม่ได้รวมในที่นี้ได้แก่ ผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ (ชาวปาร์ซี),ลัทธิอาหมัด, ศาสนาพุทธ, ศาสนายูดาย, ศาสนาบาไฮ และนับถือผี (มีมากในกาลาชา ในเขตชิลทรัล)[6]

[แก้] วัฒนธรรม

วัฒนธรรมของชาวปากีสถานแสดงให้เห็นถึงอย่างแท้จริง ผู้ที่มาเยือนจะพบหลักฐานถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวปากีสถาน ศิลปกรรมของชาวปากีสถานมีรูปแบบทั้งที่เป็นศิลปกรรมทางศาสนา เช่น พรมขนสัตว์ เครื่องทองเหลือง และรูปแกะสลัก เป็นต้นทางด้านดนตรีและการฟ้อนรำมีประวัติอันยาวนาน การฟ้อนรำเป็นการฟ้อนของชาวปากีสถานโดยเฉพาะ สถานที่สำคัญในประเทศปากีสถานมีอยู่มากมาย เช่น เมืองโมเฮนโจดาโร เป็นสถานที่ทางโบราณคดีที่สำคัญ ส่วนโบราณสถานของศาสนามีปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป เช่น ที่เมืองลาฮอร์ เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่ง เช่น ค่ายทหารเมืองลาฮอร์ และมัสยิดบาสชาฮิซึ่งสร้างโดยจักรพรรดิออรังเซ็บ มัสยิดบาสชาฮินี้กว้างเป็นอันดับหนึ่งของโลก นอกจากนี้ปากีสถานยังมีสถานที่อื่นที่นาสนใจอีกมาก ควรจะไปเที่ยวดินแดนทางภาคเหนือซึ่งเป็นขุนเขา มีหิมะปกคลุมตลอดฤดูหนาว

ลักษณะทางสังคมส่วนใหญ่ยังเป็นแบบดั้งเดิม ยังยึดจารีตและวัฒนธรรมมุสลิมอย่างเคร่งครัดในการดำรงชีพ แต่ภายหลังเมื่อได้รับอิทธิพลจากตะวันตก จึงมีการเปลี่ยนไปตามแบบวัฒนธรรมตะวันตกบ้าง เช่น ผู้หญิงจะมีส่วนร่วมทางการเมือง งานสวัสดิการสังคม และมีการเรียกร้องสิทธิสตรีให้ทัดเทียมกับบุรุษ โดยจะต้องอยู่ในกรอบวัฒนธรรมอิสลาม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Official website, American Institute of Pakistan Studies. "National Anthem of Pakistan". สืบค้นวันที่ 2006-04-18
  2. ^ Embassy of Pakistan, Washington D. C.. "Pakistani Flag". สืบค้นวันที่ 2006-04-18
  3. ^ World Gazetteer population estimate for 2006
  4. ^ Department of Economic and Social Affairs Population Division (2009). "World Population Prospects, Table A.1" (.PDF). 2008 revision. United Nations. Retrieved on 2009-03-12.
  5. ^ 2009 World Population Data Sheet - Population Reference Bureau
  6. ^ International Religious Freedom Report 2007. State Department, US (2007). สืบค้นวันที่ 2009-03-21

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น