ประเทศคาซัคสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก สาธารณรัฐคาซัคสถาน)
คาซัค: Қазақстан Республикасы
Qazaqstan Respublïkası
คาซัคสตาน เรสปูบลีคาซืย
รัสเซีย: Республика Казахстан
Respublika Kazakhstan
ริสปูบลีคา คาซัคสตาน
สาธารณรัฐคาซัคสถาน
ธงชาติคาซัคสถาน ตราแผ่นดินของคาซัคสถาน
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติMy Kazakhstan
ที่ตั้งของคาซัคสถาน
เมืองหลวง อัสตานา
51°10′N 71°30′E / 51.167°N 71.5°E / 51.167; 71.5
เมืองใหญ่สุด อัลมาตี
ภาษาทางการ ภาษาคาซัคและภาษารัสเซีย
รัฐบาล สาธารณรัฐ
  ประธานาธิบดี
นายกรัฐมนตรี
นูร์ซุลตัน นาซาร์บาเยฟ
ดานียัล อัคเมตอฟ
ได้รับเอกราช
  ประกาศเอกราช
อดีต
จากสหภาพโซเวียต
16 ธันวาคม พ.ศ. 2534
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 2,717,300 กม.² (ลำดับที่ 9)
 -  พื้นน้ำ (%) 1.7%
ประชากร
 -  2548 ประมาณ 15,185,844 (อันดับที่ 61)
 -  ความหนาแน่น 5.6/กม.² (อันดับที่ 182)
GDP (PPP) 2005 ประมาณ
 -  รวม 132.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 56)
 -  ต่อประชากร 8,700 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 92)
HDI (2546) 0.761 (กลาง) (อันดับที่ 80)
สกุลเงิน เต็งเก (KZT)
เขตเวลา (UTC+5 to +6)
 -  ฤดูร้อน (DST)  (UTC+5 to +6)
รหัสอินเทอร์เน็ต .kz
รหัสโทรศัพท์ +7

คาซัคสถาน (อังกฤษ: Kazakhstan; คาซัค: Қазақстан, Qazaqstan [qɑzɑqˈstɑn]; รัสเซีย: Казахстан, Kazakhstán [kɐzəxˈstɐn]) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (อังกฤษ: Republic of Kazakhstan) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ครอบคลุมกว้างขวางในทวีปเอเชีย และเป็นสาธารณรัฐในอดีตสหภาพโซเวียต มีพรมแดนติดกับประเทศรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศในเอเชียกลาง ได้แก่ คีร์กีซถาน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลแคสเปียน คาซัคสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

คาซัคสถานเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก อย่างไรก็ดี มีพื้นที่กึ่งทะเลทราย (steppe) อยู่มาก จึงมีประชากรเป็นอันดับที่ 57 มีประมาณ 6 คน/ตร.กม.

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] การเมือง

แผนที่ประเทศคาซัคสถานแสดงจังหวัด

ประเทศคาซัคสถานแบ่งออกเป็น 14 จังหวัด (provinces - oblystar) และ 3 เทศบาลนคร (cities - qalalar) ทุกจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัด (Akim) ที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ส่วนอะคิมของเทศบาลได้รับการแต่งตั้งจากอะคิมของแคว้น (oblasts) รัฐบาลคาซัคสถานย้ายเมืองหลวงจากอัลมาตีไปอัสตานา เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2541

หมายเลข รหัสภูมิศาสตร์ เขตการปกครอง เมืองหลวง เนื้อที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
1 KZ-ALM จังหวัดอัลมาตี (Almaty) ตัลดีคอร์กัน (Taldykorgan) 224,000 860,000
2 นครอัลมาตี (Almaty)
3 KZ-AKM จังหวัดอัคโมลา (Aqmola) คอคเชตาอู (Kokshetau) 121,400 829,000
4 KZ-AKT จังหวัดอัคเตอเบ (Aqtöbe) อัคเตอเบ (Aqtöbe) 300,600 661,000
5 กรุงอัสตานา (Astana)
6 KZ-ATY จังหวัดอะตีราอู (Atyrau) อะตีราอู (Atyraū) 118,600 380,000
7 นครไบโคนูร์ (Baikonur)
8 KZ-VOS จังหวัดอีสต์คาซัคสถาน
(East Kazakhstan)
เอิสเคเมน (Öskemen) 283,300 897,000
9 KZ-MAN จังหวัดมังกืย์สตาอู (Mangghystau) อัคตาอู (Aqtau) 165,600 316,847
10 KZ-SEV จังหวัดนอร์ทคาซัคสถาน
(North Kazakhstan)
เปโตรปัฟล์ (Petropavl) 123,200 586,000
11 KZ-PAV จังหวัดปัฟโลดาร์ (Pavlodar) ปัฟโลดาร์ (Pavlodar) 124,800 851,000
12 KZ-KAR จังหวัดคารากันดี
(Qaraghandy)
คารากันดี (Qaraghandy) 428,000 1,287,000
13 KZ-KUS จังหวัดคอสตาไน (Qostanay) คอสตาไน (Qostanay) 196,000 975,000
14 KZ-KZY จังหวัดคืยซิลออร์ดา (Qyzylorda) คืยซิลออร์ดา (Qyzylorda) 226,000 590,000
18 KZ-YUZ จังหวัดเซาท์คาซัคสถาน
(South Kazakhstan)
ชิมเคนต์ (Shymkent) 118,600 1,644,000
16 KZ-ZAP จังหวัดเวสต์คาซัคสถาน
(West Kazakhstan)
โอรัล (Oral) 151,300 599,000
17 KZ-ZHA จังหวัดจัมบิล (Zhambyl) ตารัซ (Taraz) 144,000 962,000

ในปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลคาซัคสถานและรัสเซียได้ทำข้อตกลงให้รัสเซียเช่าพื้นที่ 6,000 ตร.กม. ล้อมรอบฐานปล่อยจรวดที่ไบกอนกีร์ (หรือไบโคนูร์) และเมืองไบโคนูร์ (เดิม เลนินสค์) เป็นเวลา 20 ปี

[แก้] ภูมิศาสตร์

แผนที่ประเทศคาซัคสถาน

ด้วยพื้นที่ 2.7 ล้านตารางกิโลเมตร (1.56 ล้านตารางไมล์) คาซัคสถานจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 9 ของโลก โดยมีขนาดพอ ๆ กับภูมิภาคยุโรปตะวันตก

เมืองใหญ่ของประเทศได้แก่ อัสตานา (เป็นเมืองหลวงตั้งแต่มิถุนายน พ.ศ. 2541) อัลมาตี (อดีตเมืองหลวง เคยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัลมา-อะตา (Alma-Ata) และก่อน พ.ศ. 2460 (1917) ในชื่อเวียร์นืย) การากันดี ชิมเคนต์ เซเมย์ (เซมีปาลาตินสค์) และตูร์เคสถาน เคยเป็นที่รู้จักในชื่อ ยาซี

ลักษณะภูมิประเทศแผ่ขยายจากตะวันออกจดตะวันตก ตั้งแต่ทะเลสาบแคสเปียนจนถึงแอ่งทาริม (ซินเจียง) และเทือกเขาอัลไต และจากเหนือจดใต้ ตั้งแต่ที่ราบไซบีเรียตะวันตกจนถึงโอเอซิสและทะเลทรายของภูมิภาคเอเชียกลาง

ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบภาคพื้นทวีป มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นและฤดูร้อนแห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง

ความยาวของพรมแดน: รัสเซีย 6,846 กิโลเมตร, อุซเบกิสถาน 2,203 กิโลเมตร, จีน 1,533 กิโลเมตร, คีร์กีซสถาน 1,051 กิโลเมตร และเติร์กเมนิสถาน 379 กิโลเมตร

[แก้] เศรษฐกิจ

[แก้] โครงสร้างทางเศรษฐกิจ

คาซัคสถานเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียต มีทรัพยากรที่สำคัญเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำมันดิบ แร่ธาตุ ตลอดจนยังมีขีดความสามารถทางการเกษตรอันเนื่องมาจากพื้นที่สำหรับเพาะปลูกและทำปศุสัตว์ที่กว้างขวาง

ก่อนปี พ.ศ. 2533 ระบบเศรษฐกิจคาซัคสถานเป็นส่วนหนึ่งของระบบการแบ่งการผลิตของสหภาพโซเวียต โดยถูกกำหนดให้มีความชำนาญด้านเกษตรกรรม ตามโครงการดินแดนบริสุทธิ์ฮรุชชอฟ (Khrushchev Virgin Lands) ส่วนอุตสาหกรรมหลักขึ้นอยู่กับการขุดเจาะน้ำมันและการทำเหมืองแร่ การผสมโลหะ และการสกัดแร่ธาตุ ตลอดจนการผลิตเครื่องจักรขนาดใหญ่ เช่น เครื่องมือก่อสร้าง รถแทรกเตอร์ และเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร

ภายหลังการสลายตัวของสหภาพโซเวียต ความต้องการสินค้าเครื่องจักรกลหนักซึ่งเป็นสินค้าหลักของคาซัคสถานได้ลดลง ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมากระหว่างปี พ.ศ. 2534-2537 อัตราเงินเฟ้อสูงและมูลค่า Real GDP ลดลงมากกว่าร้อยละ 5 ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2540 รัฐบาลคาซัคสถานได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจและแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทรัพย์สินส่วนใหญ่ตกสู่ภาคเอกชน อัตราการเจริญเติบโตของประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้น

ในปี พ.ศ. 2539 คาซัคสถานได้เข้าร่วมเป็นภาคีความร่วมมือก่อสร้างท่อส่งน้ำมันในทะเลแคสเปียน ซึ่งส่งผลให้สามารถส่งออกน้ำมันได้มากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2541 สภาวะการตกต่ำของราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ส่งผลให้เศรษฐกิจของคาซัคสถานตกต่ำลงชั่วขณะ แต่หลังจากปี พ.ศ. 2542 ราคาน้ำมันได้ถีบตัวสูงขึ้น ประกอบกับการลดค่าเงินที่ถูกจังหวะและการเกษตรที่ได้ผลดี ทำให้ภาวะเศรษฐกิจคาซัคสถานเจริญเติบโต

[แก้] ภาคเกษตรกรรม

เกษตรกรรมเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานมากที่สุด คิดเป็นหนึ่งในสามของการส่งออก หรือ ร้อยละ 20-25 ของแรงงานภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตหลักได้แก่ เมล็ดพันธุ์พืช

แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ไม่แน่นอนและการปฏิรูประบบเศรษฐกิจอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทำให้การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์พืชที่เคยสูงสุดในปี พ.ศ. 2535 กลับตกต่ำที่สุดในปี พ.ศ. 2538 และการผลิตภาคการเกษตรซึ่งเคยมีส่วนแบ่งรายได้ประชาชาติร้อยละ 23 ในปี พ.ศ. 2532 กลับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.6 ในปี พ.ศ. 2543 ส่วนภาคการบริการที่ถูกละเลยภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ กลับมีการขยายตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับแต่ได้รับเอกราช

ส่วนด้านการค้า ที่อยู่อาศัย และการคมนาคม ก็มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นกัน สำหรับการลงทุนนั้นมีมูลค่าร้อยละ 19 ของ GDP โดยหนึ่งในสี่ของการลงทุนนั้น มาจากบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันและโลหะ

[แก้] การครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน

การโอนธุรกิจที่ดินให้เป็นของภาคเอกชนดำเนินไปอย่างช้า ๆ และรัฐบาลอนุญาตให้ชาวคาซัคเท่านั้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเกษตรกรรมได้ ในกรณีที่ชาวต่างชาติและประชาชนทั่วไปต้องการครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินอื่น ๆ จะต้องมีบ้านหรือทรัพย์สินอยู่บนที่ดินผืนนั้น ส่วนที่ดินนอกเหนือจากนั้นถูกครอบครองโดยภาครัฐ

[แก้] การปฏิรูปเศรษฐกิจ

ประธานาธิบดีนาซาร์บาเยฟได้นำความล้มเหลวและข้อผิดพลาดของการปฏิรูปเศรษฐกิจในยุโรปตะวันออกมาเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการเร่งสร้างระบบเศรษฐกิจแบบตะวันตก ด้วยการปฏิเสธบทบาทของรัฐในระบบเศรษฐกิจและนำกลไกตลาดมาใช้ทันทีโดยมิได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถรองรับการพัฒนาของระบบอย่างสอดคล้องกันเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ คาซัคสถานจึงให้ความสำคัญกับการดำเนินบทบาทของรัฐในการควบคุม การผลิต การหมุนเวียนเงินทุน และการดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศต่อไป พร้อมทั้งผสมผสานกลไกของรัฐและกลไกตลาดเข้าด้วยกัน

สภาพเศรษฐกิจของคาซัคสถานกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาไปสู่ระบบการตลาดแบบเสรี ในปี พ.ศ. 2539 คาซัคสถานเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและมีเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น สังเกตได้จากอัตราเงินเฟ้อของราคาผู้บริโภคลดลงเหลือเพียงร้อยละ 39.1 ในปี พ.ศ. 2539 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2538 ที่มีอัตราร้อยละ 175 และปี พ.ศ. 2537 ที่มีอัตราถึงร้อยละ 1,900 ส่วนอัตราการว่างงานนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังมีความเปราะบางอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมผลิตเหล็กและเหมืองแร่ยังตกต่ำอยู่ เพราะขาดแคลนเงินทุนและปัจจัยในการผลิต ทำให้มีส่วนเกินของแรงงานและประสิทธิภาพ ส่วนทางภาคเกษตรกรรมนั้น ผลผลิตก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่คาดหมายกันไว้ การลงทุนขุดเจาะน้ำมันที่บ่อน้ำมัน Tengiz ของคาซัคสถาน ซึ่งรัฐบาลคาซัคสถานลงทุนร่วมกับบริษัท Chevron ของสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายของรัสเซียที่จะจำกัดการส่งออกน้ำมันของคาซัคสถานผ่านท่อส่งน้ำมันของตน โดยล่าสุด บ่อน้ำมัน Tengiz สามารถส่งออกน้ำมันได้เพียง 880,000 บาร์เรลต่อเดือนเท่านั้น ในขณะที่เป้าหมายการผลิตในปี พ.ศ. 2540 คือ 30,000 บาร์เรลต่อวัน

อย่างไรก็ตาม คาซัคสถาน รัสเซีย ตุรกี อาเซอร์ไบจาน และสหรัฐอเมริกา ก็ได้ร่วมกันหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกน้ำมันผ่านท่อของประเทศต่าง ๆ ของคาซัคสถานแล้ว เนื่องจากคาซัคสถานมีโครงการสร้างท่อขนส่งน้ำมันและแก๊สผ่านรัสเซีย ไปยังชายฝั่งทะเลดำ โดยได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2541 และจะสิ้นสุดโครงการภายในสิ้นปี พ.ศ. 2543 แต่เส้นทางที่ท่อส่งน้ำมันและก๊าซผ่านนั้น เป็นประเทศคู่แข่งทางด้านนี้กับคาซัคสถานทั้งสิ้น เช่น อาเซอร์ไบจาน อิหร่าน และรัสเซีย และต้นทุนของการสร้างท่อก็มีราคาแพง ซึ่งในระยะยาวแล้ว คาซัคสถานจะต้องให้ความคุ้มครองแก่เส้นทางของท่อส่งออกน้ำมันและแก๊สทั้งด้านการค้าและการเมือง

เท่าที่ผ่านมา ประเทศที่ดูจะประสบความสำเร็จมากที่สุดในการดำเนินธุรกิจน้ำมันกับคาซัคสถาน ได้แก่ ตุรกี ซึ่งบรรลุข้อตกลงกับคาซัคสถานที่จะร่วมกันพัฒนาบ่อน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในคาซัคสถานถึง 7 แห่ง โดยตุรกีจะได้รับส่วนแบ่งเป็นน้ำมันจำนวน 2.1 พันล้านบาร์เรลและแก๊สธรรมชาติจำนวน 208.9 พันล้านลูกบาศก์เมตร คาซัคสถานมีน้ำมันสำรองถึง 2.5% ของปริมาณน้ำมันโลก และคาดว่าภายในปี 2560 จะติดอันดับ 1 ใน 10 ผู้ส่งออกน้ำมัน [1]

สำหรับการดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ คาซัคสถานจะต้องแก้ปัญหาการทุจริตและปัญหาความไม่โปร่งใสของการลงทุน ซึ่งพบอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะการครอบครองด้านเศรษฐกิจโดยกลุ่มผู้จัดการน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมือง จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีน้อยลง

[แก้] สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน

ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจของรัสเซีย คาซัคสถานได้รับการกล่าวถึงจากนานาชาติค่อนข้างดี ในแง่ของความพยายามและผลของการพัฒนาประเทศ แต่โดยที่รัสเซียเป็นประเทศคู่ค้าหลักของคาซัคสถาน จึงทำให้คาซัคสถานได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ด้วย โดยเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2542 รัฐบาลและธนาคารชาติคาซัคสถานได้ประกาศจะยุติการแทรกแซงเพื่อพยุงอัตราการแลกเปลี่ยนของเงินเต็งเก (Tenge) และปล่อยค่าเงินลอยตัว เพื่อให้สินค้าของคาซัคสถานสามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่นที่ได้ลดค่าเงินในตลาดโลกได้ ทั้งนี้ ค่าเงินเต็งเกอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากอัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ 88 เต็งเก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 จนเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 146.37 เต็งเก

อย่างไรก็ดี คาซัคสถานได้พัฒนาระบบการเงินการธนาคารเป็นอย่างมาก รวมทั้งมีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการเงิน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2543 คาซัคสถานเป็นประเทศแรกของอดีตสหภาพโซเวียตที่สามารถจ่ายชำระหนี้คืนแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ล่วงหน้าก่อนกำหนดถึง 7 ปี และในปี พ.ศ. 2545 ได้มีความร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในด้านการวางแผนระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบเกี่ยวกับภาษีและระบบการคลังมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก

น้ำมันและแก๊สธรรมชาติยังคงเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศ ทั้งนี้ มีการพิสูจน์แล้วว่าคาซัคสถานเป็นแหล่งสำรองน้ำมันของโลกร้อยละ 2.5 และจะสามารถผลิตน้ำมันได้วันละ 3 ล้านบาร์เรลภายในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะทำให้คาซัคสถานอยู่ในกลุ่ม 1 ใน 10 ของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันของโลก

[แก้] ประชากร

เริ่มจากชนเผ่าเร่ร่อนเชื้อสายผสมมองโกล-เตอร์กิช เรียกตนเองว่า "คาซัค" ชาวคาซัคส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซีย [1]คาซัคสถานมีจำนวนประชากร 16,741,519 คน (พ.ศ. 2545)

[แก้] เชื้อชาติ

[แก้] ศาสนา

[แก้] วัฒนธรรม

[แก้] ศาสนา

ส่วนใหญ่ชาวคาซัคนับถือศาสนาอิสลาม 47% ชาวยุโรปส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาคริสต์ 53% ไสยศาสตร์ ศาสนาพุทธ และศาสนาอื่น ๆ

[แก้] อ้างอิง

ภาษาอื่น